การแชร์รหัสผ่านบริการสตรีมมิ่งให้คนอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัวเป็นพฤติกรรมปกติ แต่ก็ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมนี้ของผู้ใช้งาน ไม่ส่งผลดีต่อรายได้บริษัทสตรีมมิ่ง
บริษัทวิจัยข้อมูล Parks Associates เผยว่า การแชร์รหัสผ่านสตรีมมิ่งร่วมกัน การเอารหัสผ่านไปขายต่อ ทำให้อุตสาหกรรมสตรีมมิ่งเสียรายได้ที่ควรจะได้ไปถึง 9.1 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2019 และจะสูงถึง 12.5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2024
งานวิจัยจาก Hub Entertainment Research พบว่าร้อยละ 31 ของผู้ใช้งานสตรีมมิ่งทั้งหมด ให้รหัสผ่านแก่คนอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัว และเป็นพฤติกรรมกระจุกอยู่ในกลุ่มผู้ใช้ช่วงอายุ 13-24 ปี
คาดว่าสตรีมมิ่งแต่ละรายก็รู้ปัญหา แต่การปรับนโยบายห้ามแชร์รหัสก็เสี่ยงว่าผู้ใช้งานจะหายไป
ภาพจาก Shutterstock
ที่มา - Hollywood Reporter
Comments
หวังว่า จะไม่มีการเช็ค Location ของคน login นะว่า ต้องเคยเปิดดูในระแวกเดียวกัน
มันแปลว่าผู้ใช้บางกลุ่มไม่สะดวกจะจ่ายในราคาเต็ม ถ้าไม่มีแพลนลด เช่น Student plan แล้วเช็คโลเคชั่นก็ลูกค้าหายชัวร์ สู้ทำแบบนี้ดีกว่า
blog
ยังไม่ผูกขาดตลาดก็ใจดีไปก่อน
แชร์นี่หมายถึง ที่หารกันสี่คน
หรือให้ยืม user pass ไปดู
หรือทั้งสองอย่างครับ?
หาร3-4 จ่ายกับเพื่อน เดือนละ100
ถ้าคนละ300ไม่เอา และ เพื่อนอีก3คนก็เลิกสมัคร
พวกน้องที่ได้ยินก็ประมาณนี้
ออกโปรตัวสูงสุดสำหรับดูคนเดียว ในราคาที่ควรจะเป็นจบ ก็ดันออกแบบโปรมาแบบนี้เอง
ก็ลองตัดการแชร์สิ
ตัดแชร์ปุป Pirate กางใบกันทันที
ควรจะมีแบบบริการซื้อขาดด้วยซ้ำ (ต่อเรื่อง/ตอน หรือทั้ง Season ก็ว่าไป) ไม่ใช่โปรรายเดือนอย่างเดียว บางคนไม่ต้องการใช้บริการรายเดือน แต่อยากดูรายการหรือหนัง Exclusive ของเขา ไม่ได้ต้องการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
ซื้อมาแล้วโหลดมาดูเครื่องไหนก็ได้ เหมือน MP3 ที่เคยมี DRM แล้วเป็นไง พังเละจนต้องกลับมาเป็นแบบไม่มี DRM
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เอ.… ไม่ทราบว่าเคยลองเล่น iTunes Store ดูบ้างหรือยังครับ? ของ Google เองก็มีนะ
ก็มีเจ้าที่ทำแบบนี้มาก่อนนะครับ แต่การมาของ Netflix ก็กระทบกระเทือนหนัก ขนาด Apple ยังต้องลงมาเล่นธุรกิจ Streaming
แล้ว Netflix เค้าเกิดมาจากร้านเช่ามือถือ พุ่งมาเรื่อง Streaming ตั้งแต่แรก ทำไมจะต้องกลับลำไปทำธุรกิจแบบเก่าด้วย
ดูซีรี่ทั้งซีซั่น สมมติจ่ายแค่เดือนเดียว น่าจะถูกกว่าซื้อนะครับ
เจ้าที่มีมาก่อน ผมไม่ว่าเลย แบบ iTunes เนี่ยก็ดี ผมก็มีซื้อหนังมาดูเหมือนกัน แต่เจ้าใหม่ก็มี Content ที่น่าสนใจ และอยากซื้อมาดูมากกว่าจ่ายรายเดือน แต่ไม่อยากหาที่เก็บเหมือนซื้อ DVD/BD ผมยอมจ่ายทีเดียวดีกว่าที่จะต้องมาจ่ายรายเดือนมาดูเรื่อยไป ผมว่าไม่ค่อยโอเค ยิ่งมีพวก Content เฉพาะค่ายอีก ยิ่งไม่มีให้เลย
เพราะไม่มีแบบซื้อได้เหมือน iTunes เลยสักเจ้า หรือแม้ว่าจะมีให้ซื้อก็น้อยอีก ที่สำคัญหากบริการปิดตัวลงก็ดูไม่ได้อีกเลยจนกว่าจะมีบริการเจ้าใหม่มาทดแทน สู้ซื้อขาดครั้งเดียว ดูได้ตลอดชีพแม้บริการจะปิดไปแล้วไม่ดีกว่าเหรอ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
งั้นก็ทำใจครับ เค้าเป็นเจ้าของคอนเทนต์ หารายได้จากการจ่ายค่า Streaming รายเดือน
ไม่งั้นคงต้องยอมกลับเข้าอ่าว นี่ผมก็พึ่งเข้าไปเพราะอยากดู The Mandalorian จัด
เอาล่ะเมื่อบริษัทวิจัยชี้ช่องแล้ว ผมมั่นใจเลยว่าทีมบริหารต้องมีซักคนแน่ๆที่พยายามผลักดันเก็บรายได้ส่วนที่ขาด
ค่าเสียโอกาสนี่ได้คำนวณเคสแบบนี้มั้ยหว่า
บังคับ register กี่ devices ก็ว่าไปเลย , ผูกแบบ icloud
อะไรควร ไม่ควร ทุกคนย่อมรู้ดี
ทุกค่ายรู้ดีอยู่แล้ว
ยิ่งอย่าง Youtube นี่ไม่ต้องแชร์พาสเลย invite กันง่ายๆ
เหมือนยุค mp3 ทุกค่ายรู้ว่า
ถ้าไม่ใส่ drm ก็จะโดนก๊อปไปปล่อยต่อได้
แต่ปัจจุบันค่ายใหญ่ๆ ก็ไม่ใส่แล้ว
อย่าง Apple แต่ก่อนก็เคยใส่ แต่ปัจจุบันก็ไม่มีมานานแล้ว
อยากให้มีซื้อขาดบ้าง สนใจเฉพาะบางซีรีส์จริง ๆ
หลักพันก็ยอมซื้อนะ
ทางกลับกัน ผู้ให้บริการ Content น่าจะรับรู้เรื่องนี้แต่แรกอยู่แล้วเก่งขนาดนี้กับเรื่องไม่ซับซ้อนก็ไม่น่าเกินการคาดเดาหรอก
ไม่เห็นต้องวิจัยให้เสียเวลา เพราะบริษัทผู้ผลิตเขาก็รู้อยู่แล้ว เขาเลยออกโปรแบบนี้มาให้ไง โถ
password ควรแปลว่า รหัสผ่าน ครับ
เพราะคำว่ารหัสมันไปตรงกับภาษาอังกฤษหลายตัว เช่น code, crypt แล้ว streaming ก็มี encode มี codec อีก ทำให้อ่านคำว่า รหัสสตรีมมิ่ง แล้วตีความกำกวมได้
จริงๆ แล้วก็ไม่ต้องแปลแบบกึ่งๆ ทับศัพท์ภาษาอังกฤษต้นฉบับก็ได้ เพราะกลายเป็นว่าได้ภาษาไทยที่ต้องนึกกลับไปเป็นภาษาอังกฤษอีก อารมณ์ประมาณ เอนกระรัว, multi-vibrator รูปแบบวงจนอิเล็กทรอนิกส์ชนิดนึง หรือ ความถี่กำธร, resonance ประมาณนี้
แปลเป็นภาษาไทยที่อ่านแล้วเข้าใจเลยจะดีกว่า เช่น บัญชีบริการสตรีมมิ่ง เป็นต้น
+1
Netflix บอก นักวิจัยหาเรื่องให้ตูอีกแล้วคราวที่แล้ว Spotify ก็ทีนึงละ
แล้วมีบริษัทไหนวิจัยมั้ยว่า ถ้าไม่มีระบบแชร์ คนก็อาจจะไม่เข้ามาใช้ริการเลย เพราะมีหลายคนที่ถ้าให้สมัครเดี่ยวไม่เอา แต่ถ้าหารกันคนละ 100 เอาเลย