เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (17 กันยายน 2555) ศาลอุทธรณ์มีความเห็นเลื่อนการพิจารณาคดีที่กูเกิลโดนฟ้องร้องเรื่องการทำห้องสมุดดิจิทัล และกำลังพิจารณาสถานะของการฟ้องร้องเป็นกลุ่มของเหล่าผู้แต่งหนังสือ
เป็นเวลามากกว่า 10 ปีมาแล้วที่กูเกิลได้ทำสำเนาหนังสือกว่า 20 ล้านเล่ม เพื่อรวบรวมข้อมูลดังกล่าวให้สามารถค้นหาได้ผ่านทางบริการของกูเกิลเอง ทว่าโครงการนี้ต้องหยุดชะงักเมื่อผู้แต่งหนังสือหลายรายได้ยื่นฟ้องกูเกิลฐานละเมิดลิขสิทธิ์ และเริ่มกระบวนการในชั้นศาลมาตั้งแต่ 7 ปีก่อน
กลุ่มผู้แต่งหนังสือซึ่งร่วมกันฟ้องกูเกิล เรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้ เป็นเงิน 750 ดอลลาร์ ต่อหนังสือ 1 เล่ม โดยหวังว่าการฟ้องร้องร่วมกันจะมีผลให้การดำเนินคดีหวังผลได้ดีกว่าการแยกกันต่างคนต่างฟ้อง อย่างไรก็ตามกูเกิลได้คัดค้านวิธีการดังกล่าว ส่งผลให้ศาลอุทธรณ์พักการพิจารณาคดีเพื่อพิจารณาประเด็นการคัดค้าน
ที่มา - The Washington Times
Comments
digital ใช้คำว่า ดิจิทัล นะครับ
แก้ไขแล้วครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
หารายได้ทางอ้อมจากการสําเนาหนังสือของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นระยะเวลามากกว่า 7 ปี
อืม ... แบบนี้เรียกว่า evil ได้หรือยังนะ
That is the way things are.
บริการของกูเกิลตัวนี้ ไม่ได้หารายได้นี่ครับ?
เป็นการเก็บข้อมูลหนังสือ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา ซึ่งทางหอสมุดและมหาวิทยาลัยต่างๆ นั้นยินดีให้กูเกิลทำ แต่ทางนักเขียนและสำนักพิมพ์ไม่ยินยอม จึงเกิดการฟ้องร้องกันขึ้น
~ HudchewMan's Station & @HudchewMan ~
อ่านตกคำว่าทางอ้อมไปรึเปล่าครับ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
จำได้ว่าเป็นแขนกล ค่อยๆแสกนทีละหน้า อย่างเท่แต่นานมากจนลืมไปแล้วน่ะเนี้ย