เมื่อพูดถึง Digital Transformation ภาพแรกที่หลายคนนึกถึงก็มักจะเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร อีคอมเมิร์ซ หรือบริษัทไอที ที่ต้องเร่งปรับตัวให้เข้ากับโลกดิจิทัล แต่ความจริงแล้ว ภาครัฐเองก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ไม่น้อยเหมือนกัน และที่สำคัญคือการปรับตัวของภาครัฐสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมค่อนข้างเป็นวงกว้าง
เมื่อพูดถึงความเปลี่ยนแปลงของระบบดิจิทัลภาครัฐ กลุ่มบริษัทซีดีจี ถือเป็น หนึ่งในส่วนสำคัญ ที่ขาดไม่ได้ ด้วยการเป็น System Integrator ที่ให้บริการซอฟต์แวร์ครบวงจรแก่หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจ โดยมีผลงานเด่น ๆ ที่สร้างประโยชน์ให้กับประชาชน เช่น
- ThaID: แอปพลิเคชันที่ใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Digital ID) ลดขั้นตอนและเวลาที่ใช้ในการติดต่อภาครัฐ
- MEA: แพลตฟอร์ม One Stop Service แจ้งเตือนสถานะไฟฟ้าดับ แจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้อง และแสดงข้อมูลสถานะการซ่อมแซมเรียลไทม์ ตลอด 24 ชั่วโมง
- Drive Thru for Tax: บริการเลื่อนล้อต่อภาษี โดยกรมการขนส่งทางบก ต่อภาษีรถยนต์ได้โดยไม่ต้องลงจากรถ แค่รถเข้าไปในจุดให้บริการ ลดความยุ่งยากจากการต่อคิวในสำนักงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน
ตอนนี้ CDG ดำเนินงานมาแล้วกว่า 56 ปี ในการให้บริการเทคโนโลยี และยังคงมีภารกิจที่ต้องทำอีกมากในการวางโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้กับประเทศ จึงต้องการคนทำงานรุ่นใหม่ที่มีความสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพสังคมที่ดีขึ้น (Technology for a Better Society) และการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ไปด้วยกัน
แล้วการทำงานใน CDG จะเป็นแบบไหน น่าสนใจแค่ไหน และมีวัฒนธรรมการทำงานอย่างไร
วันนี้ คุณมณีนุช (พี่บี) จะเป็นคนมาเล่าเรื่องนี้ให้ชาว Blognone ฟังกัน
รู้จัก CDG เบื้องหลังเทคโนโลยีสำคัญของภาครัฐ
คุณมณีนุช ทรวงสุรัตนกุล Executive Vice President - Human Resourcesของ CDG เล่าถึงการก่อตั้งบริษัท
ในปี 1968 จากความตั้งใจที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรในประเทศไทย จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ในการพัฒนาโซลูชันไอที ในวันนี้ CDG ได้กลายเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ
คุณมณีนุชอธิบายเพิ่มเติมว่า CDG เป็นที่รู้จักในฐานะ System Integrator ที่ให้บริการครบวงจร ตั้งแต่การวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที การพัฒนาซอฟต์แวร์เฉพาะทาง ไปจนถึงการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อตอบโจทย์โครงการหน่วยงานรัฐในหลากหลายมิติ
ปัจจุบัน CDG Group ประกอบด้วยบริษัทในเครือ 5 แห่งที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ได้แก่ :
- Control Data (Thailand) Limitedเชี่ยวชาญด้านระบบอัตลักษณ์บุคคล (Biometric Solution) และระบบเอกลักษณ์ทางดิจิทัล (Digital Identity Solution)
- CDG Systems Limited เป็น System Integratorให้กับองค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจสำหรับการใช้ทั้งภายในและภายนอก
- Computer Peripherals & Supplies Limitedเชี่ยวชาญเทคโนโลยีการพิมพ์สำหรับบัตร RFID บัตรอัจฉริยะ (Smart Card) และบัตรแถบแม่เหล็ก ไปจนถึงระบบ Auto-ID
- GIS Company Limitedชำนาญในการให้คำปรึกษา ออกแบบ พัฒนาและติดตั้งระบบจีไอเอส
- ESRI (Thailand) Company Limitedเชี่ยวชาญเรื่อง Location Intelligence และตัวแทนจำหน่ายซอฟแวร์ ArcGIS วิเคราะห์ข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ
คุณมณีนุชเล่าต่อว่า CDG ให้บริการโซลูชันหลากหลายด้าน ตอบโจทย์ภาครัฐที่มีบริการให้กับประชาชนในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น Mobile Application, Big Data & Analytics, E-Citizen Services, GIS Solutions, Cybersecurity Services และยังมี Specific Solutions เช่น ระบบ E-Exam หรือ E-Transcript สำหรับการใช้งานเฉพาะด้าน
ถอดรหัสการทำงานของ CDG
CDG ตั้งวิสัยทัศน์ (Vision) ให้กับตัวเองว่าต้องการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีที่น่าเชื่อถือที่สุดในประเทศไทย (Thailand most trusted technology solutions and services provider) ด้วย Core Values ที่ยึดถือในการทำงานขององค์กร คือ
- Driven: ไม่หยุดก้าว มุ่งหน้าเติบโต
- Optimistic: คิดบวก สร้างแรงบันดาลใจ
- Persistent: มุ่งมั่น ตั้งใจ ไม่ย่อท้อ
- Empathy: เข้าใจ ใส่ใจ เปิดกว้าง
ทั้งนี้ คุณมณีนุช เล่าถึงการทำงานใน CDG ว่าเป็นการทำงานแบบ Project-Based คือ การทำงานที่มุ่งเน้นการดำเนินการในโครงการเฉพาะ มีความยืดหยุ่นในการทำงานและสามารถเน้นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้พนักงานได้ทำงานที่ไม่ซ้ำ เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และยังได้ทำงานที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมในภาพรวม
จุดนี้ก็จะสอดคล้องไปกับคำมั่นสัญญาของ CDG ที่ตั้งเอาไว้ว่าจะสร้างเทคโนโลยีเพื่อสังคมที่ดีขึ้น (Technology for a Better Society)
โอกาสจากการทำงานกับภาครัฐที่ CDG
คุณพงศ์ศักดิ์ ชัยชีวชื่น Senior System Engineerเล่าว่า บทบาทของตนในฐานะ System Engineer ครอบคลุมตั้งแต่การรับ Requirement จากทีมขาย การวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เช่น การวางเซิร์ฟเวอร์และฐานข้อมูล ไปจนถึงการประสานงานกับทีม Programmer เพื่อพัฒนาและส่งมอบโซลูชันที่สมบูรณ์แบบ
โดยตลอดการทำงานที่นี่ คุณพงศ์ศักดิ์เล่าว่ามี 3 เรื่องที่ตกผลึกออกมาว่าเป็นสิ่งที่ตนได้จากการทำงาน คือ:
- การวิเคราะห์ปัญหาและภาพรวม : มองปัญหาเชิงระบบอย่างครบถ้วน เพื่อแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การคิดและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ : การปรับปรุงกระบวนการทำงานและการพัฒนาโซลูชันที่ตอบโจทย์คนไทย
- การเผชิญความท้าทายในโครงการใหญ่ ๆ : จากโครงการที่ซับซ้อนและท้าทาย ช่วยให้คุณพงศ์ศักดิ์พัฒนาทั้งความสามารถในเชิงเทคนิค
คุณพงศ์ศักดิ์ ยังแชร์ให้ฟังต่ออีกว่า การทำงานที่ CDG เปิดโอกาสให้ได้ลองงานสเกลใหญ่ ๆ ทำให้ได้ทักษะติดตัวที่หาจากที่อื่นได้ยาก นอกจากนี้ งานที่นี่ให้ Work-Life Balance ที่ดี และยังมีผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม โครงการที่ภูมิใจคือระบบ Biometric Authentication ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลภาครัฐ เป็นงานที่ไม่เพียงพัฒนาทักษะ แต่ยังสร้างผลกระทบที่สำคัญในวงกว้าง
องค์กรที่เปิดโอกาสให้เติบโตในทุกวัน
คุณภาณุวิชญ์ ภู่มี Enterprise GIS Application Analystเล่าให้ฟังว่าที่นี่เป็นเหมือนห้องเรียนอีกห้องหนึ่งที่เปิดโอกาสให้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองอย่างเต็มที่ เช่น คนทำงานจะได้เจอโจทย์สนุก ๆ จากลูกค้าที่ท้าทายความสามารถของตัวเองอยู่เสมอ
คุณภาณุวิชญ์ อธิบายถึงโครงการที่ภูมิใจมากที่สุด นั่นคือ Small Area Load Forecast (SLF) เป็นระบบที่ช่วยเจ้าหน้าที่วางแผนการใช้พลังงานได้อย่างแม่นยำในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเห็นภาพ และสามารถวางแผนการ เพิ่ม-ลด หรือการย้ายโหลดไฟฟ้า สามารถตระเตรียมแผนการไว้รองรับได้ล่วงหน้า โดยในงานนี้เขาได้ลงมือทำตั้งแต่รับ Requirement ไปจนถึงทำหน้าที่สนับสนุนทีม Programmer ในการพัฒนาโซลูชันออกมา
นอกจากบทบาทหลักที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนระบบ GIS แล้ว คุณภาณุวิชญ์มองว่า CDG เป็นองค์กรที่เปิดกว้างและให้โอกาสนอกเหนือจากงานที่ได้ทำอยู่ทุกวัน เขายกตัวอย่างให้ฟังว่าเคยได้ออกไปนำเสนอผลิตภัณฑ์ในงานสัมมนาใหญ่ของ GIS ให้กับลูกค้า ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่มีค่าไม่น้อย
CDG เป็นมากกว่าสถานที่ทำงาน
คุณธิติพัทธ์ สร้อยสูงเนิน Programmerเล่าถึงเหตุผลที่เลือกมาทำงานที่ CDG ว่าเริ่มต้นจากคำแนะนำของเพื่อน หลังจากลองค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมก็พบว่าองค์กรนี้ตรงกับความสนใจในด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบ แต่สิ่งที่ทำให้ตัดสินใจเข้าร่วมงานจริง ๆ คือวัฒนธรรมองค์กรที่อบอุ่นและกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ในทีม เช่น กีฬาสี ซึ่งทำให้รู้สึกว่า CDG เป็นมากกว่าสถานที่ทำงาน
ในฐานะ Programmer คุณธิติพัทธ์เล่าให้ฟังว่า หนึ่งในโครงการที่ภูมิใจมากที่สุดคือการพัฒนา API สำหรับระบบที่เกี่ยวข้องกับการยื่นคำร้องและการลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัย ซึ่งในโครงการนี้มีโอกาสได้เรียนรู้การ Deploy ระบบเพิ่มเติมจากที่ไม่เคยได้ลองทำมาก่อน โดยมีพี่เลี้ยงคอยสอนพื้นฐานที่ควรมีทั้งหมดสำหรับใช้ในอนาคตต่อไป
"ตอนแรกผมคาดหวังว่าจะได้ทำงานตรงสายงานที่ชอบ และ CDG ก็ตอบโจทย์นั้นได้ดี แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดมาก่อนคือโอกาสที่ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ อย่างเช่น Business Logic ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ท้าทายและช่วยพัฒนาทักษะของผมให้หลากหลายขึ้น ที่สำคัญ บรรยากาศการทำงานที่นี่ดีกว่าที่ผมคาดไว้มาก เพราะมีกิจกรรมนอกเวลางานให้ทำไม่ว่าจะเป็นกีฬาสี ร้องเพลง หรือบอร์ดเกม ทำให้การทำงานเต็มไปด้วยความสนุกและแรงบันดาลใจ"
CDG กำลังมองหาเพื่อนร่วมงานใหม่ที่ไม่หยุดพัฒนา
CDG ให้ความสำคัญกับพนักงานในทุกมิติของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการทำงานแบบ Hybrid Workplace การพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ด้วยโปรแกรม Upskill & Reskill หรือการมอบสวัสดิการที่ครอบคลุม เช่น
- ชั่วโมงทำงานแบบยืดหยุ่น
- รถตู้รับส่งสถานีรถไฟฟ้า
- วันลาพิเศษในเดือนเกิด
- การดูแลสุขภาพ เช่น Fitness Center และการตรวจสุขภาพประจำปี
- สวัสดิการครอบครัว เช่น การลาคลอดสำหรับทั้งคุณแม่และคุณพ่อ, สิทธิพิเศษสำหรับพนักงานและครอบครัวในการรักษาพยาบาล
- Flexible Benefits ที่ให้พนักงานเลือกสิทธิประโยชน์ที่ตรงกับความต้องการส่วนตัว
ตอนนี้ CDG กำลังมองหาเพื่อนรวมงานเพิ่มเติมในหลากหลายตำแหน่ง หากคุณมองหาสถานที่ที่ให้โอกาสเติบโตในสายงานเทคโนโลยี พร้อมทั้งสร้างผลกระทบที่แท้จริงต่อสังคม CDG คือคำตอบที่ใช่
สำหรับใครที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดและกดสมัครงานที่สนใจได้ที่ Blognone Jobs และ Website ของ CDG ที่ https://www.cdg.co.th/careers
Comments
ถ้า CDG ได้แวะเข้ามาอ่านคอมเมนต์ ผมอยากเสนอว่า ในเมื่อทางองค์กรได้ทำงานให้กับภาครัฐในโปรเจกต์ใหญ่และมีประชาชนใช้งานเป็นวงกว้าง สิ่งที่ควรให้ความสำคัญคือ ต้องใส่ใจเรื่องการเข้าถึงของคนตาบอดด้วย เพราะบางแพลตฟอร์มที่คนตาดีไม่คิดว่าคนตาบอดจะใช้ แต่ในความเป็นจริงคือ หลายครั้งก็จำเป็นต้องใช้ เช่น ThaID หรือ MEA ที่เกี่ยวโยงกับการใช้ชีวิตประจำวัน
โดยส่วนตัวผมยังไม่ได้ลองใช้ แต่คิดว่าคงมีโอกาสได้ใช้ในอนาคตแน่นอน ดังนั้นถ้าทางองค์กรมีคนตาบอดช่วยทดสอบการเข้าถึงในระบบต่างๆ ก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะก็จะยอดเยี่ยมมากครับ อย่างบริษัท IT ระดับโลกหลายบริษัทก็มีคนพิการช่วยดูเรื่องการเข้าถึงให้เหมือนกัน