SoftBank, Facebook, Amazon และบริษัทโทรคมนาคม NTT Communications, PLDT, PCCW Global ร่วมมือกันสร้างสายเคเบิลใต้ทะเล ภายใต้ชื่อโครงการ Jupiter เชื่อมสายจากสหรัฐฯ ไปยังพื้นที่ทวีปเอเชีย สามารถส่งข้อมูลได้ 60 เทระบิตต่อวินาที กินพื้นที่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิกระยะทาง 8,700 ไมล์ เริ่มต้นจากหาด Hermosa ในลอสแองเจลิส ไปยังญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์
SoftBank ระบุว่าที่ต้องลงทุนสายเคเบิลเพราะตลาดอุปกรณ์ Internet of Things โตสูง งานวิจัยจาก Gartner เผยว่าจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ IoT จะมี 8 พันล้านชิ้นในปีนี้ และจะมากกว่า 2 หมื่นล้านในปี 2020 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่การสร้างสายเคเบิลในชื่อโครงการ Jupiter จะสมบูรณ์พอดี
Koji Ishii ผู้จัดการทั่วไป SoftBank และหนึ่งในประธานโครงการ Jupiter บอกว่าความต้องการ bandwidth ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเติบโตสูงอย่างน่าทึ่ง ซึ่งมาพร้อมกับขีดความสามารถเคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่น AR, VR, 4K
โครงการสายเคเบิลได้บริษัท Facebook และ Amazon เข้ามาร่วมด้วย เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าเครือข่ายที่แข็งแรงขึ้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนด้านคอนเทนต์วิดีโอที่ทั้งสองกำลังหมายมั่นปั้นมือ
ภาพจาก PCCW Global
ที่มา - Fortune
Comments
สามารถเคโนโลยี --> สามารถเทคโนโลยี
ถ้าเปรียบเทียบว่าเส้นทางส่งข้อมูลเหล่านี้เป็น digital way คล้ายๆกับเส้นทางเดินเรือในโลก physicals ซึ่งโดยมากแล้วเมืองที่เป็นท่าเทียบเรือก็มักจะได้เปรียบในเรื่องค้าขาย เป็นเมืองเศรษฐกิจแบบสมัยโบราณ ทีนี้ในทาง digital เมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อสายเคเบิลเหล่านี้มีความได้เปรียบยังไงครับ
ผมคิดว่า. ไวมั้งครับ แล้วบ.network คงต้องมาเปิด วางตู้ วางrankกัน.เหมือนที่พวกเราพากันไปเช่าที่วางserverที่ตึกน้องเมี้ยว
รายได้เข้าเมืองครับ ;)
ทั้งศูนย์ข้อมูล ทั้งค่าไฟฟ้า ค่าเชื่อมต่อ ฯลฯ