เว็บไซต์ The Register รายงานข่าวการปิดเซิร์ฟเวอร์ตัวหนึ่งที่รันมาตลอด 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่ปี 1997 จนถึงวันที่ปิดใช้งานเป็นระยะเวลา 18 ปี 10 เดือน
เซิร์ฟเวอร์ตัวนี้เป็นคอมพิวเตอร์ประกอบไม่มียี่ห้อ สเปกเครื่องใช้ Pentium 200MHz, แรม 32MB, ฮาร์ดดิสก์ SCSI-2 ขนาด 4GB, ติดตั้ง FreeBSD 2.2.1 โดยรับหน้าที่รันงานหลายอย่างในองค์กร เช่น เก็บสำเนาใบเสร็จ, เก็บข้อมูลการใช้โทรศัพท์ ฯลฯ เซิร์ฟเวอร์ตัวนี้เปิดให้ใช้งานเฉพาะคนในบริษัท และลูกค้าบางรายเท่านั้น
Ross แอดมินของเซิร์ฟเวอร์เครื่องนี้บอกว่ามันอยู่มาได้ยาวขนาดนี้ เป็นเพราะใช้ฮาร์ดแวร์คุณภาพดี, สภาพแวดล้อมดี, อุณหภูมิคงที่ 18 องศาแทบตลอดเวลา, ระบบจ่ายไฟดี, มีพัดลมช่วยระบายความร้อนฮาร์ดดิสก์เป็นพิเศษด้วย ส่วนเหตุผลที่ปิดไปเป็นเพราะฮาร์ดดิสก์เริ่มเสื่อมแล้ว (ฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อ Seagate)
ที่มา - The Register
ภาพจาก Wikipedia
Comments
RAM 32 MB หรือเปล่าครับ
I need healing.
นั่นสิฮะ 32GB นี่ server ใหม่ๆ บางตัวยังไม่ถึงเลย :P
เครื่องเมื่อ 19 ปี แรม 32 MB เป็นไปได้ครับ
32MB สมัยนั้นผมว่าแพงกว่า 32GB สมัยนี้อีกนะครับ :p
ปี 2000 คอมเราใช้แรม 64M เองค่ะ จำได้ว่าราคาไม่เกิน 2000 บาทนะคะ ตอนนี้แรม 32G มันถูกขนาดนี้เลยหรือ คอมที่เราใช้เล่น final fantasy 13 แรมแค่ 2G เอง
Ram 32 GB ประมาณ 8,000 - 20,000 บาทครับ ขึ้นอยู่กับชนิด และแหล่งซื้อ
แต่สมัยก่อน EDO แถวนึง 8MB แพงมากนะครับ...
ปี 2000 ผมใช้ Pentium III 800MHz อยู่มั้งครับ ถ้าจำไม่ผิด ตอนนั้น RAM ราคาไม่ถือว่าแพงแล้ว
แต่เครื่องในกระทู้นี้คือ Pentium รุ่นแรกครับ คนใช้คอมสมัยนั้นคงจำวลี "RAM เม็กละพัน" ได้ครับ สมัยนี้กิ๊กละไม่ถึงพันแล้ว
เม็กละพันนี่ต้องยุค 486 เลยแหละครับ
ต้นทางบอก RAM แค่ 32MB เองครับ แต่ทึ่งมากๆ ที่มันยังทำงานได้อยู่ถึง 18 ปีกับอีก 10 เดือนครับ
ต่อให้การอ่านเขียนน้อยสุด กลไกใน HDD ไม่น่าอยู่ได้นานขนาดนี้
harddisk อยู่รอดนานขนาดนี้ ไม่ธรรมดา
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เปิดอีกทียังเปิดติดอยู่ไหมครับ :P
เปิดอีกทีผมว่า Harddisk อาจจะไม่หมุนแล้ว เพราะมอเตอร์มันน่าจะเสื่อมสภาพไปนานมากแล้ว
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
Server ในยุคหน้าอาจจะทนกว่านี้ เพราะไม่มีจุดอ่อนเรื่อง Harddisk ตัว SSD น่าจะทนกว่ามาก
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
write cycles จะหมดเอาซะก่อนสิครับ
ใช้รุ่นทนๆ นี่เขียนได้เป็น Petabytes เลยนะครับ ถ้าเขียนสักวันละ 100 GB นี่ใช้ได้ 50 ปีเลยนะ
ตอนนี้ user หลายคนเอง ยัง "รู้สึกว่า" มันยังเขียนทับได้น้อยอยู่ครับ ไม่รู้ทำไมปัจจบันดู มันทนทานมากกว่า ดิสแบบจานหมุนแล้ว
ผมใช้ SSD ทั้งสองเกรดกับงาน Server แค่ไม่ถึงปีมันก็บินไปแล้วครับ จานหมุนก็เช่นกัน
ผมว่าเค้าไม่ได้ "รู้สึกว่า" ครับ มันเป็นประสบการณ์ตรง
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ที่ทำงานเก่าผมใช้ ssd ในคอมพิวเตอร์ที่ควบคุม machine ไม่ค่อยทนเอาซ่ะเลย สู้แบบจานหมุนไม่ได้เลยครับ ssd เสียบ่อยมาก เพราะเครื่องจักรทำงาน 24 ชม
ผมว่า test นั้นไม่ได้บอกอะไรบน real-world เลยอ่ะครับ
จะเห็นว่าตัวทดสอบนี้ทำงานแบบ sequential, ทำจน disk เต็ม -> ลบทิ้ง(full free space) -> ทำใหม่ ทำให้ write amplification บน drive ที่ไม่ได้บีบอัดข้อมูลจะอยู่ที่ ~1.0 และที่บีบอัดข้อมูล(SandForce) <1.0 ต่างจาก real-world ที่การใช้งานจำนวนมากเป็น random, free-space ที่ใช้ได้จริงน้อยกว่า full-space (WA>1.0)
การทดสอบแบบนี้วัดได้เพียงจำนวน write cycle คร่าวๆของตัว NAND flash ครับ เช่น 840 Pro เริ่มตายตอน 600TB ดังนั้นจะมี minimum write cycle = 600*1024/256 = ~2400(@WA 1.0)หรือ HyperX 3K เริ่มตายตอน 900TB ดังนั้นจะมี minimum write cycle = 900*1024/256 = ~3600(@WA 0.72 +ที่ใช้ 256 เพราะ space 240GB+over provision 16GB)
ซึ่งค่าประมาณนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยครับ ตามทฤษฎีแล้ว MLC~20nm จะมี write cycle ประมาณ 2000-3000 cycle ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
มีผลทดสอบอื่นที่ Real-world กว่านี้มั้ยครับ พอดีผมหาเจอแต่อันนี้
จริงๆคือการทดสอบนี้มันไม่ได้พิสูจน์อะไรเลยหน่ะครับ เพราะมันแค่เพียงทดสอบว่า write cycle ในปัจจุบันเป็นเท่าไหร่ ซึ่งไม่ต้องทดสอบก็หา ข้อมูลเหล่านี้ได้ไม่ยากครับ การทดสอบเป็นเพียงการพิสูจน์ทฤษฎีเท่านั้น
โดยการทดสอบแบบ real-world มันไม่มีหน่ะครับ เพราะการใช้งานของแต่ละคนมันต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น คนที่มี static used space(OS+static softwares) อยู่ที่ 50 GB กับคนที่มี static used space 100 GB จำนวน write amp/used write cycle ก็ต่างกันแล้วครับ
คนใช้ SSD เพื่อเก็บไฟล์ขนาดใหญ่, คนใช้ SSD โหลดไฟล์ P2P, คนใช้ SSD เป็น server การใช้งานเหล่านี้ก็มี write amp/used write cycle ไม่เท่ากันครับ
แม้แต่ในการโหลดไฟล์ P2P เอง แค่การเซ็ตขนาด cache กับวิธีการ allocation ก็ทำให้ write amp/used write cycle ต่างกันแล้วครับ
หรือแม้แต่การเปิดเว็บ คนที่เปิดเว็บเดิมๆซ้ำๆ กับคนที่วันๆนึงเปิดหลายสิบเว็บขึ้นไป รวมถึงความถี่ในการเปิด พวกนี้ก็มีผลต่อ write amp/write cycle แล้วครับ
ฉะนั้นวิธีที่ได้รับความนิยมก็คือการทำ over-provisioning ซึ่งจะช่วยลด write-amp ครับ ซึ่งใน drive ระดับ enterprise ส่วนมากจะทำในระดับ hardware/firmware มาให้อยู่แล้ว แม้ในระดับ consumer เองก็มี hidden OP ให้ จากการแปลง GiB>GB นั่นแหละครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
Harddisk พระเอกตัวจริง แต่ถ้าเทียบกับพวกดาวเทียม Server เด็กๆ ไปเลยนะ
เคสนี้ผมว่า hdd เป็นจุดอ่อนนะครับเพราะถ้า hdd ไม่พัง เครื่องนี้ก็ยังคงเปิดอยู่
แต่ก็ถือว่าทนมากๆ
ส่วนตัวเชื่อว่าคอมยิ่งเปิดปิดน้อยครั้งยิ่งทน
เคยประกอบคอมไว้ใช้เครื่องนึง เลือกทุกอย่างที่ถูกที่สุดในตลาด
psu+case ถูกๆram บ้านๆ 8G
board asrock ถูกที่สุด
เปิดไว้ 24 ชม.เกือบ 2 ปีไม่เคยงอแงจนเลิกเปิดไป CPU ประมาณ 50-60% ramเกือบ 100% ตลอดเวลา
Server ทั่วไปนี่ก็คล้ายกัน เปิดๆไปเถอะอย่าได้ปิด ปิดเมื่อไหร่เรื่องยาว
Hdd ดูแลดีครับ การทดลองในห้องแล๊ปสามารถอยู่ได้50ปี+ แต่ต้องควบคุมอุณหภูมิให้คงที่
ถามหน่อยครับ ฮาร์ดดิสก์ SCSI-2 ถ้าต่อraid 5 swap แบบไม่ปิดเครื่องได้ไหม
The Last Wizard Of Century.
อืม มันเป็นข่าวกับเขาได้นะเนี่ย
ผมว่าสำหรับคนที่อยู่ในแวดลงเทคโนโลยี เรื่องนี้มันก็น่าสนใจมากเพียงพอจนสามารถเอามาเป็นข่าวได้อยู่แล้วล่ะครับ
สำหรับผมมันเป็นข่าว ที่อ่านแล้วสนุกครับ
มันมีความสำคัญสำหรับ ผู้ที่ให้ความสำคัญกับพวก "24x7" "SLA" "Uptime" อะไรเทือกนี้ครับ
เรื่องนี้น่าสนใจในลักษณะเดียวกับข่าว "ผู้เฒ่าอายุ 181 ปีเสียชีวิตแล้ว" นั่นแหละครับ
เรื่องที่ท่านไม่สนใจ ไม่ได้หมายความว่าคนอื่นไม่สนใจครับ
มันน่าสนใจนะ ทำยังไงให้เครื่องอยู่ได้ทนนาน ยิ่งพวกดาวเทียม ยาวอวกาศ ยิ่งต้องสนใจเรื่องพวกนี้
ไหนจะการออกแบบ ให้มันทนขึ้น มันก็ใช้ในรถยนต์ ทีวี และอีกมาก ที่ต้องการของทนใช้งานได้นานขึ้น ว่าการใช้งานแบบไหนจะอยู่ได้นานสุด
ถ้าเป็น Consumer Product อย่างรถยนต์ ทีวี สมาร์ทโฟน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป ยุคนี้ไม่เน้นเรื่องความทนทานเท่าไหร่หรอกครับ เพราะจะเพิ่มต้นทุนการผลิตมากเกินไป
เค้าตั้ง Life time เอาไว้แล้วก็ทำให้ได้เท่า Life Time ก็พอแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราจะใช้งานเกินก็แล้วแต่เรา
อย่างรถยนต์ Life time จริงๆแค่ 5-7 ปีเท่านั้นเอง
ผมว่ายังไง มันก็มีค่า ในยุคอนาคตที่ขยะล้นโลก การทำให้สินค้าใช้ได้นานขึ้น เป็นเรื่องที่ดีกว่า ในทุกสินค้า
ลูกค้ายังอยากให้สินค้าใช้ได้ทนนานอยู่ แม้จะอยากเปลื่ยนใหม่บ่อยๆ
เพราะยังไง ของทนขายต่อก็ได้ราคา
แสดงว่าไม่เคยมีม็อบไปตัดไฟมาก่อน :P
HDDช่วงสิบปีมานี้ก็มีMTBFระดับ5แสนชั่วโมงนะ(คุ้นๆว่าตอนระดับ 540MB ก็ยังหลักแสนชั่วโมง) แต่ที่จะพังก่อนคือแผงวงจรนั่นแหละ ถ้าไฟไม่ตกบ่อยๆ หรือไม่เปิดปิดบ่อยๆ ก็คงทนอยุ่ ถ้าใช้ไปนานมากๆที่จะเริ่มเสื่อมคือแม่เหล็ก บนActuatorกับmotor และบนจานmedia (แต่ก็น่าจะทนกว่าแผงวงจร)
จริงๆถ้าใช้งานตลอดเวลา โอกาสเสียน้อยกว่าปิดๆเปิดอยู่แล้ว ไม่ต้องมองไกล แค่พวกการ์ดเชื่อมต่อ หรือแรม ถ้าไม่ต่อไฟนานๆหรือเก็บไว้โดยไม่ได้คุมความชื้น oxide ก็จะขึ้นที่แผงทองแดงส่วนinterfaceโดยที่อาจมองแทบไม่เห็น ทำจอฟ้าได้ ต้องเอายางลบมาขัดหรือเอาcontact cleaner มาทำความสะอาดถึงใช้งานต่อได้
แสดงว่าที่นั่นไฟฟ้าจ่ายได้เรียบมากครับ
19 ปีไม่มีไฟตกไฟดับเลย
เยี่ยมมากๆ
Seagate 80GB ที่บ้านพังหมดแล้วทุกตัว สมัยเปิดร้านเกม 55+
ดูแลดีจริงๆ
แบต UPS คงเจ๊งไปนานแล้วที่สำคัญ การเมืองนิ่งมาก ไม่มีม๊อบตัดไฟห้อง server
ต้องไฟนิ่งโคตรๆ ถึงจะอยู่ได้นาน
บ้านตัวเองไฟขึ้นๆลงๆอย่างกับ Roller Coaster เครื่องใช้ไฟฟ้าพังเรียงตัว
+1000
UPS นี่ดังแต๊กๆๆๆแทบทั้งวัน ทั้งๆที่ไฟไม่ดับ
เจอคอเดียวกันแฮะ แต๊กๆจน UPS พังไปตัวนึงแล้ว เลยขยับมาใช้ PSW
ตัวต่อไปถ้าซื้อ True-Online แล้วพังแบบเดียวกันคงต้องใช้ Solar Cell แล้วแหละครับ
ผมก็เป็นครับ UPS ดังแต๊กๆทั้งวัน
-- ^_^ --
เรื่องนี้น่าสนใจจริงๆนะ
แบบหากอนาคตเดินทางบนอวกาศได้
มีเครื่อง sleep จำศีล แต่จะทำยังไงให้อุปกรณ์มีอายุได้ยาวนาน...
อืมจริงด้วย... ลืมนึกไปเลย ถึงคนจะจำศีลแต่ก็ต้องมีระบบอะไรสักอย่างทำงานอยู่ตลอด
Notebook เก่าสุดที่ผมมีตอนนี้ (ปี 2001) ยังแรงกว่าอีกแฮะ ของผมเป็น Pentium 233MMX, RAM 32MB ใช้ OS เป็น Win98SE พึ่งเอามาชาร์ทแบต ยังเปิดใช้งานได้ แต่ไม่รู้จะเอามาทำอะไรดี ... 555
อ่านแล้วนึกราคาสินค้าสมัยก่อนได้ลางๆครับ
Mainboard แบบประกอบชิบลงไปเอง
Pentium 100 รุ่นแรก หลุดจากยุค 486Dx100
Harddisk seagate 640 Mb Ram edo 2 MB
Drive A 5.25, 3.5 นิ้วอย่างละตัว
Vga S3 trio 64, ไม่มี soundcard
จอ svga true color 30000 กว่าสี 13 นิ้ว
45,000
การ์ด SCSI-2 adaptec 250,000 ออกใหม่ๆ
Cd writer 2x ของ HP 200,000
Cdrom creative 2x 20,000 ขายพร้อม soundcard เพราะใช้soundcard คุมcdrom อีกที
คิดว่า server ตัวที่เราคุยอยู่นี้ก็น่าจะแพงนะครับ
ประมาณครึ่งล้านบาทได้ สมัยนั้นซื้อ civic 3 doors
ได้เลย
อูย....จะเล่น CD ต้องติด Sound Blaster เพิ่มนี่จำได้ขึ้นใจ
องค์ประกอบดีทุกๆอย่างเลยล่ะมั้งเนี่ย อึดมากๆ
..: เรื่อยไป
ต้องเข้าใจนะครับว่าในข่าวเขาก็บอกว่าใช้เท่าที่จำเป็นไม่ได้เปิดใช้ทั่วไป ทำให้การอ่านเขียนน้อย ฮาร์ดดิสก์อยู่ในโหมดพร้อมใช้งานโดยส่วนมาก ทำให้การหมุนของจานแม่เหล็กลดลง แต่บอร์ดยังมีไฟเลี้ยงทำงานอยู่อีกอย่างแคชของฮาร์ดดิสก์เองก็มีเพียงพอต่อการบันทึกข้อมูล จึงไม่จำเป็นต้องสั่งจานให้หมุนบ่อย ดังนั้นตลอดระยะเวลา 18ปี10เดือน จึงมีค่าเสื่อมสภาพเท่ากับฮาร์ดที่ใช้งาน db ทั่วๆไป 5 ปี ส่วนหนึ่งที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็กพังไวก็เพราะแรงสั่นที่เกิดจากระบบระบายความร้อนเป็นสำคัญ
ที่ทำงานผมยังมีเซิร์ฟเวอร์หนึ่งตัว
Compaq Server Proliant 400
CPU Pentium II 400RAM 64MB
OS Netware 3.12
ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2539 เปิดปิด 6.30-18.30 จันทร์-เสาร์ อาทิตย์พักผ่อน 555 ไม่เคยเสีย แต่เปลี่ยนฮาร์ดดิสต์ไป 4 ตัว(เสื่อมตามสภาพ) หลังๆต้องใช้ฮาร์ดดิสต์ IDE 40GB(ถอดจากเครื่องอื่นที่ไม่ใช้แล้ว) เพราะฮาร์ดดิสต์ SCSI ตามสเปคหาไม่ได้แล้ว
จะแพ้เครื่องตามข่าวก็ตรงฮาร์ดดิสต์นี่แหล่ะนะ 555
ปล.ลืมไปของเขาเปิด 24ชม. เครื่องเราแพ้หมดรูป อิอิ
ฮาเม้นนี้ 555
Pentium รุ่นแรกยังไม่มี 200MHz นะครับ
MMX?
รุ่นแรกน่าจะหมายถึง Pentium (P5 Series) นะครับ ไม่น่าจะหมายถึงรุ่นย่อยในนั้นอีกที
ผมได้ทันใช้ทั้งรุ่นแบบในรูป รุ่นหน้าทอง กับรุ่นที่เป็นหน้าเรียบๆ สีเทา...
ใช้ 100 กับ 133 Overclock เอา แต่ไม่ได้ใช้ 200MHz
มาใช้ก็ เกิน 200 ก็ตัว MMX แล้ว
Pentium Pro 200 MHz ครับ เป็น P6สรุปคือ แพงนั่นแหละ CPU ก็แพง Mainboard ไม่ต้องพูดถึง
เห็นใน Wiki มีถึง 300MHz เลยนะครับ
สมัยนั้นผมใช้ Cyrix 166MHz ไม่มีตังค์ซื้อ Pentium :p
เปิดตั้งแต่ผมอยู่ ป.2 จนตอนนี้จบมาทำงานหลายปีแล้ว ทนจริงๆ
18ปี
เปิดอีกทีตัวเมนบอร์ดมีปัญหาแน่
ต่อให้ไฟนิ่งแค่ไหน อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์มันก็เสื่อมไปตามเวลาการใช้งาน
ตอนเซอเวอร์เริ่มรันผมยังเล่นซ่อนแอบอยู่เลย 555
คำถามคือ ทำไม ฮาร์ดดิสถึงพังง่ายครับ ตัวไหนที่มีปัญหาที่สุด ในเมื่อมันเขียนลบด้วยเลเซอร์
ส่วนเคลื่อนไหวสึกหรอเร็ว
มอเตอร์มักจะเสียก่อน
ก้านหัวอ่านก็เสียง่ายเพราะเคลื่อนที่ไปมา
มอเตอร์เสื่อมสภาพ กลไลการเลื่อนแขนของหัวอ่าน พวกนี้เป็นส่วนที่เคลื่อนไหว ซึ่งเมื่อใช้งานไปก็อาจจะติดขัดได้ตามเวลาครับ
อีกอันคือหัวอ่านมันลอยอยู่เหนือจานในระดับไมครอนเลย ถ้าโดนกระแทกแล้วหัวอ่านเด้งลงไปโดนจาน จานก็เสียหายได้ง่ายมากครับ
เลเซอร์นั่นเป็นพวก CD, DVD, Blu-Ray นะครับ HDD นี่ใช้แม่เหล็ก
แก่กว่าผมอีกนะนั่น..