Western Digital เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ความจุดสูง ภายใต้แบรนด์ของบริษัทลูก HGST รุ่น Ultrastar He12 ความจุ 12TB และเตรียมออกรุ่น 14TB ตามมาในอนาคต
ฮาร์ดดิสก์รุ่นนี้เป็นภาคต่อของ HelioSeal ฮาร์ดดิสก์อัดก๊าซฮีเลียมความจุ 10TB ที่เคยเปิดตัวไปแล้ว แต่พัฒนาให้มีความจุมากขึ้น เทคนิคที่นำมาใช้เพิ่มความจุคือเพิ่มจำนวนจานหมุนเป็น 8 จาน เมื่อความหนาแน่นแนวตั้งเพิ่มขึ้น ก็ส่งผลให้อัดความจุได้เพิ่มขึ้น ส่วนก๊าซฮีเลียมก็ช่วยให้จานหมุนโดยมีแรงเสียดทานน้อยลงกว่าอากาศทั่วไป
HGST Ultrastar He12 เป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5" มาตรฐาน รองรับอินเทอร์เฟซเชื่อมต่อแบบ 12Gb/s SAS หรือ 6Gb/s SATA (แยกตามรุ่นย่อย), จะเริ่มวางขายจริงภายในครึ่งแรกของปี 2017 ส่วนรุ่นความจุ 14TB จะตามมาช่วงกลางปี 2017 ส่วนราคายังไม่ระบุ
ที่มา - Western Digital , Western Digital Press
Comments
แล้วถ้ามันร้อนจะไม่เกิดไฟลุกเหรอเนี่ย
ฮีเลียมไม่ติดไฟครับ
"14TB" อลังการงานสร้างมากๆ ซื้อเอาไปทำ shared drive ของบริษัทได้เลยยาวๆอีกหลายปี
ไม่รู้ว่ารู้สึกไปเองหรือเปล่าช่วงหลังความจุ hdd พัฒนาช้ากว่าแต่ก่อนมาก สมัยจาก 4g ไปเป็น 40g รู้สึกว่าแป๊ปเดียว
ครับ มันตันอยู่ครับ ต้องหาเทคโนโลยีใหม่ อัดเอาอัดเอาแบบเดิมๆ ไม่ได้แล้ว
ราคาด้วยครับ พัฒนาช้าเหลือเกิน4TB ซื้อไปสองปีที่แล้ว ราคาต่างกับตอนนี้ไม่กี่บาท
ตัว 10TB ราคาลงมั้ย? และในไทยมีขายหรือป่าว?
ใช้การเพิ่มจานแทนเพิ่มความจุต่อแผ่นแล้วแสดงว่าเทคโนโลยีจานแม่เหล็กมันตันแล้วจริงๆ คงไปต่อได้อีกไม่นานแล้ว
ทำไมยังคง brand HGST ไว้หล่ะ หรือว่าวางตำแหน่ง HGST ไว้ premium กว่า WD ถึงยังแยกกันเหมือนเดิม
เดาว่าตัวแบรนด์ Hitachi ดูมีความเถสียรกว่าเลยคงไว้อย่างนั้น จากที่เคยเห็น อัตราการ failure ของ hdd เทียบกันหลายๆค่าย
นึกว่าข้างในเป็นสุญญากาศมาตลอด
สูญญากาศมันตันแล้วครับ แถว ๆ 8TB เลยต้องใช้ฮีเลียมแทนเพื่อให้อัดได้มากขึ้นอีก ซึ่งก็น่าจะใกล้ตันเต็มทีแล้วเหมือนกัน
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ไม่เคยได้ยินว่า HDD ข้างในเป็นสูญญากาศครับ เท่าที่รู้น่าจะต้องใช้อากาศช่วยด้วยครับ
สุญญากาศน่าจะมีปัญหาเรื่องความร้อนนะครับ
ตัวจานไม่เสียดสีกับอากาศไม่เกิดความร้อนก็จริง แต่ตัวหมุนตัวอ่านมันก็ยังเสียดสีกับแกนหมุนอยู่
และสุญญากาศก็เป็นฉนวนความร้อน เลยระบายความร้อนไม่ดีด้วยมั้ง
ถ้าผมจำไม่ผิด อากาศจะเสมือนเบาะสร้างแรงยกไม่ให้หัวอ่านโดนกับจานแม่เหล็กครับ
เป็นสูญญากาศไม่ได้ครับ ตั้งแต่แรกฮาร์ดดิสก์ออกแบบให้ทำงานโดยใช้แรงยกตัวของอากาศเหนือผิวจานเพื่อยกหัวอ่านให้ลอยเหนือจานครับ เพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมหลายอย่าง
ความหนาแน่นของแทรกต่อตารางนิ้วในดิสก์มันสูงครับ จนทุกวันนี้หัวอ่านเวลาทำงานต้องสูงแค่ไม่กี่ร้อยนาโมเมตร (ปัจจุบันแค่ไม่กี่นาโมเมตร) เพื่อจะให้ไวพอที่จะอ่านข้อมูลเป็นรายแทรกได้ ปัญหาคือถ้าทำงานในสูญญากาศ การเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิแม้เพียงเล็กน้อย จะทำให้รักษาระยะห่างระหว่างหัวอ่านกับจานไม่ได้
ให้เห็นภาพ อะลูมิเนียมยาว 5 เซนติเมตรจะขยายตัว 1150 นาโมเมตรในทุกหนึ่งองศา ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์รุ่นแรก หัวอ่านลอยตัว 650 นาโมเมตรเหนือหัวอ่าน และปัจจุบันหัวอ่านลอยเหนือดิสก์น้อยกว่า 5-10 นาโมเมตร
แต่ถ้าตรงข้าม ถ้าออกแบบโดยอาศัยแรงยกตัวของอากาศเหนือจานหมุนช่วยดันให้หัวอ่านพ้นระยะ การยืดหดเพียงเล็กน้อยอันเนื่องจากอุณหภูมิจะไม่มีผลอีกต่อไป เพราะอากาศรอบดิสก์จะเป็นเบาะผลักหัวอ่านให้ลอยเหนือดิสก์ครับ
คาราวะ
ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ
ความจุด => ความจุ