KBTG หรือ KASIKORN Business-Technology Group ประกาศความร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC ในสังกัด สวทช.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดตัวโครงการ Thai NLP ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีประมวลผลภาษาธรรมชาติของภาษาไทย โดยเปิดเป็น Open API และตั้งเป้าสร้างและพัฒนาระบบนิเวศน์ ไปจนถึงชุมชนของ NLP ภาษาไทยขึ้นมาเอง โดยมีคุณขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทยมาเป็นประธานในการเปิดตัว NLP
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมมือกับกรมการข้าว พัฒนาระบบพยากรณ์การอพยพของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว เพื่อใช้พยากรณ์พื้นที่ที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะอพยพเข้าไป ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแจ้งเตือนชาวนาได้ล่วงหน้าเพื่อให้เตรียมการรับมือต่อไป
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่าตามที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ได้กำหนดนโยบายให้วางรากฐานเศรษฐกิจของประเทศสู่ ดิจิตอล อีโคโนมี(Digital Economy) เพื่อรองรับการขยายตัวของประเทศในทุกด้านทั้ง เกษตร การเงิน การค้าและบริการ ซึ่งเป็นแนวทางเหมือนกับในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ฉะนั้นภารกิจของกระทรวงก็จะมีเพิ่มมากขึ้น และต้องมีการปรับโครงสร้างของกระทรวง
ที่ผ่านมา หลายบริษัทได้ขยับตัวไปเล่นในตลาดเทคโนโลยีทางด้านเสียงมากขึ้น อย่างการนำไปประยุกต์เป็น voice input/output ในสมาร์ทโฟน หรือการประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน ด้วยความที่ผมสนใจในเรื่องพวกนี้อยู่พอสมควร แล้วก็มีโอกาสได้เห็นการสาธิตโปรแกรม VAJA ของ สวทช. ในงาน Microsoft Innovation Days จึงได้นัดสัมภาษณ์ ดร. ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศแห่ง NECTEC บุคคลหนึ่งที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของโปรแกรมนี้เกี่ยวกับแนวคิดและความเป็นมาในการวิจัยและพัฒนาโปรแกรม
ข่าวประชาสัมพันธ์สำหรับผู้สนใจเทคโนโลยีด้านโอเพนซอร์ส
ผู้ที่ติดตามวงการโอเพนซอร์สในประเทศไทย คงรู้จักงาน มหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย (Thailand Open Source Software Festival) กันเป็นอย่างดี งานนี้จัดกันมาตั้งแต่ปี 2542 ต่อเนื่องกันมาแทบทุกปี
สำหรับปีนี้ถือเป็นงานครั้งที่ 11 แล้ว โดยงานรอบนี้จะจัดขึ้นที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2555 มีการบรรยายและเวิร์คช็อปที่น่าสนใจมากมาย รายละเอียดอ่านกันเองที่ Agenda ครับ
- Read more about มหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11
- 4 comments
- Log in or register to post comments
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (SIPA) ร่วมมือกันสำรวจตัวเลขตลาด ICT ในประเทศไทยประจำปี 2554 และประมาณการปี 2555
ตลาดไอซีทีของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์, สื่อสาร, ซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์
ความหวังในการใช้งานโทรศัพท์มือถือ Android สำหรับคนตาบอด (โดยเฉพาะในประเทศไทย) เริ่มเห็นแววอีกครั้ง เมื่อ NECTEC ประกาศเปิดให้บุคคลทั่วไปได้ทดสอบ Vaja Android
ในปัจจุบันนี้ระบบปฏิบัติการบนมือถือเกือบทุกค่ายล้วนมีโปรแกรมอ่านหน้าจอ (screen reader) ซึ่งมักจะถูกใส่ไว้ในส่วนช่วยเหลือผู้พิการ (Accessibility) ตัวอย่างเช่น VoiceOver บน iOS แต่มีเพียง screen Reader บน Symbian (3RD party software) และ VoiceOver ของ iOS เท่านั้นที่มีเสียงอ่าน TTS ในภาษาไทย ดังนั้นตัวเลือกของคนตาบอดในประเทศไทยในการซื้อสมาร์ทโฟนจึงมีอยู่ค่อนข้างจำกัด
เนคเทคจัดงานมหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทยครั้งที่ 10 ภายใต้แนวคิด “ปลดพันธนาการความคิดสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนขององค์กร” ระหว่างวันที่ 30 กันยายน - 1 ตุลาคม 2553 ณ ห้องคอนเวนชันฮออล์ 1-6 อาคารปัญญาภิวัฒน์ สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ถนนแจ้งวัฒนะ สนใจหัวข้อดูที่หน้า agenda
ออกมาได้หลายวันแล้วแต่ผมเพิ่งมีเวลาอ่านนะครับ เป็นรายงานที่ NECTEC ร่วมกับหน่วยงานภาคีสำรวจตลาดไอซีทีในประเทศไทยและสรุปออกมาให้อ่านกันทุกปี สำหรับปีนี้ ข้อมูลแบบสรุปของสรุปมีดังนี้
- ตลาด ICT ปี 2551 มีมูลค่ารวม 542,854 ล้านบาท โตขึ้น 8.3% ของปีก่อน ส่วนปี 2552 คาดว่าจะมีมูลค่า 570,915 โตขึ้น 5.2%
- ส่วนของ C หรือ Communications คิดเป็น 69.2% ของตลาด ICT ทั้งหมด (พูดง่ายๆ ว่าขายมือถือดีกว่าขายคอม) และคงจะมีสัดส่วนประมาณนี้ไปอีกนาน
- ถ้าคิดแค่ตลาด IT (ตัด C ส่วนของผู้บริโภคทั่วไปออกไป แต่ยังคิดรวม C พวก Data Communication Equipments) ของปี 2551 จะมีมูลค่ารวม 223,506 ล้านบาท โตขึ้น 11.9% และน่าจะโต 6.0% ในปีหน้า
- สัดส่วนภายในตลาด IT ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ 33.9%, ซอฟต์แวร์ 28.2%, บริการ 11.2% และ Data Communication Equipments 27.8%
- เน็ตบุ๊กโตแบบก้าวกระโดด ปี 50 ขายได้ 10,000 เครื่อง ปี 51 ขึ้นมาเป็น 80,000 ส่วนปี 52 คาดว่าโตน้อยลงกว่าเดิม 104,000 เครื่อง
- ถ้าคิดตามตลาดของลูกค้า สำหรับ ICT ทั้งหมด (ไม่ใช่ IT) ผู้บริโภคตามบ้านรวมธุรกิจขนาดเล็กเป็นลูกค้ารายใหญ่ของฮาร์ดแวร์ (57.5%) และการสื่อสาร (61.5%) ส่วนภาคธุรกิจขนาดใหญ่กินตลาดซอฟต์แวร์ (57.2%) และบริการ (74.1%) ภาครัฐนั้นอยู่กลางๆ ทุกเซกเมนต์
- คาดการณ์อัตราการเติบโตปีหน้า: ฮาร์ดแวร์ -0.4% ซอฟต์แวร์ 5.1% บริการ 14.2% การสื่อสาร 0.7%
ย้ำว่าอันนี้แบบคร่าวมากๆ ในรายงานยังมีตัวเลขและแนวโน้มน่าสนใจอื่นๆ อีกมาก ผมแปะสไลด์แบบ Flash มาด้วยด้านใน แต่โหลดสไลด์แบบเต็มได้ตามลิงก์ที่มา
ที่มา - NECTEC
- Read more about สรุปผลสำรวจตลาดไอซีที ประจำปี 2551
- Log in or register to post comments
ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวานิช ผู้บริหารเนคเทค ออกมาเปิดเผยว่ากำลังซุ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการแห่งชาติอยู่ ชื่อว่า Ecolonux ซึ่งมาจากคำว่า Ecology รวมกับคำว่า Linux หมายถึงลินุกซ์ในระบบนิเวศ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะได้นำออกมาใช้ได้เมื่อไหร่ โดยปัจจัยที่จะทำให้ระบบปฏิบัติการแห่งชาตินี้เกิดขึ้นได้ จะต้องผลักดันให้มีผู้ใช้โอเพนซอร์สมากขึ้นจาก 1% เป็น 10% ให้ได้ก่อน (ผมก็จะขอช่วยด้วยอีกคนหนึ่ง) ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี นับจากนี้
โดย ดร.วิรัช กล่าวว่า
- Read more about เนคเทคซุ่มพัฒนาโอเอสแห่งชาติไทย
- 43 comments
- Log in or register to post comments
เป็นที่ทราบกันว่าการประมวลผลภาษาไทยเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่จะนำไปสู่ระบบประยุกต์ที่มีคุณค่ามหาศาลได้
อาทิ การแปลภาษาอัตโนมัติ การรู้จำและสังเคราะห์เสียงพูด การย่อความอัตโนมัติ
การสืบค้นข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการพัฒนาหุ่นยนต์ที่ชาญฉลาดในอนาคต
ภาษาไทยถือเป็นภาษาหนึ่งในโลกที่ประมวลผลได้ยากมาก
อันเนื่องมาจากปัญหาหลักคือ ไม่มีการเขียนแบ่งพยางค์ คำ หรือประโยค
ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวในการใช้ช่องว่างในภาษาเขียน การสะกดคำมีรูปแบบซับซ้อน
และมีคำยืมจำนวนมาก ทำให้การแบ่งคำมีความกำกวมสูง
ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้แล้วทดลองแบ่งคำดูครับ