Guillermo Rauch ซีอีโอของ บริษัท Vercel ผู้พัฒนาเฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์ Next.js ซึ่งทำธุรกิจด้านคลาวด์สำหรับรันเว็บแอพที่ใช้ Next.js ด้วย
ผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Vercel ในปี 2024 คือ "แชทบอท AI" (อีกแล้ว) สำหรับโปรแกรมเมอร์ชื่อว่า v0 และ Rauch ลองใช้ v0 สร้างโปรแกรม CAPTCHA แต่แทนที่จะให้ทายคำหรือหาไฟจราจรในรูป เปลี่ยนมาทดสอบด้วยการเล่นเกม Doom ภาคแรกแทน ผู้เล่นจะต้องเล่นเกม Doom แล้วฆ่าศัตรูได้ 3 ตัวถึงจะผ่านการทดสอบความเป็นมนุษย์
NextJS ประกาศออกเวอร์ชั่น 14 ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือรองรับฟีเจอร์ Server Actions ที่เปิดทางให้สามารถเขียนโค้ด server side ได้ในไฟล์เดียวกับ client side ไม่ต้องแยกไปเขียนโค้ดในโฟลเดอร์ /api
เหมือนเดิม
อีกฟีเจอร์สำคัญคือการเตรียมเปลี่ยนไปใช้คอมไพลเลอร์ Turbopack โดยตอนนี้ชุดทดสอบยังผ่านไม่ครบ แต่ก็เกิน 90% แล้ว และความเร็วในการสั่ง next dev
นั้นเร็วขึ้นมาก
ในเวอร์ชั่นนี้บังคับ NodeJS 18.17 ขึ้นไป มีการปรับ API บางจุด ที่สำคัญคือเพิ่ม บทเรียน NextJS บนเว็บ ให้ไปฝึกใช้งานกันได้
ที่มา - NextJS
Vercel ผู้พัฒนาเฟรมเวิร์ค NextJS แต่ก็มีบริการคลาวด์ของตัวเองด้วย ประกาศให้บริการสตอเรจด้วยตัวเอง แม้เบื้องหลังจะเป็นการใช้บริการของบริษัทอื่นอีกที โดยให้บริการ 3 รูปแบบสำคัญ ได้แก่ ฐานข้อมูล SQL, key-value, และสตอเรจเก็บไฟล์
Vercel เปิดตัว Next.js 13 โดยมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการเพิ่มโฟลเดอร์ /app โครงสร้างระบบ router ตามไฟล์แบบใหม่ที่สามารถทดแทน /pages แบบค่อยเป็นค่อยไป
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญของ /app คือ URL จะสร้างขึ้นตามโฟลเดอร์เท่านั้น ไม่สร้างตามไฟล์เหมือน /pages อีกต่อไป และแต่ละโฟลเดอร์สามารถมีไฟล์ tsx ได้จำนวนมาก รวมถึงไฟล์ CSS, รูปภาพ, หรือโค้ดทดสอบต่างๆ
ตอนนี้ /app ยังเป็นเบต้า และในเวอร์ชั่นนี้ก็มีฟีเจอร์อื่นๆ เช่น Turbopack , next/image ปรับปรุงใหม่ให้ใช้โค้ดจาวาสคริปต์ฝั่งเบราว์เซอร์น้อยลง, next/font รองรับการโฮสต์ฟอนต์ด้วยตัวเองอัตโนมัติ, รองรับการสร้างภาพปกโซเชียลด้วยไลบรารี @vercel/og
Vercel ผู้สร้าง Next.js เปิดตัวโครงการ Turbopack ระบบรวมทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง (bundler) ทำให้การใช้งานบน front end เพื่อทดแทนโครงการ Webpack ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในตอนนี้
Turbopack เขียนด้วย Rust และทำงานที่ประสิทธิภาพระดับเนทีฟ โดยโครงการแสดงประสิทธิภาพการรันจากเริ่มต้น (cold start) ใน Next.js 13 ที่ใช้ Turbopack สามารถรันได้ภายในเวลาต่ำกว่า 1 วินาที ขณะที่ Next.js 12 ต้องใช้เวลาถึง 3.4 วินาทีเมื่อมี React Component ประมาณ 1,000 รายการ
การทำงานของ Turbopack ทำงานแบบ incremental ทำให้ไม่ต้องรันงานทั้งหมดซ้ำทุกครั้ง รองรับการโหลดโมดูลใหม่ขณะรัน และยังรองรับการ build สำหรับใช้งานได้หลายแห่ง เช่น เบราว์เซอร์, เซิร์ฟเวอร์ ได้พร้อมกัน
Cloudflare Pages บริการโฮสต์เว็บที่เดิมเน้นเว็บ static เป็นหลักประกาศรองรับเฟรมเวิร์ค Next.js โดยอาศัยฟีเจอร์ Edge Runtime ของ Next.js ที่เพิ่งปล่อยออกมาปีนี้และยังเป็นฟีเจอร์ระดับทดลองเท่านั้น
ตัว Cloudflare Pages เองรองรับการประมวลผลฝั่งเซิร์ฟเวอร์ด้วยฟีเจอร์ Pages Functions มาตั้งแต่ปีที่แล้ว เบื้องหลังการทำงานนั้นก็คือการไปสร้าง Workers มารันโค้ดอีกที
- Read more about Cloudflare Pages รองรับ Next.js แล้ว
- 2 comments
- Log in or register to post comments
บริษัท Vercel ผู้สร้างเฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์ชื่อดัง Next.js ประกาศระดมทุนซีรีส์ D จำนวน 150 ล้านดอลลาร์ ทำให้บริษัทมีมูลค่า 2.5 พันล้านดอลลาร์
ธุรกิจของ Vercel คือเป็นแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาเว็บ front-end ที่รองรับเฟรมเวิร์คหลากหลาย (ไม่ใช่แค่ Next.js แต่รวมถึงตัวอื่นๆ เช่น Vue.js, Ember, Angular) โดยระบบของ Vercel จะรองรับการโฮสต์ไฟล์แบบ serverless นักพัฒนาไม่ต้องดูแลระบบเอง (วัดตามจำนวนครั้งที่เรียกใช้งาน) จัดการเรื่องความปลอดภัยและ CDN ที่กระจายอยู่ทั่วโลก (edge network) เพื่อให้เว็บไซต์ตอบสนองรวดเร็วต่อผู้ใช้ในแต่ละพื้นที่ นักพัฒนาสนใจแค่การพัฒนาเว็บอย่างเดียว ไม่ต้องมีภาระเรื่องการจัดการโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ
โครงการ Next.js เฟรมเวิร์คสำหรับการพัฒนาเว็บ ReactJS แบบ sever-side rendering (SSR) โดยมีฟีเจอร์สำคัญ ได้แก่