เลโก้เปิดตัวสินค้าใหม่ในชุด Star Wars โดยคราวนี้เป็นชุดยาน Imperial Star Destroyer ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนเลโก้ถึง 4,784 ชิ้น มากที่สุดในบรรดาชุด Star Wars ที่เคยจำหน่าย ในชุดยังประกอบด้วยยาน Tantive IV ซึ่งสามารถต่อแยกและประกอบรวมกับตัวยานได้ด้วย
เมื่อประกอบเลโก้เสร็จแล้ว ยังมีขาตั้งพร้อมป้ายแสดงข้อมูลสำหรับการวางโชว์ โดยขนาดยานเมื่อประกอบเสร็จจะสูง 44 เซนติเมตร (รวมฐาน) ยาว 110 เซนติเมตร และกว้าง 66 เซนติเมตร
ราคาขายอยู่ที่ 700 ดอลลาร์ หรือราว 21,000 บาท มี จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์
ที่มา: Engadget
You're going to need more shelf space… #LEGOStarWars @starwars pic.twitter.com/PeI0vsWj9A
— LEGO (@LEGO_Group) September 5, 2019
Comments
ซื้อเลหลังมา 400 กว่าบาทเอง.
พ่อบ้านใจกล้า
บอก 400 กว่าๆก็พอครับอย่าบอกว่าบาท
บอกราคาจริงไปครับ 700 เอง จับได้ค่อยบอกว่า 700 USD
ตัวเอง เค้าขายให้ลูกเพื่อนไปสองพัน กำไรตั้งพันสาม
แอ่แฮ่
ไม่รู้เข้าไทยนี่บวกไปอีกเท่าไหร่
ถ้ารู้สึกว่าแพงไป Lepin ช่วยท่านได้
ผมเคยลองละ แบบแค่อยากต่อให้หายอยาก
แต่สรุปว่า ต่อแล้วหัวร้อนมาก พวกชิ้นส่วนมันเหมือนไม่ค่อยเกาะกัน ต่อๆ อยู่บางทีก็หลุดกระจายเลย
มันคือของก๊อปละเมิดลิขสิทธิ์ โรงงานในจีนก็เพิ่งถูกตำรวจบุกไป
ชิ้นส่วนคุณภาพแย่ บางทีให้มาไม่ครบ แถมต่อติดบ้างไม่ติดบ้าง (ไม่เคยต่อเอง แต่เห็นคนรีวิวแบบนี้ไว้เยอะ)
ผมเคยซื้อมาต่อทีละ หายอยากเลย ปวดหัว ปวดหลังแทนฮาฮา
ยังรู้สึกว่าอยากได้ Model แบบ Bandai ทำมากกว่านะทำคู่กับ Super Star Destroyer จะเท่มาก
ยาน Imperial Star Destroyer ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนเลโก้ถึง 4,784 ชิ้น มากที่สุดในบรรดาชุด Star Wars ที่เคยจำหน่าย => มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ครับ
อันดับ 1 คือ UCS Millennium Falcon - 75192 มีจำนวนชิ้น 7541 ชิ้น แถมราคาแพงกว่าลำนี้ 100usd ด้วย
ราคาและที่วาง ไม่มีทั้งคู่
แพงกว่า Lego Technic อีก...
Coder | Designer | Thinker | Blogger
แถมปวดหลังอีก
//นั่งประกอบซีรีส์ Speed Champions ต่อไป
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ข่าวต่อไป Lego แถม counter pain ครับ
-__-
เฆี่ยนตี
ขอถามใครที่พอจะทราบหน่อยครับ ทำไม Lego ถึงแพงมากครับ
ลองอ่านกระทู้นี้ครับ http://www.thaibrickclub.com/forum/index.php?topic=54.0
ยังไม่ได้อ่าน แต่ขอบคุณครับ เดี๋ยวจะมาอ่าน
หลัก ๆ ก็
1. ค่าจ้างดีไซน์เนอร์ในการออกแบบแต่ละชุด เช่นซีรีส์ Architecture ก็ลงทุนจ้างอดีตสถาปนิกจริง ๆ มาออกแบบเลโก้ให้เหมือนสถานที่จริงมากที่สุด2. ค่าลิขสิทธิ์จากแฟรนไชส์หนังและเกมทั้งหลาย
3. ค่ากระบวนการควบคุมการผลิต เช่น การปั๊มพลาสติกชิ้นส่วนออกมาให้เท่ากันเป๊ะ ๆ ทุกชิ้น (ผิดพลาดไม่เกิน 0.0265 มิลลิเมตร) การตรวจชิ้นส่วนแต่ละชิ้นว่าได้สีตรงตามสเปค การตรวจว่าแต่ละกล่องใส่ชิ้นส่วนลงไปครบตามที่ต้องใช้จริง ๆ ฯลฯ