HTC ออก infographic อธิบายกระบวนการทำงานของบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการอัพเดต Android ตามกูเกิล ว่าเอาเข้าจริงแล้วเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย
ในแผนภาพของ HTC แบ่งอุปกรณ์เป็น 3 กลุ่มคือ
- carrier devices หรือมือถือรุ่นปกติที่ขายผ่านโอเปอเรเตอร์ (ในต่างประเทศ)
- unlocked/dev edition devices มือถือรุ่นสำหรับนักพัฒนา
- Google Play edition devices มือถือรุ่นขายผ่านกูเกิล
ซึ่งมือถือแต่ละกลุ่มมีกระบวนการทดสอบ-ออกใบรับรองที่แตกต่างกันในรายละเอียด
กระบวนการอัพเดตซอฟต์แวร์ในภาพรวม ช่วงแรกเหมือนกันหมด
- กูเกิลออก Platform Development Kit ให้บริษัทฮาร์ดแวร์ทดสอบ
- กูเกิลประกาศทำ Android เวอร์ชันใหม่
- กูเกิลเปิดซอร์สโค้ดให้ผู้ผลิตชิปเซ็ต และผู้ผลิตฮาร์ดแวร์มือถือ
- ผู้ผลิตชิปเซ็ตตัดสินใจว่าจะรองรับ Android เวอร์ชันใหม่หรือไม่, ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ตัดสินใจว่าสเปกของฮาร์ดแวร์เดิมไปได้หรือไม่
- ถ้าผู้ผลิตชิปเซ็ตตัดสินใจไปต่อ ก็จะออกไดรเวอร์สำหรับชิปเซ็ตรุ่นนั้นๆ ให้ แต่ถ้าไม่ไปต่อก็จบ
หลังจากนั้นแยกตามสายผลิตภัณฑ์
Google Play edition devices
- ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ไม่ต้องทำรอมเอง (กูเกิลทำให้)
- ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ทดสอบรอมเป็นการภายใน
- ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ส่งรอมทดสอบในแล็บ (lab entry)
- กระบวนการทดสอบและแก้บั๊ก
- กระบวนการตรวจเช็คและออกใบรับรอง (certification) ร่วมกับกูเกิลและหน่วยงานกำกับดูแล (เช่น FCC)
- กูเกิลออกใบรับรองทางเทคนิค (technical acceptance) ให้
- กูเกิลปล่อยอัพเดตผ่าน OTA
unlocked/dev edition devices
- ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จัดคนไปพัฒนารอมเวอร์ชันใหม่ โดยผนวกซอร์สโค้ดระดับล่างเข้ากับ HTC Sense
- ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ทดสอบรอมเป็นการภายใน
- ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ส่งรอมทดสอบในแล็บ (lab entry)
- กระบวนการทดสอบและแก้บั๊ก
- กระบวนการตรวจเช็คและออกใบรับรอง (certification) ร่วมกับกูเกิลและหน่วยงานกำกับดูแล (เช่น FCC)
- กูเกิลออกใบรับรองทางเทคนิค (technical acceptance) ให้
- ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ปล่อยอัพเดตผ่าน OTA
carrier devices
- ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จัดคนไปพัฒนารอมเวอร์ชันใหม่ โดยผนวกซอร์สโค้ดระดับล่างเข้ากับ HTC Sense
- ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ประสานงานโอเปอเรเตอร์ว่ามีแอพหรือบริการของโอเปอเรเตอร์เข้ามาในรอมหรือไม่
- ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ผนวกโค้ดของโอเปอเรเตอร์เข้ามาในรอม
- ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ส่งรอมทดสอบในแล็บ (lab entry)
- กระบวนการทดสอบและแก้บั๊ก (ร่วมกับโอเปอเรเตอร์)
- กระบวนการตรวจเช็คและออกใบรับรอง (certification) ร่วมกับกูเกิลและหน่วยงานกำกับดูแล (เช่น FCC)
- โอเปอเรเตอร์ออกใบรับรองทางเทคนิค (technical acceptance) ให้
- กูเกิลออกใบรับรองทางเทคนิค (technical acceptance) ให้
- ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ร่วมกับโอเปอเรเตอร์ปล่อยอัพเดตผ่าน OTA
จะเห็นว่ากระบวนการของ carrier devices มีความยุ่งยากและซับซ้อนสูงมาก นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมอัพเดตของมือถือที่ขายกับโอเปอเรเตอร์ (โดยเฉพาะในสหรัฐ) จะออกช้ามากนั่นเองครับ
ตัวอย่างสถานะของ HTC One ว่าได้อัพเป็น Android 4.4 แล้วหรือไม่
ตัวไฟล์ infographic ฉบับเต็มมีขนาดใหญ่มาก (เกือบ 2MB) ใครสนใจสามารถกดเข้าไปดูได้ที่ HTC Software Updates
ที่มา - Android and Me
Comments
ลำบากยากเย็นเข็ญใจ
จะโบ้ยผู้ผลิตชิปอะดิ อิอิ
ถ้าไม่โบ้ย แล้วผู้ผลิตชิปไม่ทำdriverให้ จะมานั่งรับผิดชอบเองว่าไม่มีปัญญาทำdriver เองงั้นหรอ
ผมว่ามันดูแปลกๆเพราะทำไมต้องมารอให้ผู้ผลิตชิปกำหนดอนาคตของมือถือว่าจะได้ไปต่อหรือไม่ ทำไมไม่ขึ้นกับเจ้าของบริษัท ยิ่งเป็นโอเอสใหม่ก็ยิ่งสามารถรองรับไดรฟเวอร์ชิปรุ่นเก่าได้ไม่ใช่หรือครับ ยิ่งเป็นตลาดมือถืออีกชิปมันคงจะมีแค่ไม่กี่เจ้า
ผมว่าก็เหมือน Windows vista หรือ Windows 7 ที่ hardware เก่าบางตัวไม่มี driver ก็ใช้งานไม่ได้ hardware ตัวไหนคนใช้น้อยทางผู้ผลิตยิ่งไม่อยากใช้ทรัพยากรลงแรงอีก
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
operator มีอำนาจมากไป มันเป็นปัญหาเหมือนกันสินะ
I need healing.
ทำ GPe ยืดอายุให้รุ่นตัวเองได้เยอะ :D
ถ้ามันยากก็ปิดบริษัทเหอะครับ จะออกมาเพื่อบอกว่าเราลอยแพคุณไม่ผิดนะสิครับ ทำแบบนี้บริษัทถึงได้ชื่อเสียงตกต่ำลงเรื่อยๆ ผมก็เป็นลูกค้าที่เคยใช้ของคุณ โดนลอยแพจนเลิกซื้อของคุณแล้ว พวกผู้บริหารเมืองไทยก็ควรอ่านด้วยใช้ว่าของดีแล้วจะทำให้บริษัทมีกำไร มีปัจจัยหลายข้อนะครับถ้านี่จะเป็นนโยบายบริษัทก็ช่วยบอกด้วย ว่าลอยแพเป็นนโยบายของบริษัทด้วย
ทำ info graphic มาบอกขั้นตอนการทำรอม
ถึงกับต้องไล่ไปปิดบริษัทเลย
สุดยอดจริงๆ
+1
+1
ตรรกะคุ้นๆเหมือนเคยได้ยินที่ไหน
ทำแบบนนี้ก็ดีนะคับเพิ่มความกดดันให้คนตรวจ
ช้าตรงไหน User จะได้ตามด่าถูก XD
แถ่ด
Google น่าจะหันมาทำ nexus แบบเต็มตัวเพราะมีโมโตอยู่แล้วขายเองเลย หรือเพราะกลัวทำแล้วผู้ผลิตมือถือจะเบยหน้าหนีแอนดรอย
ถ้ามันเหนื่อยนัก ก็ไปทำ Windows Phone ซะ
ใช่แล้ว เพราะ WP ได้อัพกันทุกคนครับ
ไม่จริงนะครับ หลายๆ เครื่องไม่ได้ GDR2 ส่วนโนเกียตอนนี้ก็ยังไม่ได้ GDR3 กันเต็มไปหมด
HTCไทยนี่ตัวดีเลน MOZARTบอกอัพเป็น7.5ได้ รอตั้งนานพออัพได้อ่านไทยไม่ได้ มันก็บอก็น่าจะรู้นะว่าวินโดว์โฟนมันอ่านเขียนไทยไม่ได้ ก็อยากถามต่อว่าจะเอามาขายทำไมซ็งมาก
ทำไมจะอ่านไม่ได้ครับ มันเขียนไม่ได้กับแสดงผลภาษาไทยไม่ได้ครับ แล้วอีกอย่างมันไม่ได้ใช่ทุกคนที่ต้องการภาษาไทยนิครับเขาก็มีสิทธิ์ขายคุณจะไม่ซื้อก็ได้ แต่คุณซื้อแล้วก็บ่นไม่ได้ครับ เพราะมันก็เป็นภาษาอังกฤษแต่แรกที่คุณซื้อมันด้วยเงินคุณเองอยู่แล้ว
ปล.อย่าคิดว่ามันไม่เสียใจเพราะผมก็ใช้ 710 ครับแต่ก็ไม่ใช่เรื่องจะจะพูดว่าเอามาขายทำไมในเมื่อคุณจะซื้อทำไม???
ก็ตอนผมซื้อผมถามแล้วนะ บอกว่าได้ผมก็ซื้อ ถ้าบอกไม่ได้ผมก็ไม่ซื้อครับ เขามีสิทธิ์ขายก็ไม่ควรหลอกลูกค้าสิครับ
มันก็อ่าน-เขียนไทยได้ตลอดนี่ครับ หรือผมเข้าใจอะไรผิด?
Cyanogen ไม่มีรายได้จากการขายเครื่องเหมือนเฮียๆ บุคลากรก็น้อยกว่า ไม่ใช่แค่ซัพพอร์ตมากรุ่นกว่า แต่พี่เค้าซัพพอร์ตข้ามยี่ห้อยังได้ .. ;P
my blog
ผู้ใช้เอาไปรับความเสี่ยงเองนิครับ
ขั้นตอนทดสอบก็ต่างกันแล้วนะยิ่ง nightly เนี่ย compile เสร็จก็ปล่อยเลย
เลิกจ้างพนักงานhtc มาจ้างcyanogenแทนเถอะ
ผมว่าไอ้ carrier device นี่ทำเครื่อง unlock ช้าตามไปด้วย
น่าจะอัพให้เครื่อง unlock ไปก่อนระหว่างรอ carrier
ปัญหาคือ samsung มีจำนวนรุ่นที่มากเกินกว่าจะดูแลให้ทั่วถึงครับ จำนวนรุ่นที่ว่านี้รวมถึงรุ่นย่อยจากชื่อรุ่นทางการค้าที่มีความต่างกันใน HW ด้วยนะครับ เช่น S4 ที่มีทั้งอันที่ใช้ snapdragon ที่ใช้ LTE หรือ snapdragon กับ LTE-A หรืออันที่ใช้ รุ่น Exynos กับ 3G รุ่น Exynos กับ LTE(ถ้าไปนับ S3 นี่เยอะมากกว่านี้อีกนะครับ)
อาจมีMarketingร่วมตัดสินใจด้วยว่าจะออกรุ่นไหนจะรองรับขนาดไหน และตัวปัจจุบันจะลอยแพเลยมั๊ย
โดนใจ ผมก็ว่าแบบนี้แล
เหนื่อยก็หยุด(ขายบริษัท)
คำว่า มันเหนื่อยนะ นี่น่าจะจากสำนวณของท่านผู้แปลนะครับ // ขอบคุณสำหรับข่าวครับ
สำนวนเรียกดราม่าครับ :p
ใครว่าไงอยู่ที่ความคิดแต่ความจริงคือ Rom htc เทพโครตๆ สเปคไม่ต้องเยอะแต่ทำมาดีเกินคาดมาตลอดแต่ไหนแต่ไร อย่างตอนนี้ใส่ S600 แต่ลื่นหัวแตกไม่กระตุก ไม่อืดไม่ค้าง แต่ค่ายอื่นใช้ s800 แต่บ่นค้างรีวิวเว็บไหนก็บอกกระตุก บ้างอืดบ้าง ผมชอบ htc ตรงนี้มันวัดคุณภาพได้ ความจริงอีกอย่างที่เห็นคือชนาด i5s ยังบ่นกันเยอะใน Facebook ว่าค้างเวลาเล่นแรกๆงง หลังเห็นโพสบ่อยตามประสาสาวกอารมณ์เสีย ของแบบนี้ผมดูท้่คุณภาพกว่าสเปค
sensation ผมกระตุกตั้งแต่วันที่ซื้อ ครับ ...
แปลกเนอะครับผมก็เคยใช้ Sensation หลายเดือนก่อนรุ่นใหม่มาขายซื้อรุ่นใหม่ นานๆมากๆจะกระตุก ตอนนั้นเมื่อเทียบกับทุกค่ายก็เหนือกส่าค่ายอื่นชัดเจน ผมใช้มาหลายรุ่นตั้งแต่ 6 ปีก่อนเปลี่ยนมาเรื่อยๆสลับ nokia sony htc ss lg ส่วน iphone เล่นของคนในครอบครัวเอา จนหยุด รู้อะไรคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์ของ htc ดี มีคุณภาพทั้ง H/W & S/W
แต่ขาดเรื่องการทำตลาดที่ดีจริงๆ
หวังว่า ผู้บริหารใหม่ จะนำพาบริษัทไปในทางที่ดีกว่านี้
อีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ช้า ผมว่าเป็นเพราะเวลาจะออกอัพเดตใหม่ๆ ทางผู้ผลิตจะต้องหาอะไรมาเพิ่มให้มากกว่ารอมเดิมด้วยครับ(เช่น ฟังชันส์ใหม่) ส่วนมากไม่ได้อัพเดตแค่แก้ไขบักเฉยๆ
ถ้าไม่มีอะไรใหม่ๆเลย ลูกค้าก็บ่นอีก ว่าจะอัพทำไม