David Marcus อดีตหัวหน้าทีม Facebook Messenger และหัวหน้าโครงการ Libra ที่ลาออกจาก Meta เมื่อปลายปีที่แล้ว เปิดตัวบริษัทใหม่ Lightspark ทำด้าน Bitcoin โดยเฉพาะ
ข้อมูลของ Lightspark ยังมีแค่ว่าจะขยายความสามารถของ Bitcoin โดยพูดถึงการใช้งาน Lightning Network แต่ยังไม่บอกรายละเอียดเพิ่มเติม
Lightspark ระบุว่าได้รับเงินลงทุนจากนักลงทุนหลายราย นำโดย Andressen-Horowitz และ Paradigm ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนที่เน้นสายคริปโตทั้งคู่
โครงการ Lightning Network รายงานถึงช่องโหว่สองรายการ ได้แก่ CVE-2020-26895 และ CVE-2020-26896 โดยช่องโหว่แรกเปิดทางให้แฮกเกอร์สามารถยกเลิกรายการโอนเงินผ่าน Lightning Network ไปได้ ทำให้โหนด Lightning ที่ให้บริการโอนเสียเงินของตัวเองไป
Lightning Network เป็นบริการโอนเงินแบบ off-blockchain ที่พยายามแก้ปัญหาระยะเวลาหน่วงในการโอนเงินของบล็อคเชนต่างๆ ที่นานเกินกว่าจะใช้งานจริงได้ เช่น บิตคอยน์นั้นอาจจะต้องใช้เวลา 20 นาทีเพื่อยืนยันรายการโอนเงิน แต่การโอนเงินบน Lightning จะใช้เวลาระดับมิลลิวินาทีเท่านั้น
ผู้ใช้ Reddit ชื่อว่า btc_throwaway1337 สั่งซื้อเราท์เตอร์ AR300M VPN ผ่าน TorGuard ที่ประกาศรับจ่ายผ่าน Lightning ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา
เขาสร้าง payment channel ด้วย transaction faffc6bebff621f53d6c2d603e0d9c98a133597dff7bed06b2602242fae992d7 เมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา (ค่าธรรมเนียมเปิด channel 2.4 ดอลลาร์) และสามาถสั่งเราท์เตอร์โดยได้รับใบเสร็จรับเงิน
Lightning Network เปิดใช้งานแล้วเมื่อวันที่ 17 มกราคม ที่ผ่านมา หลังจากทดสอบบน เทสเน็ต (Testnet) มาหลายเดือน
ปัจจุบันบิตคอยน์ มีความสามารถบันทึกรายการโอนประมาณ 3 transaction ต่อวินาที (300,000 transaction ต่อวัน) มีค่าธรรมเนียมต่อ transaction ประมาณ 334 บาท (0.001 btc) และมีรายการโอนรอการบันทึกอีก 67,000 กว่ารายการ (เคยขึ้นไปสูงถึง 190,000 รายการ) รวมทั้งใช้เวลาในการยืนยันการทำรายการตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงไปถึงวัน (จ่ายค่าธรรมเนียมสูงเพื่อความเร็ว)