เป็นเรื่องสะเทือนวงการเทคโนโลยีไม่น้อย เมื่อรัฐบาลออสเตรเลียผ่านกฎหมายต้านการเข้ารหัส ผลของกฎหมายคือ บริษัทเทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งเว็บไซต์ที่ปฏิบัติการในออสเตรเลียต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่หากต้องแฮ็กเข้าอุปกรณ์ไอที ผังมัลแวร์เพื่อทำลายการเข้ารหัส เพื่อประโยชน์ต่อการสืบสวนคดี เท่านั้นยังไม่พอ กฎหมายระบุให้บริษัทห้ามเปิดเผยการทำลายการเข้ารหัสออกสู่สังคมด้วย
หากบริษัทปฏิเสธไม่ยอมทำตามจะเจอโทษปรับ 10 ล้านดอลลาร์ และ 5 หมื่นดอลลาร์สำหรับบุคคลที่ไม่ทำตาม ผู้ร่างกฎหมายบอกว่า กฎหมายฉบับนี้จะเจาะจงเฉพาะคดีร้ายแรงเช่น ก่อการร้าย ความผิดทางเพศ ยาเสพติด
ภาพจาก Shutterstock โดย Shuang Li
คำถามคือพื้นฐานของโลกเทคโนโลยีอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ การเข้ารหัส การผ่านกฎหมายนี้โดยรัฐบาล จะส่งผลกระทบต่อโลกอินเทอร์เน็ตมากขนาดไหน และจะรู้ได้อย่างไรว่ารัฐบาลเอาไปใช้ไขคดีร้ายแรงอย่างเดียว ไม่รวมคดีอื่นที่อาจมีความร้ายแรงน้อยลงมาเช่น การละเมิดลิขสิทธิ์
กฎหมายดังกล่าวได้รับการผลักดันมาตั้งแต่ปี 2017 Apple เคย ออกมาวิจารณ์กฎหมายนี้ ว่า คลุมเครือ อันตราย และส่งผลกระทบต่อชาวออสเตรเลีย และนี่ไม่ใช่เวลาที่จะมาบั่นทอนการเข้ารหัส แทนที่รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายกลับลดความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน และผลักอาชญากรให้ออกนอกพื้นที่
ที่มา - TechCrunch , ABC News , Ars Technica
Comments
มันจะสร้างปัญหาที่ใหญ่กว่าเนี่ยสิ โดยเฉพาะการจากรรมข้อมูล แฮคเกอร์ และจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง
ใครจะมั่นใจว่าจะถูกใช้เฉพาะคดีที่กล่าวมา ก็คล้าย FBI กับตารวจท้องที่มีปัญหากับ Apple เมื่อไม่กี่ปีนั่นแหละ ไม่นานก็ถูกใช้แบบจับฉ่าย ไม่ต่างอะไรกับ NSA
วิธีที่ดีที่สุดคือ ไม่ต้องยุ่งอะไรกับมันเลย แต่ต้องตื่นตัวและป้องกันอันตรายก่อนที่มันจะเกิดต่างหากที่สำคัญถ้าสุดโต่งเลยก็สร้าง Network ของตนเองไปเลย ไม่ต้องให้รัฐบาลมายุ่งหรือก้าวก่าย หรือไม่ต้องให้ใครมาดู ให้เราดูแลตนเองไป จบ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ระบบ digital signature จะพัง เพราะไม่สามารถเก็บรหัสลับให้ลับจริงได้ถ้าบริษัทที่ให้บริการในออสเตรเลียถูกขอให้ไขรหัสลับ (ซึ่งห้ามบอกคนอื่น) แล้วจะยังสามารถโฆษณาต่อประชาชนว่าระบบความลับของตนปลอดภัยได้ไหม จะถือว่าเป็นการหลอกลวงหรือว่าจะเป็นข้อยกเว้นให้โกหกได้ หรือต้องเงียบไป
การแพร่ข่าวไม่ดีของรัฐบาล ถึงเป็นความผิดร้ายแรงด้วยไหมครับ
ไม่น่าเชื่อว่าออสเตรเลียจะผ่านกฎหมายนี้ออกมา
That is the way things are.
คิดเหมือนกันเลยครับ
แค่กฎหมายแบนปืน BB ยังผ่านมาแล้วเลย โคตรปวดหัวเลยครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เห็นว่าตอนแรกที่จะออกกฏหมายนี้มา จะบังคับให้บริษัทไอทีทำ encryption backdoor จุดอ่อนแอในการเข้ารหัส ไว้ให้ 'คนดี' เข้าถึงข้อมูลได้ D:
บรรดาผู้เชี่ยวชาญสวน "มันไม่มีหรอก ประตูหลังที่ให้เฉพาะคนดีเข้านะ"
รัฐสภาก็เลยนำกฏหมายไปปรับปรุงใหม่ กลายออกมาแบบนี้ ซึ่งยังกะกฏหมายบ้านเรา เอาทุกอย่างให้มันคลุมเครือไว้ก่อน การตีความก็ไม่สามารถทำได้ชัดเจน พอสับสนงงงวยก็ตีคลุมรวมๆไป
ถ้ายอมให้มี backdoor ได้ยังไง hacker ก็หาทางเจาะได้
พอรัฐบาลตัวเองโดนแฮ็ค อย่ามาโทษกฏหมายฉบับนี้นะ 55