Vow บริษัทพัฒนาและวิจัยอาหาร เปิดตัวเนื้อแมมมอธเทียม โดยบอกว่าผลิตขึ้นจากข้อมูลการเรียง DNA ของแมมมอธ และอาศัยข้อมูลเพิ่มเติมจากช้างแอฟริกามาเติมข้อมูลส่วนที่ขาดหาย ทำให้ได้สีและรสชาติของเนื้อที่เลียนแบบจากแมมมอธมากที่สุด
เนื้อแมมมอธเทียมที่ได้ Vow นำมาเปิดตัวในรูปแบบของอาหารแปรรูป โดยเป็นมีทบอลยักษ์เนื้อแมมมอธนั่นเอง
Stanley Qi ผู้ช่วยศาสตรจารย์ด้านวิศวกรรมพันธุกรรมมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและทีมงาน นำเสนองานวิจัย CasMINI ระบบการตัดต่อพันธุกรรมที่ใช้โปรตีนสั้นกว่า CRISPR ลงครึ่งหนึ่ง เปิดทางให้ใช้เทคนิคนี้สร้างกระบวนการพันธุกรรมบำบัด (gene therapy) แบบใหม่ๆ
CRISPR เดิมนั้นใช้ยีน Cas9 หรือ Cas12 เป็นตัวตัดต่อพันธุกรรม โดยทั้งสองแบบมีความยาวโปรตีนประมาณ 1000-1500 กรดอมิโน แต่ CasMINI นั้นมีความยาว 529 กรดอมิโน
กระบวนการสร้าง CasMINI ตั้งต้นจากยีน Cas12f ที่พบในสัตว์เซลล์เดียว โดยมันมีความยาวเพียง 400-700 กรดอมิโนเท่านั้น แต่ไม่สามารถตัดต่อพันธุกรรมมนุษย์ได้ ทีมวิจัยปรับแต่งโปรตีนประมาณ 40 จุดเพื่อพยายามให้ใช้กับมนุษย์ได้ในที่สุด
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2018 He Jiankui ประกาศความสำเร็จในการทำคลอดทารกหญิงดัดแปลงพันธุกรรมสองคน สร้างผลกระทบต่อวงการพันธุกรรมว่าเราจะเข้าสู่ยุคดัดแปลงพันธุกรรมมนุษย์กันแล้วจริงๆ หรือ หลังจากนั้นตัว He เองถูกจับกุมและวันนี้ศาลเซินเจิ้นก็ตัดสินโทษจำคุก 3 ปี และปรับ 4 ล้านหยวนหรือประมาณ 13 ล้าน
He เปิดเผยการดัดแปลงพันธุกรรม ทาง YouTube หลังจากตัวรายงานวิจัยถูก ส่งให้วารสาร Nature แต่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ โดย MIT Technology Review นำมาเผยแพร่บางส่วนเพื่อเป็นบทเรียน
หนึ่งปีหลัง He Jiankui นักวิจัยจีนรายงานถึง การดัดแปลงพันธุกรรมในมนุษย์
เมื่อวานนี้นิตยสาร MIT Technology Review เผยแพร่บางส่วนของรายงานวิจัย "การเปิดของคู่แฝดที่ผ่านมาการตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อสร้างความต้านทาน HIV" (Birth of Twins After Genome Editing for HIV Resistance) รายงานที่ He ส่งไปยังวารสาร Nature เพื่อรายงานความสำเร็จ
รายงานฉบับนี้ไม่ได้รับการตีพิมพ์ โดยกองบรรณาธิการของ Nature ไม่ได้ส่งต่อรายงานให้นักวิจัยอื่นรีวิวแต่อย่างใด วารสารอีกฉบับคือ JAMA ก็ไม่รับตีพิมพ์อีกเช่นกัน ทาง Technology Review ได้รับรายงานฉบับนี้จากแหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อ โดยส่งรายงานไปให้นักวิชาการในวงการร่วมแสดงความเห็น
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว หนึ่งในข่าวที่สะเทือนแวดวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ทั่วโลก คือข่าวที่ นักวิจัยจีนออกมายอมรับว่าได้ทำการวิจัยทดลองตัดต่อพันธุกรรมเด็กทารกหญิง 2 คน ก่อให้เกิดประเด็นถกเถียงกันในวงกว้างถึงความเหมาะสมในด้านจริยธรรมของงานวิจัยดังกล่าว มาบัดนี้องค์การอนามัยโลกได้ออก แถลงการณ์ อย่างชัดเจนขอความร่วมมือหน่วยงานผู้มีอำนาจในทุกประเทศทั่วโลกสั่งห้ามการตัดต่อพันธุกรรมของเซลล์ต้นกำเนิดทั้งหมดจนกว่าเรื่องนี้จะได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเสียก่อน
สองเดือนหลัง He Jiankui นักวิจัยพันธุกรรมชาวจีน ประกาศความสำเร็จในการดัดแปลงพันธุกรรมทารกหญิงสองคนด้วยกระบวนการ CRISPR เมื่อวานนี้ Southern University of Science and Technology ที่เป็นต้นสังกัดของ Jiankui ก็ประกาศว่าเขาถูกไล่ออกแล้ว อย่างไรก็ดีทางรัฐบาลพบว่า Jiankui ทำกระบวนการเดียวกันให้พ่อแม่คู่ที่สอง และแม่กำลังตั้งครรภ์แล้ว
ทางรัฐบาลจีนระบุว่าจะเฝ้าดูฝาแฝดคู่แรกที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมต่อไป
การสอบสวนพบว่า Jiankui ระดมทุนโดยหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ แอบสร้างทีมงานของตัวเอง และปลอมแปลงเอกสารรับรองจากกรรมการจริยธรรมเพื่อใช้หาทีมงาน พร้อมกับระบุว่าเขาทำทั้งหมดเพื่อสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง
หลังจากนักวิจัยจีนประกาศความสำเร็จในการตัดต่อพันธุกรรมทารกหญิงสองราย เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา Xu Nanping รองรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีนก็ออกมาให้สัมภาษณ์ ยืนยันว่าจีนห้ามทดลองเช่นนี้ อย่างไรก็ตามทางกระทรวงยังยืนยันไม่ได้ว่ามีเด็กที่ถูกตัดต่อพันธุกรรมจริงหรือไม่
มาตรฐานจริยธรรมการวิจัยสเต็มเซลล์มนุษย์ของจีนระบุให้เก็บตัวอ่อนไว้ได้ไม่เกิน 14 วัน และต้องทำไปเพื่อการวิจัยเท่านั้น โดยมาตรฐานนี้ออกมาตั้งแต่ปี 2003
He Jiankui จาก Southern University of Science and Technology ในเสิ่นเจิ้น ประกาศความสำเร็จในการดัดแปลงพันธุกรรมทารกหญิงสองคนเพื่อไม่ให้มียีน CCR5 โดยคาดหวังว่าทารกทั้งสองจะสามารถทนต่อเชื้อ HIV, ฝีดาษ (smallpox), และอหิวาตกโรค
Jiankui เรียกชื่อทารกทั้งสองด้วยชื่อสมมติ และตอนนี้ยังไม่มีการยืนยันจากภายนอกว่าทารกทั้งสองถูกดัดแปลงยีนมาจริง
การตัดต่อพันธุกรรมอาศัยเทคนิค CRISPR เพื่อตัดต่อพันธุกรรมของเอ็มบริโอ ก่อนจะนำเอ็มบริโอให้แม่ตั้งครรภ์ตามเทคนิค IVF