Seagate ประเทศไทยประกาศความร่วมมือกับ CyArk องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรระดับนานาชาติ ในโครงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในประเทศไทย ด้วยการอนุรักษ์พื้นที่บริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์ มรดกโลกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในรูปแบบดิจิทัล 3 มิติ
กระบวนการการเก็บข้อมูลในพื้นที่จะมีทั้งการเก็บภาพถ่าย 3 มิติด้วยการใช้เซ็นเซอร์ LiDAR ในการสแกน, วิธี Photogrammatry หรือการรวบรวมภาพถ่ายหลายๆ มุมมาประกอบเข้าด้วยกัน และภาพถ่ายมุมสูงและการทำรังวัดจากโดรน ก่อนจะนำไปประมวลผลผ่านซอฟต์แวร์
ด้าน Seagate เข้ามาช่วยเหลือ CyArk ในทั้งภาคสนามและการทำงานหลังบ้านผ่านโซลูชันการบันทึกข้อมูล ทั้ง LaCie Rugged USB-C ฮาร์ดไดร์ฟภาคสนาม, Rugged RAID, 2big, 12big, Innov8 และ IronWolf
ทาง CyArk ก็มีแผนจะนำเสนอข้อมูล 3 มิติของโบราณสถานทั่วโลกในรูปแบบของ VR ในอนาคตด้วย โดยตอนนี้ยังอยู่ในขั้นแรกของโปรเจ็คนั้นเท่านั้น ซึ่งทาง CyArk มีแผนจะพูดคุยเป็นพาร์ทเนอร์กับทั้งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ VR
ผมมีโอกาสได้ลอง VR ด้วย รูปแบบการนำเสนอไม่แตกต่างจาก Google Street View เท่าไหร่ แต่รายละเอียดต่างๆ ค่อนข้างชัดมากกว่า สามารถเข้าไปดูใต้อาคาร มุดหรือลอดตามมุมต่างๆ ของสถานที่ได้มากกว่า (แต่ก็ไม่ได้ทุกจุด 100%)
CyArk ก่อตั้งในปี 2003 เดินทางเก็บข้อมูลโบราณสถานและมรดกโลกมาแล้วกว่า 200 โปรเจ็คใน 40 ประเทศทั่วโลก เพื่ออนุรักษ์โบราณสถานเหล่านั้นเอาไว้ จากการสูญสลายไม่ว่าจะจากภัยธรรมชาติหรือน้ำมือมนุษย์
Comments
อยู่ๆในหัวก็นึกถึง Thailand 4.0 ซะงั้น
Google Street View เทียบไม่ได้อยู่แล้ว ถึงหลักการสร้างโมเดลจะคล้ายกัน แต่การเก็บข้อมูลละเอียดกว่ากันเยอะ(ใช้ LIDAR ด้วย) และการขึ้นรูปโมเดลก็เป็น 3 มิติจริง ๆ ไม่เหมือน Street View แค่เอาฉากมาวางแนวตั้งเฉย ๆ แค่เกือบ 3 มิติ (หรือเกือบ 2 มิติดีหว่า)
หวังว่าจะเก็บข้อมูลละเอียดยิบ ๆ อนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานจริง ๆ นะครับเหมือนที่กูเกิลก็ทำกับงานศิลปะ (และซักวันป๋ากูคงร่วมมือกับ CyArk เอาโมเดลมาลงในแผนที่ให้ชมกันบ้าง)
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ผมเขียนไม่เคลียร์เองครับ เรื่องเทียบกับ Street View
เอิ่ม.... ขอ storage ยี่ห้ออื่นทำ mirror ด้วยนะครับ ผมยังสยองกับ 3TB HDD ไม่หาย (แต่ข้อมูลหาย)
น่าชื่นชมในเทคโนโลยี
รูปแบบเดิมๆของงานอนุรักษ์ สถาปัตยกรรมและโบราณสถานในไทย ก็คือต้องเอาคนไปวัดขนาด (บ่อยครั้งก็ใช้นักศึกษามหาวิทยาลัย) เพื่อมาจัดทำบันทึกเป็นแบบ
ซึ่งพอใช้คนจด ยังไงก็มีจุดผิดพลาดอยู่ร่ำไป ร้อน เหนื่อย เบื่อ มึน อยากกลับบ้าน หรือแค่ผิดพลาดเฉยๆ ก็ใส่ข้อมูลไปมั่วๆ ยากที่ใครจะมาตรวจได้ ไม่เป็นไรหรอกๆจาก1จุดก็ไม่เป็นไรๆกลายเป็นเป็น 10จุด-100จุดก็ไม่อาจรู้ได้ แล้วคนทำตลอดโครงการไม่รู้กี่สิบกี่ร้อยคน จะเพี้ยนไปมากขนาดไหนก็ไม่รู้