Tags:
Node Thumbnail

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย KAUST (King Abdullah University of Science and Technology) ประเทศซาอุดิอาระเบียพัฒนาเซ็นเซอร์แบบสวมใส่ได้สำหรับสัตว์ทะเล เพื่อใช้สำหรับการติดตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตของสัตว์นั้นๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของงานศึกษาระบบนิเวศใต้ทะเล ซึ่งมีข้อดีที่แตกต่างจากอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่เดิม

แต่ไหนแต่ไรมา นักวิทยาศาสตร์ก็ได้พยายามหาวิธีที่จะระบุตัวตนของสัตว์น้ำ และศึกษาพฤติกรรมการใช้ชีวิตของพวกมัน แรกเริ่มในปี 1930 ยุคสมัยที่การล่าวาฬและแมวน้ำเป็นเรื่องธรรมดาของโลกธุรกิจ นักวิจัยใช้วิธียิงหลอดสแตนเลสขนาดเล็กเข้าไปฝังในชั้นไขมันของวาฬ โดยหลอดดังกล่าวจะตีหมายเลขประจำตัวไว้ ซึ่งจะสามารถติดตามคืนได้เมื่อวาฬถูกล่าทำให้ทราบถึงแนวการเดินทางของวาฬ

Tags:
Topics: 

ครีมกันแดดที่นักท่องเที่ยวใช้กันทั่วไปตามชายหาด อาจเป็นสาหตุสำคัญในปรากฏการณ์ ปะการังฟอกสี ผลจากการศึกษาของคณะกรรมการสหภาพยุโรป

นักวิจัยที่นำโดย Roberto Danovaro จากมหาวิทยาลัยปิซ่า (University of Pisa) ได้ทำการทดลองโดยใช้ครีมกันแดดต่างกันสามยี่ห้อ ควบคุมปริมาณให้เหมาะสม แล้วนำไปทดสอบกับน้ำทะเลรอบๆ แนวปะการัง ซึ่งสถานที่ทดสอบได้แก่ เม็กซิโก, อินโดนีเซีย, ไทย และอียิปต์

จากการทดลอง พบว่าครีมกันแดดแม้มีปริมาณน้อย แต่ก็ทำให้ปะการังผลิตเมือกเหนียวออกมาภายในเวลา 18 ถึง 96 ชั่วโมง และภายในเวลา 96 ชั่วโมง ปะการังที่ทดสอบก็ฟอกสีทั้งหมด

Tags:
Node Thumbnail

เพิ่งมีการค้นพบพืชสายพันธุ์ใหม่ที่กินหนูเป็นอาหารในบริเวณ Cape York ในประเทศออสเตรเลีย

ในบริเวณ Cape York นั้น มีพืชที่กินสัตว์ขนาดเล็กและแมลงเป็นอาหารมากมาย แต่ล่าสุดได้มีการค้นพบพืชลักษณะเดียวกันนี้ที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยมันเติบโตในลักษณะเถาวัลย์

พืชสายพันธุ์ใหม่นี้จะถูกเรียกว่า "Tenax" โดยมันสามารถที่จะกินหนูที่มีขนาดเล็กได้

แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ค้นพบจาก James Cook University ตัดสินใจที่จะไม่เปิดเผยแหล่งที่เขาค้นพบพืชใหม่ชนิดนี้ เนื่องจากว่า Tenax ยังมีจำนวนน้อยมาก แม้ว่าจะเพิ่งถูกค้นพบแต่ก็มีสิทธิหายไปจากโลกนี้ได้

ผมกลัวพืชกินคนแบบมาริโอจัง งั่บ ๆ