ช่วงที่ผ่านมา OpenAI ตกเป็นข่าวหลายเรื่องราว จนทำให้มีการนำเรื่องราวในอดีตของ Sam Altman ซีอีโอ ออกมาเปิดเผยบอกเล่ามากขึ้น เรื่องหนึ่งที่ออกมาคือเขาถูกไล่ออกจาก Y Combinator ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัปชื่อดัง ที่เขาเคยมีตำแหน่งประธาน
Paul Graham หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Y Combinator (YC) จึงชี้แจงผ่าน X โดยบอกว่าข้อมูลที่ว่า Altman ถูกไล่ออกนั้นไม่เป็นความจริง แต่ช่วงเวลาหนึ่ง Altman ทำงานควบคู่ทั้ง YC และ OpenAI แต่เมื่อ OpenAI ประกาศตั้ง แผนกเพื่อแสวงหากำไร (For-profit) กลุ่มผู้ก่อตั้ง YC จึงพูดคุยกับ Altman ว่าถ้าเขาต้องทำงานที่ OpenAI แบบเต็มเวลา YC ก็น่าจะต้องหาคนอื่นมาทำงานตำแหน่งนี้แทน ซึ่ง Altman เห็นด้วยกับแนวทางนี้ จึงเลือกลาออกจาก YC
Y Combinator โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพชื่อดัง อัพเดตหมวดของสตาร์ทอัพที่พาร์ตเนอร์มีความสนใจร่วมลงทุน ซึ่ง Y Combinator เรียกรายการนี้ว่า Request for Startups (RFS) โดยใช้หมวดเหล่านี้ในการพิจารณามาตั้งแต่ปี 2009 และปรับหมวดที่สนใจเป็นระยะ
รายการ RFS นี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ปี 2018 โดยเพิ่งประกาศ 20 หมวดล่าสุดในปีนี้ ซึ่งมีหัวข้อใหม่เพิ่มเข้ามาที่น่าสนใจและตามกระแส โดยเฉพาะกลุ่ม AI ขณะเดียวกันก็มีหมวดอย่างเทคโนโลยีสภาพอากาศ (Climate Tech) หรือแม้แต่สตาร์ทอัพที่ทำให้ภาคการผลิตกลับสู่อเมริกา
20 หมวดของสตาร์ทอัพใน RFS ปัจจุบันของ Y Combinator มีดังนี้
Garry Tan ประธานและซีอีโอโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพชื่อดัง Y Combinator เปิดเผยว่า จำนวนใบสมัครเข้าร่วมโครงการในรอบล่าสุดเพิ่มขึ้นเป็นสถิติใหม่มากกว่า 24,000 ราย โดยจะมีใบสมัครจำนวนน้อยกว่า 1% ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ
ข้อมูลน่าสนใจจาก Tan คือ สตาร์ทอัพที่ถูกคัดเลือกในรอบนี้ 35% เป็นสตาร์ทอัพที่โฟกัสด้านการพัฒนาเทคโนโลยี AI และมากกว่าครึ่งหนึ่งก็มีการใช้ AI เป็นส่วนประกอบของธุรกิจ เขาบอกว่าหัวข้อหลักที่สตาร์ทอัพพูดคุยสนทนากัน จึงเป็นเรื่องของโอกาสมากมายที่ AI สามารถทำได้
โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ Y Combinator ประกาศจัดงานเดโมเดย์ หรืองานสาธิตผลิตภัณฑ์จากสตาร์ทอัพ โดยจะเป็นการจัดงานแบบออนไลน์ เพื่อหลีกเลี่ยงการพบปะกันเนื่องจากกังวลสถานการณ์ไวรัส COVID-19
Y Combinator โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพชื่อดัง ประกาศยกเลิกโครงการสำหรับประเทศจีนโดยเฉพาะที่เรียกว่า Y Combinator China จากที่เคย มีแผนก่อนหน้านี้ โดยให้เหตุผลมาจากการเปลี่ยนตัวผู้บริหารในหน่วยงาน
นอกจากนี้โครงการยังระบุด้วยว่า Qi Lu อดีตหัวหน้าฝ่าย AI ของ Baidu ที่มารับตำแหน่งซีอีโอของ YC China และทีมงานของเขา จะยังคงสนับสนุนสตาร์ทอัพในจีนต่อไป แต่ภายใต้หน่วยงานใหม่ที่เขาจัดตั้งขึ้นเองชื่อ MiraclePlus
ทั้งนี้ YC บอกว่าจะยังคงสนับสนุนสตาร์ทอัพจากจีน แต่ผ่านโครงการ YC ที่อเมริกาแทน
Y Combinator หนึ่งในศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพชื่อดังของโลก ประกาศตั้ง Y Combinator China ที่ประเทศจีน และได้ Qi Lu มารับตำแหน่งซีอีโอดูแล YC ที่จีนนี้
ผลงานสตาร์ทอัพที่ผ่าน Y Combinator มาแล้ว อาทิ Airbnb, Reddit และ Dropbox
สำหรับใครที่ไม่คุ้นชื่อ Qi Lu ตำแหน่ง ล่าสุด ของเขาคือหัวหน้าฝ่าย AI ของ Baidu โดยก่อนย้ายกลับมาที่จีน เขามีผลงานสำคัญคือดูแลเสิร์ชที่ยาฮูและไมโครซอฟท์ (ในฐานะผู้สร้าง Bing) จึงถือเป็นชาวจีนที่มีผลงานด้านเทคโนโลยีที่โดดเด่นมากคนหนึ่ง และ Sam Altman ประธาน YC ก็บอกว่าเขาพยายามชักชวน Qi ให้ทำงานด้วยหลายปีแล้ว
Dropbox รายงานข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการไอพีโอเพื่อเข้าตลาดหุ้นเพิ่มเติมในเอกสาร S-1 ที่ ยื่นไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาของหุ้นไอพีโอ และการขายหุ้นให้ Salesforce
หุ้น Dropbox นั้นจะใช้ตัวย่อว่า DBX ซื้อขายในตลาด Nasdaq ซึ่งหุ้นเพิ่มทุนจะออกจำหน่ายในราคา 16-18 ดอลลาร์ต่อหุ้นทั้งหมด 36 ล้านหุ้น เพื่อระดมทุน 648 ล้านดอลลาร์ ซึ่งด้วยราคาไอพีโอนี้จะทำให้ Dropbox มีมูลค่าประมาณ 7-8 พันล้านดอลลาร์ นับเป็นการไอพีโอหุ้นเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่การ ไอพีโอ Snap เมื่อปีที่แล้ว
มีข่าวมา หลาย ต่อ หลาย ครั้ง ในที่สุด Dropbox ก็เปิดเผยเอกสารไฟลิ่ง S-1 เพื่อเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นอย่างเป็นทางการแล้ว โดยหุ้น Dropbox จะทำการซื้อขายในตลาด Nasdaq ด้วยตัวย่อ DBXมีการระดมทุนราว 500 ล้านดอลลาร์ แต่ยังไม่ได้เปิดเผยจำนวนหุ้นและราคาต่อหุ้น ทำให้ตอนนี้ยังไม่ทราบมูลค่ากิจการที่จะเข้าตลาดหุ้น
Elon Musk แห่ง Tesla Motors และ Sam Altman ซีอีโอของบริษัทลงทุนชื่อดัง Y Combinator จับมือเปิดตัวบริษัทวิจัยแบบไม่หวังผลกำไร OpenAIเพื่อศึกษาวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) แบบไม่ต้องพึ่งพาบริษัทใหญ่อย่างกูเกิลหรือไมโครซอฟท์
ภารกิจของ OpenAI คือวิจัยเรื่อง AI เพื่อเป็นสมบัติของมนุษยชาติ โดยไม่ต้องคำนึงเรื่องกำไรแบบเดียวกับห้องวิจัยของบริษัทใหญ่ ไอเดียของ OpenAI มาจากความกังวลของ Elon Musk และผองเพื่อนว่าบริษัทใหญ่ๆ จะทุ่มงบวิจัยด้าน AI จนก้าวหน้ามาก (และอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ในระยะยาว)