Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ถ้าพูดถึงการใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติที่ได้ประสิทธิภาพ หลายคนคงนึกถึงการเอาไปใช้ผลิตตัวต้นแบบเร่งด่วน (Rapid Prototype) แต่ล่าสุดวงการพิมพ์สามมิติได้ก้าวไปอีกขั้น หลังจาก FAA ได้อนุญาติให้ใช้งานชิ้นส่วนที่พิมพ์โดยเครื่องพิมพ์สามมิติกับเครื่องยนต์ไอพ่นอย่างเป็นทางการแล้ว

ชิ้นส่วนที่ว่านี้คือ T25 เป็น housing ของเซนเซอร์ในเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนของ GE ที่กำลังร่วมมือกับ Boeing เพื่อเดินหน้าติดตั้งชิ้นส่วนใหม่ให้กับเครื่องยนต์ไอพ่น GE90-94B กว่า 400 ตัวที่ใช้งานกับ Boeing 777 รุ่นใหม่ในขณะนี้

แต่ก่อนจะคิดไปว่าเครื่องพิมพ์ใดๆ ก็สามารถทำชิ้นส่วนให้เครื่องบินไอพ่นได้นั้น ต้องบอกว่าคงอีกนาน เนื่องจากตัว T25 ทำมาจากเครื่องพิมพ์เลเซอร์ความละเอียดสูงที่รองรับการพิมพ์หลายวัสดุทั้งเงิน และโลหะ เพื่อป้องกันไม่ให้เซนเซอร์ถูกแช่แข็ง โดยจากการทดสอบแล้ว การพิมพ์แบบสามมิติให้ผลลัพธ์ไม่ต่างจากวิธีการผลิตแบบเดิม (molding) แต่มีข้อได้เปรียบตรงที่เห็นผลลัพธ์ และสามารถแก้ไขได้ไวกว่าในต้นทุนที่ถูกกว่า รวมถึงนำไปสู่การผลิตชิ้นส่วนที่ซับซ้อนขึ้นอีกในอนาคตได้

ที่มา - GE Report

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: panurat2000
Contributor Symbian Ubuntu In Love
on 21 April 2015 - 20:06 #808073
panurat2000's picture

อนุญาติ => อนุญาต

By: uthain
iPhone Windows Phone Android Windows
on 21 April 2015 - 20:26 #808078 Reply to:808073
uthain's picture

เมื่อไหร่คนไทยจะสะกดคำนี้ถูกกันเสียทีนะ

By: 100dej
Android Windows
on 22 April 2015 - 07:41 #808138 Reply to:808078

เมื่อไหร่ถึงจะเลิกใช้คำว่าคนไทยซะทีนะ

By: panurat2000
Contributor Symbian Ubuntu In Love
on 22 April 2015 - 09:08 #808159 Reply to:808073
panurat2000's picture

หลังจาก FAA ได้อนุญาติให้ใช้งานชิ้นส่วนที่พิมพ์โดยเครื่องพิมพ์สามมิติ

อนุญาติ => อนุญาต

By: pepporony
Contributor Android
on 21 April 2015 - 21:22 #808091

แต่เหมือน SpaceX จะใช้ 3D Printing กับจรวดเรียบร้อยไปแล้ว ส่งบินขึ้นอวกาศไปแล้ว

By: akira on 22 April 2015 - 10:05 #808178

จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิตอีกรอบ ถ้าขยายไปทั่วโลกนี่ พนักงานโรงงานน่ากลัวนะ ถ้าไม่ปรับตัว เพราะถ้าเมื่อไหร่ต้นทุนการผลิตเครื่องพิมพ์ 3 มิติ สำหรับอุตสาหกรรม ต่ำกว่าค่าแรงพนักงาน / ปี บวกกับเทคโลยีแขนกลหุ่นยนต์การผลิตที่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะโรงงานผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เนี่ย ไม่อยากคิดภาพ