นักวิจัยของมหาวิทยาลัยโอเรกอนสเตทใช้ลำแสง LED มาพัฒนาระบบ Wi-Fi เพื่อลดปัญหาของการใช้งานในพื้นที่ที่มีผู้ใช้อยู่เป็นจำนวนมาก
โดยระบบต้นแบบที่พัฒนานั้น ใช้ LED มาสร้างลำแสงทรงกรวยเพื่อส่งสัญญาณขนาด 1 ตารางเมตร ซึ่งถือว่าค่อนข้างแคบ แต่ระบบการส่งข้อมูลนี้สามารถสับเปลี่ยนไปมาระหว่างตัวส่งสัญญาณตัวอื่น หรือแม้แต่ตัวส่งสัญญาณ Wi-Fi เดิมได้ ในขณะที่ตัวรับสัญญาณใช้โฟโต้ไดโอด (photodiode) ขนาดเล็ก ราคาไม่ถึง 1 ดอลลาร์
สำหรับอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลอยูที่ประมาณ 50-100 Mbps ซึ่งถือว่ามากกว่าใน Wi-Fi ทั่วไปที่อัตราความเร็วต้องขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้ใช้งาน
ที่มา - Wireless Design Magazine
Comments
แก้แล้วครับผม
WiFi => Wi-Fi
ครับผม
โฟโต้ไดโอดใช้รับแสงครับ ลำแสงสร้างจาก LED
ขอบคุณครับ
ข่าวนี้ Misleading ตั้งแต่ต้นทางนะครับ คือไม่ได้ใช้ LED มาเพิ่มความเร็วของ WiFi แต่เป็นการเปลี่ยนไปใช้แสงจาก LED ในการสื่อสารแทน ซึ่งเทคโนโลยีด้านนี้พัฒนากันไปถึง 10 Gbps แล้ว แต่ยังไม่มีเจ้าไหนออกมาจำหน่ายเป็นสินค้าทั่วไป
แก้ไขแล้วครับ
นึกภาพไม่ออกคร้าบ ใช้ LED ปล่อยสัญญาณ แล้วมีตัวคอยมองสัญญาณ LED เหรอครับ
ใช่ครับ http://en.wikipedia.org/wiki/Li-Fi
หลักการมันคือ Fiber Optic แบบไม่ต้องมีตัวนำใช่มะครับ ผมเคยคิดจะทำนะ เหมือนส่งรหัสมอสด้วยแสงเลเซอร์ไปอีกจุดหนึ่ง
การทำงานคล้ายๆ internet ดาวเทียมสมัยก่อนครับ
ที่ต้องต่อ dial-up เพื่อส่ง request (Wi-Fi : request)แล้วรอรับ data ด้วย จานดาวเทียม (LED : received)
ถ้าต่อราง LED ไว้ที่บนเพดาน มันจะคุม area ที่รับ data ได้ดีกว่าครับ
แต่ผมว่า มันจะมีข้อเสีย คือต้องเดินสาย เหมือน LAN แล้วก็ เวลา LED เสีย
จะดูออกยากหน่อย เพราะน่าจะเป็น หลอดแบบที่มอง ไม่เห็นแสงแบบ รีโมตทีวี
หลอด IR-LED โดยทั่วไปใช้กล้องโทรศัพท์มือถือส่องก็มีโอกาสเห็นเป็นแสงสีออกชมพู/เหลืองครับ
แต่เรื่องเสียแล้วดูยากเพราะมองไม่เห็นนี่ Wi-Fi มันก็มองไม่เห็นเหมือนกันครับ
Dream high, work hard.
เคยได้ยินตอนเรียนมา มีแบบใช้แสง แต่ไม่เห็นของจริงสักที จะไฟส่องตัวรับสัญญาณหรือแดดแรงๆ จะรบกวนการทำงาน