Discord ประกาศใช้โปรโตคอลเข้ารหัสแบบใหม่ สำหรับเข้ารหัสเสียงและวิดีโอคอลล์ในระบบ ใช้ชื่อว่า Discord audio and video end-to-end encryption หรือตัวย่อ DAVE
DAVE เป็นโปรโตคอลที่ Discord พัฒนาขึ้นมาเองเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานของตัวเอง เช่น ทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์ม ใช้ได้กับไคลเอนต์ Discord ทุกแพลตฟอร์ม, รองรับการสเกลกับผู้ใช้จำนวนมากๆ โดยไม่ต้อง "ดาวน์เกรด" การสื่อสารลงมา, แข็งแกร่งทนทานต่อการเจาะ ไม่มีใครเข้าถึงคีย์เข้ารหัสได้แม้แต่ Discord เอง, เปิดเผยโปร่งใส ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ใช้งาน
Meta เผยรายละเอียดของการปรับเปลี่ยนแอพแชททั้ง WhatsApp และ Messenger ให้คุยกับแอพแชทตัวอื่นได้ ตามเงื่อนไขกฎหมาย Digital Markets Act (DMA) ของยุโรป ตามที่บริษัท เคยประกาศไว้เมื่อเดือนมีนาคม 2024 และใช้เวลาราว 6 เดือน พัฒนาฟีเจอร์นี้จนออกมาเป็นรูปเป็นร่าง
ทั้ง WhatsApp และ Messenger จะแสดงข้อความแจ้งเตือนในแอพ บอกให้ผู้ใช้ทราบว่าสามารถแชทคุยกับแอพแชทตัวอื่นๆ ได้ จากตัวอย่างในภาพคือแอพ Spruce และ Blurb
TikTok ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่สำหรับระบบส่งข้อความหากันระหว่างผู้ใช้งานหรือ Direct Messages (DM) ที่ช่วยในการแชร์คอนเทนต์ที่น่าสนใจ ซึ่ง TikTok บอกว่าฟีเจอร์เหล่านี้มีผู้ใช้งานร้องขอกันมาเป็นจำนวนมาก
- Group Chatผู้ใช้งานสามารถตั้งห้องแชท สูงสุด 32 คน สำหรับพูดคุยและแชร์คลิปที่น่าสนใจในกลุ่ม ซึ่ง TikTok ได้เพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานเยาวชน โดยผู้ใช้งานอายุ 13-15 ปี ไม่สามารถร่วมกลุ่มแชทได้ กรณีอายุ 16-17 ต้องมีเพื่อนอยู่ในกลุ่มอย่างน้อย 1 คนก่อน และถูกจำกัดการใช้งานส่วนการเชิญ หรือเข้าร่วมกลุ่มแปลกหน้า
- Stickerเพิ่มความสามารถการส่งสติกเกอร์ในแชทได้แล้ว
ที่มา: TikTok
แอปเปิลประกาศยกระดับการเข้ารหัสความปลอดภัยของ iMessage ด้วยโปรโตคอล PQ3 ที่รองรับการถูกโจมตีถึงระดับการประมวลผลด้วยควอนตัม ซึ่งแอปเปิลเรียกว่าเป็นการเข้ารหัสในระดับ 3 และเป็นครั้งแรกของแอปรับส่งข้อความ
ก่อนหน้านี้ iMessage มีระดับการเข้ารหัสระดับที่ 1 ซึ่งยังไม่ปลอดภัยสำหรับการโจมตีแบบควอนตัม ซึ่งแอปแชทในระดับ 1 ตัวอื่นได้แก่ LINE, Viber, WhatsApp ขณะที่ Signal เพิ่งอัพเกรดมาที่ระดับ 2 ในช่วงที่ผ่านมา
การออกแบบความปลอดภัยที่ระดับ 3 นั้น จะใช้การสร้างกุญแจ PQC (post-quantum cryptography) เริ่มต้นขึ้นมา และมีการสร้างกุญแจใหม่มาเรื่อย ๆ ตามช่วงเวลา ทำให้การโจมตีทำได้ยากมากขึ้น
เรื่องราวของ Beeper Mini แอปแชทที่สามารถส่งข้อความจาก Android ไปหา iMessage แสดงผลเป็นกล่องข้อความสีฟ้าเหมือนส่งจาก iPhone ด้วยวิธีวิศวกรรมย้อนกลับ ยังคงไม่จบ หลังจากแอปเปิล บล็อกแอปสำเร็จ ต่อมา Beeper ก็บอกว่า แก้ไขปัญหา ได้อีกครั้งโดยผู้ใช้ต้องมี Apple ID ก่อน แล้วก็ถูกแอปเปิลบล็อกได้อีก
ดูเหมือนเกมระหว่าง Beeper Mini แอปแชทที่ทำวิศวกรรมย้อนกลับ ให้สามารถส่งข้อความผ่าน iMessage บน Android ได้ กับแอปเปิล ที่ บล็อกการเข้าถึง ของแอปนี้ทันที ด้วยเหตุผลความปลอดภัย จะไม่จบง่าย ๆ โดยล่าสุด Beeper Mini ประกาศแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถกลับมาใช้งาน iMessage ได้ตามเดิมแล้ว
อย่างไรก็ตามการใช้ iMessage ครั้งนี้เปลี่ยนไป โดยผู้ใช้ Beeper Mini ต้องล็อกอิน Apple ID เพื่อใช้เป็นช่องทางการรับ-ส่งข้อความ จากจุดขายเดิมที่ใช้แค่เบอร์โทรศัพท์
แอปเปิลออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ จากประเด็น แอป Beeper Mini ที่ทำให้สามารถรับ-ส่งข้อความ iMessage บน Android ได้ โดยปลายทางเห็นเป็นข้อความที่ส่งจาก iMessage กล่องข้อความสีฟ้าด้วยวิธีวิศวกรรมย้อนกลับ จากนั้นในไม่กี่วันฟังก์ชัน iMessage ก็ ไม่สามารถใช้งานได้ ทันที โดยคาดว่าแอปเปิลทำการบล็อกการใช้งานนี้
เมื่อปี 2021 Eric Migicovsky ผู้ก่อตั้ง Pebble ได้ เปิดตัวโครงการใหม่ Beeper ที่เป็นแอปแชทรองรับการคุยพร้อมกันหลายแพลตฟอร์มในที่เดียว รวมทั้ง iMessage ด้วย ล่าสุดเขาประกาศแอปตัวใหม่ที่ปิดช่องว่างของการเชื่อมต่อกับ iMessage ไปอีกขั้นนั่นคือ Beeper Mini
Beeper Mini เป็น แอป Android สำหรับใช้แชทข้อความ มีจุดขายคือ ตรวจสอบหากพบข้อความที่ส่งด้วย iMessage จะแสดงผลด้วยกล่องข้อความสีฟ้า และเวลาตอบกลับข้อความก็จะวิ่งผ่านโปรโตคอล iMessage ของแอปเปิลด้วย ทำให้ปลายทางได้รับข้อความเป็นกล่องสีฟ้าเช่นกัน ผู้รับข้อความจึงไม่ทราบว่าเราใช้ Android ส่งข้อความ แก้ไขปัญหาเรื่อง กล่องข้อความสีเขียว-สีฟ้า
Automattic บริษัทเจ้าของ WordPress.com และ Tumblr ประกาศซื้อกิจการ Texts แอปสำหรับรับข้อความจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ รวมไว้ในที่เดียว โดยไม่ได้เปิดเผยมูลค่าที่เข้าซื้อเป็นทางการ แต่ The Verge ระบุว่า อยู่ที่ 50 ล้านดอลลาร์
ที่ผ่านมา Automattic ทำดีลซื้อกิจการที่มักเป็นองค์ประกอบของเว็บ และสามารถเชื่อมต่อกับ WordPress ได้ เช่น เครื่องมือวิเคราะห์ Parse.ly หรือแพลตฟอร์มพอดคาสต์ Pocket Casts ดีลนี้จึงแตกต่างจากที่เคยซื้อกิจการมา
Meta ในฐานะบริษัทแม่ของ WhatsApp ประกาศความร่วมมือกับ JioMart เครือข่ายร้านค้าปลีกในอินเดีย เพื่อให้บริการสั่งซื้อสินค้าแบบครบวงจร ทั้งหมดสามารถทำได้ผ่าน WhatsApp สำหรับผู้ใช้ในอินเดีย
วิธีการสั่งซื้อสินค้าก็ทำได้ไม่ยุ่งยาก โดยผู้ใช้งานพิมพ์ทักว่า Hi ในเบอร์ติดต่อของ JioMart จะเข้าสู่รายการแคตาลอกสินค้า กดสินค้าลงตะกร้า และจ่ายเงิน ทั้งหมดสามารถทำได้จบภายในแอปเดียว
Mark Zuckerberg กล่าวว่าแชตสำหรับธุรกิจ เป็นพื้นที่ซึ่งมีโอกาสเติบโตได้อีกมากในอีกหลายปีข้างหน้า จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคตเราจะเห็น WhatsApp เพิ่มฟีเจอร์ใหม่จนเป็นซูเปอร์แอปมากขึ้น
Meta รองรับ การเข้ารหัสแบบ end-to-end ใน Messenger มาตั้งแต่ต้นปี โดยมีทั้งการแชทและโทรแบบกลุ่ม ล่าสุดบริษัทประกาศเพิ่มเติมคุณสมบัติส่วนนี้
โดย Messenger เพิ่ม Secure Storage ระบบแบ็คอัพข้อมูลแชทแบบเข้ารหัส ซึ่งใช้สำหรับการกู้ข้อมูลกรณีโทรศัพท์หายหรือเปลี่ยนเครื่องใหม่ และ Meta ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ยกเว้นผู้ใช้งานคนนั้นร้องขอ ผู้ใช้งานสามารถเลือกเก็บข้อมูลแชทได้ทั้งการสร้างพินหรือรหัสเฉพาะ หรือเลือกใช้แบ็คอัพของผู้ให้บริการอื่นเช่น iCloud ฟีเจอร์นี้รองรับเฉพาะแอปบน iOS และ Android เท่านั้น
Eric Migicovsky ผู้ก่อตั้ง Pebble สมาร์ทวอทช์ที่ขายกิจการให้ Fitbit ไป และปัจจุบันเป็นพาร์ทเนอร์ของ Y Combinator เปิดตัวโครงการใหม่เป็นแอปชื่อว่า Beeperโดยมีจุดเด่น เป็นแอปแชทที่รองรับการเชื่อมต่อกับ 15 แพลตฟอร์ม ทำให้สามารถพูดคุยได้ 15 แอป ภายใต้แอปตัวเดียว
Beeper พัฒนาขึ้นจากโปรโตคอล Matrix ที่เป็นโอเพนซอร์สสำหรับการส่งข้อความแบบเข้ารหัส โดยผู้ใช้งานต้องสร้าง Bridge มาเชื่อมต่อกับ api ของ Matrix ซึ่ง Beeper ก็ได้สร้าง Bridge ขึ้นมารองรับทั้ง 15 แอปแชท โดย Migicovsky ได้เผยแพร่โค้ดไว้ที่ GitLab ด้วย (ลิงก์ชื่อ Nova ซึ่งเป็นชื่อเดิมของโครงการ)
Google Photos จะหยุดแบ็คอัพรูปภาพจากโฟลเดอร์ที่ถูกสร้างโดยแอปแชทในเครื่องโดยดีฟอลต์ เพื่อประหยัดทรัพยากรอินเทอร์เน็ตในช่วงโรคระบาดที่มีการแชร์รูปภาพกันไปมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม หากผู้ใช้งานยังต้องการแบ็คอัพรูปภาพจากแอปแชทไปยัง Google Photos ก็ยังสามารถไปที่ตั้งค่าเพื่อเปิดใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าวได้เหมือนเดิม
ข่าวนี้เป็นเรื่องที่เฉพาะตัวในอเมริกาสักหน่อย ก็ต้องท้าวความก่อนว่า iMessage แอปส่งข้อความภายในระบบปฏิบัติการของแอปเปิล กลายเป็นแอปแชทที่ได้รับความนิยมในตลาดอเมริกาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตามเนื่องจากพื้นฐานของ iMessage ก็คือโปรแกรมส่งข้อความ SMS, MMS พื้นฐานโทรศัพท์มือถือ การส่งข้อความจึงทำได้ไม่จำกัดแค่เฉพาะอุปกรณ์ iOS กันเอง
คนที่ใช้ iMessage คงคุ้นเคยว่าหากข้อความที่ส่งไป ฝั่งผู้รับใช้ iOS ซึ่งเป็น iMessage เหมือนกัน ลูกโป่งข้อความจะขึ้นเป็นสีฟ้า แปลว่าข้อความนี้ส่งผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ถ้าผู้รับไม่ได้ใช้ iOS ลูกโป่งข้อความจะเป็นสีเขียว แสดงว่าเป็นการส่งด้วย SMS หรือ MMS ซึ่งอาจมีค่าบริการเพิ่มเติมเข้ามา