WeWork อดีตสตาร์ทอัปดาวรุ่งให้บริการแชร์พื้นที่อาคารสำนักงาน ที่ยื่น ขอล้มละลายกิจการ ส่วนธุรกิจในอเมริกาและแคนาดามาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ทำให้เข้าสู่แผนฟื้นฟู สามารถเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ได้ ล่าสุดมีรายงานว่าบริษัทใกล้ออกจากสถานะล้มละลายแล้ว
โดยศาลล้มละลายแห่ง New Jersey ได้อนุมัติแผนตัดหนี้สินของบริษัทมูลค่าราว 4 พันล้านดอลลาร์ รวมทั้งยกเลิกคำสัญญาเช่าพื้นที่สำนักงานในอนาคตมูลค่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ มากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด
Adam Neumann ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอ WeWork สตาร์ทอัพผู้ให้บริการ Office-sharing ยื่นข้อเสนอซื้อกิจการทั้งหมดของ WeWork ผ่าน บริษัทอสังหาริมทรัพย์ใหม่ของเขา Flow Global ร่วมกับสถาบันการเงินอีกหลายแห่ง มูลค่าที่เสนอไปไม่มีการเปิดเผย แต่ตัวแทนของ Flow บอกว่าสูงกว่า 500 ล้านดอลลาร์ ที่มีรายงานออกมา
WeWork เคยเป็นสตาร์ทอัพดาวรุ่งที่มีมูลค่ากิจการถึง 47,000 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามจาก ปัญหาหลายอย่าง ที่เกิดขึ้น ทำให้ Neumann ลาออกจากบริษัทในปี 2019 พร้อมกับมูลค่ากิจการของ WeWork ที่ลดลงและการปลดพนักงานจำนวนมาก เมื่อปลายปีที่แล้ว บริษัทได้ยื่นขอล้มละลาย ตามกฎหมาย Chapter 11 มีผลกับธุรกิจในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา จึงน่าจะเป็นที่มาให้ Neumann สนใจซื้อกิจการคืน
SoftBank รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาสเดือนกันยายน 2023 ขาดทุนสุทธิ 7.89 แสนล้านเยน เป็นตัวเลขขาดทุนที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนหน้านี้ ที่ขาดทุน 3.16 แสนล้านเยน ส่วนไตรมาสเดียวกันในปีก่อนมีกำไรจากการขายหุ้น Alibaba
เฉพาะส่วนกองทุน Vision Funds ขาดทุน 2.59 แสนล้านเยน ซึ่งภาพใหญ่มาจากผลตอบแทนการลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา และต้องบันทึกขาดทุนใน WeWork ที่บริษัทเพิ่งแจ้งขอล้มละลายกิจการไป 2.34 แสนล้านเยน อย่างไรก็ตาม SoftBank เพิ่งนำบริษัทใหญ่เข้าตลาดหุ้นสำเร็จนั่นคือ Arm ที่ไอพีโอ ไปเมื่อเดือนกันยายน
WeWork ประกาศยื่นขอล้มละลายกิจการตามกฎหมาย Chapter 11 ของสหรัฐอเมริกาแล้วตามที่มี รายงานข่าว ก่อนหน้านี้ โดยกระบวนการขอล้มละลายนี้มีผลเฉพาะส่วนธุรกิจ WeWork ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเท่านั้น สาขาของ WeWork ที่อื่นทั่วโลกจะไม่เข้าสู่กระบวนการนี้
WeWork บอกว่าการเข้าสู่ขั้นตอนล้มละลาย ทำให้บริษัทสามารถดำเนินการเจรจาหรือขอยกเลิกการเช่าพื้นที่กับเจ้าของพื้นที่ได้ ซึ่งตอนนี้มีหลายพื้นที่เช่าที่ไม่ได้เปิดดำเนินการ และเจ้าของพื้นที่ทั้งหมดได้รับการแจ้งถึงขั้นตอนไปก่อนหน้านี้แล้ว
ข้อมูลนี้มาจากแหล่งข่าวของ The Wall Street Journal ระบุว่า WeWork มีแผนยื่นข้อล้มละลายกิจการตามกฎหมาย Chapter 11 ที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ เร็วที่สุดภายในสัปดาห์หน้า
ข่าวนี้อาจไม่สร้างความประหลาดใจนัก เนื่องจาก WeWork เคยให้ข้อมูล ในการรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ผ่านมา ว่าบริษัทมีข้อกังขาจากปัญหาทางการเงิน ว่าบริษัทจะสามารถดำเนินกิจการต่อได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามราคาหุ้นของ WeWork ก็ปรับลดลงถึงมากกว่า 38% หลังมีรายงานนี้ออกมา
WeWork บริษัทพื้นที่เช่า co-working space ชื่อดัง เผยข้อมูลในรายงานผลประกอบการประจำไตรมาส 2/2023 ว่าสถานการณ์การเงินของบริษัทไม่ดีนัก และมีข้อกังขาอย่างจริงจัง (substantial doubt) ว่าบริษัทจะสามารถดำเนินการต่อไปได้หรือไม่
ผู้บริหารชุดปัจจุบันของ WeWork บอกว่าจะเร่งปรับปรุงสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทช่วง 12 เดือนข้างหน้า ผ่านมาตรการหลายอย่าง เช่น
Adam Neumann ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอ WeWork ที่ลาออกจากบริษัทในปี 2019 และสร้างปัญหาไว้หลายอย่าง หลังจากนั้นเขาหันมาเป็นนักลงทุน และเปิดบริษัทใหม่ชื่อ Flow เป็นสตาร์ตอัพด้านอสังหาริมทรัพย์ เน้นแก้ปัญหาเรื่องบ้าน ที่ซื้อก็แพง เช่าก็ไม่มีความผูกพัน
WeWork สตาร์ทอัพผู้ให้บริการ Office-sharing ประกาศบรรลุข้อตกลง ที่จะนำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหุ้น ด้วยการขายให้บริษัทในตลาดหุ้นที่จัดตั้งขึ้นเพื่อซื้อกิจการอื่นโดยเฉพาะ ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า SPAC โดยบริษัทที่จะมาซื้อกิจการเพื่อแปลง WeWork ให้เป็นบริษัทในตลาดหุ้นคือ BowX Acquisition ที่มูลค่ากิจการของ WeWork 9,000 ล้านดอลลาร์
หลังจากประสบปัญหาทั้งเรื่องโมเดลธุรกิจ โครงสร้างองค์กร ก่อนจะถูกซ้ำด้วยวิกฤติโควิด แต่ตอนนี้ Sandeep Mathran ซีอีโอ WeWork ที่เข้ามารับเผือกร้อนตั้งแต่ปลายปี 2019 มองว่าตอนนี้ WeWork กำลังไปได้สวยในการฟื้นฟูและน่าจะกลับมาทำกำไรภายในไตรมาส 4 ของปีนี้
หนึ่งในเหตุผลหลักคือ WeWork ในจีนที่กลับสู่สถานการณ์ปกติได้ราว 90% จากช่วงก่อนโควิดแล้ว อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์จาก Green Street Partners บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาของยุโรปมองว่าธุรกิจให้เช่าออฟฟิศอย่าง WeWork จะกลับมาได้ก็น่าจะปี 2023 เป็นต้นไป
We Company บริษัทโฮลดิ้งที่ตั้งขึ้นมาเป็นบริษัทแม่ของ WeWork สมัย Adam Neumann ยังเป็นซีอีโอ สำหรับการขยายไปธุรกิจอื่นนอกจาก co-working space (และเป็นส่วนหนึ่งของความยุ่งเหยิงในโครงสร้างองค์กรที่ถูกพบตอนยื่นไฟลิ่ง IPO)
ล่าสุด We Company ประกาศเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น WeWork เพื่อเน้นย้ำว่าบริษัทต้องการจะโฟกัสกับธุรกิจ co-working space ที่เป็นธุรกิจหลักจริง ๆ โดย WeWork ระบุด้วยว่าหลังการเปลี่ยนบอร์ดและทีมผู้บริหาร บริษัทค่อย ๆ กลับมาในทิศทางบวก ทั้งการปรับขนาดของธุรกิจทั่วโลกที่เหมาะสมและสถานการณ์การเงิน (" rightsizing its global portfolio and improving its balance sheet ")
ผ่านวิกฤติใหญ่มาตลอด 2 ปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะเพราะตัวเองหรือเพราะ COVID-19 แต่ล่าสุด WeWork อาจจะเริ่มเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์เมื่อ Marcelo Claure ประธานบอร์ดบริษัท (ที่ควบตำแหน่ง COO ของ SoftBank ด้วย) ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times ว่า WeWork กำลังเดินหน้าตามแผนและน่าจะเริ่มมีกำไรจากการดำเนินงาน รวมถึงมีกระแสเงินสดเป็นบวกภายในปีหน้า
หลัง SoftBank ไม่ซื้อหุ้นผู้ถือหุ้น WeWork มูลค่า 3 พันล้าน จน WeWork ยื่นฟ้อง SoftBank ล่าสุด Adam Neumann อดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง WeWork ยื่นฟ้อง SoftBank ด้วยแล้ว
Neumann ระบุว่า SoftBank อ้างข้อกฎหมายแบบผิด ๆ (SoftBank อ้างว่ามีเงื่อนไขหลายข้อไม่ได้รับการบรรลุก่อนวันที่ 1 เมษายนตามที่เคยตกลงกันไว้) ขณะที่หัวหน้าฝ่ายกฎหมาย SoftBank ระบุว่าการฟ้องร้องของ Neumann ไม่มีทางที่เขาจะชนะ เพราะสัญญาข้อตกลงเรื่องการซื้อหุ้นคืนที่ Neumann ก็เซ็นนั้น ไม่มีข้อไหนผูกมัด SoftBank ว่าจะต้องทำตามข้อตกลงทั้งหมด
หลัง SoftBank ไม่ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้น WeWork มูลค่ากว่า 3 พันล้านเหรียญ ตามที่ เคยตกลงกันไว้ ล่าสุด WeWork ยื่นฟ้อง SoftBank แล้วฐานละเมิดสัญญาและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
คณะกรรมการพิเศษของ WeWork ระบุว่าผิดหวังที่ SoftBank มองประโยชน์ตัวเองมาก่อนผู้ถือหุ้น WeWork ที่เป็นส่วนน้อย ขณะที่ SoftBank ก็ได้ประโยชน์ไปแล้วจากสัญญาที่เซ็นกันไป อาทิ การเข้ามาควบคุมบอร์ด พร้อมเรียกร้องให้ SoftBank ทำตามสัญญาหรือให้เงินสดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายที่ยกเลิกดีล
SoftBank ผู้ลงทุนรายใหญ่ของ WeWork ประกาศไม่เข้าซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ ตรงกับที่ แจ้งผู้ถือหุ้นก่อนหน้านี้ โดยข้อตกลงระหว่าง WeWork และ SoftBank จะหมดอายุวันที่ 1 เมษายนทำให้ทาง SoftBank ออกมาประกาศเป็นทางการว่าจะไม่ซื้อหุ้น
ทาง WeWork ระบุว่าผิดหวังกับการตัดสินใจนี้และจะพิจารณาช่องทางทางกฎหมายทุกช่องทาง
ข้อตกลงส่วนอื่น รวมถึงการปล่อยกู้ 5 พันล้านดอลลาร์ยังคงอยู่ต่อไป ขณะที่ WeWork มีสัญญาค่าเช่ากับอาคารจำนวนมาก หากการปล่อยกู้ยังทำได้ตามข้อตกลงแสดงว่า SoftBank ต้องการกู้ชีวิตของ WeWork มากกว่าจะถือหุ้นเพิ่มเติม โดยเลือกช่องทางส่งเงินตรงเข้าบริษัทและทิ้งช่องทางการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม
Meetup โซเชียลมีเดียที่เน้นการจัดกิจกรรมพบปะ ระหว่างกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ประกาศว่ากลุ่มนักลงทุนนำโดย AlleyCorp ได้เข้าซื้อกิจการทั้งหมดของบริษัทแล้ว โดยก่อนหน้านี้ Meetup เป็นบริษัทในเครือของ WeWork จากการ เข้าซื้อกิจการเมื่อปี 2017
ปัจจุบัน Meetup มีสมาชิกสมัครใช้งานกว่า 49 ล้านคน และองค์กรกว่า 230,000 แห่ง บริการ Meetup Pro ที่เน้นลูกค้าระดับบริษัทก็มีลูกค้ารายใหญ่อาทิ แอปเปิล, กูเกิล, Azure ของไมโครซอฟท์ และ Twitter
แผนการขาย Meetup ของ WeWork นั้น มีรายงานออกมาก่อนหน้านี้แล้ว เนื่องจากบริษัทประสบปัญหาการเงินและอยู่ในช่วงปรับโครงสร้างองค์กรนั่นเอง
ปลายปีที่แล้ว WeWork และ SoftBank บรรลุข้อตกลงจะรับเงิน 9.5 พันล้านเหรียญ แบ่งเป็นเงินเพิ่มทุน 1.5 พันล้านเหรียญ, ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม 3 พันล้านเหรียญและให้กู้อีก 5 พันล้านเหรียญ
ล่าสุด SoftBank ส่งจดหมายหาผู้ถือหุ้น WeWork ระบุว่าอาจไม่สามารถซื้อหุ้นมูลค่า 3 พันล้านเหรียญตามที่ตกลงกันไว้ได้แล้ว เพราะ WeWork อาจจะถูกตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐอย่าง SEC (กลต. สหรัฐ), กระทรวงยุติธรรมสหรัฐและมลรัฐนิวยอร์ค เกี่ยวกับการทำธุรกิจและการสื่อสารกับนักลงทุน
Wall Street Journal รายงานว่า WeWork เตรียมแต่งตั้ง Sandeep Mathrani เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอคนใหม่ แทนที่ Artie Minson และ Sebastian Gunningham ที่ตอนนี้เป็นซีอีโอร่วมกันอยู่
Mathrani ตอนนี้เป็นซีอีโอของ Brookfield Property Partners ก่อนหน้านั้นก็เป็นซีอีโอของ General Growth Properties ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ด้วยกันทั้งคู่ (General Growth Properties ถูก Brookfield ควบไปและตั้งให้ Mathrani นั่งซีอีโอ) เป็นระยะเวลารวมกันกว่า 8 ปี เรียกได้ว่ามีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมอสังหาเชิงพาณิชย์มานาน
หลังมี ข่าวลือ เมื่อต้นสัปดาห์ว่า WeWork จะปลดพนักงานมากถึง 4,000 คนเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการเงินของบริษัท ล่าสุด WeWork ประกาศตัวเลขออกมาแล้วว่าจะปลดพนักงานทั่วโลก 2,400 คนในความพยายามลดค่าใช้จ่าย
โฆษกของ WeWork ระบุว่าบริษัทจำเป็นต้องปลดพนักงานออกเพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่จะโฟกัสกับธุรกิจหลักของบริษัท โดยเริ่มมาตั้งแต่หลายสัปดาห์ก่อนทั่วโลก และจะดำเนินต่อไปในสัปดาห์นี้สำหรับสหรัฐอเมริกาเอง
พนักงานที่ถูกปลดจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย รวมถึงจะได้รับความช่วยเหลือต่างๆ สำหรับการหางานใหม่
New York Times รายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่รู้เห็นในสถานการณ์ ระบุว่า WeWork จะแก้วิกฤตการเงินด้วยการเลิกจ้างพนักงานถึง 4,000 ราย
SoftBank รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสเดือนกันยายน 2019 โดยขาดทุนถึง 7.04 แสนล้านเยน (6,500 ล้านดอลลาร์) ซึ่งเป็นการรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ขาดทุนครั้งแรกในรอบ 14 ปีของ SoftBank โดยสาเหตุก็มาจากการลงทุนในบางบริษัทของกองทุน Vision Fund ที่ต้องลงบันทึกผลขาดทุน
โดย WeWork ซึ่ง SoftBank เป็นผู้ลงทุนหลักนั้น บันทึกผลขาดทุนเฉพาะไตรมาสที่ผ่านมา 3,400 ล้านดอลลาร์ และ SoftBank ประเมินว่าจะต้องรับรู้ผลขาดทุนตลอดปีราว 4,600 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามหากพิจารณาภาพรวมของกองทุน Vision Fund นั้น จากการลงทุนรวม 70,700 ล้านดอลลาร์ใน 88 บริษัท (ไม่รวมบริษัทที่ exit แล้ว) มูลค่ากิจการล่าสุดอยู่ที่ 77,600 ล้านดอลลาร์
WeWork ประกาศยืนยัน รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจาก SoftBank แล้วรวมทั้งหมดราว 9.5 พันล้านเหรียญ ทำให้ SoftBank เข้ามาถือหุ้น WeWork ถึง 80%
จำนวนเงิน 9.5 พันล้านล้านเหรียญแบ่งเป็นเงินเพิ่มทุน 1.5 พันล้านเหรียญ, ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม 3 พันล้านเหรียญและให้กู้อีก 5 พันล้านเหรียญ ขณะที่ Adam Neumann อดีตซีอีโอและผู้ก่อตั้ง ต้องลงจาก ตำแหน่งประธานบอร์ด กลายเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ของบอร์ดเท่านั้น โดยเจ้าตัวได้เงินชดเชยรวมทั้งหมดราว 1.7 พันล้านเหรียญ ส่วนประธานบอร์ดทาง SoftBank จะส่งผู้บริหารของตัวเอง Marcelo Claure มานั่งเก้าอี้แทน
สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่ง (เช่น CNBC หรือ Nikkei) รายงานตรงกันว่า SoftBank เตรียมเข้ามาช่วยเหลือทางการเงินแก่ WeWork เป็นเงินราว 4-5 พันล้านดอลลาร์ เพื่อให้ WeWork สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
CNBC รายงานว่าความช่วยเหลือของ SoftBank จะมาจากการเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม (tendor offer) มูลค่าประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์, การเพิ่มทุนอีก 1.5 พันล้านดอลลาร์ และให้กู้แยกอีกก้อน 5 พันล้านดอลลาร์ โดย Marcelo Claure ผู้บริหารของ SoftBank จะเข้ามาดูแล WeWork ด้วยในฐานะประธานบอร์ด
ดีลของ SoftBank รอบนี้จะทำให้มูลค่าของ WeWork อยู่ที่ประมาณ 7.5-8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าลดลงอย่างมาก จากเดิมที่เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 47 พันล้านดอลลาร์
มีรายงานว่า SoftBank ในฐานะผู้ลงทุนรายสำคัญของ WeWork สตาร์ทอัพด้าน Office-sharing ที่ประสบปัญหาตั้งแต่ ซีอีโอลาออก จนมาถึงการ ระงับแผนนำบริษัทไอพีโอ เข้าตลาดหุ้น ได้ยื่นข้อเสนอล่าสุดเพื่อแก้ปัญหาการเงินของบริษัท โดยจะให้ให้เงินทุนระดับหลายพันล้านดอลลาร์ แต่แลกกับบริษัทจะต้องได้สิทธิควบคุมกิจการ
The Wall Street Journal ระบุว่า SoftBank ปัจจุบันมีหุ้น WeWork อยู่ 1 ใน 3 แต่ข้อเสนอใหม่นี้ SoftBank ต้องการสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้สิทธิออกเสียงโหวตมากขึ้น และอาจเป็นการลดอำนาจของ Adam Neumann ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอ WeWork ที่ยังถือหุ้น WeWork อยู่จำนวนมาก
การปลดพนักงาน เป็นมาตรการแรก ๆ ของการลดต้นทุนของ WeWork หลังการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ล่าสุด The Information รายงานว่าพนักงานชุดแรกที่จะถูกปลดจะอยู่ที่ราว 500 คน แบ่งเป็นจาก WeWork เอง 350 คนและอีก 150 คนจากสตาร์ทอัพที่ WeWork เคยซื้อเข้ามา
ในส่วนของพนักงาน WeWork 350 คน ส่วนแรก ๆ ที่จะโดนปลดคือสายนักพัฒนา ตั้งแต่วิศวกรซอฟต์แวร์, product management และ data scientist ขณะที่พนักงานที่ WeWork จะปลดทั้งหมดคือราว 2,000 คนทั่วโลก
ที่มา - The Information via TechCrunch
สถานการณ์ของ WeWork สตาร์ทอัพด้าน Office-sharing ยังคงรุมเร้า ตั้งแต่ ซีอีโอลาออก จนถึง ล้มแผนไอพีโอเข้าตลาดหุ้น ล่าสุดมีรายงานว่าหุ้นกู้ของ WeWork ที่มีการออกจำหน่าย มีนักลงทุนได้เปิดสัญญาชอร์ตเพิ่มสูงมากในสัปดาห์ที่ผ่านมา (ชอร์ตเป็นการคาดว่า มูลค่าหุ้นกู้จะลดลง จึงจะได้กำไร)
หุ้นกู้ปัจจุบันของ WeWork ที่มีการออกมา ให้อัตราผลตอบแทนที่ 7.875% เป็นหุ้นกู้เกรด Junk เนื่องจากไม่สามารถให้เรตติ้งได้ อย่างไรก็ตามนักลงทุนคาดว่า WeWork จะต้องออกหุ้นกู้ชุดใหม่เพื่อหาเงินสดเพิ่ม และต้องให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าเดิม จึงกดดันให้ราคาหุ้นกู้ปัจจุบันลดลง เพื่อให้เกิดสมดุล