Jay Parikh รองประธานด้านวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานของเฟซบุ๊กเปิดเผยที่งาน Open Compute Summit งานประชุมภายใต้โครงการ Open Compute (โครงการเปิดสเปกฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์สำหรับศูนย์ข้อมูลที่ริเริ่มโดยเฟซบุ๊ก) ว่าบริษัทกำลังพัฒนาต้นแบบระบบสตอเรจที่เก็บข้อมูลแล้วแทบไม่ต้องเข้าถึงอีกเลย (cold storage) ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลสูงสุด 1 เพตะไบต์บนแผ่นบลูเรย์ 10,000 แผ่น และคาดว่าในอนาคตจะสามารถเพิ่มความจุได้เป็น 5 เพตะไบต์
Parikh กล่าวว่า ระบบนี้อาจถูกใช้เก็บรูปภาพและคลิปวิดีโอของผู้ใช้ที่ซ้ำซ้อนกันในกรณีที่เกิดเรื่องที่ไม่คาดฝันขึ้นมา ส่วนที่เลือกใช้แผ่นบลูเรย์แทนที่จะเป็นฮาร์ดไดร์ฟเนื่องจากสามารถลดต้นทุนสตอเรจเพื่องานดังที่กล่าวไปข้างต้นได้กว่าร้อยละ 50 และลดการใช้พลังงานได้กว่าร้อยละ 80 นอกจากนั้นยังมีโอกาสเก็บข้อมูลได้มากกว่าปัจจุบันเพราะผู้ผลิตแผ่นบลูเรย์สามารถที่จะเพิ่มพื้นที่ความจุลงไปในหนึ่งแผ่นได้อีก
ถึงแม้โครงการนี้จะยังอยู่ในขั้นต้นของการพัฒนา แต่ Parikh ก็เคลมว่าบริษัทสามารถเริ่มการทดสอบอย่างเต็มรูปแบบได้ภายในปีนี้ เขายังเสริมว่าการเก็บข้อมูลบนแผ่นบลูเรย์เป็นตัวเลือกหนึ่งเท่านั้น แต่บริษัทคาดว่าจะสามารถ ย้ายไปเก็บข้อมูลที่แทบไม่ต้องเรียกใช้อีกเลยลงหน่วยความจำแบบแฟลชที่กินไฟต่ำ ได้ในที่สุด
Jason Taylor หัวหน้าฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานเปิดเผยว่า บริษัทกำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะเปิดเผยส่วนใดของการออกแบบระบบสตอเรจนี้ให้ Open Compute Project
ที่มา: PCWorld
Comments
โครงสร้างพื้นฐาน หรือเปล่าครับ
ตอนเด็กๆเก็บใส่แผ่น princo ปัจจุบันแผ่นมันลอกออกหมดแล้ว
แผ่น CD ลอกง่ายครับ แต่ตั้งแต่ DVD มา ชั้นสะท้อนแสงมันโดนแทรกไว้ตรงกลางแล้วเอาชั้นเก็บข้อมูลประกบไว้แทนครับ
สามารถที่จะเพิ่ม -> สามารถจะเพิ่ม
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
แล้วมันจะเก็บได้นานไหมเนี่ย
they said optical disc may maintain the data up to 80 years.. they said
Tape ครับ Tape ตู้ Bot รุ่นใหญ่ของ EMC, Hitachi, IBM สามารถครับ ยิ่งข้อมูลระดับ PB นี่คิดต่อ GB นี่ถูกๆๆๆๆๆ มากครับ
Cassette Tape มันเป็นแอนาล็อกหรือว่าดิจิตอลครับ
digital ครับ