Apache Mesos ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับสร้างคลัสเตอร์ ให้มองเห็นทรัพยากรคอมพิวเตอร์เสมือนเป็นก้อนเดียวกัน (virtual compute resource pool) เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 1.0 แล้ว
Apache Mesos (หรือชื่อเดิม Nexus) เกิดขึ้นจากโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัย UC Berkley ในช่วงปี 2009 หลังจากนั้นก็เติบโต และมีองค์กรใหญ่ๆ หลายแห่งนำมาใช้งานจริงจัง (เช่น Twitter และ Apple) ภายหลัง Benjamin Hindman ผู้สร้าง Mesos จึงก่อตั้งสตาร์ตอัพชื่อ Mesosphere เพื่อให้บริการ Mesos ในเชิงพาณิชย์ โดย ได้รับเงินลงทุนจาก Microsoft กับ HPE ด้วย
- Read more about ระบบจัดการคลัสเตอร์ Apache Mesos ออกรุ่น 1.0 แล้ว
- Log in or register to post comments
Mesosphere สตาร์ตอัพด้านระบบปฏิบัติการ "คลัสเตอร์" สำหรับศูนย์ข้อมูล ระดมทุนรอบใหม่ (Series C) อีก 73.5 ล้านดอลลาร์ ความน่าสนใจอยู่ที่มีบริษัทใหญ่ทั้ง Microsoft และ HPE มาร่วมลงทุนด้วย
ผลิตภัณฑ์หลักของ Mesosphere คือ Datacenter Operating System (DCOS)ที่พัฒนาต่อมาจาก Apache Mesos อีกทีหนึ่ง แนวคิดของมันคือมองเซิร์ฟเวอร์ทุกตัว (ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์จริง หรือ VM ในคลาวด์ใดๆ) เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว การนำแอพพลิเคชันใดๆ ไปรันจึงไม่ต้องคำนึงว่าจะรันบนเครื่องไหน เพราะ DCOS สามารถจัดการทรัพยากรให้เราอัตโนมัติ การใช้ทรัพยากรจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่มี VM ตัวไหนที่อยู่ว่างจนเกินไปและเปลืองพลังประมวลผลเสียเปล่า
ที่ประชุมวิชาการ Password^12 บริษัท Stricture Consulting Group ได้นำเสนอการสร้างคลัสเตอร์ GPU เจาะรหัสผ่าน NTLM ทุกรูปแบบที่เป็นไปได้ของตัวอักษรเล็ก/ใหญ่, ตัวเลข, และสัญลักษณ์ที่ความยาวไม่เกิน 8 อักขระ ได้ในเวลาเพียง 5.5 ชั่วโมงเท่านั้น
หัวใจของโครงการนี้คือ VCL ที่สร้างให้ลินุกซ์ที่รันแอพพลิเคชั่น OpenCL สามารถรันบนคลัสเตอร์ได้เหมือนรันบนเครื่องเดียวกัน มีข้อจำกัดเพียงแค่เครื่องหลักต้องมีหน่วยความจำมากๆ กับเน็ตเวิร์คต้องมี latency ต่ำๆ เท่านั้น
ปัญหาของ NTLM คือ มันเป็นอัลกอริทึมแฮชที่ทำงานได้เร็วเกินไป คลัสเตอร์ที่ใช้การ์ดกราฟิก 25 คอร์สามารถแฮชได้ถึง 350 พันล้านแฮชต่อวินาที ขณะที่อัลกอลิทึมที่ช้าๆ เช่น bcrypt สามารถทำได้เพียง 71,000 แฮชต่อวินาทีเท่านั้น
หลังจากออราเคิลเข้าซื้อซัน เรื่องหนึ่งที่หลายๆ คนกลัวคือออราเคิลจะเอา MySQL ไปดองไว้เพื่อขาย Oracle DB เป็นหลัก แต่การออก MySQL Cluster 7.2 น่าจะช่วยลดความกังวลใจนี้ไปได้
ฟีเจอสำคัญของ MySQL Cluster 7.2 คือการเร่งความเร็วการคิวรีขึ้นถึง 70 เท่าจากฟีเจอร์ Adaptive Query Localization ที่ดันงานประมวลผลลงไปอยู่ที่โหนดลูกแทนที่จะนำขึ้นมาประมวลที่โหนดหลัก นอกจากการคิวรีตามปรกติแล้วยังมี NoSQL API ที่ได้ประโยชน์จากการกระจายงานจนรองรับการคิวรีได้มากกว่าพันล้านครั้งต่อชั่วโมงบรเครื่อง x86 จำนวน 8 เครื่อง
มี รุ่น GPL ให้ดาวน์โหลดใช้งานฟรีเช่นเดิม ส่วนถ้าใครอยากให้มีซัพพอร์ตก็มีขายเช่นกัน