Tags:

เป็นสมการง่ายๆ ที่ว่าโปรแกรมที่มี thread เดียว (single thread application) เมื่อนำไปรันบนโปรเซสเซอร์แบบ multi-core แล้วจะให้ผลลัพธ์ไม่ต่างไปจากนำโปรแกรมไปรันบนโปรเซสเซอร์ที่มี core เดียว หากอยากใช้สมรรถนะของ multi-core ให้เต็มที่ เราจำต้องออกแบบและพัฒนาโปรแกรมนี้ให้ประมวลผลแบบขนานตามไปด้วย อย่างเช่นการพัฒนาโปรแกรมให้มีมากกว่า 1 thread และให้แต่ละ thread ทำงานแยกจากกันอยู่บน core คนละหน่วย

Tags:
Node Thumbnail

เดวิด เคิร์ค (David Kirk) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ NVIDIA Corporation บริษัทผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกราฟฟิกส์รายใหญ่ได้กล่าวว่า "การประมวลผลแบบขนานกำลังมีบทบาทสำคัญยิ่งในยุคนี้" โดยโปรเซสเซอร์ประเภท GPU และ multi-core เป็นเทคโนโลยีที่ต้องการการพัฒนาโปรแกรมให้สามารถประมวลผลแบบขนาน แม้ว่าเราจะสามารถเป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์แบบ multi-core ได้แล้วก็ตามที แต่โปรแกรมหลายตัวที่ถูกพัฒนาขึ้นมายังไม่สามารถใช้สมรรถนะจาก multi-core ได้เต็มที่เนื่องจากโปรแกรมยังขาดความสามารถในการทำงานแบบขนานนั่นเอง

Tags:
Node Thumbnail

Intel แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ชื่อ Intel Parallel Studio ชุดพัฒนาโปรแกรมเพื่อการประมวลผลแบบขนาน (parallel programming) โดยเน้นไปที่การพัฒนาโปรแกรมบนโปรเซสเซอร์แบบ multi-core และ many-core สำหรับตัวผลิตภัณฑ์ประกอบไปด้วยเครื่องมือ 4 ชุดด้วยกันคือ Parallel Advisor, Parallel Composer, Parallel Inspector, และ Parallel Amplifier

Tags:
Node Thumbnail

ข่าวนี้สามสี่วันแล้วแต่ผมเพิ่งมีเวลาอ่าน ต้องเกริ่นยาวสักเล็กน้อย

เชื่อว่าทุกคนคงรู้จัก JavaScript แต่บางคนอาจไม่รู้ว่าอีกชื่อหนึ่งของมันคือ ECMAScript (เป็นชื่ออย่างเป็นทางการตามองค์กรที่ดูแลมาตรฐาน ECMA ซึ่งเดิมย่อมาจาก European Computer Manufacturers Association) ECMAScript มีภาษาย่อยในตระกูลมากมาย (ใช้คำว่า dialect) นอกจาก JavaScript แล้ว ที่พอคุ้นหูคือ JScript, JScript .NET และ ActionScript เป็นต้น

Tags:
Topics: 

จากข่าวใน Press Release เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา #8520 เกี่ยวกับการแข่งขั้นเขียนโปรแกรม APC 2008 มีหลายคนถามถึงรางวัลซึ่งทางทีมผู้จัดได้ออกมาชี้แจงว่า

การทดสอบรายการนี้ ไม่มีเงินรางวัลให้แต่อย่างใด แต่เพื่อเป็นการประเมินทักษะของผู้เข้าทดสอบเอง และเตรียมความพร้อมสำหรับการทดสอบรายการต่อๆ ไป

Tags:
Node Thumbnail

เคยมีคนว่าไว้ว่าภาษาซีไม่เคยตาย มาถึงตอนนี้แล้วดูเหมือนคำกล่าวนี้ยังเป็นจริงอยู่ เมื่อทาง Adobe โดย Scott Petersen ได้ไปนำเสนอเครื่องมือตัวใหม่ที่ทาง Adobe กำลังพ้ฒนาอยู่ภายใน และมีแผนว่าจะโอเพนซอร์สในเร็วๆ นี้ว่าว่าจะเพิ่มความสามารถของบราวเซอร์ให้รองรับภาษาซีได้

เครื่องมือใหม่นี้จะทำงานสามขั้นตอนด้วยกัน คือการคอมไพล์ภาษาซีเป็นโค้ดเฉพาะ คล้าย Java byte code แล้วนำไปรันบน Virtual Machine ที่เขียนขึ้นด้วยภาษา ActionScript สุดท้ายแล้วจึงไปทำงานบนบราวเซอร์ที่มี Tamarin ซึ่งเป็น Virtual Machine ที่ทาง Adobe บริจาคให้กับทาง Mozilla เพื่อรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไฟร์ฟอกซ์ไปก่อนหน้านี้

Pages