กสทช.
กสทช. กระทรวง DE, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับ AIS, True และ NT ได้ทดสอบระบบการแจ้งเตือนฉุกเฉิน (Cell Broadcast) ที่จังหวัดภูเก็ต
ในแง่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบในกระบวนการแจ้งเตือน จะเริ่มจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเตือน จะแจ้งภัยพิบัติไปยัง Cell Broadcast Entities (CBE) ที่เป็นศูนย์บริหารกลางของภาครัฐ ซึ่งเป็นคนเลือกพื้นที่ที่จะแจ้งเตือน (โอเปอเรเตอร์เป็นคนส่ง parameter ของ cell site ที่แบ่งตามพื้นที่เอาไว้ให้) และส่งข้อความแจ้งเตือนต่อไปยัง ผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งหมดผ่าน Cell Broadcast Center (CBC) อีกที
หลัง กสทช. เปิดตัวระบบ Mobile ID ใช้เบอร์มือถือเป็นการยืนยันตัวตนแทนบัตรประชาชนมาเกือบๆ 3 ปี ปรากฎว่ามีผู้ลงทะเบียนเพียง 150,000 รายเท่านั้น
ทำให้ กสทช. จัดประกวด Mobile ID Innovation Award เพื่อหานวัตกรรมที่จะช่วยกระตุ้นการใช้งาน Mobile ID ให้มากขึ้น โดยผู้ชนะคือบริษัท นายเน็ต จำกัด ที่ดูแลระบบหลังบ้านของคลินิกทันตกรรมกว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศและ ให้เชื่อมต่อกับระบบ Mobile ID รวมถึงพัฒนาระบบ Mobile Hotel สำหรับโรงแรมที่ลงทะเบียนเข้าร่วม จะสามารถตรวจสอบผู้เข้าพักได้ทันทีจากเบอร์โทรศัพท์
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เริ่มส่งข้อความ SMS แจ้งเตือนภัยธรรมชาติฉุกเฉิน ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และ กสทช.
ข้อความแจ้งเตือนจะใช้ชื่อผู้ส่งว่า DDPM ซึ่งย่อมาจาก Department of Disaster Prevention and Mitigation ซึ่งเป็นชื่อภาษาอังกฤษของ ปภ. โดยผู้ตัดสินใจส่งการแจ้งเตือนคือ ปภ. ก่อนส่งต่อให้ True กระจายข้อความให้ ข้อความเตือนมี 2 รูปแบบคือ แจ้งเตือนล่วงหน้า 12-24 ชั่วโมง และแจ้งเตือนฉุกเฉิน 6-12 ชั่วโมง
ข้อความชุดแรกที่ส่งไปแล้วคือ ข้อความแจ้งเตือนแม่น้ำวังล้นตลิ่ง ในพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เตรียมพร้อมรับมือได้อย่างทันท่วงที
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
จากที่มีข่าวช่วงสุดสัปดาห์ว่า กสทช. มีคำสั่งไม่ให้ธนาคารให้บริการโมบายแบงค์กิ้งกับเบอร์โทรศัพท์ที่ชื่อไม่ตรงกับบัญชี เพื่อแก้ปัญหาบัญชีม้า โดยจะเริ่มใช้งานทันทีวันนี้ (27 พ.ค.) เมื่อเช้าที่ผ่านมา กสทช. ชี้แจงว่า 27 พ.ค. ระบบโมบายแบงค์กิ้งยังใช้งานได้ตามปกติเหมือนเดิม ตอนนี้ยังเป็นแค่ขั้นตอนการดำเนินงาน
กสทช. ระบุว่า นโยบายนี้จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ปปง. และธนาคาร โดยมี กสทช. เป็นตัวกลาง โดยขั้นตอนคือ ธนาคารจะรวบรวมบัญชีพร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่ผูกกับโมบายแบงค์กิ้ง แล้วส่งให้ ปปง. จากนั้น ปปง. จะส่งต่อให้ กสทช. เพื่อแยกเครือข่าย ก่อนประสานไปยังโอเปอเรเตอร์อีกครั้ง แล้วส่งกลับ
ขณะที่การพิจารณาการเปิดใช้งานบัญชีประเภทต่างๆ ที่กำลังกังวลกันบนโลกออนไลน์ กสทช. ระบุว่าจะเป็นดุลยพินิจของธนาคารให้การยกเว้น เช่น เปิดให้กับบุตรหลาน หรือพ่อแม่สูงอายุ หรือกระทั่งเบอร์องค์กรที่แสดงตัวตนได้ชัดเจน
ที่มา - กสทช.
กสทช. ร่วมมือกับ AIS เปิดตัวระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ Cell Broadcast Service (CBS) เจาะจงพื้นที่เหตุด่วนเหตุร้ายทันที พร้อมเชื่อมต่อศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ แจ้งเตือนส่งข้อความเข้ามือถือทุกเครื่องที่อยู่ในพื้นที่เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรง, กราดยิง และภัยพิบัติธรรมชาติ
กสทช. ออกมาตรการกำหนดให้ผู้ถือครองซิมจำนวนมาก (6 เลขหมายขึ้นไป) ต้องยืนยันตัวตนและให้ข้อมูลการใช้บริการกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2567 เป็นต้นไป รายละเอียดสำคัญระบุว่า
- ผู้ที่ถือครองซิมการ์ด ตั้งแต่ 6-100 หมายเลข ให้ยืนยันตัวตนภายใน 180 วัน
- ผู้ที่ถือครองซิมการ์ด 101 หมายเลข ขึ้นไป ให้ยืนยันตัวตนภายใน 30 วัน
หากไม่ยืนยันตัวตนในระยะเวลาที่กำหนด จะถูกพักใช้งานทั้งโทรออกและอินเทอร์เน็ต (ยกเว้นโทรเบอร์ฉุกเฉิน) หลังจากนั้น 30 วัน ถ้าไม่มีการยืนยันตัวตน จะถูกเพิกถอนการใช้เบอร์ของซิมการ์ดในครอบครองทั้งหมด
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมา บอร์ด กสทช. ได้อนุมัติให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ทดลองใช้อินเทอร์เน็ตจากดาวเทียมผ่านเครือข่าย Starlink ที่เป็นของ SpaceX ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่จะได้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตดังกล่าว
สำหรับคลื่นที่ได้รับอนุมัติเป็น Ku Band โดยขา uplink ใช้คลื่นย่าน 14-14.5 GHz และขา downlink ใช้ย่าน 10.7-12.7 GHz มีเป้าหมายคือการทดลองสนับสนุนภารกิจค้นหาผู้ประสบภัยทางเรือและภารกิจอื่นในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีเครือข่ายภาคพื้นดินไปถึง และมีระยะเวลาทดลอง 6 เดือน
ที่ประชุมบอร์ด กสทช. วันนี้ลงมติอนุญาต ดีลควบรวมกิจการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ระหว่างบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ AIS กับบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 3BB โดยบอร์ด กสทช. 4 เสียง อนุญาตให้ควบรวมกิจการ 1 เสียง งดออกเสียง และอีก 2 เสียง แสดงความเห็นรับทราบเท่านั้น
ขั้นตอนถัดไปคือการกำหนดมาตรการกำกับดูแลการควบรวมกิจการ รวมทั้งห้ามรวมเป็นแบรนด์เดียวกันในระยะเวลา 3 ปี ลดราคาขั้นต่ำลง 12% และเพิ่มมาตรการดูแลผู้บริโภคหลังการควบรวม
ผลจากการควบรวมนี้จะทำให้ AIS มีฐานลูกค้าอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์รวมกับ 3BB เป็น 4.69 ล้านครัวเรือน ขึ้นมามีส่วนแบ่งเป็นอันดับ 1 จากเดิมเป็นของ True ซึ่งมี 3.8 ล้านครัวเรือน
กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ร่วมกับ กสทช. และ AIS แถลงข่าวการจับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในกรุงเทพ ที่แอบติดตั้งกล่อง Sim Box ที่หนึ่งกล่องบรรจุซิมการ์ดจำนวนมาก ตามบริเวณอาคารสำนักงานต่างๆ เพื่อใช้เป็นจุดโทรไปหลอกลวงประชาชน
กล่อง Sim Box หรือ GSM Gateways ที่จับกุมได้รองรับการใส่ซิมการ์ด 32 ซิมต่อกล่อง กระจายตัวอยู่ 5 จุดทั่วกรุงเทพ รวมแล้ว 10 กล่อง วิธีการใช้งานคือคนร้ายจะโทรผ่านอินเทอร์เน็ต ส่งทราฟฟิกมายัง Sim Box เพื่อให้ฝั่งผู้รับเห็นเป็นเบอร์โทรศัพท์ปกติ (ไม่ใช่หมายเลข IP Phone ที่มี prefix นำหน้า ซึ่งคนเริ่มเรียนรู้และไม่กล้ารับสายแล้ว)
ที่ประชุม กสทช. เห็นชอบให้คลื่นย่าน 5.925-6.425GHz เป็นคลื่นความถี่ที่อนุญาตให้มีการใช้งานเป็นการทั่วไป (unlicensed) ซึ่งจะเป็นรูปแบบเดียวกับคลื่นความถี่ที่ใช้งานได้อิสระอื่นๆ เช่นเดียวกับ Wi-Fi ในทุกวันนี้
Wi-Fi 6E เริ่มต้นเมื่อปี 2020 หลังกสทช. สหรัฐฯ (FCC) ประกาศปล่อยคลื่นย่าน 6GHz (5.925-7.125 GHz) ซึ่งกว้างถึง 1.2GHz สามารถใช้งานแบนวิดท์ได้มากหรือใช้งานกับพื้นที่ที่มีผู้ใช้จำนวนมากๆ
วันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา ที่ประชุม กสทช. นัดพิเศษ ครั้งที่ 7/2566 ได้พิจารณาเห็นควรร่างประกาศยกเลิกประกาศของกสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ทั่วไป พ.ศ. 2555 หรือประกาศ Must Have
ประกาศ Must Have กำหนดให้รายการกีฬา 7 ประเภท ได้แก่ ซีเกมส์ อาเซียนพาราเกมส์ เอเชียนเกมส์ เอเชียนพาราเกมส์ โอลิมปิก พาราลิมปิก ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย หากมีการนำมาเผยแพร่ต้องเผยแพร่ผ่านทางโทรทัศน์ที่เป็นบริการทั่วไปก่อน แล้วจึงจะไปออกอากาศผ่านระบบดาวเทียม เคเบิล และ IPTV ได้ภายใต้กฎ Must Carry
หลังจาก สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ออกมาตรการบังคับให้มีการยืนยันตัวตนก่อนฝากเงินในเครื่องรับฝากอัตโนมัติ จนกระทั่งผู้ใช้ต้องมีบัตรเดบิตของธนาคารจึงใช้งานได้ ล่าสุด ปปง. และธนาคารแห่งประเทศไทยก็ปรับมาตรการ เป็นการยืนยันตัวตนผ่าน OTP ของโทรศัพท์มือถือโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
มาตรการใหม่นี้ผู้ใช้จะต้องกรอกหมายเลขบัตรประชาชน และหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่หน้าเครื่อง จากนั้นรอรับ OTP เพื่อยืนยันตัวตนก่อนฝากเงิน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เนื่องจากกสทช.และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ทุกรายได้การสนับสนุน
มาตรการนี้เริ่มวันที่ 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป
ศาสตราจารย์พิรงรอง รามสูต หนึ่งใน กสทช. เสียงข้างน้อย ในกรณีควบรวม DTAC/True โพสต์แสดงความเห็นของตัวเองผ่าน Facebook โดยให้เหตุผล 7 ข้อที่ยืนยันว่าไม่ควรอนุญาตให้เกิดการควบรวม
เหตุผลหลักๆ คือการแข่งขันในตลาดจะลดลง เหลือผู้เล่นรายใหญ่แค่ 2 ราย และเงื่อนไขการบรรเทาผลกระทบที่ออกมา ไม่น่าจะช่วยเพิ่มระดับของการแข่งขันในตลาดได้
ที่มา - Facebook Pirongrong Ramasoota
กสทช. ลงมติรับทราบการควบรวมระหว่าง DTAC และ True พร้อมกับระบุมาตรฐานควบคุมหลังควบรวมแล้วให้ลดราคาค่าบริการโดยเฉลี่ยลง
การออกเสียงครั้งนี้ครั้งแรกออกเสียงเท่ากัน 2 ต่อ 2 โดยงดออกเสียงหนึ่งเสียง ทำให้ประธานกสทช. มีอำนาจออกเสียงชี้ขาดอีกรอบกลายเป็น 3 ต่อ 2
นอกจากการรับทราบแล้ว ทางกสทช. ก็ระบุเงื่อนไขต่างๆ หลังการควบรวม ได้แก่ การกำหนดค่าบริการที่ต้องต่ำลงโดยเฉลี่ย การควบคุมต้นทุนที่ต้องมีการตรวจสอบ โดยทั้งสองบริษัทต้องให้บริการแยกแบรนด์กันไปอีก 3 ปี นอกจากนี้ทั้งสองบริษัทจะต้องไม่ลดจำนวนเสาสัญญาณ
ที่มา - Brand Inside
บอร์ด กสทช. ประกาศมีมติขอประเมินผลกระทบการควบรวมกิจการของ True-dtac เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างการรวมธุรกิจของบริษัทใหม่ ผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาด การถือครองคลื่นความถี่ การลดอัตราค่าบริการ และการส่งเสริม MVNO อย่างเป็นรูปธรรม ก่อนจะลงมติต่อไปและยืนยันว่าจะพยายามไม่ให้ยืดเยื้อ
ประเทศไทยมีสถานีทีวีดิจิทัลช่องใหม่แล้ว หลัง กสทช. เห็นชอบให้ใบอนุญาตกับ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท) หรือ Thai PBS เปิดช่องการศึกษา ALTV ทีวีเรียนสนุก โดยให้เลขช่องเป็นช่อง 4 (ช่องหลักของ Thai PBS คือช่อง 3)
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าโปรดเกล้าแต่งตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ชุดใหม่แล้ว
ภายใต้ พ.ร.บ.กสทช. ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2560 กำหนดให้มี กสทช. จำนวน 7 คน (จากฉบับเก่า พ.ศ. 2553 ที่ให้มี 11 คน) แต่ในกระบวนการสรรหาของวุฒิสภา มีผู้ที่ผ่านคุณสมบัติจำนวน 5 คน (อีก 2 คนที่มีประเด็นคุณสมบัติ ยังต้องดูว่าจะสรรหาใหม่หรือไม่) ได้แก่
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์บนเฟสบุ๊กเพจของตัวเองว่า กสทช. ไม่มีอำนาจในการอนุมัติการควบรวมกิจการระหว่าง บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ True และ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ dtac เพราะทำธุรกิจคนละประเภทกัน
อ้างอิงจาก ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2561 พบว่า มีการแก้ไขเปลี่ยนจากระบบอนุญาต ไปเป็นระบบรายงาน ทำให้ กสทช. เหลือเพียงอำนาจในการออกเงื่อนไข หรือมาตรการเฉพาะในกรณีที่เกิดความเสียหายกับส่วนรวม
กสทช. เปิดตัว Mobile ID การใช้เบอร์มือถือเป็นการยืนยันตัวตนแทนบัตรประชาชน โดยใช้หลักการที่ว่าประชาชนยืนยันตัวตนตอนลงทะเบียนซิมการ์ดอยู่แล้ว จึงสามารถใช้เบอร์มือถือเพื่อยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้
ขั้นตอนคือ ผู้ใช้บริการต้องสมัคร Mobile ID ที่ศูนย์บริการของเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้งาน (ใช้ได้ทั้ง AIS, dtac, True, NT) โดยแสดงบัตรประชาชนแต่เจ้าหน้าที่ และถ่ายภาพใบหน้าเพื่อเปรียบเทียบพิสูจน์ตัวตนก่อน
จากประเด็นผู้บริโภคร้องเรียนเรื่อง SMS หลอกให้กด SMS จากเว็บพนันออนไลน์ ล่าสุด ทาง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้เชิญโอเปอเรเตอร์ AIS TRUE DTAC NT และ 3BB มาประชุมหาทางแก้ปัญหา
พร้อมทั้งกำชับโอเปอเรเตอร์ให้บล็อก SMS ที่มีเนื้อหาชัดเจนว่าเป็นการหลอกลวง เว็บพนันออนไลน์ หรือลามกอนาจาร ทันที และระหว่างโอเปอเรเตอร์ จะกำหนดให้มีการแชร์ข้อมูล SMS หลอกลวงระหว่างกัน สร้างเป็น Blacklist เพื่อให้ทุกค่ายดำเนินการบล็อก SMS จากผู้ส่งรายเดียวกันได้
จากประเด็นประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากข้อความ SMS ส่งเข้ามาหลอกให้คลิก โดยใช้ข้อความเชิงว่า “เงินเดือน 1,000 บาท โอนเข้าบัญชีเรียบร้อย” “คุณถอนเงินสำเร็จแล้ว 1,000 บาท” “เครดิตของคุณดีและคุณมีสิทธิ์ได้รับ 300,000” ล่าสุด มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นำโดย นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค จี้ กสทช. ให้เอาผิดค่ายมือถือฐานปล่อยให้มีข้อความจำพวกนี้ส่งมา
จากประเด็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกข้อกำหนดฉบับที่ 29 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ให้อำนาจ กสทช. สามารถตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของสำนักข่าว หากมีการเสนอข่าวที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร จนภาคประชาชน สื่อมวลชนเข้ายื่นฟ้อง พล.อ. ประยุทธ์ ที่ออกคำสั่งขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
ล่าสุดวันที่ 6 ส.ค. ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามนายกรัฐมนตรีบังคับใช้ข้อกำหนด ห้ามเสนอข่าวที่ทำให้ประชาชนหวาดกลัว จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ นายกฯไม่มีอำนาจระงับอินเทอร์เน็ตระหว่างการคุ้มครองนี้
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 13/2564 ตั้ง "ศูนย์ปฎิบัติการด้านการแก้ไขสถาณการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสื่อสารในอินเทอร์เน็ต" ภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์ฉุกเฉินการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โดยให้เลขาธิการ กสทช. เป็นหัวหน้าศูนย์
โครงสร้างของ ศบค. เมื่อตั้งครั้งแรกมีศูนย์ย่อยภายใต้ ศบค. อยู่ 8 ศูนย์ โดยมี ศูนย์ปฎิบัติการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และสื่อสังคมออนไลน์ อยู่ด้วย และ ปลายปี 2020 จึงมีการปรับโครงสร้างเหลือ 6 ศูนย์ และตัดหน่วยงานด้านอินเทอร์เน็ตออกไป
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 29 ห้ามไม่ให้เสนอข่าว "ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน"
คำสั่งระบุให้ กสทช. ต้องสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกราย ตรวจสอบหมายเลขไอพีผู้เสนอข่าวหรือข้อความดังกล่าว และให้ตัดอินเทอร์เน็ตทันที แล้วจึงแจ้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อดำเนินคดีต่อไป
ที่มา - ราชกิจจานุเบกษา
นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประกาศเพิ่มมาตรการ สนับสนุนแพ็กเกจอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษา นักเรียนระดับ ปวช. และการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในวงเงิน 1,200 ล้านบาท ดังนี้
การใช้งานอินเตอร์เน็ตมือถือให้ใช้งานไม่จำกัดสำหรับแอปพลิเคชันเพื่อการเรียน คือ Microsoft Teams, Google Meet, Zoom, Cisco Meeting, Webex และ Line Chat ส่วนอินเตอร์เน็ตบ้าน ทางกสทช.จะสนับสนุนค่าอินเตอร์เน็ตให้เดือนละ 79 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จำนวน 2 รอบบิล