หลังจากมีการทดลอง แปลงข้อมูลอีบุ๊กไปสู่รหัสพันธุกรรมสำเร็จมาแล้ว ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ก็ประสบความสำเร็จในการทดลองแปลงไฟล์ MP3 และจัดเก็บข้อมูลไฟล์ดังกล่าวในรูปของรหัสพันธุกรรม DNA
การทดลองทำโดยแปลงข้อมูลไฟล์ MP3 ที่อยู่ในรูปข้อมูลดิจิทัลซึ่งแท้จริงแล้วก็คือชุดตัวเลขฐาน 2 ให้อยู่ในรูปของตัวเลขฐาน 3 เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนประเภทโมเลกุลของ DNA ที่สามารถใช้งานได้จริง จากนั้นจึงแปลงข้อมูลเลขฐาน 3 ให้เป็นรูปแบบรหัสพันธุกรรม โดยข้อมูลภายหลังการแปลงจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อให้ง่ายต่อการสังเคราะห์โมเลกุลของ DNA
ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าข้อมูลไฟล์ดิจิทัล สามารถแปลงและจัดเก็บในรูปของ DNA ได้จริง โดยโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้นตามรหัสที่เตรียมไว้ สามารถคงค่าและนำมาถอดรหัสใหม่ได้ข้อมูลเดิมอย่างถูกต้อง ซึ่งการทดลองเพิ่มเติมด้วยไฟล์ข้อความ, ไฟล์ PDF และไฟล์ภาพถ่ายดิจิทัลก็ให้ผลที่น่าพอใจเช่นเดียวกัน
ในทางทฤษฎีหากเก็บ DNA ไว้ด้วยการแช่แข็งอย่างเหมาะสม จะสามารถคงสภาพเก็บข้อมูลอยู่ได้นานถึง 5,000 ปี โดย DNA แต่ละกรัมสามารถจุข้อมูลได้มากถึง 2.2PB
หวังว่าเราจะมีอายุยืนยาวพอได้เห็นวันที่เทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้งานได้จริง
ที่มา - Ars Technica
Comments
ชักอยากรู้จักว่าธรรมชาติใส่ข้อมูลอะไรลงมาในDNAเราบ้าง
รอดูกันต่อไป
นึกถึง loop (เล่ม 2 ของ the ring) เอาของมูล DNA ของมนุษย์เข้าไปในดิจิตัล แล้วนั่งดูตัวซิมูเลฯ ใช้ชีวิต .. บึ๋ย!
my blog
Loop เป็น เล่ม 3 ของ Ring นะครับ Ring > Spiral > Loop > The Birthday (เล่มพิเศษ) พอดีชอบเล่มนี้มาก อ่านเป็นเล่มแรกของชุดนี้เลย :D
ว่าแต่เพลงอะไรได้รับโอกาสประวัติศาสตร์ครั้งนี้หว่า ได้บรรจุลงใน DNA เพลงแรกของมนุษยชาติเลยนะเนี่ย
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
จริง ๆ พออ่านเรื่องนี้แล้ว (ฮาวาร์ดประสบความสำเร็จในการบันทึกอีบุ๊กลงดีเอ็นเอครั้งใหม่) เลยไม่แปลกใจเท่าไหร่แล้วครับ มีข้อมูลความแตกต่างหรือเปล่า เช่น อ่าน-เขียนได้เร็วขึ้น
อีกนิด จริง ๆ เรื่องนี้น่าจะลงที่ JuSci นะครับเนี่ย
อย่างแรกเลยที่ต้องสารภาพ คือ ผมไม่เคยอ่านข่าวข้างต้นใน Jusci มาก่อน
แต่จากที่อ่านเมื่อสักครู่ เทียบกับข่าวนี้แล้ว สิ่งที่แตกต่างเพิ่มขึ้นก็เป็นเรื่อง
ข้างต้นเป็นที่ผมสรุปเอาเองคร่าวๆ นะครับ
ส่วนเรื่องการลงข่าวที่ JuSci ตอนนี้ผมยังล็อกอินไม่ได้เลยครับ (- -")
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
A: "เธอๆ เพลงนี้เพราะจัง ขอหน่อยสิ"
B: "ได้สิ" B หยิบเข็มฉีดยาขึ้นมา จึ๊ก! "อะ ได้แล้ว"
A: "ขอบใจนะ"
...
!!!! อุแหม่ ถ้าจะแลกข้อมูลกันแบบนี้...
ระวังเอดส์นะครับ
DNA มีอยู่ในน้ำลายครับไม่เป็นไร
A: "เธอๆ เพลงนี้เพราะจัง ขอหน่อยสิ"
B: "ได้สิ" ขากกกกสสส์
A: "เห้ย ๆ ดะ.เดี๋ยววว นะ"
A: "เธอๆ เราอยากรู้จังเลยว่าถ้าเพลงนี้เป็นมนุษย์จะหน้าตาเป็นอย่างไร"
ตัดจบครับ
ผมนึกถึงข้ออ้างในการแลกเปลี่ยนข้อมูลในอนาคต ด้วยวิธีแลกเปลี่ยนสารเคมีระหว่างร่างกายกันซะแล้ว จินตนาการบรรเจิด!
ผมรู้คุณก็กำลังจินตนาการแบบเดียวกับผม ^^
ผมนึกถึงอสุจิครับ
ใส่ถุงยาง = แลกเปลี่ยนไม่ได้
เผ่น
เข็มอะไรครับ !!
ผมจินตนาการไกลนะ
เพลงกินตับ
เงิบ
กรัมละ 2.2 PB ...โอ้วววกรี้ด มนุษย์หนัก 70 กิโล ได้ความจุ 15,769,600 GB = DVD 3,942,400 แผ่น ถูกผิดของอภัยนะ น่าตื่นเต้นจริงๆ
ร่างกายมีนํ้าประมาณ 60-70เปอเซนของนํ้าหนักตัวครับ :)
ตรงสมองมันน่าจะเก็บด้วยวิธีอื่นด้วยนะครับนั่น นี่แค่ร่างกายก็เก็บแค่ข้อมูลพื้นฐานก็ใหญ่เอาเรื่องละครับ แถม Read/Write สมองเราเร็วมากๆด้วยครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
คงกลับกันกับผมนะผมนี่กว่าจะ read มาได้ก็ช้ามาก เพราะ seek ไม่เจอ ไม่รู้จะ rebuild index ยังไง
ส่วนเวลา write นี่ก็ชอบ loss
ถ้ายังไม่หมดประกันรีบเครมด่วน
555
Jusci - Google Plus - Twitter
ในความเข้าใจของผมนะ การอ่านข้อมูลจาก DNA ในสิ่งมีชีวิตตอนสุดท้ายจะได้ออกมาเป็นสายโปรตีนที่เอาไปทำ function ต่างๆ
แต่กรณีสมองที่เป็นการจัดการข้อมูลเป็นหลักมันเลยใช้การแลกเปลี่ยนสารชีวเคมีแทนครับ เพราะมันไม่ต้องการ final product ที่เป็นโปรตีน
ส่วนเรื่องความเร็วในการ read/write จริงๆแล้ว DNA อ่ะอ่านเขียนไวมากเลยนะฮะ เพราะมันใช้ Enzyme เป็นตัวเร่งเกือบทุกปฏิกิริยา เพราะงั้นหลักๆมันอยู่ที่ความต่างของ Final product ที่ต้องการมากกว่า
แสดงว่าการมีเพศสัมพันธ์ของมนุษย์ก็เป็นความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมหาศาลในระยะเวลาอันสั้นที่มีมาตั้งแต่เกิดเหนือกว่าเทคโนโลยีใดและไม่ต้องใช้เงินหรืออุปกรณ์ใดด้วย
แต่ก็มีข้อจำกัดที่ความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลจะไม่เท่ากันไม่มี international standard รองรับและช่วงความเร็วก็คงต่างกันมาก จาก kbit/s จนถึง Tbit/s เออว่าแต่จะมีค่ายไหนส่งไปให้ standard body รับรองไหมนี่ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ยุโรป ญีปุ่น จีน เกาหลี หรือไทยเราเอง
ร่างกายเราทั้ง 70 โล ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก ในเซลล์เองก็มีมวลนิวเคลียสไม่มากนัก ในนิวเคลียสยังต้องแบ่งเป็นนิวคลีโอลัสที่มีอยู่น้อยเข้าไปอีก แล้วในนิวคลีโอลัสก็ยังแบ่งเป็นส่วนที่เป็นโปรตีน กับส่วนที่เป็นสารพันธุกรรมอีก
สรุปแล้ว ร่างกายคน 70 โล มีมวลของสารพันธุกรรมน้อยมากๆครับ กว่าจะหาสารพันธุกรรมจนครบ 1 กรัมได้นี่ยากมากๆเลย
เพิ่มรายละเอียดบางอย่างจากแหล่ง ==> DNAมี4เบส ATCG ที่ใช้เลขฐาน3เนื่องจาก ปัญหาทางเทคนิคที่ไม่สามารถสังเคราะห์Nucleotide ตัวเดียวติดๆกันยาวๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ(เช่นTTTTTTT)
แปลว่าเขาจัดเก็บโดยใช้nucleuotide แต่3ตัวใช่ไหมครับ
ขอบคุณครับ ก็งงอยู่ว่ามี 4ตัวทำไมใช้แค่เป็นฐาน 3
แต่แปลกใจว่าในรหัสเป็นฐาน3จริง แต่มีการใช้อีกตัวในการคั่นตัวซ้ำรึเปล่า
เช่นถ้าเก็บGTCGTCTTT จะเก็บเป็น GTCGTCTATAT รึเปล่า
ทำให้ขั้นตอนการเก็บกับผลจากการอ่านอาจได้ไม่ตรงเป๊ะ
ปกติผมจะเก็บข้อมูลเพลงได้ด้วยการฟังแล้วแสดงผลออกทางการร้อง (ตอนนี้มันยังเพี้ยนๆอยู่ ไม่เหมือนต้นฉบับ ปัญหาอาจจะอยู่ที่หู) ถ้าได้วิธีเก็บข้อมูลเพลงแบบนี้ แล้วผมยังร้องเพลงเพี้ยน สงสัยปัญหาอยู่ที่ปาก
อีกหน่อยถ้าใครเกิดมาไม่มีรู 3.5 ตามตัวคงต้องไปอัพเกรด
แต่ XX ก็มีรูใหญ่บะเริ่มเลยนะครับ ส่วน XY ก็มีปลั๊กที่เสียบกันได้พอดีด้วย คิดว่าคงไม่ต้องอัพเกรด เพราะมันมีอยู่แล้ว อิ อิ ฟิ้ววววว........
ใคร 3.5" นี่ต้องพบแพทย์แล้วนะครับ ขนาดไม่ได้มาตรฐาน / ฟิ้ว
ใครก็ช่างคิด เก็บได้เยอะ(มาก) เก็บได้นาน(มาก) ราคาถูก(มาก) ก้าวข้าวขีดจำกัดของเทคโนโลยีของหน่วยเก็บข้อมูลเช่นฮาร์ดดิสไปไกลเลยด้วยการคิดต่าง แต่ก็ไม่ต่างเท่าไหร่เพราะมันเป็นจุดๆแรกเลยของสิ่งมีชีวิต เรียกว่าใช้พลังของธรรมชาติไม่ใช่พลังของมนุษย์เอง
เรื่องเก็บได้นานมาก ไม่ค่อยแน่ใจเพราะผมว่าสาร organic ไม่ค่อยเสถียร แต่การเก็บน่าจะใช้เวลาอยู่บ้างเพราะเป็นการสร้าง dna/protein ขึ้นมาใหม่คงไม่เร็วเหมือนการใช้ไฟฟ้า น่าจะเหมาะกับการ backup ข้อมูลมากกว่า
และแล้ววันหนึ่ง computer virus กับ virus จริงๆก็อาจเป็นตัวเดียวกัน
นั่นสิครับ ผมสงสัยว่าข้อมูลที่เก็บมันจะอยู่แบบเดิมได้นานเท่าไหร่กัน อาจจะกลายพันธุ์ไปซะก่อน
ผมเดาว่าถ้าเทียบกับการจัดเก็บแบบธรรมดาบนmediaทั่วไป มันจะมีเสื่อมตามเวลาแต่"เก็บบนDNA"มันอยู่นานโดยค่าไม่เพี้ยนไม่เปลี่ยน ซึ่งการ"เก็บDNA"ก็ต้องถูกคิดขึ้นมาอีกว่าทำยังไงให้รักษามันไว้ให้นาน
คิดง่ายๆในแบบกลับกัน เหมือนแผ่น DVD princo อะ เราเก็บแผ่นมันไว้ได้นานเป็น 10ปี แต่แผ่นมันเองรักษาข้อมูลไว้ได้ไม่นานก็หาย
ต่อไปเวลาใช้คอมพิวเตอร์คงต้องมีสายต่อจากคนแล้วสินะ ไม่ต้องไปหาซื้อ HDD แล้ว ที่นี้อะไรที่ลึกลับก็จะติดตามเราไปทุกที่ ฮา :)
ผมว่าไม่ต้องมีสายหรอกครับ น่าจะไร้สาย ประมาณว่าส่งกระแสจิต
โอ้ว... ถ้างั้นเวลาเราลอกข้อสอบเพื่อน ก็ถือว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีการ Copy ข้อมูลแบบไร้สายซินะ 55+
ระบบสัมผัสน่าจะเวิร์คกว่าระบบไร้สายนะครับ 555
ผมนึกถึงหนังสือเล่มนึง "เมื่ออนาคตไล่ล่าคุณ" - AS THE FUTURE CATCHES YOU
แอปเปิ้ล ส้ม กับแผ่นดิสท์ คือ สิ่งเดียวกัน
(0 - 1 - 0 - 1) == (A - T - C -G)
ผมนึกถึงการเก็บประวัติตระกูลลง DNA สามารถสืบและรู้ได้ว่าบรรพบุรุษเราเมื่อ 100-200 ปีก่อนเป็นใคร อะไร ยังไง
ระดับร้อยปีมีคนทำแบบปกติลงกระดาษเลยครับ
พี่ที่ทำงานเก่าผม มีผังเครือญาติตั้งแต่อพยพจากจีนเข้าไทยสมัยร.5ครับ
ที่อึ้งอีกคือมีรูปวาดต้นตระกูลที่ใส่ชุดขุนนางจีนอีก และต้นตระกูลที่เข้ามาไทยก็มาเป็นข้ารับใช้ราชวงศ์ไทย ได้รับนามสกุลพระราชทานอีก
ยังติดต่อกันอย่างเหนียวแน่นครับเห็นมีงานเช็งเม๊งทีทำหนังสือผังตระกูลกันเป็นร้อยเล่มแจกในงาน
อลังการมากครับ แถวบ้านผมนับไปสองรุ่นก็แทบไม่รู้จักกันล่ะ
+1 ผมก็อยากมีนะครับ แต่แค่นามสกุลรุ่นคุณยายผมก็ไม่ทราบแล้ว เกินรุ่นนั้นไปนี่ตัดจบได้เลยครับ
เห็นข่าวนี้แล้วอดทึ่งไม่ได้จริงๆ ครับ ขอเล่าอะไรให้ฟังนิดนึง มี [spoil] Gunnm : Last Order นิดหน่อยนะครับ
ครั้งแรกที่ผมรู้จักการเก็บข้อมูลแบบนี้มาจาก
- เรื่อง Gunnm : Last Order Dr. Nova สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้โมเลกุลของอากาศ
- เก็บข้อมูลไว้ใน แบคทีเรีย
- Stephen Wiltshire
- เก็บข้อมูลไว้ใน DNA
บางทีวันที่จะไปถึง ระดับเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้โมเลกุลของอากาศ คงไม่นานอย่างที่คิดนะครับเนี่ย และก็เป็นไปได้ที่จะมีวิธีใหม่ที่เหนือกว่านั้นอีก
ผมนึกถึงเวลาจะ copy งานแล้วไม้มีอุปกรณ์ บางครั้งอยากจะเอานิ้วเสียบช่อง USB เลยจริงๆ ไฟแค่ไม่กี่ Kb ทำให้อารมเสียต่อไปก็สบายเลย เอานิ้ว copy งานได้จริงๆ 555
ระวังติดไวรัสนะครับ
อาจตายได้
น่ากลัวมาก
อาจจะใช้เส้นผมสื่อสารกันเหมือนกับในเรื่อง อวตาร
นึกภาพเครื่องอ่านข้อมูลไม่ออกเลยแฮะ แล้ว DNA มันเล็กซะขนาดนั้นจะพกพากันยังไงหว่า
อยากรู้จังว่าเพลงแต่ละเพลง เมื่อแปลงเป็นดีเอนเอแล้ว ถ้าเอาดีเอนเอมาสร้างสิ่งมีชีวิต จะมีรูปร่างน่าตาและลักษณะนิสัยยังไง อิอิ
ตกลง สมองเรา เก็บข้อมูลเป็นเลขฐานสองหรือเปล่า ?
ณ ตอนนี้ยังไม่มีงานวิจัยใดๆยืนยันได้ครับ สมองเรายังไปเป็น Black Box อยู่เลยเรารู้อะไรเกี่ยวกับมันน้อยมาก
นึกถึงหนังเรื่อง Johnny Mnemonic
แต่ในหนังยอมเคลียร์ความจำวัยเด็กเพื่อไม่กี่ GB หนิเนอะ
ในทางความเป็นจริงถ้าเก็บได้ก็มหาศาลกว่านั้นเยอะ