TechCrunch รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ยืนยันได้บอกว่า Meta มีโครงการสร้างสายเคเบิลใต้น้ำใหม่ ความยาวรวมมากกว่า 40,000 กิโลเมตร ครอบคลุมการเชื่อมต่อกับพื้นที่ทั่วโลก มูลค่าโครงการมากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ โดย Meta จะเป็นเจ้าของเคเบิลใต้น้ำโครงข่ายนี้เพียงรายเดียว จึงถือเป็นโครงการวางโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่มาก
แหล่งข่าวบอกว่าโครงการนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ยังไม่ได้เริ่มดำเนินงานวางสายเคเบิล โดยบริษัทน่าจะประกาศรายละเอียดต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการต้นปีหน้า ซึ่งมีทั้งรายละเอียดตำแหน่งการวางสาย จุดเชื่อมต่อ รวมทั้งอธิบายที่มาของโครงการนี้
หน่วยงานกำกับดูแลตลาดพลังงานของสิงคโปร์ Energy Market Authority (EMA) อนุมัติหลักการโครงการสายเคเบิลใต้น้ำ ส่งพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มในออสเตรเลียมายังประเทศสิงคโปร์
โครงการนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Australia-Asia PowerLink (AAPowerLink) ดำเนินการโดยบริษัท SunCable ของออสเตรเลีย แนวคิดของโครงการนี้คืออาศัยพื้นที่กว้างใหญ่ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย สร้างโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ ปริมาณการผลิตสูงสุด (ตามที่วางแผนไว้) 20 GW แล้วส่งพลังไฟฟ้าข้ามทะเลเป็นระยะทาง 4,300 กิโลเมตร มาให้สิงคโปร์ซึ่งขาดแคลนแหล่งผลิตไฟฟ้าของตัวเอง
กูเกิลประกาศโครงการสร้างโครงข่ายไฟเบอร์ ที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกาและทวีปออสเตรเลีย มีชื่อโครงการว่า Umoja(ภาษาสวาฮีลี แปลว่าการรวมกัน)
จุดเริ่มต้นของโครงข่ายอยู่ที่ประเทศเคนยา ผ่านประเทศยูกันดา, รวันดา, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, แซมเบีย, ซิมบับเว และแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อหลัก เพราะกูเกิลมีศูนย์ข้อมูลคลาวด์ที่โจฮันเนสเบิร์ก จากนั้นเป็นเคเบิลใต้น้ำผ่านมหาสมุทรอินเดียไปออสเตรเลีย
Umoja จะเชื่อมต่อกับโครงการก่อนหน้านี้ของกูเกิลคือ Equiano ที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกากับยุโรปผ่านประเทศโปรตุเกส เพิ่มการเชื่อมต่อที่เสถียรมากขึ้น ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคแอฟริกา
กูเกิลประกาศแผนลงทุนวงเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ เพื่อปรับปรุงโครงข่ายการเชื่อมต่อเคเบิ้ลใต้น้ำระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยมีทั้งการขยายโครงข่ายในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิก และเพิ่มเคเบิ้ลใต้น้ำสาย Proa และ Taihei ที่มีปลายทางที่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์หลายรายทั้ง KDDI, ARTERIA, Citadel Pacific และ CNMI
เคเบิ้ลใต้น้ำ Proa เป็นการเชื่อมต่อจาก NEC ประเทศญี่ปุ่น ไปยังเครือรัฐหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา (CNMI) และเกาะกวม เป็นการขยายโครงข่ายของ NEC ที่เชื่อมต่อไต้หวัน-ฟิลิปปินส์-อเมริกา (TPU) ให้ขยายมายัง CNMI ด้วย
ที่ประชุมรัฐมนตรีดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Ministers - AGMIN) ออกแถลงร่วมว่าจะร่วมมือกันในประเด็นต่างๆ เช่น การกำกับดูแล AI, แนวทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามประเทศ, หรือการใช้งาน 5G แต่มีสามประเด็นที่ถูกแยกออกมาและดูมีความชัดเจนกว่าประเด็นอื่นๆ ได้แก่ การวางเคเบิลใต้น้ำ, การต่อสู้การหลอกลวงออนไลน์หรือแอปดูดเงิน, และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
แถลงระบุว่าจะร่วมมือกันสร้างโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำเพื่อเชื่อมต่อระหว่างชาติอาเซียนและชาติอื่นๆ นอกภูมิภาค พร้อมกับสนับสนุนการวางเคเบิลใหม่, การซ่อมบำรุง, การรื้อถอน, ไปจนถึงการดูแลความปลอดภัยของเคเบิลเหล่านี้ร่วมกัน
กูเกิลประกาศแผนการวางเคเบิลใต้น้ำ 2 เส้นใหม่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก South Pacific Connect เชื่อมต่อออสเตรเลียเข้ากับชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐ โดยผ่านเกาะฟิจิและเฟรนช์โพลีนีเซีย
เคเบิลเส้นที่ผ่านฟิจิใช้ชื่อว่า Tabua ตั้งชื่อตามฟันปลาวาฬศักดิ์สิทธิ์ของชาวฟิจิ ส่วนเส้นที่ผ่านเฟรนช์โพลีนีเซียใช้ชื่อ Honomoana มาจากคำว่า link (hono) และ ocean (moana) โดยมีเคเบิลเชื่อมระหว่างทั้งสองเกาะด้วย สร้างเส้นทางวิ่งเป็นวงแหวน (ring) ระหว่างออสเตรเลีย ฟิจิ เฟรนช์โพลีนีเซีย เพื่อเพิ่มเส้นทางเลือกหากเคเบิลเส้นใดเส้นหนึ่งมีปัญหาขึ้นมา
รัฐบาลไต้หวันเริ่มหามาตรการแก้ปัญหา หากโดนรัฐบาลจีน "ตัดเน็ต" ด้วยการตัดสายเคเบิลใต้น้ำ ซึ่งจะทำให้เกาะไต้หวันไม่สามารถสื่อสารกับโลกภายนอกได้
ปัญหานี้ไม่ได้เป็นแค่การคาดการณ์ เพราะช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2023 เกิดเหตุว่าหมู่เกาะ Matsu ในปกครองของไต้หวัน (แต่อยู่เกือบติดชายฝั่งจีน) โดนเรือสัญชาติจีนทำเคเบิลใต้น้ำขาด 2 เส้น (พิสูจน์ไม่ได้ว่าอุบัติเหตุหรือตั้งใจ) ทำให้การสื่อสารได้รับผลกระทบ ที่ร้ายไปกว่านั้นคือเรือซ่อมเคเบิลใต้น้ำไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้เป็นเวลานาน 2 เดือน กว่าจะซ่อมเสร็จต้องรอถึงเดือนเมษายน
หลังเกิดภูเขาไฟใต้ทะเลปะทุในมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้กับตองก้าเมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา และได้ยินไกลไปถึงนิวซีแลนด์ที่อยู่ห่างไปราว 2,383 กิลโลเมตร ทำให้ประเทศที่มีประชากรราว 100,500 คน ขาดการติดต่อ และเถ้าถ่านปกคลุมไปทั่ว แม้ปัจจุบันการสื่อสารไร้สายบางส่วนจะเริ่มกลับมาใช้งานได้ แต่ผู้เกี่ยวข้องคาดว่าจะต้องใช้เวลากว่า 2 สัปดาห์ กว่าจะซ่อมเครือข่ายสื่อสารให้กลับมาใช้งานได้ทั้งหมด
Facebook ประกาศเตรียมดำเนินการโยงสายเคเบิ้ลใต้ทะเลจากสิงคโปร์ ไปยังอินโดนีเซีย เกาะกวม และสหรัฐอเมริกา โดยเป็นการร่วมมือกับ Google และผู้ให้บริการโทรคมนาคมเจ้าอื่นในภูมิภาค เพื่อขยายความสามารถในการส่งข้อมูลระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับทวีปอเมริกาเหนือ เพิ่มจากเส้นทางเดิมในแถบฮ่องกงและญี่ปุ่น
Facebook ระบุว่าสายเคเบิ้ลสองเส้นชื่อ Bifrost กับ Echo จะเป็นสายเคเบิ้ลสองเส้นแรกที่ลากผ่านเส้นทางใหม่ในทะเลชวา และจะเพิ่มความจุในการส่งข้อมูลข้ามทะเลแปซิฟิก (trans-pacific) ได้ราว 70% ซึ่งบ้านเราก็น่าจะได้รับอานิสงค์จากการเชื่อมต่อนี้ด้วย เช่นแบนด์วิธอินเทอร์เน็ตที่ส่งข้อมูลข้ามทะเลได้มากขึ้น ดูสตรีมมิ่งจากฝั่งสหรัฐได้ไวขึ้น หรือเล่นเกมออนไลน์เซิฟเวอร์สหรัฐได้โดยมี Ping น้อยลง
รัฐบาลชิลีเตรียมเดินหน้าเคเบิลใต้น้ำเชื่อมอเมริกาใต้เข้ากับเอเชียแปซิฟิก โดยมีสองกลุ่มยื่นข้อเสนอคือกลุ่มหัวเว่ยจากจีนและ NEC จากญี่ปุ่น และตอนนี้รัฐบาลก็เลือกเส้นทางจากญี่ปุ่นแม้หัวเว่ยจะพยายามล็อบบี้รวมถึงการเสนอลงทุนศูนย์ข้อมูลในชิลี
ข้อเสนอของหัวเว่ยนั้นเสนอให้ลากสายเคเบิลจากชิลีตรงเข้าเซี่ยงไฮ้ ระยะทาง 22,800 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ข้อเสนอของ NEC เสนอให้ลากเคเบิลเข้านิวซีแลนด์และต่อไปยังออสเตรเลีย แล้วต่อขึ้นไปยังโตเกียว ระยะทาง 24,000 กิโลเมตร มูลค่า 600 ล้านดอลลาร์
เว็บไซต์ iTnews ได้รับรายงานจากผู้ให้บริการสายเคเบิ้ลว่าตอนนี้ SEA-ME-WE 3 ไม่สามารถใช้งานได้และไม่รู้ว่าจะซ่อมให้กลับมาใช้งานได้เมื่อไหร่ โดยพบว่าปัญหาอยู่ระหว่างตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ที่ 345 และ 346
อย่างไรก็ตาม ทาง Optus กับ Telstra ผู้ให้บริการเครือข่ายในออสเตรเลียได้ย้ายไปใช้อีกสายสัญญาณแทนแล้ว จึงเกิดความหน่วง (Latency) ตามมา โดยสายสัญญาณที่ย้ายไปเป็นสายสัญญาณเชื่อมต่อจากฝั่งตะวันตกเชื่อมสู่สิงคโปร์ (east-coast-to-Singapore links) หรือเป็นเคเบิ้ลอีกสองเส้นที่เชื่อมออสเตรเลียสู่สิงคโปร์ (Perth-to-Singapore) แทน
กูเกิลประกาศลงทุนในโครงการเคเบิลใต้น้ำเรียกชื่อว่า Equianoซึ่งเชื่อมต่อทวีปแอฟริกากับยุโรปเข้าด้วยกัน โดยเส้นทางจะเริ่มต้นที่ยุโรปตะวันตกจากโปรตุเกส มาตามแนวฝั่งตะวันตกของแอฟริกา เชื่อมต่อส่วนแรกที่ไนจีเรีย และสิ้นสุดที่แอฟริกาใต้
โครงการนี้มี Alcatel Submarine Networks เป็นผู้วางเคเบิลใต้น้ำ และนับเป็นโครงการเคเบิลใต้น้ำลำดับที่ 3 ของกูเกิลที่ลงทุนเองทั้งหมด ต่อจาก Curie และ Dunant แต่ถ้านับโครงการที่ร่วมลงทุนด้วย ก็จะเป็นโครงการลำดับที่ 14
โครงการ Equiano เฟสแรกเชื่อมต่อโปรตุเกสกับไนจีเรีย คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2021
CAT Telecom ได้ลงนามในเอกสารหลักการเกี่ยวกับความร่วมมือด้านเคเบิ้ลใต้น้ำไทย-ฮ่องกง กับบริษัท ไชน่า อาวิเอชั่น คลาวด์ (CAC) เทเลคอม โดยคาดว่าเคเบิ้ลใต้น้ำเส้นนี้จะเปิดใช้ในเชิงพาณิชย์ช่วงปลายปี 2563
ความโดดเด่นของโครงการนี้ คือมีแบนด์วิธถึง 153.6 Tbps ใช้สายใยแก้วนำแสง 8 คู่ เคเบิ้ลใต้น้ำถูกออกแบบมาให้มีความยาวลดลงจากที่มีอยู่ 13% ช่วยลด latency ระหว่างกรุงเทพฮ่องกงลงได้ราว 5 มิลลิวินาที รวมถึงมีการจัดตั้งศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์กับประเทศที่มีสถานีจุดขึ้นบก ซึ่งจะช่วยให้สามารถขยายขอบเขตของพื้นที่ให้บริการได้มากขึ้น
Google ประกาศโครงการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติกจากหาด Virginia ของสหรัฐไปยังชายฝั่งแอตแลนติกของประเทศฝรั่งเศส สำหรับการใช้งานและเชื่อมต่อ Google Cloud Platform ระหว่างสหรัฐและยุโรปที่ Google ลงทุนเองใช้เอง
โครงการนี้ Google ตั้งชื่อว่า Dunant ตาม Henri Dunant (อ็องรี ดูนังต์) ผู้ก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพคนแรก หลังก่อนหน้านี้มีการใช้ชื่อ Curie ตามชื่อนักวิทยาศาสตร์ Marie Curie ในเคเบิลใต้น้ำที่เชื่อมระหว่างลอสแองเจลิสกับชิลี พร้อมระบุว่าจะตั้งชื่อเคเบิลใต้น้ำที่ใช้งานเองในลักษณะนี้ตามตัวอักษรต่อไปด้วย
กูเกิลประกาศลงทุนในโครงการเคเบิลใต้น้ำ Japan-Guam-Australia (JGA) Cable System ที่ลากสายเคเบิลจากญี่ปุ่น ผ่านเกาะกวม ลงมายังซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ความยาว 9,500 กิโลเมตร
เคเบิลเส้น JGA มีความสำคัญต่อแผนการของกูเกิลในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะมันจะเชื่อมต่อกับสายเคเบิลอื่นๆ ที่กูเกิลเคยลงทุนไว้ก่อนหน้าจนครบเป็นวงกลมพอดี (ดูภาพประกอบ) โดยกูเกิลเรียกมันว่า Southeast Asia - Australia Constellation
Google ประกาศเตรียมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์เพิ่มเติม โดยจะสร้างศูนย์ข้อมูลเพิ่มอีกใน 5 ประเทศ และสร้างเคเบิลใต้น้ำเพิ่มเติม 3 สาย
สำหรับประเทศที่จะเข้าไปตั้งศูนย์ข้อมูลเพิ่มเติม 5 ประเทศ จะมีสองพื้นที่คือเนเธอร์แลนด์และเมือง Montreal ประเทศแคนาดาที่จะเปิดในไตรมาสแรกของปี 2018 ตามมาด้วยลอสแอนเจลิส, ฟินแลนด์ และฮ่องกง
ส่วนเคเบิลใต้น้ำนั้น จะมีสามสายที่ Google มีส่วนร่วมในการสร้างมาก คือ Curie, Havfrue และ Hong Kong-Guam Cable
SoftBank, Facebook, Amazon และบริษัทโทรคมนาคม NTT Communications, PLDT, PCCW Global ร่วมมือกันสร้างสายเคเบิลใต้ทะเล ภายใต้ชื่อโครงการ Jupiter เชื่อมสายจากสหรัฐฯ ไปยังพื้นที่ทวีปเอเชีย สามารถส่งข้อมูลได้ 60 เทระบิตต่อวินาที กินพื้นที่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิกระยะทาง 8,700 ไมล์ เริ่มต้นจากหาด Hermosa ในลอสแองเจลิส ไปยังญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์
SoftBank ระบุว่าที่ต้องลงทุนสายเคเบิลเพราะตลาดอุปกรณ์ Internet of Things โตสูง งานวิจัยจาก Gartner เผยว่าจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ IoT จะมี 8 พันล้านชิ้นในปีนี้ และจะมากกว่า 2 หมื่นล้านในปี 2020 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่การสร้างสายเคเบิลในชื่อโครงการ Jupiter จะสมบูรณ์พอดี
กูเกิลประกาศร่วมลงทุนในโครงการเคเบิลใต้น้ำ INDIGO เพื่อขยายลิงก์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับออสเตรเลีย
INDIGO เป็นการวางสายเคเบิลจากสิงคโปร์ไปยังจาการ์ตา แล้วต่อไปยังเมืองเพิร์ธและซิดนีย์ของออสเตรเลีย ความยาวรวม 9,000 กิโลเมตร แบนด์วิดท์ 18 Tbps และรองรับการขยายเพิ่มเติมในอนาคต
กูเกิลระบุว่าเคเบิลเส้นนี้จะช่วยตอบโจทย์ลูกค้า Google Cloud ในเอเชียได้มากขึ้น จากแผนภาพที่สองจะเห็นการเชื่อมโยงเครือข่ายเคเบิลที่กูเกิลมีส่วนเกี่ยวข้อง ว่า INDIGO จะช่วยเชื่อมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับออสเตรเลียให้ใกล้ชิดกัน จากเดิมที่ทราฟฟิกต้องอ้อมไปทางเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือก่อน
สายเคเบิลใต้น้ำ Asia Pacific Gateway (APG) เป็นโครงการความร่วมมือตั้งแต่ปี 2009 ที่จะวางเคเบิลเชื่อมต่อเอเชียแปซิฟิก จากญี่ปุ่น, เกาหลี, จีน, ไต้หวัน, ฮ่องกง, เวียดนาม, ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ ตอนนี้เคเบิลเส้นนี้ก็เปิดใช้งานแล้ว แม้จะช้ากว่ากำหนดเดิมไปสองปี
เคเบิลมีระยะทางรวม 10,400 กิโลเมตร แบนวิดท์ในสายไฟเบอร์เป็น 100Gbps ปลายทางที่ญี่ปุ่นนั้นจะเชื่อมไปยังสาย Pacific Crossing-1 (PC-1) เพื่อข้ามไปสหรัฐฯ สำหรับไทยจะมีจุดขึ้นฝั่งที่สงขลา
สายเคเบิลเส้นนี้ CAT Telecom ได้ไปร่วมลงทุนไว้ด้วย นอกจากนี้เฟซบุ๊กก็เป็นผู้ลงทุนเช่นกัน
ประกาศโครงการไปเมื่อเดือน สิงหาคมปี 2014 ล่าสุด Faster โครงการวางสายเคเบิลข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ถูกติดตั้งเสร็จสิ้นและจะเริ่มใช้งานในวันนี้ (30 มิถุนายน 59)
เคเบิล Faster มีความยาวทั้งหมดกว่า 9,000 กิโลเมตร เชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตจากชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอย่าง Los Angeles, ย่าน Bay Area, Portland และ Seattle เข้ากับจังหวัดชิบะและจังหวัดมิเอะของญี่ปุ่น ด้วยความเร็วกว่า 60 Tbps โดยใช้สายเคเบิลใยแก้ว 6 คู่
โครงการนี้เป็นการร่วมทุนระหว่าง Google, Singtel, Global Transit, KDDI, China Mobile International และ China Telecom Global โดยมีบริษัท NEC เป็นผู้ติดตั้งและดำเนินงาน
ช่วงนี้อินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อไปยังต่างประเทศในภูมิภาคช้าลง เนื่องจากเคเบิลใต้น้ำ AAG ขาด ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายนนี่ผ่านมา ล่าสุดสื่อเวียดนามรายงานว่าการซ่อมแซมสายเคเบิลใต้น้ำนี้น่าจะเสร็จสิ้นได้ภายในวันที่ 6 ตุลาคมที่จะถึงนี้
เมื่อเวลาประมาณห้าทุ่มกว่าๆ ของคืนวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมามีรายงานว่าสายเคเบิลใต้น้ำ AAG ที่เชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาผ่านเกาะกวมและฮาวายชำรุดเสียหายบริเวณส่วนเชื่อมต่อระหว่างฮ่องกงมาทางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครับ
เคเบิลดังกล่าวมีความจุที่ออกแบบไว้สูงถึง 2.88 Tbps และมีการใช้งานอยู่ค่อนข้างมาก การชำรุดครั้งนี้ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช้าลงมากในหลายๆ ประเทศรวมถึงไทยด้วย ผู้ใช้หลายๆ รายในไทยก็พบว่าค่า latency เพิ่มสูงขึ้นและมีความเร็วลดลงจริง
สายเคเบิลใต้น้ำเส้นนี้เคยมีประวัติชำรุดเมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแล้วครั้งหนึ่ง ในช่วงนั้นใช้เวลาซ่อมแซมถึง 2 สัปดาห์ครับ
ใครบ้างจะคิดว่าบางทีปัญหาอินเทอร์เน็ตอาจเกิดจากฝีมือของเจ้าสมุทรอย่างปลาฉลามที่มางับสายเคเบิลใต้น้ำ ตอนนี้ Google ได้ออกมาเปิดเผยเรื่องนี้ว่าพวกเขาเจอปัญหาอะไรบ้างและกำลังหาทางรับมืออย่างไร
Google เปิดเผยข้อมูลเรื่องนี้ในงาน Google Cloud Roadshow ที่มีขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อนว่าบริษัทเป็นเจ้าของสายเคเบิลใต้มหาสมุทรที่เชื่อมโยงสัญญาณอินเทอร์เน็ตระหว่างทวีปต่างๆ ทั่วโลก เป็นความยาวรวมกันกว่า 100,000 ไมล์ ซึ่งปัญหาหนึ่งที่เกิดกับสายเคเบิลเหล่านี้ คือมันถูกทำให้เสียหายโดยปลาฉลามที่มาลองกัดสาย (อาจจะด้วยเข้าใจผิดว่าเป็นเหยื่อ หรือไม่ก็เพียงทดสอบว่าสิ่งที่มันเห็นคืออะไร)
- Read more about Google เจอปัญหาปลาฉลามกัดสายเคเบิลใต้น้ำจนเสียหาย
- 45 comments
- Log in or register to post comments
Google ประกาศข่าวการร่วมลงทุนในงานติดตั้งสายเคเบิลซึ่งจะพาดผ่านท้องพื้นมหาสมุทรแปซิฟิก เชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตระหว่างทวีปอเมริกาเหนือและเอเชียเข้าด้วยกัน
โครงการติดตั้งสายเคเบิลใต้น้ำนี้มีชื่อว่า Faster ใช้เงินลงทุนกว่า 300 ล้านดอลลาร์ โดยนอกจาก Google แล้ว ยังมีอีก 5 บริษัทที่ร่วมลงทุนในโครงการนี้ ได้แก่ China Mobile, China Telecom, KDDI, SingTel และ Global Transit
บริษัท หัวเหว่ย มารีน เน็ตเวิร์คส์ (Huawei Marine Networks) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี กับบริษัท โกลบอล มารีน ซิสเต็มส์ ภายใต้ความตกลงที่มีการลงนามกันเมื่อ 11 ธันวาคม 2551 เปิดดำเนินการแล้วเมื่อเร็วๆนี้ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เทศบาลนครเทียนจิน (Tianjin)
บริษัทจะจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา และมีฐานการผลิตอยู่ที่ปักกิ่ง, เซินเจิ้น และสหราชอาณาจักร
แหล่งข่าวจากหัวเหว่ยเปิดเผยว่า เหตุผลที่มีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนครั้งนี้เนื่องจากตลาดเคเบิลใต้น้ำกำลังขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต ซึ่งบริษัทคาดว่ามูลค่าตลาดจะอยู่ที่ประมาณกว่า 2 พันล้านเหรียญ หรือราว 70 พันล้านบาท ต่อปีในอีก 5 ปีข้างหน้า
- Read more about หัวเหว่ย เปิดธุรกิจเคเบิลใต้น้ำ
- 2 comments
- Log in or register to post comments