Tags:
Node Thumbnail

เว็บไซต์ Fast Company สัมภาษณ์ Blake Adickman อายุ 26 ปี เป็นออทิสติก ปัจจุบันทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ไมโครซอฟท์ โดย Adickman เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่เป็นออทิสติก ที่ไมโครซอฟท์รับเข้าทำงานหลังจากสัมภาษณ์และทดสอบทักษะเรียบร้อยแล้ว

โครงการดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่ ทำมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2015 และมีหลายบริษัทที่ริเริ่มโครงการแบบนี้มาก่อนแล้ว เช่น SAP บริษัทซอฟต์แวร์จากเยอรมัน เพียงแต่ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดที่เปิดเผยสู่สังคมว่าทำโครงการแบบนี้อยู่

แม้ Adickman เป็นออทิสติก แต่ก็สนใจในคอมพิวเตอร์ และเกมมาก อย่างไรก็ตามเขาเข้ากับเพื่อนๆ ไม่ได้ ด้วยอาการของโรคมักทำให้ผู้ป่วยไม่กล้าสบตาคน มีการแสดงออกแปลกๆ

Adickman เคยสัมภาษณ์งานที่ Amazon.com เป็นการสัมภาษณ์งานแบบหลายคนถามคนๆ เดียว เขาถูกรบเร้าให้อธิบายทักษะการเขียนโปรแกรมของเขา เขารู้สึกกดดัน และแล้วก็สัมภาษณ์ไม่ผ่าน ทั้งๆ ที่ความสามารถค่อนข้างจะเข้าตา Amazon.com ด้วยซ้ำ จากนั้นก็เข้าทำงานไอทีในบริษัทเล็กๆ มาเรื่อยๆ จนแม่ของเขามารู้ทีหลังว่าที่ไมโครซอฟท์มีโปรแกรมรับคนออทิสติกเข้าทำงาน

ไอเดียเรื่องความหลากหลายของพนักงานในองค์กรเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เกิดโครงการนี้ เพราะตั้งอยู่บนหลักการเดียวกับให้มีการจ้างผู้หญิง หรือจ้างคนที่มีหลากหลายชาติพันธุ์ เข้ามาทำงานด้านไอที เพราะไม่เพียงจะสร้างความเปิดกว้างในความคิดสร้างสรรค์ แต่เป็นการนำมุมมองที่หลากหลายมาพัฒนางาน เพราะความหลากหลายเหล่านี้สะท้อนถึงลูกค้าที่มีหลายแบบทั่วโลก

No Description

แผนผังความสำเร็จด้านการสร้างความหลากหลายในองค์กรของไมโครซอฟท์
ที่มาภาพ Microsoft

อีกหนึ่งแรงบันดาลใจที่ทำให้ไมโครซอฟท์กระโดดเข้ามาทำโครงการนี้ เพราะ CEO หรือ Satya Nadella มีเป้าหมายอยากทำให้วัฒนธรรมองค์กรมีความเปิดกว้าง และเขาเองก็มีลูกชายเป็นเด็กพิเศษเช่นกัน ประเด็นเรื่องประสบการณ์ร่วมของผู้บริหารระดับสูงที่มีคนในครอบครัวเป็นออทิสติกเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันสำคัญให้องค์กรสามารถออกนโยบายรับคนออทิสติกเข้าทำงานได้สำเร็จ

No Description

Sataya Nadella
ภาพจาก Microsoft

โครงการรับคนออทิสติกเข้าทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ของไมโครซอฟท์มีหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญคือ Jenny Lay-Flurrie เจ้าหน้าที่ด้านการเข้าถึง และ Neil Barnett ผู้อำนวยการด้านการจ้างงานของไมโครซอฟท์ โดย Lay-Flurrie ระบุว่า สิ่งที่ไมโครซอฟท์ทำ อาจช่วยกระตุ้นบริษัทอื่นๆที่กำลังมองข้ามประเด็นนี้ไป

No Description

Jenny Lay-Flurrie
ภาพจาก Blog Microsoft

จ้างเข้ามาไม่ยาก รักษาไว้ยากยิ่งกว่า

อย่างไรก็ตาม ภาวะออทิสติกต่างจากการสูญเสียอวัยวะอื่น เพราะอาการออทิสติกกระทบต่อสมองโดยตรง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญมากของการเป็นพนักงานบริษัทไอที

เรื่องนี้เป็นงานที่ท้าทายบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟต์มาก ความท้าทายอย่างแรก คือ ไม่เคยมีแบบแผนที่ชัดเจนในการจ้างงานผู้มีภาวะออทิสติกให้มาทำงานเฉพาะด้านแบบนี้ ในขณะที่การจ้างผู้หญิง คนผิวสีมาเขียนโปรแกรม เพียงไปร่วมพวกงานสัมมนาเกี่ยวกับผู้หญิงหรือผิวสี หรือติดต่อองค์กรทางด้านนี้ก็หาคนกลุ่มนี้เจอ แต่การจ้างงานคนออทิสติก ทำแค่นั้นไม่พอ เพราะคนกลุ่มนี้กระจายตัวอยู่ ไม่ได้รวมเป็นกลุ่มเป็นก้อนมากนัก

ความท้าทายอย่างที่สอง คือกระบวนไม่ได้จบแค่รับผู้มีภาวะออทิสติกเข้าทำงาน แต่ทำอย่างไรที่จะรักษาพนักงานเหล่านั้นไม่ให้ลาออกกลางคัน จากความรู้สึกแปลกแยกภายในบริษัท ทำอย่างไรจึงไม่เกิดปัญหาแบ่งแยกชนชั้น การกลั่นแกล้งในองค์กร

เมื่อผู้สัมภาษณ์งานผ่านการทดสอบรอบแรก กระบวนการจะเข้าสู่โครงการทดลองงานเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ขั้นตอนนี้ต่างจากการสัมภาษณ์งานทั่วไป คนผ่านการคัดเลือกจะได้พบกับว่าที่เจ้านายที่จะมาสังเกตการณ์ผู้สมัคร และตัดสินใจว่าจะรับเข้าทำงานหรือไม่

สำหรับคนที่ผ่านการคัดเลือกจนเข้ามาทำงานได้สำเร็จ ทางไมโครซอฟต์จะจัดให้มีพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ ซึ่ง Adickman ได้รับความช่วยเหลือหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้การทำงานเป็นทีม เนื้องาน และเรื่องชีวิตประจำวันอื่นๆ เช่น การจอดรถ สาเหตุที่ต้องมีพี่เลี้ยงก็เพื่อป้องกันความรู้สึกแปลกแยก นอกจากนี้ หัวหน้างานและคนในทีมก็ต้องเข้าเทรนเพื่อให้มีความรู้เรื่องภาวะออทิสติกด้วย

เมื่อรู้ตัวว่าตัวเองได้ทำงานที่ไมโครซอฟต์ Adickman บอกกับพี่เลี้ยงของเขาตรงๆ ว่ามันดูขี้โกงที่ได้มาอยู่ที่นี่ในตำแหน่งนี้ แต่พี่เลี้ยงบอกเขาว่าไมโครซอฟต์ไม่เคยจ้างพนักงานเพื่อเอาบุญ แต่ Adickman มีความสามารถเหมาะสมที่จะอยู่ที่นี่ต่างหาก

ทีมของ Adickman มีบุคลิกค่อนข้างเสียงดัง อึกทึกครึกโครม ตอนแรกพี่เลี้ยงก็กลัวว่า Adickman จะไม่ชอบเสียงดังหรือไม่ แต่กลายเป็นว่าเขาเข้ากันด้วยดี ไม่กลัวเสียงดัง นอกจากนี้เขายังรู้สึกมีความสุขที่ได้ทำงานที่นี่

ผู้ที่ผ่านโครงการนี้ของไมโครซอฟท์ ยังไม่เคยมีใครลาออกกลางคันเลย แม้โครงการจะยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ไมโครซอฟต์ก็เล็งจะประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย องค์กรต่างๆ ที่ทำหน้าที่ในการสานรอยต่อระหว่างชีวิตการงาน ผู้พิการและคนออทิสติก เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อพยายามสร้างแบบแผนที่ดีต่อไป

ที่มา - Fast Company

Get latest news from Blognone

Comments

By: buzdesign on 13 September 2016 - 16:54 #939850

ดีจัง

By: -Rookies-
Contributor Android WindowsIn Love
on 13 September 2016 - 17:08 #939854

นอกเรื่องนิดนึง ผมไม่เข้าใจว่าพ่อแม่คิดยังไงตั้งชื่อเค้าแบบนั้นนะ แต่ผมว่าชื่อจะทำให้เค้าถูกล้อมั้ย? ชีวิตวัยเด็กจะยากลำบากเพราะชื้อมั้ย? หรือฝรั่งเขาไม่ล้อกันเรื่องแบบนี้ (ผมคิดว่าถ้าเป็นคนไทยนี่มีล้อกันแน่ ๆ อะ)


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: Polwath
Contributor iPhone Windows Phone Android
on 13 September 2016 - 17:11 #939855 Reply to:939854
Polwath's picture

ผมก็ไม่เข้าใจพ่อแม่เขาเหมือนกันว่าทำไมตั้งแบบนี้


Get ready to work from now on.

By: v6hp
Android
on 13 September 2016 - 17:11 #939856 Reply to:939854
v6hp's picture

นึกถึงมุกนี้ใน The IT crowd

https://www.youtube.com/watch?v=fTaKDnSIb4c

By: techbreaking on 13 September 2016 - 17:17 #939858 Reply to:939854

นามสกุลเขาเป็นยังงั้นเอง ไม่ใช่หรอครับ พ่อแม่ไม่ได้ตั้ง

By: -Rookies-
Contributor Android WindowsIn Love
on 13 September 2016 - 20:04 #939897 Reply to:939858

อ๊ะ จริงด้วย นามสกุลนี่ ผมลืมไปว่าฝรั่งมักเรียกกันด้วยนามสกุลไม่ใช่ชื่อ สงสัยคงเป็นภาษาพื้นเมืองซักที่นึง


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: mrbank
iPhone Windows
on 13 September 2016 - 17:27 #939864 Reply to:939854

ตามประสบการณ์ของผม ปกติฝรั่งจะไม่ค่อยล้อชื่อกัน (ไม่ว่าชื่อต้น หรือนามสกุล) ในทางเสียหายครับ หรือเอาจริงๆ ถ้าโดนเรียกชื่อตลกๆ เค้าจะรู้สึกพอใจและสนุกเสียด้วยซ้ำ

ทั้งนี้ทั้งนั้น การนำชื่อไปใช้เพื่อทำให้คนอื่นเสียหายหรืออับอาย เค้าจะสามารถฟ้องคดีได้ว่าเป็นการ Harassment ครับ ซึ่งในกรณีนี้ฝรั่งถือว่าเป็นคดีค่อนข้างรุนแรงและมีบทลงโทษหนักอยู่ครับ

By: darthvader
Windows Phone Windows
on 13 September 2016 - 18:46 #939877 Reply to:939854
darthvader's picture

ต้อง​ย้อนกลับ​ขึ้นไปอ่านเลย

By: whitebigbird
Contributor
on 13 September 2016 - 19:04 #939881 Reply to:939854
whitebigbird's picture

เพราะคุณมองจากภาษาอังกฤษครับ แบบเดียวกับชื่อคนไทยในมุมของ English speaker เช่น พร, สลัด, ปู, ภูชิต ครับ

เรื่องล้อ ... เป็นเรื่องปกติครับ

By: Kittichok
Contributor
on 13 September 2016 - 20:31 #939899 Reply to:939854

หมายถึง dick ในนามสกุล Adickman ใช่ไหมครับ คำว่า dick ในความหมายแสลงถูกใช้ประมาณศตวรรษที่ 19 นี้เอง ก่อนหน้านั้น dick เป็นคำทั่วไปหมายถึงเพื่อนหรือสหาย และถูกใช้ในชื่อนามสกุลจำนวนหนึ่ง

By: Chamoz
iPhone Android
on 14 September 2016 - 08:19 #939976 Reply to:939899

โอ้ขอบคุณครับ

By: Kittichok
Contributor
on 13 September 2016 - 20:39 #939900

เป็นความท้าทายที่น่าชื่นชมนะครับ

By: KuLiKo
Contributor iPhone Windows Phone Android
on 14 September 2016 - 05:50 #939967
KuLiKo's picture

อยากเห็นหน้าเค้าจังเลย :)

By: mk
Founder Android
on 14 September 2016 - 21:16 #940274 Reply to:939967
mk's picture

ในต้นทางมีรูปครับ

By: kanchen
Android Ubuntu
on 14 September 2016 - 08:14 #939975

ต่างจากบ้านเราจริงๆ ทุกวันนี้ยังแบ่งแยกสถาบันอยู่เลย

By: Lennon
iPhone Windows Phone Android Symbian
on 14 September 2016 - 09:53 #940004 Reply to:939975

คือ ผมก็ไม่ได้สนับสนุนการแบ่งแยกสถาบันนะ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเด็กจบสถาบันดี(ส่วนมาก)มันก็ดีกว่าจริงๆ อันนี้ผมว่าเป็นผลพวงมาจากระบบการศึกษาและสังคมตั้งแต่ระดับเล็กเลย ไม่ใช่แค่มหาลัย คิดง่ายๆว่าครูตาม รร.ทั่วๆไปยังมีการหงายการ์ดสอนพิเศษหลังเลิกเรียน เด็กไม่มีตังค์มันก็แทบไม่ได้ลืมตาอ้าปากตั้งแต่ตอนนั้นแล้วครับ จะไปเอ็นท์ติดสถาบันดีๆมันก็ยาก

By: kingrpg
Android Windows
on 14 September 2016 - 12:35 #940065 Reply to:939975

ก็เหมือนประเทศที่อยู่ภายในโลก แต่สถานบันอยู่ภายในประเทศ

By: kirov
iPhone Android Windows
on 14 September 2016 - 15:46 #940173 Reply to:939975

เรื่องปรกติแหละครับ เมกาก็เลือก Ivy League ไว้ก่อนเหมือนกัน หลังๆHR ITซักเจ้ารู้สึกจะเป็นGoogle ถึงมาพูดเรื่องนี้ แต่ก็ไม่รู้ว่าทำจริงขนาดไหน

By: Virusfowl
Contributor Android Symbian Windows
on 15 September 2016 - 21:37 #940511

การรับพนักงานของ MS นี่เปิดกว้างจริงๆ ครับ เพราะส่วนตัวก็เจอคนตาบอดที่ไปทำงานเขียนโค้ดจริงจัง อยู่ในนั้นคนนึง @tomi91 และก็มีประกาศรับสมัครงานตำแหน่งที่ต้องการคนพิการโดยเฉพาะอีกด้วย

ซึ่งในเมืองไทยนี่ ไม่เคยเจอเลยจริงๆ ที่จะมีบริษัทไหนที่ต้องการรับสมัครคนพิการเข้าทำงาน แบบที่เป็นความต้องการในเนื้องานของบริษัทจริงๆ มีแต่รับเพราะกฎหมายบังคับให้รับ รับๆ ไปก่อน แล้วค่อยหางานที่พอทำได้ให้ทำ เห้ออออ facepalm


@ Virusfowl

I'm not a dev. not yet a user.