ในวันนี้มีรายงานว่า 10 ช่องทีวีดิจิทัล ได้แก่ นิวทีวี, ไบรท์ทีวี, เนชั่นทีวี, เวิร์คพอยท์ทีวี, จีเอ็มเอ็ม 25, นาว 26, โมโน 29, ช่องวัน 31, อมรินทร์ทีวี และพีพีทีวี นำโดยนายสุภาพ คลี่ขจาย นายกผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล เข้ายื่นหนังสือแก่ พลเอกกิตติ อินทสร ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 เพื่อขอให้มีการพิจารณาลดค่าเช่าใช้โครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิทัลลงร้อยละ 50 จากอัตราเดิม
โดยนายสุภาพชี้ว่า จากผลการสำรวจของ กสทช. มีการเผยว่าผู้ให้บริการโครงข่ายแต่ละรายคิดค่าเช่าใช้โครงข่ายสูงเกินความจำเป็น และมีผลกำไรจากค่าเช่าใช้สูงถึงร้อยละ 50-70 จึงก่อให้เกิดภาระด้านค่าใช้จ่ายกับผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากจากเดิมที่ต้องแบกรับค่าใบอนุญาต และค่าดำเนินการต่าง ๆ ที่สูงอยู่แล้ว ดังนั้นหากมีการลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลงได้ ก็จะเกิดผลดีต่อผู้ประกอบการด้วยเช่นกัน ซึ่งทาง ททบ. 5 ก็ยินดีรับเรื่องไว้ และยินดีที่จะพิจารณาในส่วนรายละเอียดทั้งหมดโดยเร็วที่สุด
ข้อมูลเพิ่มเติมจากสถานีโทรทัศน์พีพีทีวีเผยว่า ปัจจุบัน ททบ. 5 เรียกเก็บค่าเช่าใช้โครงข่ายเป็นรายปีที่ 80.4 ล้านบาท/ช่อง/ปี สำหรับช่องความละเอียดปกติ 9 ช่อง รวมรายได้ 723.6 ล้านบาท/ปี และ 240 ล้านบาท/ช่อง/ปี สำหรับช่องความคมชัดสูง 4 ช่อง รวมรายได้ 960 ล้านบาท/ปีครับ
ที่มา - ไทยรัฐ
Comments
MUX นี้ลดราคาก็ดีนะ จะได้สมกับคุณภาพของสัญญาณหน่อย คือสัญญาณของ MUX นี้แย่มาก ๆ เทียบกับ MUX ของ MCOT ไม่ติดเลย เจ้านี้แร๊งแรง
Coder | Designer | Thinker | Blogger
+1
ที่บ้านเป็นเหมือนกัน ขนาดติด booster แล้วนะ ยังเกือบรับไม่ได้ (ความแรง 66%/คุณภาพ 100%)ถ้าไม่ติดก้อรับมะได้
mux อื่นเค้า 90/100 , 100/100 อะ ^^"
แข่งขันไม่ได้เลยมาขอลดราคา?มันไม่น่าใช่นาาาาาาาาา
ส่วนตัวเห็นว่าผ่านมาตั้งหลายปีละยังไม่เห็น ผู้ประกอบการผลิตรายการอะไรมาดึงเรตติ้งกันได้นอกจากรายการแข่งร้องเพลง
กับวาไรตี้ที่มีคนดังมากออก
ส่วนตัวที่เปิดผ่านๆช่วงที่ป่วยตอนต้นเดือนนี้ก็เห็นมีแต่ซีรี่ย์ รายการดาราพาเที่ยว
แข่งร้องเพลง วาไรตี้แข่งขันเกมโชว์ที่สาระไม่มี เอาดาราปากจัดๆมาเม้าส์กันรวมๆแล้วรายการความรู้ สารคดีมันยังน้อยมากๆ และส่วนมากยังเป็นเวลา
ของเด็ก เช่น 6โมง-6โมงครึ่ง ทั้งที่มันควรจะฉายช่วงไพรม์ไทม์เพื่อให้ดูกันได้ทั้งครอบครัว
NewTV เดี๋ยวนี้ก็ฉายช่งงไพรม์ไทม์แล้วนะครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
งั้นเดวลองตามไปเสพครับช่วงปีใหม่ ช่อง 20 ใช่มะครับ :p
18 ครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ขอบคุณครับ
รายการความรู้ สารคดี เรียกเรตติ้ง เรียกจากใครครับ กลุ่มเป้าหมายเค้าคือใคร
เป็นเรื่องของทางช่องที่ต้องถ่วงน้ำหนักเอาครับ
มันก็ต้องผลัดๆวนๆไปไม่ใช่รายสัปดาห์แต่เป็นรายเดือนหรือไตรมาสครับ
ซึ่งผมว่าสารคดีที่ซื้อลิขสิทธิ์มาฉายทั้งหลายในไทย
ยังขาดการคัดกรอง เพราะบางทีก็รันตามลำดับเทปของต่างประเทศ
ทำให้มันกระโดดเรื่อง และสาระไปมาจนบางทียากแก่การติดตามครับ
หรือบางทีเรื่องนี้เรตติ้งดี แต่เอามาฉายติดๆกันมันก็น่าเบื่อครับ
จริงด้วยครับ รายการประกวดร้องเพลงมีทุกช่อง รายการปั่นจักรยานท่องเที่ยวก็เต็มไปหมด
ขอลดต้นทุน แต่เพิ่มคุณภาพมั๊ย?
อ้าวช่อง5 ได้ค่าแพร่ภาพเต็มๆเลยเหรอ ไม่มีเจ้าอื่นให้บริการอีกรึไง พวกช่อง9ช่อง11ไรงี้
ช่องบริการธุรกิจที่ประมูลกันเนี่ย ต้องไปเช่าใช้โครงข่ายอีกทีครับ ไม่ใช่ว่าได้คลื่นไปทำโดยตรง ซึ่งโครงข่ายก็มีให้เลือกถึง 3 ผู้ให้บริการ คือ ททบ.5, อสมท, ไทยพีบีเอส ส่วนกรมประชาสัมพันธ์ เอาไว้ใช้สำหรับช่องบริการสาธารณะครับ
ขอบคุณครับแสดงว่า10รายนี้เช่าของช่อง5อยู่สินะครับเลยมาขอกับช่อง5
ช่อง 5 มีผู้เช่า 14 ช่อง 10 ราย (รวมทรูและช่อง 7) โดยเช่าเต็มทั้ง 2 MUX และปล่อยสาธารณะ 1 ช่อง คือ TV5 HD1
ที่เหลือ
อสมท ผู้เช่า 3 ช่อง 3 ราย (Spring, Voice, ไทยรัฐ) ปล่อยสาธารณะ 1 (ทีพีทีวี) เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ 2 (MCOT HD, MCOT Family)ไทยพีบีเอส ผู้เช่า 4 ช่อง 2 ราย (3 HD/3 SD/3 Family/ช่อง 8 โดยไม่รวม Loca/ไทยทีวี ที่ยกเลิกสัญญาไปแล้ว) ปล่อยสาธารณะ 2 (ThaiPBS HD/ThaiPBS Kids)
ไบร์ททีวี => ไบรท์ทีวี
เนชันทีวี => เนชั่นทีวี
สุภาพ คลีขจาย => สุภาพ คลี่ขจาย
ค่า MUX แพงส่วนหนึ่งมาจากค่าเช่า Facility ของแพงส่วนหนึ่งทั้งๆที่ share กับ analogue กับ telecom น่าพอเดาได้ว่าเสาไร
MUX จริงๆ มี 5 MUX 4 รายแต่มี 1 รายที่ไม่นิยมใช้กันและแต่ละรายมี option เสริมต่างกันเช่นบางรายมีระบบ MSS, EPG (ให้เจ้าอื่นเช่าอีกทีด้วย) และ DTHตอนประมูลโทรทัศน์ออกแบบ (auction design) ไว้ไม่ค่อยดีเกิด winner curse เกิดขึ้นไม่สะท้อนสภาพตลาดจริงๆเราจึงเห็นคนล้มหายตายจากไปและคนที่ควรได้ไม่ควรได้คนที่เจ๋งก็ไม่จ่ายเงินอีก
ตอนนี้เห็น กสทช. กำลังคิดคำนวณราคาใหม่กันอยู่คนต้องดูต่อไปแหละแต่คาดว่าราคาน่าจะต้องลดลงอยู่แล้วแต่จะพอใจก็หรือไม่ก็ต่อไป fight กันต่อ
ทำไมไม่เช่า mcot หรือ thaipbs แทนล่ะครับ หรือว่าอีกสองที่แพงกว่านี้อีก
MCOT แพงกว่าครับ ส่วน Thai PBS แม้จะถูกกว่า แต่ก็ถูกจับจองจนเต็มเกือบหมดแล้วครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
อย่างทีอีกท่านบอกแล้วถึง TPฺBS/MOCTถามว่าทำไมราคาไม่เท่ากันมาจาก option เสริมจาก MUX ครับพวก MSS, DTH ครับ อีกส่วนหนึ่งความปลอยภัย มั่งคง และแก้ปัญหาเร็ว คนเยอะ ครับ ตัวอย่างเช่น กรณี MUX ที่ลำปางครับ
ยิ่งยืนยันความคิดเดิมของผมเองว่า กสทช. เปิดช่องมากเกินไป(รวมทั้งหมด)
เปิดช่องเยอะๆ เพื่อไม่ให้เกิดข้อจำกัดตรงนี้มั้งครับ ใครจะไปรอดหรือไม่ก็ให้เป็นไปตามกลไกคัดสรรตามธรรมชาติอย่างเดียว
ถือว่าให้โอกาสรายเล็กได้ลองแล้ว ดีกว่าเปิดช่องน้อยๆ แล้วก็โดนรายใหญ่ฮุบไปหมดอยู่ดี
เห็นด้วยครับ ยังคิดมาตลอดว่า กสทช. เปิดช่องมากเกินไปจริงๆ ซอยช่องซะถี่ยิบ
ถ้าสมมติว่ามีโอกาสทำเองได้ ผมอยากจะลดพวกช่องข่าวกับช่องเด็กเหลือซักครึ่งพอละ ช่องสาธารณะกับช้องท้องถิ่นก็เอาหมวดที่จำเป็นจริงๆ ไม่ใช่เปิดกระจายไปหมดแถมซ้ำซ้อน รวมวาไรตี้ SD กับ HD เข้าด้วยกัน จัดสรรดีๆ แล้วทำให้เป็น HD ทั้งหมด ให้มีซักสิบกว่าช่อง แค่นี้ก็มีผู้เล่นเกิดใหม่มาเพียบแล้ว จากเดิมที่มีแค่ 4-5 ช่อง
เปิดช่องซอยแบบนี้ มันทำให้ผู้เล่นเล็กๆ เข้ามาได้ก็จริง แต่ก็ไม่มีศักยภาพพอที่จะทำรายการทีวีให้แข่งขันในตลาดได้ สุดท้ายคนก็ไปดูช่องใหญ่อยู่ดี มีแต่ผู้เล่นรายใหญ่ๆ เท่านั้นที่อยู่รอดได้ อย่างแกรมมี่ RS ไทยรัฐ workpoint mono อะไรพวกนี้
เสริมเรื่องศักยภาพนะครับ กสทช. ออกแบบประมูลไม่ค่อยดีครับ ถามว่าทำไมรายละเอียดพอสมควร แต่ดูบทเรียนได้จากตลาดไฟฟ้าและmedicare ของอเมริกาได้ครับที่ออกแบบประมูลไม่ดีทำให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าและmedicare พังไปเลย
ตลาดไฟฟ้าและmedicare ของอเมริกา
ช่วยเล่าหน่อยครับ หรือ ชี้ทางหน่อยครับ อยากรู้ครับ
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
Why did you purpose your reasons for this concerns than just break the ice? อะไรที่บอกว่ามากเกินไปครับหรือเพราะทำให้ธุรกิจเคเบิล TV อยู่ไม่ได้? ลองศึกษาดูจากตัวอย่างของต่างประเทศครับจะได้ถกกันด้วยเหตุผล
อยากขอตัวอย่างศึกษาหน่อยครับ
อย่างแรกเลยคือความพร้อมครับ โดยเฉพาะเรื่องบุคลากรด้านต่างๆ (ทุกๆด้าน) ทำให้เกิดการซื้อตัวผู้มีประสบการณ์สูง
ผลคือรายเล็กๆต้องไปคว้ามือใหม่ในตลาด แม้กระทั่ง บ.ผู้ผลิตส่งงานทั้งรายเล็ก รายใหญ่ผลต่อมาคืองานที่สร้างออกมาค่อนข้างต่ำมากหลายรายการ (แม้กระทั่งช่องใหญ่ๆ รวมๆแล้วมากกว่าครึ่ง) ง่ายสุดคือซื้อรายการเก่าๆมาฉาย หรือลอกรายการต่างประเทศแต่ทำแบบทุนต่ำ
คือถ้ามีบุคคลากรที่พร้อมมากกว่านี้ซัก 2เท่าในปัจจุบันในจำนวนช่องเท่านี้ คงแข่งขันกันสนุกทั้งคุณภาพและเนื้อหา
ครับ บีบ BW ซะจนมีแต่ช่องที่ภาพลื่นแต่ไม่ชัด กับช่องที่ภาพชัดแต่ไม่ลื่น เฮ้อ (หรือจริงๆ คือทำได้แต่ต้องลงทุนอีกสูง?)
ผมว่ามีเยอะกว่านี้สักเท่าตัวก็ดีนะครับ
การแข่งขันมันน้อยไปหน่อย
เปลี่ยนแนวไปทำช่องการ์ตูน 24 ชั่วโมงซักช่องสิ อาจจะเวิร์คก็ได้ครับ เสียแต่ค่าลิขสิทธิ์ ไม่ต้องเสียค่าทำรายการ ไม่ต้องจ้างพนักงานเยอะ เลือกเรื่องดี ๆ อาจจะไปรอดก็ได้ครับ เพราะหลายคนไม่ได้ติดจานดาวเทียมก็มี
การ์ตูน 1 เรื่อง ที่ญี่ปุ่นฉายสัปดาห์ละครึ่งชั่วโมง ถ้าจะไม่มีรีรันเลย วันนึงต้องฉาย 48 เรื่อง 1 สัปดาห์ฉาย 336 เรื่อง และทุก 3 เดือนต้องเปลี่ยนเรื่องใหม่ยกแผงเกือบทั้งหมดเพราะเขาฉายกันเป็นรายซีซัน จะเอามาฉายซ้ำก็ได้แค่เรื่องละรอบสองรอบ การ์ตูนฉายยาวหลายซีซันอย่างวันพีซกับนารุโตะก็มีไม่กี่เรื่อง แปลว่าต้องจ้างพนักงานทีมใหญ่มาจัดการเรื่องลิขสิทธิ์พวกนี้ ต้องมีทีมเซ็นเซอร์มายัดหมอกใส่นมนามิ และยังไม่รวมเรื่องทีมแปลไทยและนักพากย์อีก ไหนล่ะครับที่ว่าไม่ต้องจ้างพนักงานเยอะ
ปล. หนังช่อง mono แม่ยังบอกประจำ "เรื่องนี้ฉายซ้ำเป็นสิบรอบแล้ว"
ผมก็ไม่ได้บอกว่าให้ฉายแบบนั้นนะครับ คำว่าซื้อลิขสิทธิ์มันก็คลอบคลุมหมดแล้ว ใช่ว่าจะต้องมานั่งแปลเอง พากย์เอง ซะที่ไหน
ตัวอย่างมีอยู่แล้วทางช่องดาวเทียม เช่น Boomerang, GangCartoon, Toonami ฯลฯคือถ้าบ้านใครไม่มีเด็ก อาจไม่รู้ ว่าเด็กนิยมดูช่องการ์ตูน ดูได้ตลอดเวลา ฉายซ้ำเขาก็ยังดูได้ (แต่อย่าถึงกับซ้ำซากนะครับ 555) แล้วโฆษณาในช่องการ์ตูนพวกนี้ มันฝังใจเด็กมากนะครับ เพราะเห็นเรื่อย ๆ เด็กจะขอเลือกใช้ยี่ห้อที่โฆษณานี้ก่อนยี่ห้ออื่น ๆ
ทุกวันนี้ทีวีดิจิตอลหลายช่อง มันหาจุดขายไม่ได้ ว่าช่องคุณจะเอายังไง จะจับตลาดลูกค้ากลุ่มไหน ถ้าทำช่องการ์ตูน 24 ชั่วโมงนี่ จุดขายชัดเจนครับ และสามารถเปิดดูที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องลงทุนติดตั้งจานดาวเทียม
ขอช่องหนังที่ไม่หั่นหนังและ ไม่มีโฆษณาคั่นด้วยก็ดีน่ะ
โฆษณาอาจจะโผล่มาตามมุมจอก็ได้ หรือคั่นทุกๆครึ่งชั่วโมงก็ได้ แต่ขออย่าหั่นหนังก็พอ
ช่วงฉายเครดิทก็อาจจะยุบจอหนังลงครึ่งนึงเพื่อฉายโฆษณา
แล้วใครจะมีซื้อโฆษณาอ่ะครับ ถ้าโฆษณาแต่เวลาพวกนั้นที่คนไม่ค่อยดูแล้ว ราคาโฆษณาจะค่อนค่างต่ำครับ
โฆษณาผมรับได้นะครับ
แต่เจอ หั่นหนัง ตัดจบไม่โชว์ Credit , ตัดฉากหลัง Credit เนี่ย เพลียมาก ไม่รู้เป็นสื่อด้านช่องเกี่ยวกับหนังได้ไง
เจอบางช่อง สารคดียังไม่จบ แต่หมดเวลาแล้วมั้ง ตัดเข้าโฆษณาแล้วก็ขึ้นรายการใหม่เลย ไม่เข้าใจเลย วางแผนฉายรายการกันบ้างหรือเปล่า
คอนโดผม อยู่ห่างจากตึกใบหยก 2 ประมาณ 6กม. (วัดเส้นตรง)
MUX2 ของ ททบ. รับสัญญาณได้อ่อนสุด บางทีรับไม่ได้เลย ใช้เสาแบบจ่ายไฟขยายสัญญาณแล้ว ของ Antenna หรือของ สามารถสีขาว ก็รับไม่ค่อบได้เลย
รองลงมา MUX3 ของ อสมท. รับสัญญาณได้อ่อน รองลงมาจากททบ. รับพอได้แต่ขึ้นสัญญาณอ่อนบ่อยๆ
ส่วนของเจ้าอื่นรับได้ปกติไม่มีปัญหา
ใช้เสารวมของคอนโดเองก็เป็นเหมือนกัน
ไม่เคยดูเลยซักช่อง
ผมว่าปัญหาน่าจะอยู่ทีว่า การกระจายสัญญาณมันโดนผูกขาดอยู่เจ้าที่มีโครงค่าย ที่มีอยู่ไม่กี่เจ้า
ถ้าหากว่าตรงนี้ เปิดหลากหลาย อาจจะไม่ต้องขอลดราคากันแบบนี้
อาจจะมีการเลือกเปลี่ยนไปใช้เจ้าที่ถูกกว่า หรือแข่งกันตัดราคาไปแล้ว แบบนี้มันก็น่าเห็นใจ