แฮกเกอร์ชาวรัสเซีย Alexey Borodin (ZonD80) ได้เผยแพร่วิธีการของเขาซึ่งอ้างว่าเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถกดซื้อแอพที่ต้องซื้อได้โดยไม่เสียเงิน และสามารถทำได้โดยไม่ต้องเจลเบรคอุปกรณ์ใดๆ เพียงแค่เปลี่ยนการตั้งค่าเล็กน้อยเท่านั้น โดยแอพดังกล่าวนั้นเป็น in-app คือเป็นของที่อยู่ในแอพอีกที (เช่นการซื้อของจากเกม)
สำหรับวิธีการคร่าวๆ คือการติดตั้งใบรับรองสองใบและการเปลี่ยนค่า DNS เพื่อให้เชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ของแฮกเกอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางโดยตัวกลางนี้ก็จะส่งค่า (ที่ถูกแก้ไขแล้ว) กลับไปยัง App Store ตัวจริงเพื่อหลอกว่าได้สั่งซื้อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แฮกเกอร์รายนี้ยังเปิดรับบริจาคเพื่อใช้ในการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ที่ช่วยในการแฮกโดยอ้างว่า "ทำไมคุณจะต้องจ่ายอีกครั้งเพื่อซื้อเนื้อหา เนื้อหาที่ถูกรวมอยู่ในแอพที่คุณซื้อมาแล้ว ผมคิดว่าคุณไม่จำเป็นต้องจ่ายมัน" โดยในขณะนี้ทาง Apple ก็ได้แถลงแล้วว่า "ความปลอดภัยของ App Store เป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อเรา และต่อชุมชนของนักพัฒนา" และ "เราจะทำการตรวจสอบการละเมิดในครั้งนี้ต่อไปอย่างละเอียด"
ที่มา - The Hacker News
Comments
man in the middle ??
I need healing.
แต่ก่อนต้องเจลเบรคแต่อันนี้ไม่ต้องรูรั่วเบ้อเริ่มเลย หลักการโกง in-App เดิมๆที่ทาง Apple ไม่ยอมแก้ไขให้ซักที
"ทำไมคุณจะต้องจ่ายอีกครั้งเพื่อซื้อเนื้อหา เนื้อหาที่ถูกรวมอยู่ในแอพที่คุณซื้อมาแล้ว ผมคิดว่าคุณไม่จำเป็นต้องจ่ายมัน"
จะโกงทั้งทียังต้องหาคำพูดให้ฟังดูดีอีก เหตุผลคือถ้าเค้าเปิด content ให้เข้าถึงทั้งหมด ราคาขายตอนแรกก็ต้องแพงขึ้นน่ะสิ
ทุกคนมีเหตุผลเสมอ ไม่ว่าจะทำเพื่อตัวเองหรือทำเพื่อชาติก็แล้วแต่
ก็คล้าย ๆ กับที่คนไทยโกง sticker LINE แล้วเรียกว่าแบ่งปันกันนั่นแหละครับ ทำเป็นพูดดี (T_T)
คำนี้เห็นประจำตามเวบบิท
เอ้อ ผมลืมเจ้าหลักไปเลย - - ขอบคุณที่เสริมครับ
ตามไปอ่านต้นฉบับ เพราะอยากรู้ว่า "Clone App Store" นั้นมันเป็นยังไง แต่ในต้นฉบับ ไม่มีแม้กระคำว่า clone ในข่าว
ลองอ่านดูแล้ว มันไม่น่าจะใช่การโคลนนะครับ เซิร์ฟเวอร์ของแฮ็กเกอร์น่าจะเป็นแค่ตัวกลาง เป็นแค่ทางผ่านที่คอยเล่นทริกอะไรบางอย่างกับรีเควสที่ส่งไปมาแค่นั้น
แก้ไขให้แล้วครับ ขอบคุณครับ
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าจะไม่โดนพักพาสเวิร์ด,ดักบัตรเครดิตรกลางทางหว่า?
โดนแน่ๆ ครับ เอาข้อมูลอ่อนไหวไปผ่านเครื่องของแฮกเกอร์ มันก็ต้องเอาอะไรไป
เผลอๆ ถูกแอปเปิ้ลแบนไอดีคนซื้อด้วย
โดนทั้ง user , pass แต่เลขบัตรเขาอ้างว่าไม่โดน แต่จะเชื่อได้หรือเปล่านั้นไม่รู้
แฮกเกอร์คนนี้น่าจะต้องการดักจับ user pass กับเลขบัตรเป็นหลักมากกว่ารอรับบริจาคนะครับ ช่วงแรกอาจจะไม่ทำ พอทาง Apple อัพเดทอุดรูรั่วแล้วคงจะเอาข้อมูลไปใช้ทีหลังครับ
เพราะถ้าตั้งใจหากินทางนี้จริงๆ ไม่น่าจะอธิบายวิธีละเอียดขนาดนี้
สงสาร dev. :-(
"ทำไมคุณจะต้องจ่ายอีกครั้งเพื่อซื้อเนื้อหา เนื้อหาที่ถูกรวมอยู่ในแอพที่คุณซื้อมาแล้ว ผมคิดว่าคุณไม่จำเป็นต้องจ่ายมัน" << ฟังไม่ขึ้นอย่างแรง สมกับที่เป็นคำพูดของแฮกเกอร์
"ทำไมคุณจะต้องจ่ายอีกครั้งเพื่อซื้อเนื้อหา เนื้อหาที่ถูกรวมอยู่ในแอพที่คุณซื้อมาแล้ว ผมคิดว่าคุณไม่จำเป็นต้องจ่ายมัน" << ยังไงก็ฟังไม่ขึ้น
คนพวกนี้ผมไม่อยากเรียกว่า hacker เท่าไหร่ มันดูสูงค่าเกินไป
เป็นแค่คนเห็นแก่ตัวที่ทำเป็นเท่ห์ แค่นั้นเอง
ถึงบางแอพจะแพงไปจริงๆ ก็เถอะ //แอบเซ็ง
Dream high, work hard.
"ทำไมคุณจะต้องจ่ายอีกครั้งเพื่อซื้อเนื้อหา เนื้อหาที่ถูกรวมอยู่ในแอพที่คุณซื้อมาแล้ว ผมคิดว่าคุณไม่จำเป็นต้องจ่ายมัน" <<ถ้าทางเอ็งจะเกรียดพวกหลอกขายพวก DLC ที่หลังซินะทั้งๆที่มันก็อยู่ในตัวอยู่แล้วแค่โหลด Code Unlock ออกมาตัวอย่างง่ายๆยกจากเกมละกัน Stress Fighter X Taken ที่ DLC ปล็ดล็อคตัวละคร ที่จริงๆมันอยู่ในเกมอยู่แล้วแค่ซ่อนมันไว้
ผมเกลียด DLC ที่ต้องจ่ายเงินเพื่อ Unlock
ทั้งๆที่ข้อมูลทั้งหมดอยู่ในแผ่นหรือโปรแกรมนั้นๆแล้วทำไมเราจะต้องจ่ายเงินหลายๆรอบด้วย
โดนเฉพาะพวกเกม Console
เพราะราคาที่เค้าตั้งขายตอนแรก เค้าตั้งมาแค่ให้คุณเล่นได้เท่านั้น ถ้าคุณต้องการจ่ายครั้งเดียวเพื่อได้ทุกอย่าง ราคาที่ซื้อตอนแรกก็ต้องแพงกว่านี้ และ มันไม่แฟร์สำหรับคนที่ไม่ต้องการเนื้อหา ตัวละคร พวกนั้น การ DLC จึงเป็นสิ่งที่แฟร์ สำหรับผู้บริโภค มากๆแล้ว
+1 อันนี้ผมเห็นด้วยนะ
Dream high, work hard.
เห็นด้วยบางส่วนกับคำว่า "แฟร์ สำหรับผู้บริโภค มากๆ แล้ว" พวกไม่แฟร์ดูง่ายๆ เกม bioware สมัยนี้นั่นแหละ
+1 ไม่งั้น Windows แต่ละรุ่นก็พอกัน พักหลังเวลา up รุ่นแทบจะปลดได้ในตัวเลยด้วยซ้ำ
ยังไม่นับลงแบบทดลองใช้ฟรี ๆ ที่เสียเงินเพื่ออัพมาเป็นเต็มอีก
in-app บางตัวมันไม่แฟร์จริงๆ นะครับ เช่น Mighty Eagle ซึ่งแอพ Angry Birds เองก็ไม่ฟรีอยู่แล้วและเป็นฟีเจอร์ที่ใส่มาในแพทช์จึงไม่ใช่ข้ออ้างเลยว่าไม่เก็บแล้วอยู่ไม่ได้ในเมื่อตอนแรกไม่มีเลยก็ยังขายได้ถล่มทลาย (อันนี้หมายถึงเฉพาะใน App Store นะครับ)
อีกลักษณะนึงที่เกลียดมากคือการเอาเกมเต็มขึ้นไปตั้งราคา free แต่จะปลดตัวเต็มต้องซื้อ in-app purchase แล้วไม่ยอมเขียนว่าตัวเต็มเท่าไร (เพราะ app store เขียนให้อยู่แล้ว แต่แอบไว้ตัวจิ๊ดเดียว) สรุปคือใครที่เล่นเพราะนึกว่าฟรีก็โดนหลอกให้โหลด demo ไปซะงั้น ถ้าเขียนคำว่า demo ให้ชัดเจนก็ไม่ใช่ปัญหา
ผมนิยาม in-app ที่ไม่แฟร์ไว้ง่ายๆ คือถ้าใช้ iAPCracker แครกได้ นั่นคือสิ่งที่แถมมากับแอพอยู่แล้วและมันไม่แฟร์ (ทั้งนี้เป็นแค่ข้อสังเกตไม่ถูกต้องเสมอไปนะครับ เช่นเพลงใน Jubeat Plus ถูกแครกได้แต่ว่าก็ถูกต้องแล้วที่ควรเก็บเงินเพิ่ม)
ในแพลตฟอร์มอื่นๆ ผมซื้อ TF2 ก่อนที่มันจะเปิดฟรีเพราะผมยินดีจะซื้อเกมมาเล่น แต่ไม่ใช่เปิดฟรีแล้ว pay to win แบบแถๆ ด้วยการขายไอเทมแล้วใครอยากเทพก็ซื้อ คนเล่นฟรีก็อ้างว่าเราไม่ได้บังคับซื้ออยากเล่นธรรมดาก็เล่นไปสักสามสี่วันให้มันดรอป
+1
มันแฟร์ แต่หลายเกม หลายโปรแกรม ผมก็ไม่เรียกว่า "แฟร์" นะ เหมือนโดนหลอกอะไรทำนองนั้นมากกว่า "แฟร์"
Jusci - Google Plus - Twitter
ไม่จำเป็นหรอกครับว่าใช้ iapp-cracker แล้วจะแฟร์ไม่แฟร์ เพราะเกมเกาหลีส่วนใหญ่เค้าป้องกันทุกเกม แปลว่าเกมเกาหลีแฟร์ทุกเกม ?
ผมเขียนไว้ครับว่า (ทั้งนี้เป็นแค่ข้อสังเกตไม่ถูกต้องเสมอไปนะครับ เช่นเพลงใน Jubeat Plus ถูกแครกได้แต่ว่าก็ถูกต้องแล้วที่ควรเก็บเงินเพิ่ม)
(ไม่เกี่ยวกับ reply ข้างบนแต่เกี่ยวกับประเด็นที่ผมโพสต์ไว้) นี่คือสิ่งที่ผมเจอและอารมณ์เสียมากใน App Store และใน Steam จะไม่มีแบบนี้ให้เห็น
ราคาเกมถูกเขียนสองที่ ที่หนึ่งเขียนว่า Free สีโดดเด่น นั่นคือ demo ของเกม ส่วนราคาเต็มเขียนด้วยตัวเลขประมาณ fine print ในโบรชัวร์ 1112 ไม่มีการเน้นอะไรทั้งนั้น
ok ครับผมเข้าใจ แต่ผมแค่ต้องการจะบอกว่า iApp-cracker ไม่ควรนำมาเกี่ยวกับการตัดสินว่าเกมไหนควรเก็บเงินเพิ่มหรือไม่ควรเก็บเพิ่มในทุกกรณีเลยดีกว่าเพราะมันไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย
ส่วนการตัดสินว่าเกมไหนห่วย หรือ เกมไหนที่ทำมาเพื่อหลอกเงินผู้บริโภคส่วนใหญ่จะถูกโหวตเรตติ้งต่ำและริวิวตำหนิได้อยู่แล้ว เวลาผมจะเลือกโหลดเกมผมก็อ่านตรงรีวิวของผู้ใช้นี่แหละครับว่าน่าโหลดหรือไม่ และถ้าผมโหลดคนแรกๆ ผมลองเล่นแล้ว ชอบไม่ชอบก็จะรีวิวให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ครับ
ผมนึกว่าคนไทยจะชินกับเรื่องแบบนี้แล้วซะอีก EX.ดูผ่านๆ ตาอย่างป้ายขายคอนโด เด๋วนี้ มันก็มีแต่แบบนี้ทั้งนั้น ราคาเริ่มต้น 1 ล้านต้น ผ่อนเพียงเดือนละ 9000- ไรงี้ ที่ไหนได้ .... ยกตัวอย่างซะไกล app เลย อิอิ ไม่โกหก แต่ก็เข้าข่ายหลอกลวง อยู่ดี
ผมว่า ควรแยกเรื่องการแกะ Unlock ด้วย iAPCracker กับการเอาเปรียบผู้บริโภคไว้คนละประเด็นกันครับ
จริงอยู่ การหลอกให้โหลดไปเล่นโดยบอกว่า "ฟรี" แล้วเสียเงินเพียงเพื่อปลดล็อก มันดูไม่แฟร์
ดูอย่าง Real Steel สิ ผมโหลดมาเล่นแบบเสียตังค์แล้ว ยังต้องเสียเงินอีกรอบเพื่อปลดล็อก Atom (หุ่นพระเอก) กับ Zeus (หุ่นหัวหน้า)
แค่นั้นยังไม่พอ ถ้าผมอยากเล่น Twin City (หุ่นสองหัว) ผมต้องจ่่ายตังค์อีกรอบ .... อันนี้ิสิ หลอกต้มชัดๆ แต่เพราะผมชอบหนังเรื่องนี้มาก
แถมเสียเงินไปแล้ว เลยต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อปลดล็อก ... T T (หนัง+เกม+ปลดล็อก) ปล. เกมห่วยด้วยนะ
......... แต่ประเด็นที่ตัวเกม Bundle ตัวละครมาให้อยู่แล้ว แต่จ่ายเงินเพื่อให้เกมเปลี่ยนค่า flag จาก disable เป็น enable เนี่ย
มันดีกว่า ต้องดาวน์โหลดมาภายหลังอีกเป็นไหนๆ เพราะนอกจากทางเทคนิคที่ง่ายกว่าแล้ว คุณไม่ต้องรอนานกว่าจะได้ของอีกด้วย (data ไม่ต้องโหลด data ใหม่ เล่นได้เร็วทันใจ)
.......... มันคือสิทธิการเข้าถึงครับ.. ลองคิดง่ายๆ การเข้าถึงด้วย "ชนชั้นแรงงาน" ที่มันต่างกับ "ชนชั้นปกครอง" ไม่เรียกว่าเป็นการถูกเอาเปรียบเหรอครับ
ส่วนนึงเพราคุณไม่คิดซื้อแผ่นแท้แบบเต็มๆอยู่แล้วเค้าเลยต้องหาวิธีอื่นๆมาป้องกันไงครับ
แบบนี้ก็แฟร์ดีแล้วนะครับ ดีกว่าแบบใช้ได้ทั้งแผ่นทั้งเกม แต่ราคาแพงขึ้น 2 เท่า(ส่วนที่เพิ่มมาไม่ได้ใช้ไม่ได้เล่นเลย) หรือไม่ก็ใช้ได้ทั้งแผ่น แต่ถ้าอยากได้ส่วนเสริมเพิ่มก็ไปซื้อแผ่นเพิ่มมาอีกแผ่นนึง(แผ่นมันมีที่เหลือก็ใส่มาเลยดีกว่า โดนเฉพาะพวกเกม Console ที่ไม่มีทางเลือกยังไงก็ต้องใส่มาในแผ่นเดียว เพราะเล่นทีละ 2 แผ่นไม่ได้) ส่วนในกรณีของ Appstore คนที่ซื้อแอพอยู่แล้วแค่กดซื้อจากในแอพไม่น่าจะแตกต่างกันหรือลำบากอะไรเพิ่มขึ้นมาก อย่างมากก็เสียเวลาใส่รหัสผ่านหลายรอบไม่ถึง 5 วินาที ส่วนตัวผมชอบแอพบางแอพที่ราคา 0.99$ แล้วให้เราเลือกซื้อสิ่งที่เราจะใช้เองในแอพมากกว่าดูเหมาะกับผู้ใช้แต่ละคนดี
ผมไม่ได้อยากจู้จี้หรืออะไรนะครับซื้อ แอพได้ไม่ต้องเสียตัง กับ ซื้อ in-app purchase ได้ไม่ต้องเสียตังมันคนละเรื่องกันรึเปล่าครับ
in-app ไม่น่าใช่แอพที่อยู่ในแอพอีกที น่าจะเป็นที่ผู้เขียนเขียนไว้ในวงเล็บ คือการซื้อของข้างในแอพมากกว่าครับ
twitter.com/djnoly
แก้ไขแล้วครับ ขอบคุณครับ
แสดงว่าไม่ได้ lock certificate ของ app store ไว้ มันเลยไปยอมรับ cert ที่ลงเองด้วย -_-'
เฟลแบบที่ไม่ควรจะเป็นได้เลย
สงสัยเอาไว้ทดสอบภายใน แต่ไม่ได้เอาออกเพราะคิดว่าคงไม่มีคนซน
Dream high, work hard.
Apple ปิดช่องโหว่นี้ไปแล้ว ตั้งแต่ข่าวออกมาไม่กี่ชั่วโมงแล้วครับ
แบบว่า แปะที่มาหน่อยก็ดีครับ
Dream high, work hard.
ทามงายยยอ่ะ หลังไมค์หน่อยยย
เสร็จโจร....ข้อมูลรหัสผ่านเสร็จมันหมด -*-
In-app purchase นี่ตัวทำเงินให้ผู้พัฒนาเลยครับ บางแอพ บางเกม In-app purchaseราคาแพงกว่าค่าตัว App เป็นสิบเป็นร้อยเท่า และบางทีใช้แล้วหมดต้องซื้อใหม่อีกต่างหาก
เหมือนเกมขับรถมาใหม่อ่ะ ที่แค่เปลี่ยนเกียร์เฉยๆ จะมีลิมิตน้ำมันในแต่ละวัน และให้คนเล่นเติมเงินจริงเพื่อซื้อน้ำมันในเกม สะงั้น !!!
แถมเลเวลสูงๆนี้ ผ่านไม่ได้เลย ถ้าไม่ซื้อของในเกม เหอะๆ เลยโหวต 1 ดาว ไป
ใช้ความอดทนเล่นครับ ตอนนี้ก็เกือบเคลียร์ 100% แล้ว XD
Dream high, work hard.