ปัญหาของนักพัฒนาเว็บช่วงหลังที่เจอกันบ่อยคือแม้จะมี API ใหม่ๆ ให้ใช้งาน และหลายครั้งออกเป็นมาตรฐานแล้ว แต่เบราว์เซอร์แต่ละยี่ห้อก็รองรับไม่พร้อมกัน ทำให้นักพัฒนาต้องมาระวังว่าอะไรใช้ได้ไม่ได้ ที่ผ่านมาแม้จะมีการจัดมาตรฐานมาทำเป็นชุดทดสอบ เช่น Interop แต่สุดท้ายนักพัฒนาก็ต้องมาดูเองอยู่ดีว่าเบราว์เซอร์ใดผ่านข้อไหนบ้าง ในงาน Google I/O ปีนี้กูเกิลจึงเปิดตัว Baseline โลโก้แจ้งนักพัฒนาว่าฟีเจอร์ใดพร้อมใช้งานโดยทั่วไปแล้ว
กลุ่มบริษัทความปลอดภัยรวม 18 ราย นำโดย AWS, Splunk, Symantec ( ปัจจุบันเป็นหน่วยหนึ่งของ Broadcom ) ประกาศตั้งกลุ่ม Open Cybersecurity Schema Framework (OCSF) เพื่อแชร์ข้อมูลความปลอดภัยระหว่างกัน ช่วยให้การรับมือกับการโจมตีไซเบอร์รวดเร็วมากขึ้น
แนวทางของ OCSF คือกำหนดสเปกกลาง (schema) เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลความปลอดภัยให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลและนักวิเคราะห์ทำงานง่ายขึ้นเพราะมีฟอร์แมตกลางใช้ร่วมกันในรายงานการแฮ็กและการสอบสวนระบบ ตัวสเปกจะเป็นโอเพนซอร์ส และสามารถเขียนส่วนขยายสำหรับงานเฉพาะทางได้
กูเกิลและมอซิลล่ายื่นค้านมาตรฐานการระบุตัวตนแบบไร้ศูนย์กลางของ W3C หรือ Decentralized Identifier (DID) 1.0 โดยเหตุผลที่ถูกคัดค้านตรงกันคือ DID ไม่มีแนวทางที่จะทำงานข้ามผู้ผลิตได้จริง แต่เป็นเพียงการมัดรวมเอกสารการทำงานของผู้ผลิตกว่า 50 รายเข้าด้วยกันเท่านั้น
DID เป็นความพยายามใช้กระบวนการเข้ารหัสลับเพื่อให้ผู้ใช้สามารถแสดงความเป็นเจ้าของเอกสารต่างๆ โดยไม่ต้องมีหน่วยงานกลางยืนยันความเป็นเจ้าของโดยตรง ตัวมาตรฐานผูกไปกับโลกเงินคริปโตอย่างแน่นหนา กระบวนการยืนยันความเป็นเจ้าของกระจายไปตามผู้ผลิตบล็อคเชนเจ้าต่างๆ กว่า 50 ราย
Rocket.Chat โปรแกรมแชตสำหรับองค์กรแบบโอเพนซอร์ส ประกาศรองรับโปรโตคอล Matrix เปิดทางให้สามารถใช้ Rocket.Chat คุยกับองค์กรอื่นๆ แม้ใช้โปรแกรมคนละตัวกัน
บริการแชตในช่วงหลังมีลักษณะเป็นระบบปิดมากขึ้นเรื่อยๆ แอปแต่ละตัวไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ แม้แอปแชตระดับองค์กรจะมีฟีเจอร์คุยข้ามองค์กร เช่น Microsoft Teams หรือ Slack แต่ก็บังคับว่าทั้งสององค์กรต้องใช้บริการเดียวกันเท่านั้น เทียบกับบริการดั้งเดิมอย่างอีเมลนั้นสามารถใช้งานได้ครอบคลุม (แม้จะมีปัญหาสแปมหนักหน่วงจนทุกวันนี้)
ทางโครงการ Matrix แสดงความยินดีที่ Rocket.Chat อิมพลีเมนต์ฟีเจอร์นี้และแสดงความหวังว่าโปรแกรมแชตโอเพนซอร์สอื่น เช่น Nextcloud หรือ Mattermost จะอิมพลีเมนตโปรโตคอล Matrix ตามมาในอนาคต
Oculus ประกาศเลิกใช้ Proprietary API ของตัวเอง เปลี่ยนมาใช้ มาตรฐานกลาง OpenXR ที่ดูแลโดยกลุ่ม Khronos (กลุ่มเดียวกับ OpenGL และ Vulkan) การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้เกม AR/VR บนแพลตฟอร์ม Oculus สามารถใช้กับแพลตฟอร์ม VR อื่นๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย
นโยบายใหม่ของ Oculus จะเริ่มจาก SDK v31 โดยฟีเจอร์ใหม่ๆ จะถูกเขียนขึ้นตามสเปกของ OpenXR แทน จากนี้ไป OpenXR จะมีสถานะเป็น preferred API แทน Oculus API เดิม (ที่ยังใช้งานได้ต่อไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2022)
ในแง่ของเครื่องมือพัฒนา Oculus จะออกปลั๊กอิน OpenXR กับทั้ง Unity และ Unreal เพื่อใช้ทดแทนปลั๊กอิน Oculus VR (OVR) ของเดิมด้วย
ONNX (Open Neural Network Exchange) เป็นโครงการสร้างฟอร์แมตกลางสำหรับแลกเปลี่ยนโมเดล AI ที่ ริเริ่มโดยไมโครซอฟท์และเฟซบุ๊ก และ มีบริษัทอื่นๆ เข้าร่วมอีกหลายราย
ล่าสุด ONNX ได้สมาชิกรายสำคัญคือ Amazon Web Services (AWS) โดยเข้ามาช่วยทำแพกเกจสำหรับ Apache MXNet ซึ่งเป็นเฟรมเวิร์คด้าน deep learning ที่ได้รับความนิยมอีกตัว (และเป็นเฟรมเวิร์คหลักที่ AWS เลือกใช้) ตอนนี้โครงการ ONNX-MXNet เปิดเผยซอร์สโค้ดแล้วบน GitHub
มาตรฐาน Encrypted Media Extensions (EME) หรือมาตรฐาน DRM บนเว็บ เป็นมาตรฐานที่สร้างความขัดแย้งในชุมชนมาตรฐานเว็บตั้งแต่มันออกร่างแรกมา ความพยายามต่อต่านจากชุมชนโดยเฉพาะองค์กรโอเพนซอร์สอย่าง Free Software Foundation ก็ยังไม่เป็นผลนัก โดยฝั่งผู้ผลิตเบราว์เซอร์อย่างไมโครซอฟท์และกูเกิลเห็นด้วยกับมาตรฐานนี้ ทาง EFF ซึ่งต่อสู้เพื่อเสรีภาพอินเทอร์เน็ตเสนอแนวทางคือให้สมาชิกทำข้อตกลงเพิ่มเติม ใน การมอบสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาให้กับชุมชน จากเดิมที่มอบให้สามารถอิมพลีเมนต์มาตรฐานได้อย่างเสรี ให้เพิ่มข้อตกลงว่าสมาชิกจะไม่ดำเนิ
มาตรฐาน WebAssembly ระบบไบนารีสำหรับเว็บที่เหมาะกับการคอมไพล์ไปรันในระดับใกล้เคียงกับไบนารีของแพลตฟอร์มเข้าสู่ช่วง Browser Preview ที่ตอนนี้เบราว์เซอร์สามค่ายหลักได้แก่ ไมโครซอฟท์, กูเกิล, และมอซิลล่า ประกาศรองรับในระดับพรีวิวแล้ว
ไมโครซอฟท์รองรับ WebAssembly ในตัว ChakraCore และเตรียมจะบรรจุเข้าใน Edge เร็วๆ นี้ ส่วน Chrome นั้นรองรับแล้วแต่เป็น flag ที่ปิดการทำงานเป็นค่าเริ่มต้นเอาไว้ เช่นเดียวกับไฟร์ฟอกซ์ที่ต้องเปิด flag เช่นกัน
คาดว่ามาตรฐานจะออกเวอร์ชั่นแรกได้ในไตรมาสแรกปีหน้า ตัวเบราว์เซอร์เองก็น่าจะเปิดรองรับกันได้ช่วงใกล้ๆ กัน
บริษัทไอทีหลายราย นำโดย AMD, Google, IBM, Mellanox, Micron ประกาศตั้งกลุ่ม OpenCAPI Consortiumเพื่อพัฒนามาตรฐานบัสส่งข้อมูลความเร็วสูง Open Coherent Accelerator Processor Interface (OpenCAPI) เพื่อส่งข้อมูลระหว่างซีพียูไปยังหน่วยความจำพิเศษ (advanced memories) ตัวช่วยประมวลผล (accelerator เช่น จีพียูหรือ FPGA) และคอนโทรลเลอร์สำหรับงาน I/O
OpenCAPI ออกมาแก้ปัญหาสถาปัตยกรรม I/O ในปัจจุบันที่ใช้งานซีพียูหลักเยอะมาก และแนวทางการประมวลผลแบบใหม่ๆ ที่หันมาใช้ accelerator ช่วยประมวลผลมากขึ้น ทางกลุ่มจึงพัฒนาบัสแบบใหม่ขึ้นมา รองรับการส่งข้อมูล 25 Gbps ที่อัตรา latency ต่ำมาก (เทียบกับ PCIe ทำได้สูงสุด 16 Gbps)
โทรศัพท์บางรุ่นเริ่มเลิกใส่พอร์ตหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรมาแล้ว ตอนนี้ทาง USB-IF ก็ออกมาตรฐาน USB Audio Device 3.0 อย่างเป็นทางการ ทำให้ผู้ผลิตที่ต้องการถอดพอร์ตหูฟังออกสามารถใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อความเข้ากันได้ในอนาคต
USB-IF ระบุว่าการใช้ USB-C แทนพอร์ต 3.5 มิลลิเมตรจะทำให้อุปกรณ์บางลงได้ถึง 1 มิลลิเมตร และการลดพอร์ตลงทำให้การออกแบบอุปกรณ์ที่กันน้ำทำได้ง่ายขึ้น
เมื่อเดือนสิงหาคม อินเทลระบุว่ามาตรฐานใหม่นี้กำลังจะออกมา ตอนนี้ USB-IF ประกาศแล้ว ภายในปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าเราน่าจะเห็นโทรศัพท์ที่ไม่มีพอร์ต 3.5 มิลลิเมตรออกมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ครับ
อีเธอร์เน็ตทุกวันนี้การ์ดที่ซื้อใหม่ๆ มักจะเป็นทำงานที่ความเร็ว 1Gbps กันเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการเชื่อมต่อระดับแกนกลางของหน่วยงานก็มักใช้ไฟเบอร์ที่ความเร็ว 10Gbps แต่มาตรฐาน IEEE 802.3bz ที่กำลังออกมาจะเปิดทางให้องค์กรอัพเกรดความเร็วได้โดยใช้สายเดิมที่ติดตั้งไปแล้ว
IEEE 802.3bz ทำงานบนสาย CAT5e และ CAT6 ตัวมาตรฐานเสนอโดยกลุ่ม NBASE-T Alliance ตั้งแต่ปลายปี 2014 ขณะที่มาตรฐาน 10GBASE-T หรือ IEEE 802.3ae นั้นต้องใช้สาย CAT6a ที่ไม่ได้รับความนิยมแม้จะออกมาตรฐานมาแล้วกว่าสิบปี
UL บริษัทเอกชนผู้ออกใบรับรองความปลอดภัยเครื่องใช้ไฟฟ้า ออกมาตรฐาน UL 2900 มาตรฐานความปลอดภัยของอุปกรณ์ IoT ความน่าสนใจของมาตรฐานนี้คือความปลอดภัยกลายเป็นเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ไปด้วย
มาตรฐาน UL 2900 แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
มาตรฐาน Unicode 9.0 ออกอย่างเป็นทางการแล้ว โดยทาง Unicode Consortium ได้เพิ่มตัวอักษรเข้ามาใหม่อีก 7,500 ตัวอักษร อีโมจิอีก 72 ตัวที่ประกาศ รับรองไปก่อนหน้านี้ และสัญลักษณ์ใหม่อีก 19 ตัวสำหรับมาตรฐานทีวี 4K
การเปลี่ยนแปลงใน Unicode 9.0 เกี่ยวข้องกับภาษาที่คนใช้น้อยเป็นหลักอย่างการรองรับภาษา Osage ของชนพื้นเมืองอเมริกัน (อินเดียนแดง), ภาษาเนปาล, ภาษาเฉพาะกลุ่มสวาฮิลีในโซมาเลียและภาษาอื่นๆ ในทวีปแอฟริกา, ภาษาอาหรับที่ใช้ในแอฟริกาเหนือและตะวันตก และภาษา Tangut ซึ่งเป็นภาษาโบราณของชนพื้นเมืองในจีน ซึ่งยังคงพบเห็นได้ตามพงศาวดารหรือบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีน
- Read more about Unicode Consortium ออกมาตรฐาน Unicode 9.0 แล้ว
- 2 comments
- Log in or register to post comments
ชิป Cortex-M แม้จะเป็น ARM แบบ 32 บิตแต่ก็มีฟีเจอร์จำกัด เช่นไม่มีระบบจัดการหน่วยความจำแบบเดียวกับชิป Cortex-A ฟีเจอร์ที่จำกัดทำให้ไม่สามารถติดตั้งลินุกซ์ลงไปได้ ที่ผ่านมามีระบบปฏิบัติการสำหรับ Cortex-M ที่ทำมาเฉพาะ เช่น mbed OS หรือ Zypher แต่ระบบปฏิบัติการเหล่านี้ก็ออกแบบมาแตกต่างจากระบบปฏิบัติการบนเดสก์ทอปมาก ตอนนี้มีโครงการ Frosted OS ที่พยายามอิมพลีเมนต์ POSIX ทำให้ได้ระบบปฏิบัติการคล้ายยูนิกซ์/ลินุกซ์ บนชิปขนาดเล็กเหล่านี้แล้ว
กลุ่ม Unicode Consotrium ประกาศรับรองอีโมจิใหม่อีก 72 ตัว โดยจะเพิ่มเข้าสู่มาตรฐาน Unicode 9.0 ที่จะออกในช่วงปลายเดือนนี้ โดยหนึ่งในอีโมจิที่เพิ่มเข้ามา นำมาจากคำแสลงบนอินเทอร์เน็ตอย่าง ROFL (Rolling on the Floor Laughing) หรือแม้แต่สัญลักษณ์อย่าง ¯_(ツ)_/¯ ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นกัน
อีโมจิอื่นๆ ที่เพิ่มเข้ามาอย่างเช่น หน้าพินอกคิโอ (จมูกยาว) อาเจียน แม้แต่ภาษามืออย่างไขว้นิ้ว จับมือ หรือ facepalm กลุ่มสัตว์อย่างเช่นกอริลลา แรด จิ้งจก กลุ่มอาหารก็มีครัวซอง ขนมปัง เบคอน ไข่ ฯลฯ
ดูภาพอีโมจิใหม่ได้ ที่นี่ ครับ
มาตรฐานความปลอดภัย PCI DSS ออกเวอร์ชั่น 3.2 โดยความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการเพิ่มเงื่อนไขการล็อกอินด้วยการยืนยันตัวตนสองขั้นตอน
ก่อนหน้านี้เงื่อนไขการยืนยันตัวตนสองขั้นตอนจะจำเป็นต่อเมื่อผู้ดูแลระบบจะล็อกอินเข้าจากภายนอกที่อยู่นอกพื้นที่ที่เชื่อถือได้เท่านั้น แต่หลังจากนี้แม้จะเป็นการล็อกอินจากในเน็ตเวิร์คบริษัทก็ต้องเข้าเงื่อนไขเดียวกัน
สำหรับประเด็นการใช้งาน SSL และ TLS รุ่นเก่าที่มีช่องโหว่ยังคงให้เวลาไปอีกสองปีจนถึงกลางปี 2018 โดย PCI DSS มีส่วนที่ให้รายงานถึงกระบวนย้ายออกจากการเชื่อมต่อที่ไม่ปลอดภัยเช่นนี้ว่าก้าวหน้าไปเพียงใด
Reilly Grant และ Ken Rockot สองวิศวกรจากกูเกิลกำลังร่าง มาตรฐาน WebUSB เพื่อเปิดทางให้อุปกรณ์ USB สามารถรับคำสั่งตรงจากเว็บได้โดยตรง
แนวทางนี้เป็นการแก้ปัญหาไดรเวอร์ที่ต้องติดตั้งเอง โดยหากมาตรฐานนี้ได้รับการยอมรับ อุปกรณ์จะสามารถประกาศได้ว่าตัวเองต้องการรับคำสั่งตรงจากเว็บใด และเบราว์เซอร์จะแจ้งให้ผู้ใช้เข้าเว็บนั้นๆ เพื่อไปอนุญาตให้เว็บเข้าถึงอุปกรณ์ได้
BLAKE2 เป็นอัลกอริทึมแฮชที่เข้าแข่งขันให้เป็นมาตรฐาน SHA-3 ของ NIST (องค์กรมาตรฐานทางเทคโนโลยีของสหรัฐฯ) และเข้ารอบไปถึงรอบสุดท้ายที่อัลกอริทึมเข้ารอบ 5 อัลกอริทึม แม้สุดท้าย Keccak จะเป็นผู้ชนะได้เป็นมาตรฐาน SHA-3 แต่ผู้สร้าง BLAKE2 ก็เสนอให้เป็นมาตรฐานทางเลือกหนึ่งของ IETF
กระบวนการเสนอมาตรฐานมีการเสนอมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ตอนนี้เอกสารก็ตีพิมพ์เป็น RFC7693 เรียบร้อยแล้ว
- Read more about อัลกอริทึมแฮช BLAKE2 เป็นมาตรฐาน RFC7693 แล้ว
- 1 comment
- Log in or register to post comments
มาตรฐาน HTTP Strict Transport Security (HSTS) ใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เว็บเบราว์เซอร์เข้าเว็บผ่าน HTTP ในกรณีที่ผู้ใช้ไม่ได้ระบุ URL เป็น HTTPS โดยตรง เว็บเซิร์ฟเวอร์จะแจ้งเบราว์เซอร์ให้จำโดเมนว่าจำเป็นต้องเข้าผ่าน HTTPS เท่านั้น และเบราว์เซอร์จะไม่เข้าเว็บผ่าน HTTP อีกเลยตลอดช่วงเวลาที่กำหนด
Yan Zhu (@ bcrypt ) นำเสนอแนวทางการตรวจสอบประวัติการเข้าเว็บด้วยการจับเวลาการเข้าเว็บ ประกอบเข้ากับนโยบาย Content Security Policy (CSP) ที่สามารถกำหนดให้โหลดภาพผ่าน HTTP (ไม่เข้ารหัส) เท่านั้น ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่ค่อยมีใครทำกันแต่ก็สามารถใช้งานได้
- Read more about HSTS สามารถใช้เปิดเผยประวัติการท่องเว็บได้
- Log in or register to post comments
กูเกิลและยาฮูประกาศรองรับ มาตรฐาน DMARC ที่เสนอโดยยาฮู เพื่อยืนยันว่าผู้ส่งเป็นเจ้าของบัญชีจริง มาตรฐานนี้ผ่านเป็น rfc7489 เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ทั้งสองบริษัทประกาศร่วมกันที่จะรองรับมาตรฐานนี้โดยเร็ว ทางฝั่งยาฮูนั้นจะรองรับมาตรฐานนี้บนโดเมน ymail.com และ rocketmail.com ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนนี้ หลังจากเปิดใช้งานบน Yahoo! Mail ไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่วนกูเกิลจะเริ่มรองรับเต็มรูปแบบภายในเดือนมิถุนายนปีหน้า
กูเกิลเปิดขั้นตอนวิธีบีบอัดเว็บแบบใหม่สู่สาธารณะ ครั้งแรกเมื่อปี 2013 ในชื่อ Zopfli ที่เป็นตัวบีบอัดไฟล์ในฟอร์แมต DEFLATE ที่ข้อมูลเล็กลงแต่เบราว์เซอร์สามารถใช้ตัวขยายเดิมได้ทันที ตอนนี้กูเกิลก็พัฒนาฟอร์แมตใหม่ในชื่อ Brotli มีจุดเด่นที่อัตราการบีบอัดสูง ขณะที่ประสิทธิภาพการขยายไฟล์ก็ยังสูงอยู่ด้วย
Brotli ใช้เทคนิคสมัยใหม่ ทำให้อัตราการบีบอัดดีกว่าขั้นตอนวิธีเดิมๆ ประสิทธิภาพการบีบอัดไฟล์ของ Brotli แย่กว่า gzip มาก โดยรวมแล้วข้อมูลจะเล็กกว่าการบีบอัดด้วย Zopfli (ซึ่งไม่ต้องแก้ไขเบราว์เซอร์) อยู่ 20-26%
โดเมน .onion เป็นโดเมนพิเศษของเครือข่าย Tor ที่พิสูจน์ความเป็นเจ้าของโดเมนด้วยกุญแจลับที่ใช้เชื่อมต่อเท่านั้น โดเมนที่โด่งดังเช่น facebookcorewwwi.onion สำหรับการเข้าเฟซบุ๊กผ่าน Tor แม้ที่ผ่านมาโดเมนนี้จะทำงานได้เป็นอย่างดี แต่ทาง Tor ร่วมกับวิศวกรของเฟซบุ๊กก็เสนอร่างมาตรฐานใหม่ให้การใช้โดเมนนี้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
เอกสาร draft-ietf-dnsop-onion-tld เสนอเข้าสู่ IETF เมื่อกลางปีที่ผ่านมา โดยเสนอแนวทางการรองรับโดเมน .onion เอาไว้ เพื่อปกป้องผู้ใช้เพิ่มเติม จากเดิมที่ใช้เชื่อมต่อกับเว็บผ่าน Tor เท่านั้น ตอนนี้เอกสารกำหนดแนวทางที่ "ควรทำ" สำหรับแอพพลิเคชั่นอื่นที่ไม่ได้รองรับ Tor โดยตรงด้วย
มาตรฐาน HTTP/2 แก้ปัญหาของ HTTP 1/1.1 ไปหลายอย่าง ทำให้ข้อมูลสามารถส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้นมากโดยเฉพาะการส่งข้อมูลขนาดเล็ก ตอนนี้ Mark Nottingham ประธานกลุ่มพัฒนา HTTP/2 ก็โพสข้อเสนอใหม่สู่ IETF เสนอให้มีส่วนเสริมของ HTTP/2 เพื่อใช้เป็นโปรโตคอลสำหรับ VPN
การใช้ VPN ผ่าน HTTP/2 จะมีข้อดีสำคัญคือการดักจับข้อมูลเพื่อบล็อคบริการ VPN จะทำได้ยากขึ้น เพราะภายนอกแล้วมันจะเหมือนกับ HTTP/2 ทั่วไปทุกประการ
ข้อเสนอนี้เป็นข้อเสนอเบื้องต้นที่ยังแทบไม่มีรายละเอียดอะไรนอกจากการเริ่มต้นการเชื่อมต่อ ผู้เขียนข้อเสนอระบุว่าต้องเพิ่มเติมทั้งส่วนการยืนยันตัวตน และแนวทางการส่งวงเครือข่ายที่สามารถเราท์ไปได้
หลังการเปิดเผยเอกสารของ Snowden มาตรฐานความปลอดภัยส่วนหนึ่งที่ถูกโจมตีอย่างหนักคือ Dual_EC_DRBG ที่เอกสารของ NSA ระบุว่าทาง NSA เป็นผู้วางมาตรฐานนี้เองทั้งหมด เมื่อมีการค้นคว้าเพิ่มเติมพบว่ามาตรฐานนี้ได้เข้ามาในคำแนะนำของ NIST อย่างน่าสงสัยเพราะประสิทธิภาพแย่และ มีความเป็นไปได้ที่จะวางช่องโหว่เอาไว้ เมื่อปีที่แล้วทาง NIST พยายามรักษาหน้าด้วยการออกร่างคำแนะนำใหม่ที่ถอด Dual_EC_DRBG ออกไปจากมาตรฐาน และตอนนี้ร่างคำแนะนำก็กลายเป็น เอกสารทางการแล้ว
- Read more about NIST ถอด Dual_EC_DRBG ออกจากคำแนะนำอย่างเป็นทางการ
- Log in or register to post comments
Unicode พิจารณาอีโมจิใหม่ 38 ภาพเข้ามาตรฐาน Unicode 9.0 มีไอคอนเซลฟี่, facepalm, เป็ด, เบคอน, แตงกวา
กลุ่ม Unicode Consortium รับภาพอีโมจิ 38 ภาพเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณารวมไว้ในมาตรฐาน Unicode 9.0 ที่จะออกกลางปี 2016 โดยภาพหลายภาพเป็นภาพที่ได้รับความนิยมสูงในชุมชนออนไลน์อยู่แล้วจึงถูกเสนอเข้ามาในมาตรฐาน
ภาพที่เพิ่มเข้ามาที่ทั้งกลุ่มภาพไอคอนภาษามือ เช่น จับมือ, กำปั้น, โทรหา, เซลฟี่, หรือ facepalm ภาพกลุ่มท่าทาง เช่น คนเต้น, คนใส่สูท, หัวเราะจนนอนกับพื้น และภาพของกินอื่นๆ เช่น ครัวซอง, แตงกวา, เบคอน, มันฝรั่ง
ภาพทั้งหมดยังเป็นข้อเสนอและไม่ควรนำรหัสไปใช้งานจริง
ที่มา - Unicode Blog