จากเหตุการณ์ผู้เสียชีวิตจากสารดับเพลิง ผู้ดูแลระบบส่วนใหญ่ก็มักต้องเข้าๆ ออกๆ ศูนย์ข้อมูลกันเป็นปกติ และศูนย์ข้อมูลเหล่านี้ก็มักจะมีระบบดับเพลิงที่เข้มงวด และอาจจะอันตรายต่อผู้ที่อยู่ในห้องเซิร์ฟเวอร์ได้ ทาง ThaiCERT มีบทความแนะนำขั้นตอนการใช้ห้องเซิร์ฟเวอร์อย่างปลอดภัย 4 ขั้นตอน
- อย่าเข้าห้องเซิร์ฟเวอร์คนเดียว เผื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดยังแก้ไขได้
- ก่อนพ่นสารดับเพลิงจะมีเสียงเตือน ให้ออกจากห้องทันที อย่าพยายามหาสาเหตุ
- สังเกตตำแหน่งปุ่มฉุกเฉินสำหรับออกจากห้องเซิร์ฟเวอร์และวิธีการใช้ เช่น ถอดสลักหรือทุบ ล่วงหน้าก่อนจะเกิดเหตุ
- ถ้าออกจากห้องไม่ทันให้ตั้งสติ หาไฟฉุกเฉินเพื่อเดินตามหาทางออก
ที่มา - ThaiCERT
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
สังเกตุ => สังเกต
ไฮโดรเจน?
จะได้รีบเผาไหม้ ให้ O2 หมดเร็วๆ ครับ ฮ่าๆ
ต้นทางนี่สงสัยจะมึน
จริงๆ สารดับเพลิงเป็น Heptafluoropropane นักข่าวอาจจะฟัง ฮาโลเทน เพี้ยนเป็นไฮโดรเจน
ที่ทำงานผมใช้ Inert gas เป็น Nitrogen 50% + Argon 50% (IG-55)ห้องนิดเดียว (27 Rack) ใช้ถัง IG-55 9 ถัง
ตอนนี้แก้แล้ว
แล้วไพโรเจนมันไปอยู่จำพวกไหนล่ะเนี่ย?
ก็อยู่จำพวกนี้แหละครับ ไพโรเจนเป็นชื่อยี่ห้อ
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
ผมคิดว่าตัวมาตรฐานนี้ควรเสริมอีกหน่อยก็ดีครับ เช่น
1. ต้องมีห้องพักในกรณีที่ไม่สามารถออกจากอาคารได้ทัน พร้อมระบบระบายอากาศอิสระจากระบบภายในอาคาร, กำแแพงและประตูกันไฟ ทางออกเฉพาะสำหรับห้องพัก และถังออกซิเจนสำหรับผู้รอดชีวิตทุกคน เหมือนที่อุโมงค์ลอดรถมีจุดพักฉุกเฉินตามระยะทางพร้อมทางออกฉุกเฉิน
2. มีถังออกซิเจนขนาดเล็กตามจุดดับเพลิงหรือตู้ฉุกเฉินภายในห้อง Server กรณีไม่สามารถออกมาได้จริงๆ หรือไม่สามารถหาทางออกไปได้แล้ว
3. เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปทำงานหรือปฏิบัติการต้องมีถังออกซิเจนอย่างน้อย 2 กระป๋อง และหน้ากากกันแก็สพิษของตนเองเข้าไปด้วย พร้อมคู่มือทางออกฉุกเฉินขนาดพกพา ที่จะต้องแจกตั้งแต่ทางเข้า และต้องคืนเมื่อออกจากพื้นที่ทุกครั้ง
4. ควรมีสวิตช์, ก็อก หรือคันโยกฉุกเฉินสำหรับการหยุดการปล่อยแก็สกรณีมีคนอยู่ภายในอาคาร รวมถึงระบบระบายอากาศที่จะต้องทำงานทันทีเมื่อมีการใช้ระบบหยุกฉุกเฉินดังกล่าว
ผมว่าสิ่งเหล่านี้ มีไว้ดีกว่าต้องเอาชีวิตมาเสียงนะครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์ของโครงการอยู่ดีว่ามันเอื้ออำนวยไหม เพราะผมเข้าไปทำงานที่ SCB Data Center ในวันที่เกิดเหตุสลดพอดี ยังดีที่ผมเข้าไปทำเป็นช่วงบ่ายๆ และเสร็จตอนช่วงเย็น หลายชั่วโมงก่อนเกิดเหตุแก็สไพโรเจนทำงานดังกล่าว และไม่ได้เข้าไปทำภายใน SCB Park ด้วย
ความปลอดภัยต้องมาก่อนเสมอครับ
Get ready to work from now on.
ปกติระบบดับเพลิงพวกนี้ก่อนทำงานมันจะสัญญาณเตือนก่อนหรือเปล่า เพื่อให้หนีทัน
อย่างอุโมงรถไฟ มันยาวๆ ขนาดนั้นคงต้องมีห้องหลบ หรือมีหน้ากากป้องกันเพราะเกิดเหตุมันจะหนีไม่ทัน ห้อง Datacenter มันไม่ได้ยาวเหมือนอุโมง
It's the recommendations for the IT personals, not the recommendations for datacenter designer.
lewcpe.com , @wasonliw
ตกลงในเหตุการณ์ที่ผ่านมาของ SCB มาความผิดพลาดมันเกิดจากใครครับ