ท่ามกลางการประมูลคลื่น 700Mhz ที่ใกล้เข้ามา รวมถึงคลื่นความถี่สำหรับ 5G ในอนาคต GSMA หรือสมาคม GSM ได้ออกเอกสาร " แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการประมูล " ก่อนการประมูลคลื่นในไทย รวมถึงเตือนด้วยว่า การจัดประมูลคลื่นความถี่ที่ไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผลเสียต่อผู้บริโภคโดยตรง
เอกสารข้างต้นได้แสดงข้อกังวลหลักๆ หลายข้อจากการประมูล 4G และ 5G ทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาจากการที่รัฐบาลต่างๆ บีบให้ราคาคลื่นความถี่สูงขึ้น หรือการตั้งราคาเริ่มต้นการประมูลที่สูงมาก สร้างความเสี่ยงในการจำกัดการลงทุนเพื่อขยายเครือข่ายในอนาคต ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภค การจำกัดจำนวนคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการสามารถมีได้ด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งสัดส่วน การคัดเลือกกลุ่มคลื่นความถี่สำหรับการประมูลที่ไม่เหมาะสม
ภาพจาก Shutterstock
ส่วนคำแนะนำเบื้องต้นได้แก่
- สิ่งที่สำคัญที่สุดในการประมูลคลื่นความถี่คือ การให้บริการเครือข่ายที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม ไม่ใช่การสร้างรายได้สูงสุดจากการประมูล
- การจัดสรรคลื่นความถี่มีวิธีการอื่นๆ นอกเหนือจากการประมูล ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม
- จัดสรรคลื่นความถี่ให้เพียงพอและให้มีจำนวนมาก และจัดทำแผน การจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อสนับสนุนการบริการเครือข่ายที่มีคุณภาพสูง การแบ่งคลื่นความถี่ไว้สำหรับอุตสาหกรรมเดียวกันหรือผู้ประกอบการรายใหม่อาจทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงคลื่นได้น้อยลง และก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้ราคาคลื่นความถี่สูงขึ้น
- การออกแบบการประมูลไม่ควรสร้างความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่ไม่จำเป็นให้กับผู้ร่วมประมูล
- การเลือกช่วงคลื่นความถี่สำหรับการประมูลที่ไม่เหมาะสม หรือกลุ่มคลื่นความถี่ที่ไม่ยืดหยุ่นจะทำให้เกิดการกระจายคลื่นความถี่ที่ไม่มีประสิทธิภาพ
Brett Tarnutzer หัวหน้าฝ่ายสเปคตรัม GSMA ชี้แนะว่าประเทศไทยต้องระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาดเหล่านี้ขึ้น และรัฐต้องไม่มุ่งแต่จะสร้างรายได้ให้สูงที่สุดจากการประมูล มากกว่าที่จะสนใจประโยชน์จากการใช้งานของรประชาชน
ทั้งนี้ GSMA เคยออกรายงานที่ชี้ด้วยว่า ไทยมีราคาเฉลี่ยคลื่นความถี่สูงติดอันดับโลก
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
Comments
พอคิดอย่างนี้ก็จริงนะครับ การสื่อสารจะได้ราคาสมเหตุผล แต่มองจากยอดประมูลล่าสุดกว่า 7หมื่นล้าน ค่าโทรศัพท์ + ค่าเน็ต บ้านเราก็ไม่ได้ถือว่าแพงนะ
แต่ถ้าจากยื่นประมูลเป็นเงิน ถ้าประมูลรูปแบบคล้ายๆ รถไฟฟ้าเชื่อม 3สนามบินละ แบบส่งสัญญาว่าจะให้อะไรรัฐบ้างเช่น แบ่งกำไรให้รัฐกี่ % ,อุปกรณ์ส่งสัญญาณจะให้รัฐเป็นเจ้าของด้วยกี่ % กี่ปีๆ ยกให้เป็นของรัฐเลย
ตอนนี้ยังไม่มีอะไร แต่เริ่มมีกระแสเน็ต unlimited ของทุกๆ ค่ายโดนยกเลิกหรือเอาออกจากบริการแล้วนะ แถมยังราคาเดิมและแพงขึ้นอีกต่างหาก
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ไม่มีใครรับประกันได้ว่าค่าสัมปทานที่ถูกลงจะทำให้ค่าบริการต่ำลง กำไรปีนึงเป็นพันเป็นหมื่นล้าน คือสิ่งที่บริษัทต้องการ บริษัทไม่ใช่องค์กรการกุศลซะหน่อย
เห็นด้วยเลย
ให้ลดๆๆๆๆค่าสัมปทาน อ้างคุณภาพชีวิตประชาชน
แต่มีอะไรรับรองเลยว่า ค่าสัมปทานถูกลงแล้ว คุณภาพชีวิตประชาชนจะดีขึ้น
ทั้งๆที่ ค่าสัมปทานที่รัฐได้ไป ก็ย้อนกลับมาหาประชาชนในรูปแบบอื่นอยู่ดี
แต่การลดค่าสัมปทาน จะขึ้นอยู่กับนายทุนแล้ว ว่าจะลดกำไรตัวเองลงมาหรือเปล่า
เหมือนอ้างคุณภาพชีวิตประชาชน แต่คนได้ประโยชน์คือนายทุน เลย
แล้วเท่าที่เคยอ่าน ประเทศตะวันตกทั้งๆไม่ได้ขึ้นชื่อว่า ค่าสัมปทานแพง
แต่ค่าโทรศัพท์/ค่าเน็ตมือถือ แพงกว่าบ้านเราซะอีก
ส่วนต่างหายไปไหนหนอ?
การลดค่าสัมปทานจะทำให้ต้นทุนต่ำลง ส่งผลให้มีคู่แข่งเพิ่มขึ้นครับ
พอมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น ผู้ให้บริการก็ไม่สามารถตั้งราคาที่สูงมากได้ เพราะจะโดนตัดราคา
เปรียบง่ายๆ ก็การบินไทยกับ low cost
อันนั้นคือในเคสว่ามีคู่แข่งเพิ่มขึ้นไงครับ ถ้ามีคู่แข่งเพิ่มประชาชนได้ประโยชน์แน่นอนครับ อันนั้นเห็นด้วย
แต่ในเคสที่ผ่านๆมาคือ ก็หน้าเดิมๆทั้งนั้น อย่างตอนประมูล 3G3 ใบ 3 ค่ายเดิม แทบจะไร้การแข่งขันในแง่การประมูลเลยนะครับ
ส่วนตลาด คุ่แข่ง 3 เจ้าเหมือนเดิม
ครับในความเห็นของผมได้คำนึงมุมมองธุรกิจไว้แล้วครับ
ถึงได้พิมพ์ความเห็นไปว่า "ถ้าให้แบ่งเงินให้รัฐ" กี่ % จากกำไรก็ว่าไป
ยิ่งเอกชนทำเงินได้สูง รัฐก็ได้ผลตอบแทนสูงตามไปด้วย
เดิมการประมูลสัญญา มันทำให้เครือข่ายเห็นค่าสัญญาเป็นต้นทุน เช่นสัญญาปัจจุบัน 7หมื่นล้าน 10ปี ผู้ให้บริการก็ต้องคิดแล้วว่า 10ปีนี้ ทำไงให้กำไร 7หมื่นล้านแต่กรณีนี้ยังดีที่เหมือน กสทช. จะมีกฏหมายคุมเพดานค่าบริการอยู่
แต่ถ้ามองกรณีแบ่งกำไรให้รัฐ ทางผู้ให้บริการจะได้ไม่ต้องมานั่งกดดันในการหาเงินเพื่อคืนทุนค่าสัญญาไงครับ
แบ่งจากกำไรก็คือภาษีปกติแหละครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
มีโอกาสสูงที่กำไรจะโดนโยกย้ายไปยังบริษัทในเครือซึ่งไม่มีข้อผูกมัดในสัญญาแทน
ตัวอย่างเช่น แค่ตั้งบริษัทในเครือเข้าร่วมประมูลแทนแล้วทำให้บริษัทนั้นพออยู่ได้แบบแทบไม่มีกำไรด้วยการปล่อยสัญญาณให้เช่าในราคาถูกให้กับบริษัทหลัก (ของแบบนี้สามารถตั้งเงื่อนไขราคาได้ตามใจชอบจากโวลุ่มการใช้งาน)
เงื่อนไขในใบอนุญาตคือต้องให้บริการเองครับ และใบอนุญาตคลื่นมีผลเป็นใบอนุญาตในอุปกรณ์ส่งทั้งหมดด้วย
I need healing.
สัญญาในสัมปทานไงครับที่จะรับประกันว่ามันจะถูกลง ก่อนร่างสัญญาก็ทำวิจัยให้เรียบร้อย
อ่าา คุณคือ rare item จริงๆครับ คนที่สนใจเรื่อง IT และเข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์ด้วย หาได้ยากมากๆผมอธิบายเรื่องพวกนี้จนขี้เกียจจะอธิบายละ
หากจะให้รัฐลดราคาค่าไลเซนส์ ส่วนที่ลดต้องนำมาเป็นค่าลดหย่อนให้ผู้ใช้ด้วย
มีข้อเท็จจริงหลังจากรัฐประมูล 4G แม้แพงมาก แพงเป็นประวัติศาสตร์ชาติไทยที่รัฐได้ค่าสัมปทานมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน (รัฐบาลเผด็จการนะเนี่ย) เป็นแสนล้านบาท คือ
กำไรของค่ายมือถือ ยังมีอยู่ละเยอะเหมือนเดิม
ราคามือถือ และโปรโมชั่นก็ใกล้เคียงของเดิม ตอนมี 3G
+1
GSM เป็นใครอ่ะ? ทำไมอยู่ดีดีถึงออกมาเดือดร้อนแทน? ITU ยังไม่เดือดร้อนเลย...แล้วทำไมต้องออกมาเตือนช่วงเวลานี้ด้วย? แล้วยิ่งออกมาคอมเมนต์ถึงประเทศไทยด้วย
แล้วตอนประมูลคลื่น 900 MHz ก็ไม่ได้มีใครไปบังคับให้กดประมูลนี่?? ตอนนั้นกดก็กดกันเอง แล้วมาเดือดร้อนทีหลัง...ให้ช่วยยึดเวลาจ่ายเงินแถมรัฐบาลพ่อพระให้กู้ดอกเบี้ยถูกกว่าธนาคารพาณิชย์ซะอีก เฮ้อ...
GSMA เป็นสมาคมผู้ให้บริการเครือข่ายที่ operator ในไทยก็เป็นสมาชิกอยู่ ดังนั้นหน่วยงานนี้มี action ออกมาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ให้บริการก็เป็นหน้าที่ของเขาอยู่แล้วนะครับ
คือไม่ว่าจะมีนัยทางการเมืองหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ คือประเทศไทยมีปัญหาด้านราคาประมูลคลื่นจริงๆ เพราะราคามันสุดโต่งไปมากเลย และมันจะมีผลกระทบตามมาทั้งผู้ให้บริการและผู้บริโภคเอง แถมที่ออกข่าวมาในเวลานี้เพราะใกล้ช่วงเวลาที่ไทยกำลังประมูลคลื่นใหม่ด้วย ดังนั้นผมว่าไม่ได้มีนัยอะไรเป็นพิเศษหรอกครับ
ส่วนเรื่องประมูลคลื่น 900MHz ก็เป็นภาวะจำยอมมากกว่า ถึงไม่มีใครบังคับให้กดประมูล แต่ด้วยความจำเป็นทางธุรกิจเพราะสิทธิ์ในคลื่นถือเป็นหัวใจของธุรกิจคมนาคม ถึงรู้ตัวว่าจะแพงเกินจริงก็ต้องกัดฟันกดมา เพราะถ้าไม่ได้มาธุรกิจก็จะเป๋ไปเลยแบบที่เกิดกับ dtac
ผมว่าที่รัฐต้องออกมาช่วยเพราะ 1) ธุรกิจผู้ให้บริการมือถือมันเป็นการให้บริการสาธารณะอยู่แล้ว ถ้ามีปัญหาทางธุรกิจขึ้นมาก็ต้องกระทบกับประชาชนจำนวนมาก 2) รัฐอยากให้เอกชนเข้าประมูลคลื่น 700 กันอยู่แล้วเพราะจะได้ทั้งการเอาคลื่นที่ว่างออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชน และรัฐยังได้เงินประมูลด้วย แต่ถ้าเอกชนยังร่อแร่ไม่มีเงินมาประมูลแบบนี้ ยิ่งจะมีแต่เสียโอกาสในหลายๆ ด้านครับ ดังนั้นการที่รัฐยอมให้ยืดเวลาจ่ายเงินแถมให้ดอกเบี้ยถูก ถึงรัฐจะเสียประโยชน์เล็กน้อยแต่ก็แลกมากับการที่รัฐและประชาชนจะได้ประโยชน์มากกว่าในระยะยาวนะครับ
ปล. ผมอยากวิจัยแนวคิดของคนไทยเหมือนกันนะ ที่ค่านิยมของคนส่วนใหญ่จะไม่ยอมเสียเล็กเสียน้อยเพื่อแลกผลประโยชน์ที่ใหญ่กว่าในระยะยาว เช่น การขายของต่ำกว่าต้นทุน การยอมเข้าเนื้อตัวเอง เป็นต้น คนไทยส่วนใหญ่จะไม่ยอมเลย ค้าขายยังไงก็ต้องให้ได้กำไรเป็นตัวตั้งเท่านั้น ไม่ค่อยหวังผลไกล ในขณะที่ทุนต่างชาติยอมทุ่มตลาดด้วยหวังผลในระยะยาว ด้วยเหตุนี้หลายๆ ธุรกิจของไทยเลยแข่งขันสู้ทุนต่างชาติไม่ได้ เช่น ห้าง tesco lotus vs ร้านค้าปลีก / airasia vs สายการบินโลว์คอสของไทย / grab vs รถสาธารณะของไทย ฯลฯ
ย่อหน้าสุดท้ายอย่าลืมนึกถึง บ.ข้ามชาติที่มาเจ๊งในไทยมากมายด้วย ทำที่ไหนๆ ก็มีกำไร เจอพี่ไทยเข้าไปถึงกับน้ำตาไหลเป็นปี๊บเลย ผู้บริโภคแต่ละที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน ถ้าใช้ตรรกะเดียวกันมองแบบตะวันตกก็ตายอย่างเดียวนะครับ
ทุกวันนี้ค้าปลีกไทยๆ ไม่กลัวโลตัส เท่ากับกลัว 7-11 หรอกหนาครับ
รัฐมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือ และความเชื่อใจ
ในความจริงก็ยังอ่อนเรื่องการสื่อสารว่าผลประโยชน์ที่ใหญ่กว่าคืออะไร ประชาชนไม่ค่อยจะได้รู้ พอได้รู้ก็ไม่เชื่อใจว่าอาจเป็นแค่ข้ออ้าง
ที่สำคัญคือคนไทยจำนวนมากยังมักง่าย ซึ่งก็รวมถึงฝ่ายบริหารประเทศด้วย ที่ไม่ได้มีความพยายามให้เต็มที่เพื่อให้ลดความสูญเสียให้มากที่สุด
รัฐบาลจะออกแนว ปล่อยก็ปล่อยเลยแต่ถึงเวลาแข็งก็ห้ามแบบหักคอเด็ดขาด ไม่มีความพยายามจะบาลานซ์ใดๆ พอถึงบทจะทำเพื่อประเทศก็เอามักง่าย หักคอจนเกิดการต่อต้าน
ทุกวันนี้ก็ออกแนวปล่อยเละเทะมากกว่า ใครมือยาวสาวได้สาวเอา
อันนี้ผมเห็นด้วย ในฐานะผู้บริโภค ผมไม่สนว่าประมูลได้เท่าไหร่ผมสนแค่ว่ามันทำให้ Player มีทรัพยากร(BW) ที่สมน้ำสมเนื้อ แข่งขันกันได้
ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากการแข่งขัน ส่วนค่าประมูลจะถูกผลักไปที่ค่าบริการอีกทีผมเชื่อว่ากำไรผู้ให้บริการ อยู่ที่การแข่งขันล้วนๆ ครับ
GSMA ควรออกมาเตือนประเด็นนี้มากกว่าhttps://www.blognone.com/node/109037
คลื่นมันไม่มีตัวตนเจ้าของน่าจะเป็นของประชาชนที่ใช้งานสิ ไม่ได้สร้างคลื่นขึ้นมามีหน้าที่แค่จัดสรรแต่ทำตัวเป็นเจ้าของคิดราคามหาแพง
คลื่นไม่ได้สร้าง แต่ก็มีช่วงคลื่นการใช้งานที่จำกัด
ฉะนั้นคลื่นเป็นทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด
ถ้าปล่อยเสรี รับรองเละ คลื่นชนกันกระจาย ไม่มีใครการันตีความเสถียรของการสื่อสารได้เลย เหมือนปล่อย Hotspot WiFi 2.4 GHz ในห้างใหญ่
Norway ประมูลคลื่น 700 ไปราว ๆ 6-700ล้านบาท 10MHzx2http://www.adslthailand.com/post/5612
Norway เป็นประเทศที่เนตมือถือ เร็วอันดับต้น ๆ ของโลกเลย อาจจะเพราะเหตุนี้รึเปล่า
ใช้เยอะจ่ายเยอะถูกต้องแล้ว
คนที่เขาไม่มีมือถือ ไม่ีปัญญาจ่ายค่าอินเตอร์เน็ตมีเยอะแยะ ค่ากินอยู่ไปวันๆยังไม่มี เขาก็ประชาชนคนไทยเจ้าของคลื่นเหมือนกันรัฐได้เงินเยอะก็มาช่วยคนจนๆ บ้าง
ประเทศยังหนี้ที่ต้องจ่ายอีกบานตะเกียง
ของรประชาชน => ของประชาชน
กรรมสิทธิ์