เว็บไซต์ Gamindustry.biz เผยแพร่รายงานขนาดยาว เล่าเรื่องราวจากปากพนักงาน Twitch ที่ไม่เปิดเผยตัวตน ถึงพฤติกรรมเหยียดเพศ เหยียดผิว และคุกคามทางเพศ ในบริษัท หลัง Emmett Shear ซีอีโอของ Twitch ออก แถลงการบนทวิตเตอร์ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาพฤติกรรมคุกคามทางเพศ และสนับสนุนผู้ที่ออกมาส่งเสียงเรียกร้องสิทธิของตนเอง
พนักงานรายหนึ่งกล่าวว่าการทำงานในบริษัท เหมือนอยู่ในกลุ่มผู้ชายห่ามๆ ตลอดเวลา ผู้หญิงถูกปฏิบัติด้วยมาตรฐานที่แตกต่างไป ไม่มีใครใส่ใจความเห็นของผู้หญิงในบริษัท ไม่ได้รับโอกาสเท่าเทียมกับผู้ชาย และถูกปฏิบัติเหมือนเป็นเหยื่อในฝูงนักล่า (“They were prey.")
คำร้องเรียนของพนักงานถูก Twitch ซุกใต้พรมและไม่ดำเนินการใดๆ ฝ่ายบุคคลมักจะต้องการเอาใจผู้บริหารมากกว่าพนักงาน และบางครั้งการร้องเรียนเรื่องพฤติกรรมแย่ๆ ยังทำให้ผู้ร้องเรียนถูกเพ่งเล็งจากผู้บริหารมากขึ้น แม้แต่ Samantha Wong ที่เป็นภรรยาของ Justin Wong อดีตผู้บริหาร Twitch ยังถูกคุกคามทางเพศ และไม่สามารถดำเนินการใดๆ กับผู้ก่อเหตุที่เป็นแขก VIP ของบริษัทได้ แม้สามีของเธอจะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมระดับสูงก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการเหยียดผิวในบริษัท เรื่อง hate speech ปัญหาเรื่องวัฒนธรรมการดื่มสุราที่และปาร์ตี้อย่างหนักที่บริษัท ปัญหาเรื่องเหล่าผู้บริหารและคนที่ตัดสินใจนโยบายต่างๆ ล้วนเป็นชายผิวขาว และมีกลุ่มคนที่ไม่มีใครสามารถเอาผิดได้ เช่น Kevin Lin อดีต COO ที่ปัจจุบันอยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรม กลยุทธ และนวัตกรรมขององค์กร และกลุ่มพนักงานที่อยู่กับบริษัทมาตั้งแต่สมัยยังเป็น Justin.tv
ประเด็นปัญหาเรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้งานก็น่าเป็นห่วง เพราะเคยมีทั้งวิดีโอการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในปี 2008 สมัยยังเป็น Justin.tv ปัญหาเรื่องที่สตรีมเมอร์ถูกคุกคามทั้งในแชทและในชีวิตจริง และปัญหาการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวขอสตรีมเมอร์ที่เป็นเยาวชน และอีกมากมาย ที่ Twitch ดูจะไม่ใส่ใจมากเท่าที่ควร
เมื่อ Gameindustry แจ้งเรื่องไปทาง Twitch ในหลายๆ ประเด็น ก็ได้คำตอบว่าทางบริษัทจริงจังในการสืบสวนและแก้ไขปัญหาร้องเรียนที่เกิดขึ้น การกล่าวหาว่าบริษัทไม่กระทำการใดๆ เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ เป็นการไม่สะท้อนถึงภาพรวมที่แท้จริงของบริษัทในปัจจุบัน และหลายเหตุการณ์ก็เกิดขึ้นนานมาแล้ว
ในหลายๆ กรณี พนักงานที่มาเปิดเผยเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่สามารถเปิดเผยช่วงเวลาได้ เพื่อเป็นการปกป้องข้อมูลที่อาจระบุตัวตนของพนักงานเหล่านั้น และดูเหมือนสภาวะในองค์กรของ Twitch จะเปลี่ยนไปมากหลังจากที่ Amazon เข้าซื้อ Twitch ในปี 2014 ด้วยเงิน 970 ล้านเหรียญสหรัฐ
พนักงานรายหนึ่งเขียนแถลงการเรียกร้องให้ Twitch เปลี่ยนแปลงและแก้ไขพฤติกรรมเหล่านี้โดยด่วน โดยการเริ่มตั้งฝ่ายบุคคลที่ปราศจากอคติ ไล่บุคคลที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ออก รับฟังปัญหาและให้โอกาสผู้หญิงในที่ทำงานอย่างเท่าเทียมมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป
ที่มา - Gameindustry.biz
Comments
Jutin.tv > Justin.tv
เรื่องเหยียดสีผิวนี่ฝังรากลึกตั้งแต่คำสอนแล้ว ชอบแทนความดีเป็นสีขาว ความชั่วคือสีดำ แม้กระทั่งในหนัง เห็นใช้คำว่าเข้าสู่ยุคมืด (Dark) บ่อยๆ ถ้าเด็กตัวดำได้ยินจะรู้สึกยังไง ?
คนเป็นโรคกลัวความมืดคงเป็นพวกเหยียดมากจนป่วยกันเลยทีเดียว
ต้องถามต่อว่าคนที่กลัวความมืด ถ้าคุณไปต่างประเทศ หลงทางเจอคนกลุ่มดำและขาว คุณเลือกจะไปถามคนกลุ่มไหน นั่นล่ะครับคำตอบที่แท้จริง
ผมอธิบายเปรียบเทียบให้เห็นว่า
ทำไมความมืดมันถึงมีความหมายทางด้านลบ
โรคกลัวความมืดเป็นอาการป่วยทางจิตใจของคน
ส่วนถ้าผมหลงทางแล้วจะไปถามคนกลุ่มใหนคุณรู้ได้อย่างไร?
ผมงงที่คุณเอามารวมกันได้ยังไง แล้วคุณคิดว่าผมจะถามกลุ่มไหน? เพราะอะไร?
อยากให้แยกแยะคำว่าสีดำกับความมืด ไม่ควรที่จะเป็นสิ่งเดียวกัน ความมืดคือเราอยู่ในที่ ๆ ไม่มีแสงสว่าง ไม่เห็นสี ไม่เห็นหนทางรอบตัว ไม่รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดหรือไม่ Dark คือความกลัว ส่วนสีดำคือสีของวัตถุ สิ่งของ หรือสีผิว ไม่ว่าจะอยู่ในที่สว่างหรือมืด มันก็ยังเป็นสีดำไปตลอด แต่นั่นแหละ มนุษย์เราชอบตัดสินว่าความมืดคือสีดำ แล้วเราก็เหมารวมว่าสีดำคือความน่ากลัว สีดำ ≠ ความมืด
มันคงแยกกันไม่ออกหรอกครับเพราะมันผูกกับตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
สีดำคือสิ่งที่ไม่สะท้อนแสงมาที่ตาเราส่วนสีขาวคือสิ่งที่สะท้อนแสงทุกแฉดมีมาที่ตาเรา
พอมองอะไรไม่เห็นทำให้ขาดสัมผัสที่สำคัญไปทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัยก็เป็นไปตามธรรมชาติ
ตามนี้เลยครับ เด็กก็คือเด็กนะ ยังคิดไม่ได้ขนาดนีหรอก
เด็กแยกเรื่องวิทยาศาสตร์กับอติตัวเองไม่ออกก็ต้องเข้าใจ
ยังสงสัยอยู่ว่า Dr Disrespect โดนแบนเพราะอะไร