เมื่อปลายปีที่แล้ว FCC หรือ กสทช. ของสหรัฐ ออกกฎใหม่ จำกัดการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 5GHz บางช่วง ที่อาจรบกวนระบบเรดาร์ตรวจสอบสภาพอากาศสำหรับการบิน กฎข้อนี้มีผลต่อการลงเฟิร์มแวร์ของเราเตอร์เอง (เช่น โครงการพวก WRT ทั้งหลาย) เพราะไม่มีอะไรการันตีว่าเฟิร์มแวร์ที่ผู้ใช้ติดตั้งเอง จะไม่ส่งผลกระทบในแง่การกวนกันของคลื่น
กฎของ FCC ไม่ได้ห้ามลงเฟิร์มแวร์เอง แต่กำหนดให้เราเตอร์ต้องมีระบบป้องกันไม่ให้เกิดคลื่นรบกวน (มีผลกับเราเตอร์ที่วางขายหลังวันที่ 2 มิถุนายนนี้) ซึ่งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์แต่ละรายก็มีวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไป (เช่น TP-Link ใช้วิธีหักดิบ ห้ามติดตั้งเฟิร์มแวร์เอง)
ส่วน Linksys ที่สร้างชื่อมาจากการติดตั้งเฟิร์มแวร์ตระกูล WRT เลือกใช้วิธีที่ยืดหยุ่นกว่า โดยเราเตอร์ล็อตใหม่ของ Linksys จะแยกส่วนข้อมูลคลื่นวิทยุ (RF parameter) ไว้ต่างหาก เพื่อป้องกันไม่ให้เฟิร์มแวร์แก้ไขข้อมูลส่วนนี้ได้ ผลคือผู้ใช้ยังสามารถลงเฟิร์มแวร์ได้ตามต้องการ แต่ก็ยังปฏิบัติตามเงื่อนไของ FCC อยู่
นโยบายนี้มีผลเฉพาะเราเตอร์ตระกูล Linksys WRT เท่านั้น ส่วนเราเตอร์ตระกูลอื่นของ Linksys อย่าง Max-Stream จะใช้นโยบายห้ามลงเฟิร์มแวร์ตามปกติ
ตัวแทนของ Linksys บอกว่าเราเตอร์ตระกูล WRT แบกรับชื่อของโครงการ WRT เอาไว้ บริษัทก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อชุมชนโอเพนซอร์สด้วย (เท่ชะมัด)
Open Source support is part of the WRT heritage. Now, and always. #TheOneandOnly https://t.co/uWzKjEq1tr
— Linksys (@Linksys) May 13, 2016
ที่มา - Ars Technica
Comments
นายหล่ออ่ะ
ย่อหน้าสุดท้าย หล่อมากครับ !! >_<
จิตวิญญาณโอเพนซอร์ส อุ๊บ๊ะ
หล่อ
After all this time?Always.
@zumokik
อุต๊ะ จิตวิญญาณโอเพนซอร์ส แต่ราคาไม่ค่อยโอเพนเท่าไหร่ครับ #มาม่า~~~~
ล้อหล่ออะ
ผมนี้อยากซื้อมาใช้เหลือเกิน
ผมอยากได้มาสักระยะแล้ว แต่ตอนนี้ router เต็มบ้านเลย (เดี๋ยวย้ายค่ายเน็ตจะได้มาอีกตัวด้วย)
ได้ใจไปเต็มๆครับตัวเก่า wrt-54gl ยังไม่เสียสักที หาเรื่องซื้อใหม่ไม่ได้เลย
เช่นกันครับ adapter แหกไป 2 อันแล้ว ตัวเครื่องยังใช้การได้ดีอยู่เลยครับ