Red Hat Enterprise Linux
Red Hat ประกาศรับรอง Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เป็นดิสโทรอย่างเป็นทางการบน Windows Subsystem for Linux (WSL)
ที่ผ่านมา เราสามารถนำดิสโทรใดๆ ก็ได้ไปรันบน WSL ได้เองอยู่แล้ว โดยไมโครซอฟท์มีความร่วมมือกับดิสโทรบางราย เช่น Ubuntu, Debian, Fedora ให้รองรับ WSL อย่างเป็นทางการ และมีแพ็กเกจของดิสโทรเหล่านี้ให้กดคลิกดาวน์โหลดจาก Microsoft Store ได้เลย
ประกาศนี้คือ Red Hat ประกาศรองรับ RHEL บน WSL อย่างเป็นทางการ ในแง่การใช้งานคงไม่ต่างอะไรกับการดาวน์โหลด RHEL มาติดตั้งเอง แต่สำหรับลูกค้าองค์กร การที่มี RHEL อย่างเป็นทางการให้ใช้งานบน WSL จะช่วยให้รันแอพพลิเคชันองค์กรข้ามไปมาระหว่าง RHEL ปกติกับ RHEL WSL ได้ง่ายขึ้นมาก
- Read more about Red Hat ประกาศรองรับ RHEL บน WSL อย่างเป็นทางการ
- 1 comment
- Log in or register to post comments
ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ WSL ในงาน Microsoft Ignite โดยเพิ่ม Red Hat Enterprise Linux อย่างเป็นทางการ โดยทาง Red Hat จะส่งอิมเมจเข้ามาภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า เพิ่มทางเลือกให้กับนักพัฒนาที่ต้องการใช้ดิสโทรใกล้เคียงกับโปรดักชั่นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นอกจากการรับดิสโทรใหม่ ไมโครซอฟท์ยังปรับปรุงแนวทางการสร้างดิสโทรสำหรับ WSL ให้ง่ายขึ้น สามารถ export จาก Docker container เลยก็ได้ ทำให้หลังจากนี้เราน่าจะได้เห็นดิสโทรใหม่ๆ บน WSL กันมากขึ้น
RHEL เปิดตัว RHEL AI แพลตฟอร์มสำหรับองค์กรที่ต้องการฝึกโมเดล generative AI, ปรับแต่ง, หรือรันโมเดล รูปแบบคืออิมเมจ RHEL ที่ใส่เครื่องมือมาพร้อมใช้งานแล้ว และจะได้รับการซัพพอร์ตจาก Red Hat
เครื่องมือที่ใส่เข้ามาในตัวได้แก่ โมเดล Granite ของ IBM เอง , InstructLab ชุดเครื่องมือพัฒนาแชตบอต, ไลบรารีสำหรับรันโมเดลปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ ที่ระบุชื่อมาแล้วคือ PyTorch
ลูกค้าสามารถซื้อไลเซนส์ได้บนเว็บพอร์ทัลของ Red Hat เพื่อนำอิมเมจไปรันในเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง อิมเมจนี้สามารถใช้งานได้บน AWS และ IBM Cloud สำหรับ Azure และ Google Cloud จะเปิดให้ใช้งานภายในสิ้นปีนี้
หลังจากเมื่อปี 2023 Red Hat มีนโยบายปิดกั้นการเข้าถึงซอร์สโค้ดของ RHEL จากสาธารณะ ต้องเป็นลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ถึงเข้าได้ เพื่อบีบให้ดิสโทรทางเลือกของ RHEL นำซอร์สโค้ดไปใช้งานได้ยากขึ้น (ตามสัญญาอนุญาตโอเพนซอร์ส Red Hat ต้องเปิดซอร์สโค้ดของ RHEL แต่ไม่มีระบุวิธีการว่าต้องเป็นทางใด ดังนั้น Red Hat ไม่ทำผิดสัญญา แต่ทำให้นักพัฒนารายอื่นลำบากกว่าเดิม)
CentOS 7 หมดอายุซัพพอร์ตไปตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2024 ( CentOS 8 โดนตัดจบ หมดอายุไปก่อนแล้วในปี 2021 ตามนโยบายของ Red Hat) ทำให้ตอนนี้ไม่เหลือดิสโทร CentOS ใดๆ ที่อยู่ในระยะซัพพอร์ตอีกแล้ว (กลายร่างมาเป็น CentOS Stream ที่เป็นดิสโทรต้นน้ำของ RHEL แทน )
AlmaLinux โครงการลินุกซ์ที่รักษาความเข้ากันได้กับ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ปล่อยแพตช์ช่องโหว่ CVE-2024-6409 ช่องโหว่ใน OpenSSH ที่อาจทำให้แฮกเกอร์รันโค้ดในเครื่องเป้าหมายได้
โดยปกติแล้วโครงการปลายน้ำที่ใช้โค้ดต่อจาก RHEL เช่น AlmaLinux หรือ RockyLinux นั้นจะต้องรอโค้ดจาก RHEL เพื่อมาคอมไพล์เป็นไบนารีแจกจ่ายต่อไป แต่ในบั๊กนี้ทาง AlmaLinux ปล่อยแพตช์ก่อน RHEL หนึ่งวัน
การตัดสินใจปล่อยแพตช์ครั้งนี้อาศัยกรรมการด้านวิศวกรรมของ AlmaLinux หรือ ALESCo (AlmaLinux Engineering Steering Committee) ที่เพิ่งตั้งขึ้นมาในปีนี้เป็นผู้ตัดสินใจ เพราะการปล่อยแพตช์ที่ต่างออกไปจาก RHEL อาจจะทำให้การทำงานต่างกันได้
- Read more about AlmaLinux โชว์แพตช์ช่องโหว่ SecureShell ก่อน RHEL
- Log in or register to post comments
Red Hat ประกาศรองรับการล็อกอินแบบ Passkey ในระบบปฏิบัติการ Red Hat Enterprise Linux 9.4 เวอร์ชันล่าสุด ถือเป็นระบบปฏิบัติการองค์กรที่รองรับเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนยุคใหม่ 3 มิติ ได้แก่
Red Hat เปิดตัว Lightspeed ฟีเจอร์ด้าน Generative AI สำหรับใช้จัดการระบบ OpenShift (Kubernetes) และ Red Hat Enterprise Linux
Red Hat มีบริการ Lightspeed มาตั้งแต่ปี 2023 โดยเป็นการนำเอา โมเดลเขียนโปรแกรม IBM Watson Code Assistant มาใช้กับโค้ด YAML ของ Ansible ระบบจัดการคอนฟิกอัตโนมัติ
ข่าวนี้คือการขยาย Lightspeed มาใช้กับ OpenShift และ RHEL ซึ่งเป็นสองบริการหลักของ Red Hat ด้วย ถือเป็นตัวช่วยจัดการคลัสเตอร์ใน OpenShift ให้ทำงานอัตโนมัติมากขึ้น ขยายขนาดคลัสเตอร์หรือเพิ่มคลัสเตอร์เมื่อมีปริมาณใช้งานสูง และปรับจำนวนลงมาเมื่อผู้ใช้ลดลง ฝั่งของ RHEL เน้นไปที่การจัดการแพตช์ความปลอดภัย ปิดระบบที่มีช่องโหว่ชั่วคราว เป็นต้น
Red Hat ประกาศแนวทางพัฒนาโดย RHEL 10 ที่กำลังจะออกต่อไปจะไม่มี Xorg หรือเซิร์ฟเวอร์ X อื่นๆ อีกแล้ว โดยจะเหลือแต่ Wayland และมี Xwayland สำหรับการรองรับไคลเอนต์ X11
แนวทางนี้ไม่ได้น่าแปลกใจนักเพราะ Red Hat ประกาศว่า Xorg เข้าสู่สถานะ deprecated เตรียมถอดออกจากชุดซอฟต์แวร์ที่ซัพพอร์ตมาตั้งแต่ RHEL 9 หลังจากเปลี่ยนมาใช้ Wayland เป็นค่าเริ่มต้นตั้งแต่ RHEL 8
Wayland พัฒนาโดย Red Hat เองมาตั้งแต่ปี 2008 หรือ 15 ปีที่แล้วโดยวางเป้าหมายจะทดแทน X Windows System หรือ X11 ที่พัฒนามาจาก MIT ตั้งแต่ปี 1984 ตัว Fedora ที่เป็นโครงการต้นน้ำของ RHEL นั้น ใส่ Wayland เข้ามาในปี 2008
CIQ, Oracle, และ SUSE กลุ่มผู้แจกจ่ายลินุกซ์ดิสโทรที่ใช้ CentOS เป็นฐาน ประกาศก่อตั้ง Open Enterprise Linux Association (OpenELA) เพื่อพัฒนาดิสโทรที่เข้ากันได้กับ RHEL ต่อไป แม้ทาง Red Hat จะไม่เปิดโค้ดของ RHEL ให้แล้วก็ตาม
ภายในปีนี้ OpenELA จะเริ่มปล่อยซอร์สโค้ดสำหรับ EL8 และ EL9 และในอนาคตอาจจะย้อนกลับไปซัพพอร์ต EL7 อีกด้วย
AlmaLinux โครงการลินุกซ์ที่สร้างขึ้นทดแทน CentOS ประกาศแนวทางว่าจะไม่เอาเรื่องเข้ากันได้กับ RHEL ได้แบบ 100% ทดแทนได้แบบ 1:1 แล้ว แต่จะรักษาความเข้ากันได้ในระดับ Application Binary Interface (ABI) compatible คือแอพที่สร้างมารันบน RHEL จะสามารถรันบน AlmaLinux ได้อย่างไม่มีปัญหา
AlmaLinux บอกว่าผู้ใช้ทั่วไปจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะจะยังได้รับแพตช์ความปลอดภัยในเวลารวดเร็วเช่นเดิม รันแอพที่ออกแบบมาบน RHEL ได้เหมือนเดิม แต่จะไม่เหมือนกับ RHEL เป๊ะๆ ชนิดบั๊กต่อบั๊กอีกแล้ว ข้อดีของแนวทางนี้คือ AlmaLinux อาจแก้บั๊กได้เร็วกว่า RHEL ด้วยซ้ำ และการแก้บั๊กของ AlmaLinux จะเพิ่มคอมเมนต์ในซอร์สโค้ดด้วยว่านำแพตช์มาจากที่ใด ช่วยให้โครงการโปร่งใสมากขึ้น
SUSE บริษัทซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ประกาศพัฒนาลินุกซ์ต่อจาก RHEL ของ Red Hat แม้ว่าจะมี SUSE Linux Enterprise (SLE) เป็นดิสโทรหลักอยู่แล้วก็ตาม โดยโครงการใหม่ที่แยกออกมาจาก RHEL นี้จะดูแลโดยมูลนิธิด้านโอเพนซอร์สภายนอก เพื่อดูแลว่าสามาารถใช้งานซอร์สโค้ดร่วมกันได้ โดยทาง SUSE จะลงทุน 10 ล้านดอลลาร์ในโครงการนี้ภายในระยะเวลาหลายปีข้างหน้า
Oracle ประกาศพัฒนา Oracle Linux ต่อแม้จะไม่สามารถใช้โค้ดของ RHEL ได้อีกต่อไป หลังจาก Red Hat ปิดการเข้าถึงซอร์สโค้ด พร้อมกับเชิญดิสโทรอื่นๆ มาใช้โค้ดของ Oracle Linux
ที่ผ่านมา Oracle Linux ก็เป็นหนึ่งในดิสโทรที่ใช้โค้ดจาก RHEL มาคอมไพล์ แต่หลังจากนี้ทาง Oracle ก็จะพัฒนาแยกออกไปเอง แต่ยังสัญญาว่าจะคงความเข้ากันได้ให้ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หากมีจุดไหนไม่เข้ากันทาง Oracle ก็จะถือว่าเป็นบั๊กและพยายามแก้ปัญหาให้
Red Hat Enterprise Linux 7 (RHEL 7) จะสิ้นสุดอายุขัยในวันที่ 30 มิถุนายน 2024 (RHEL มีระยะซัพพอร์ต 10 ปีเต็มหลังออกครั้งแรก เป็นสุตร 5+5 คือ 5 ปีแรกซัพพอร์ตเต็มรูปแบบ 5 ปีหลังมีเฉพาะแพตช์ความปลอดภัยและแก้บั๊ก)
เมื่อพ้นระยะ 10 ปีแล้ว ลูกค้าที่ย้ายเวอร์ชันใหญ่ไม่ทัน สามารถเสียเงินเพิ่มเพื่อซื้อซัพพอร์ตแบบพิเศษ Extended Life Cycle Support (ELS) ได้อีก 2 ปี (ถึงกลางปี 2026)
ล่าสุด Red Hat ประกาศยืดอายุซัพพอร์ต RHEL 7 แบบ ELS ให้เป็น 4 ปี (ถึงกลางปี 2028) และขยายการแพตช์ช่องโหว่จากเดิมเฉพาะระดับร้ายแรง (critical) เพิ่มมาเป็นระดับสำคัญ (important) ให้ด้วย โดยการขยายเวลา 4 ปีครั้งนี้ถือเป็นรอบพิเศษมีครั้งเดียว (one-time) ส่วนการซัพพอร์ต ELS ของ RHEL 8 และ 9 จะเพิ่มเป็น 3 ปี
หลังจาก Red Hat ไม่ปล่อยซอร์สโค้ด RHEL ก็ส่งผลกระทบต่อดิสโทรปลายน้ำที่นำโค้ดไปคอมไพล์ต่อ โดยตัวสำคัญสองตัว คือ AlmaLinux และ Rocky Linux ก็ออกมายืนยันว่าจะมีอัพเดตต่อไป
ทางฝั่ง AlmaLinux นั้นระบุว่าจะนำแพตช์มาจากหลายแหล่ง เช่น CentOS Stream และ Oracle Linux (ซึ่งเดิมใช้แพตช์จาก RHEL เหมือนกัน) นอกจากนี้แถลงของ AlmaLinux ยังตอบโต้แถลงของ Red Hat ที่ระบุว่าดิสโทร rebuild ไม่ได้สร้างคุณค่า โดยระบุว่าชุมชน AlmaLinux ช่วยดูแลแพลตฟอร์ม อย่าง Respberry Pi ส่งโค้ดกลับโครงการต้นน้ำหลายโครงกร และดูแลโครงการใน EPEL ที่เป็นแพ็กเกจนอกเหนือจากที่ Red Hat ดูแลอยู่จำนวนมาก
แนวทางของ Red Hat ที่บีบให้ดิสโทรที่ ดูดโค้ดจาก RHEL ไปสร้างดิสโทรใหม่ได้ยากขึ้นในช่วงหลัง ซึ่งเป็นแนวทางต่อเนื่อง มาตั้งแต่การทิ้ง CentOS 8 เมื่อปี 2020 สร้างความไม่พอใจกับชุมชนโอเพนซอร์สจำนวนหนึ่ง ล่าสุด Mike McGrath รองประธานฝ่าย Core Platform Engineering ของ Red Hat ก็ออกมาเขียนบล็อกตอบโต้ ความไม่พอใจเหล่านี้ ที่หลายคนวิจารณ์ว่า Red Hat กลายเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ปิด และได้รับแนวทางมาจากไอบีเอ็ม
Red Hat ประกาศเลิกเปิดซอร์สโค้ดของ RHEL ลงเว็บ git.centos.org และจะเปิดซอร์สโค้ดผ่านทางหน้าพอร์ทัลลูกค้าและพาร์ตเนอร์เท่านั้น
ทาง Red Hat ให้เหตุผลว่าหลังจากปรับ CentOS ให้เหลือแต่ CentOS Stream ที่ไม่ใช่เวอร์ชั่นเสถียรระยะยาวเหมือน RHEL อีกต่อไป git ของ CentOS ก็ใช้งานกับ CentOS Stream อย่างเดียวอยู่แล้ว แต่บริษัทก็ยังเปิดซอร์สโค้ดของ RHEL ออกมาด้วย ซึ่งกลายเป็นการทำงานที่ไม่จำเป็น
เมื่อปี 2020 Red Hat ช็อควงการด้วยการหยุดทำ CentOS 8 และตัดจบอายุซัพพอร์ตที่สิ้นปี 2021 บีบให้ ผู้ใช้งาน CentOS 8 ต้องย้ายไปใช้ RHEL 8 แบบเสียเงิน หรือดิสโทรทางเลือกอื่นๆ แทน
ปัญหาเรื่อง CentOS 8 ยุติไปแล้ว แต่ยังมีกลุ่มผู้ใช้ CentOS 7 เวอร์ชันก่อนหน้าที่ไม่ถูก Red Hat ตัดจบแบบเดียวกัน ได้อายุซัพพอร์ตนาน 10 ปี ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 30 มิถุนายน 2024 เป็นระเบิดเวลาลูกต่อไป
ทางเลือกของผู้ใช้ CentOS 7 ในปัจจุบันไม่สามารถอัพเกรดเป็น CentOS 8 ตรงๆ ได้อีกแล้ว การย้ายระบบให้ทันเส้นตายจึงไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะผู้ใช้งานบนคลาวด์ ที่ต้องปิด VM, ลบ VM ทิ้ง แล้วสร้างใหม่เท่านั้น
Red Hat ออก Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เวอร์ชัน 9.1 ทิ้งช่วงห่าง 6 เดือนพอดีจาก เวอร์ชัน 9.0 ที่เป็นอัพเกรดใหญ่
นอกจากการอัพเดตแพ็กเกจตามปกติ ของใหม่คือการติดตั้ง Microsoft SQL Server ง่ายขึ้น, Smart Management สำหรับการจัดการระดับสูง, Insights วิเคราะห์ข้อมูลของระบบ
Red Hat ยังออก แพ็กเกจ .NET 7 ให้ลูกค้า RHEL ทั้งบน RHEL 8.7 และ 9.1 โดยซัพพอร์ตเครื่องที่เป็น IBM Power ด้วย
- Read more about RHEL 9.1 ออกแล้ว, AlmaLinux ออกเวอร์ชัน 9.1 ตามทันที
- Log in or register to post comments
Rocky Linux ดิสโทรลินุกซ์ทดแทน CentOS ออกเวอร์ชันใหญ่ 9.0 ตามหลัง RHEL 9.0 ที่ออกตัวจริงเมื่อเดือนพฤษภาคม
ในแง่ฟีเจอร์ของ Rocky Linux 9.0 คงเหมือนกับ RHEL ทุกประการ รองรับสถาปัตยกรรมซีพียู 4 แบบคือ x86_64, aarch64 (ARM64), ppc64le (PowerPC), s390x (Mainframe)
Rocky Linux 8 จะซัพพอร์ตยาวนานถึง 31 พฤษภาคม 2029 และ Rocky Linux 9 จะซัพพอร์ตถึง 31 พฤษภาคม 2032 เท่ากับระยะซัพพอร์ตมาตรฐานของ Red Hat ที่ยาวนาน 10 ปีหลังออกรุ่นแรกของสายนั้น
- Read more about Rocky Linux ออกเวอร์ชัน 9.0 ตามรอบของ RHEL 9.0
- 7 comments
- Log in or register to post comments
Red Hat Enterprise Linux ออกเวอร์ชัน 9.0 โดยนับเป็น เวอร์ชันแรกที่อิงจาก CentOS Stream 9 หลัง Red Hat เปลี่ยนนโยบายของ CentOS จากดิสโทรที่เข้ากันได้กับ RHEL กลายมาเป็นดิสโทรต้นน้ำของ RHEL แทน (สืบต่อกันมาจาก Fedora 34 อีกที)
ของใหม่ใน RHEL 9.0 มีหลายอย่างดังนี้
ช่องว่างที่หายไปของ CentOS ทำให้เกิดดิสโทรลินุกซ์ทางเลือกมาทดแทนหลายราย ที่เด่นๆ คือโครงการใหม่ทั้ง AlmaLinux และ RockyLinux แต่ก็ยังมีดิสโทรจากบริษัทใหญ่อย่าง Oracle Linux และ Amazon Linux มาเป็นทางเลือกด้วย
ล่าสุด SUSE ดิสโทรยักษ์ใหญ่อีกรายจากฝั่งยุโรปที่เป็นคู่แข่งกับ Red Hat มานาน ประกาศทำ SUSE Liberty Linux โดยนำซอร์สโค้ดของ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) มาคอมไพล์เป็นไบนารีแจกฟรีๆ
SUSE Liberty Linux จะใช้แพ็กเกจทุกอย่างเหมือนกับ RHEL ทุกประการ ยกเว้นเคอร์เนลที่ใช้เคอร์เนลของ SUSE Linux Enterprise (SLE) เอง แต่ก็คอมไพล์ด้วยคอนฟิกที่เข้ากันได้กับ RHEL
CentOS 8 จะสิ้นระยะซัพพอร์ตในวันที่ 31 ธันวาคม 2021 หลังจากนี้ไป โครงการ CentOS จะเข้าสู่ยุคใหม่ที่เป็น CentOS Stream แทน เท่ากับว่าเมื่อขึ้นปี 2022 แล้ว CentOS 8 จะไม่ได้รับแพตช์ความปลอดภัยอีกต่อไป
แต่ CentOS 8 เป็นระบบปฏิบัติการที่มีคนนิยมใช้อย่างสูง โดยเฉพาะในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ จึงเกิดคำถามตามมาว่าผู้ใช้ CentOS 8 ที่ตอนนี้เหลือเวลาอีกน้อยนิด มีทางเลือกในการอัพเกรดไปใช้ระบบปฏิบัติการใดแทนได้บ้าง
เว็บไซต์ ZDNet ได้รวบรวมทางเลือกที่เป็นไปได้ในการอัพเกรดแทน CentOS 8 โดยเริ่มจากกลุ่มที่ดัดแปลงมาจาก RHEL 8 และสามารถทดแทน CentOS 8 ได้ทันที
โครงการ CentOS ภายใต้การดูแลของ Red Hat เปิดตัว CentOS Stream 9ซึ่งถือเป็นยุคใหม่ของ CentOS หลังการเปลี่ยนนโยบายครั้งใหญ่ เลิกซัพพอร์ต CentOS 8 เมื่อปลายปี 2020
เดิมที CentOS เป็นการนำซอร์สโค้ดของ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ที่เป็นรุ่นเสถียรสำหรับองค์กร มาคอมไพล์เป็นไบนารี แจกจ่ายให้ฟรีโดยไม่ต้องซื้อ subscription จาก Red Hat โดยเลขเวอร์ชันของ CentOS จะเท่ากับ RHEL เสมอ และออกตามหลัง RHEL เล็กน้อย
Red Hat เปิดทดสอบ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) 9 Beta ซึ่งเป็นรุ่นใหญ่รุ่นถัดไปของ RHEL
Red Hat ระบุว่า RHEL 9 ต่างไปจาก RHEL รุ่นใหญ่ในอดีต ตรงที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยลง (แม้ยังมีฟีเจอร์ใหม่บ้าง) เพื่อให้แอดมินลดภาระการเรียนรู้ของใหม่ๆ ลงจากเดิม นอกจากนี้ RHEL 9 ยังเป็นดิสโทรเวอร์ชันแรกที่ดึงแพ็กเกจมาจาก CentOS Stream ตามแนวทางใหม่ของโครงการ CentOS ที่ เปลี่ยนทิศทางใหม่ เลิกทำ CentOS ซัพพอร์ตระยะยาว กลายมาเป็นดิสโทรต้นน้ำของ RHEL