Tags:
Node Thumbnail

LINE เปิดรายงานความโปร่งใสปี 2016 ครอบคลุมตั้งแต่กลางปี 2016 จนถึงสิ้นปี ได้รับคำร้องขอข้อมูลจากรัฐบาลทั่วโลก 1,719 รายการ เป็นคำร้องขอจากรัฐบาลไทย 1 รายการแต่ไม่ได้ให้ข้อมูล

รายงานของ LINE จะแยกประเภทของคำร้องขอข้อมูลต่อเมื่อมีการส่งข้อมูลให้เท่านั้น โดยแยกคำร้องเป็นสามประเภท ได้แก่ หมายศาล, คำขอข้อมูลเกี่ยวกับการสอบสวน, คำขอฉุกเฉิน จากนั้นจึงบอกจำนวนบัญชีที่ส่งข้อมูลให้โดยแต่ละคำขออาจจะขอข้อมูลหลายบัญชีพร้อมๆ กันได้

เนื่องจาก LINE ไม่ได้ส่งข้อมูลให้ตามคำขอจากรัฐบาลไทยจึงไม่มีข้อมูลว่าคำขอเป็นประเภทใด และต้องการข้อมูลกี่บัญชี

รายงานยังระบุว่าคำขอจากหน่วยงานต่างประเทศจะต้องผ่านทาง International Criminal Police Organization (ICPO) ไปยังตำรวจญี่ปุ่นก่อน หรือสถานทูตส่งคำขอผ่านทางกระทรวงต่างประเทศของญี่ปุ่น

รัฐบาลญี่ปุ่นเองขอข้อมูลจำนวนมากที่สุดตามรายงานนี้ โดยมีคำขอถึง 1,500 รายการ ได้รับข้อมูล 928 คำขอ รวมเป็นข้อมูล 1,167 บัญชี รองลงมาคือไต้หวันที่ส่งคำขอ 168 รายการ ได้รับข้อมูล 68 รายการ รวมเป็นข้อมูล 100 บัญชี

ที่มา - LINE

alt=

alt=

Get latest news from Blognone

Comments

By: Hadakung
iPhone Windows Phone Android Windows
on 25 April 2017 - 20:39 #981427

คาดว่าหนึ่งคำร้องคือขอข้อมูลทุกบัญชี ขอทำไมบ่อยๆเปลืองหนังสือราชการ เก็บเข้าดีดาต้าเบสแล้วก็แบล็กอัพไว้ประชาหน้าใสก็อุ่นใจ XD

By: asptuy
Windows Phone Android Windows
on 25 April 2017 - 23:38 #981450 Reply to:981427
asptuy's picture

ฃอดั๊ม db_thailand เอง

By: lew
Founder Jusci's WriterMEconomics Android
on 25 April 2017 - 21:15 #981430
lew's picture

เผื่อว่ามีคำถามว่ารายงานพวกนี้เชื่อได้ไหม

พวก transparency report นี่ไม่ได้มีไว้ให้ "เชื่อ" นะครับ แต่มีไว้เพื่อให้ตรวจสอบได้ เช่นว่าวันดีคืนดีรัฐบาลประเทศ X บอกว่าได้ข้อมูลมาแล้ว แต่ก่อนหน้านี้เราไม่รู้เลยว่าเขาได้มาอย่างไร ได้เยอะน้อยแค่ไหน ตอนนี้ก็พอบอกได้ว่าน่าจะมาจากกระบวนการไหน ถ้าเป็นคดีในอนาคตมีเอกสารในชั้นศาลก็ย้อนกลับไปได้ละเอียดขึ้น

แบบเดียวกับพวกนโยบายความปลอดภัย ถ้าบริษัทไม่ได้พูดอะไรให้เราเดาเอาเอง ก็ต้องเดาเอาว่าเก็บข้อมูลอย่างไร แฮชรหัสผ่านหรือไม่ เข้ารหัสข้อมูลก่อนส่งรึเปล่า

ถ้าบริษัทเปิดเอกสารกระบวนการรักษาความปลอดภัยออกมา บอกว่าเข้ารหัสหมดแล้วทุกอย่าง แต่วันดีคืนดีไปเจอว่าข้อมูลยังไม่เข้ารหัสก็บอกได้ว่าบริษัทผิดคำพูด ซึ่งแต่ละประเทศก็อาจจะมีกฎหมายคุ้มครองบ้างบางระดับ เช่นการโฆษณาเกินจริง

อาจจะไม่ร้ายแรงนัก แต่โดยทั่วไปแล้วบริษัทที่เปิดข้อมูลออกมาก็มีแรงจูงใจพอสมควรให้ทำตามที่ตัวเองพูด (เช่นการใช้แรมตรงประเภทที่โฆษณา ถ้าไม่โฆษณาเสียก็อาจจะใช้อะไรตามใจได้)


lewcpe.com , @wasonliw