เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมาหน่วยงานต่อต้านการผูกขาดของแคนาดา (Commissioner of Competition) ได้ออกคำสั่งให้ Kobo ยกเลิกข้อตกลงแบบ Agency Model ที่ทำกับบรรดาสำนักพิมพ์ใหญ่ ได้แก่ Hachette Book Group Canada, Hachette Book Group, Hachette Digital, HarperCollins Canada, Holzbrinck Publichers และ Simon & Schuster Canada (เป็นกลุ่มเดียวกับที่มีคดีผูกขาดอีบุ๊กในอเมริกา) ภายใน 60 วัน หาไม่แล้วจะไม่อนุญาตให้ Kobo ขายหนังสือจากสำนักพิมพ์เหล่านี้
ขณะนี้ทาง Kobo ขอยื่นประท้วงคำสั่งหน่วยงานฯ โดยให้เหตุผลว่าให้เวลาน้อยเกินไปในการเจรจากับสำนักพิมพ์ต่างๆ และหากเจรจาไม่เสร็จในเวลา คำสั่งจะทำให้บริษัทเสียหายอย่างมากเนื่องจากไม่สามารถขายอีบุ๊กได้และสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไป
จากข้อมูลเอกสารที่ทาง Kobo ยื่นประท้วงคำสั่งหน่วยงานฯ ทำให้ทราบว่าแรกเริ่ม Kobo เดิมขายอีบุ๊กแบบ wholesale โดยต้องส่งเงินให้สำนักพิมพ์ประมาณ 50% ของราคาขายที่สำนักพิมพ์แนะนำ (สมมติสำนักพิมพ์ตั้งราคาขายปลีกอีบุ๊กที่ 10 บาท บริษัทจะขายที่ราคาเท่าไรก็ได้ แต่ทุกเล่มที่ขายต้องส่งให้สำนักพิมพ์ 5 บาท)
ทาง Kobo อ้างว่า ทำไปทำมาชักขาดทุน พอบริษัทรู้เรื่อง Agency Model ในอเมริกา ก็คิดว่าแนวคิดนี้น่าจะทำให้บริษัทกลับมาทำกำไรจากการขายหนังสือได้ จึงเริ่มทำข้อตกลง Agency Model กับบรรดาสำนักพิมพ์ใหญ่ในแคนาดาตั้งแต่ต้น 2010 ถึง ปี 2012 และการสั่งห้าม Agency Model จะทำให้บริษัทมีรายได้ลดลงและสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไป
ถ้าใครอยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ลองไปอ่านเอกสารยื่นประท้วงจากที่มาครับ
คงต้องดูกันละครับว่าคดีผูกขาดอีบุ๊กฉบับของ Kobo ที่แคนาดาจะจบกันอย่างไร แล้ว Kobo จะอึดได้เท่ากับคดีผูกขาดอีบุ๊กต้นฉบับของอเมริกาที่มี Apple เป็นหัวโจกได้หรือไม่
ที่มา: Good E-Reader
Comments
ผมอ่านแล้วงงครับ
ตอนนี้ตัดออกไปแล้วครับ (-_-')
อีบุ๊ค => อีบุ๊ก
แก้แล้วครับ
บริษัทจะทำให้บริษัทเสียหายอย่างมาก? น่าจะลบคำว่าบริษัทคำแรกออก
เบิ้ลคำว่าบริษัทครับ ปร้บแล้วครับ
ไอ้ Agency Model นี่มันมีเนื้อหายังไงหรือครับ ใครพอสรุปให้ฟังได้บ้าง
แนะนำความเห็นแรกจากข่าว อเมซอนร่อนจดหมายถึงลูกค้า แจ้งจะคืนเงินบางส่วนจากการซื้อหนังสือจาก 3 ค่ายใหญ่ ครับ
ขอบคุณครับ
ยินดีครับ ^^