ข้อดีของห้องเรียนขนาดใหญ่คือนักเรียนแอบนั่งหลับหรือไม่สนใจต่อบทเรียนได้โดยอาจารย์ไม่สังเกตเห็น แต่อาจารย์ Wei Xiaoyong แห่งมหาวิทยาลัยเสฉวนไม่ยอมปล่อยให้นักเรียนหลุดลอดสายตาด้วยการสร้างระบบตรวจจับใบหน้ามาจับความสนใจของนักเรียนในห้อง
อาจารย์ Wei เขาสร้างระบบจดจำใบหน้ามาใช้งานในห้องเรียนเมื่อห้าปีก่อน เพื่อทดแทนการเช็คชื่อเข้าเรียนของนักเรียน จนล่าสุดพัฒนามาเป็นการจับความรู้สึกของผู้เรียนว่ามีความสุขดีหรือเบื่อหน่ายกันแล้ว
เขาระบุว่าข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาประเมินการสอนได้ว่าดึงความสนใจนักเรียนได้ดีแค่ไหน
การใช้ระบบจดจำใบหน้ามาใช้งานเพื่อวิเคราะห์คนในภาพโดยอัตโนมัติเป็นแนวทางการใช้งานที่หลายวงการให้ความสนใจ โดยเฉพาะวงการโฆษณาที่ต้องการปรับการแสดงโฆษณาตามผู้ที่เดินผ่านป้าย
ที่มา - Telegraph
ที่มาภาพ - giovannacco
Comments
ป้าด...ไฮโซ
แทนที่จะเอามาประเมิน นศ เอามาประเมิน คนสอนดีกว่าไหม
สอนดีใครจะทำหน้าเบื่อ!! คิดสิคิด!!
"เขาระบุว่าข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาประเมินการสอนได้ว่าดึงความสนใจนักเรียนได้ดีแค่ไหน"
ใช้โควต้าอ่านหนังสือครับทุกบรรทัดแล้วใช่มั้ย
ผมว่าจุดประสงค์น่าจะเอามาประเมินคนสอนแหละ แต่พอหัวข้อขึ้นมาด้วยห้ามแอบหลับ มันเลยเหมือนนำไปให้คิดว่าเอามาจับผิดนักเรียน
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
อ่านสิอ่าน!!!
ว่าจะไม่เมนต์แล้ว แต่ขอมาร่วมลงชื่อใน ปวศ. หน่อยเถอะ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
สงสัยเม้นเอาฮา
สารภาพเลยว่า ผมอ่านข่าวไม่เคลียร์เองครับ ขอโทษด้วย คงด้วยความมีอคติ ของประสบการณ์ที่เจอ ว่าในห้องเรียน ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ติดกล้อง cctv เอาไว้สอดส่องดูนักเรียนว่าตั้งใจเรียนไหม เหมือนกับคุกส่องดูผู้ต้องขัง เลยทำให้ผมอ่านข่าวด้วยความมีอคติ เลยตีความข่าวผิดเพี้ยนไปครับ
ไม่ได้มาเข้าข้างนะ อ่านเนื้อหาข่าวไม่ครบก่อนแสดงความคิดเห็นก็ได้รับการตักเตือนก็ไป
แต่ส่วนตัวคิดว่า หัวข้อข่าวมีส่วนในการชี้นำให้คิดแบบนั้นเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม ก็ทราบและเข้าใจ concept ของที่นี่ว่า ถ้าไม่พอใจก็มาเขียนข่าวเอง
ซึ่งส่วนตัวไม่มีแผนจะทำ จึงขอไม่พูดอะไรมากและตามอ่านอยู่ห่างๆดีกว่า