MIT เปิดตัวหุ่นยนต์เล่นเกม Jenga ซึ่งประกอบด้วยแขนกลสำหรับจับแท่งไม้, ส่วนสำหรับดันแท่งไม้ และกล้องภายนอกเพื่อประเมินสถานการณ์ของตัวต่อทั้งหมดที่วางอยู่
อธิบายแบบรวดเร็วสำหรับคนที่ไม่รู้จักเกม Jenga หรืออาจเคยเล่นแต่ไม่รู้ว่าเรียก Jenga มันคือเกมที่มีชิ้นท่อนไม้ 54 ชิ้น ต่อเรียงกันเป็นตึก ผู้เล่นผลัดกันดึงแท่งไม้ออกหนึ่งชิ้น แล้วไปวางไว้ด้านบนสุด โดยไม่ทำให้ตึกถล่มลงมา ใครทำถล่มคนนั้นแพ้
ขั้นตอนการทำงานของหุ่นยนต์นี้ จะประเมินว่าแท่งไม้ไหนที่ควรดึงออกมา โดยใช้แขนดันออกมาก่อน แล้วใช้แขนหนีบดึงชิ้นไม้ออกมา และสุดท้ายหามุมวางที่เหมาะสมไม่ให้ตึกถล่ม หุ่นยนต์มีการเรียนรู้ โดยหากไม้ชิ้นใดที่ดันแล้วรู้สึกว่าฝืดเกินไป ก็จะเลี่ยงไม่ดันชิ้นนั้น
Alberto Rodriguez อาจารย์ของ MIT อธิบายว่าเกม Jenga มีความซับซ้อนกว่าโกะหรือหมากรุก เพราะต้องใช้ทักษะทางกาย เช่น การประเมินสภาพ, การดึง, การดัน, การวาง และการจัดเรียง ซึ่งสถานการณ์เปลี่ยนได้ตลอดเวลาและมีตัวแปรที่ซับซ้อน ส่วนการต่อยอดเทคโนโลยีของหุ่นยนต์นี้สามารถใช้ในงานที่ต้องมีการสัมผัสหยิบจับวัตถุ แต่ก็ต้องการความละเอียดอ่อน เช่นการแยกชิ้นส่วนรีไซเคิล หรือการประกอบวัตถุบางประเภท
ที่มา: MIT ผ่าน Interesting Engineering
Comments
เกมโปรดเลย
เล่นTengaเก่งมากเลยอะ
ดะ เดี๋ยวนะ
นายคิดเหมือนกันใช่มั้ย, B1?
ตอนแรกไม่เข้าใจแต่พอไปเซิชเท่านั้นแหละ...
เหมือนมันโกงอยู่นะ เพราะถ้าจำไม่ผิดกฎกำหนดไว้ว่าถ้าแตะชิ้นไหนต้องดึงขิ้นนั้นออกมา จะเปลี่ยนชิ้นไม่ได้ครับ
ไม่นะครับ เปลี่ยนชิ้นได้
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ใน Wikipedia สามารถเปลี่ยนได้นะครับ แต่ต้องนำชิ้นที่ดึงหรือกดออกมากลับเข้าที่เสียก่อน ตามนี้ครับ
Only one hand should be used at a time when taking blocks from the tower.
Blocks may be bumped to find a loose block that will not disturb the rest of the tower.
Any block that is moved out of place must be returned to its original location before removing another block.
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
อันนี้น่าจะเป็นกฎไทย ตั้งกันเองนะครับ