Rand Fishkin ผู้ก่อตั้ง SparkToro เผยแพร่ผลการศึกษาจากข้อมูลของ SimilarWeb ในช่วงเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2020 พบว่า 64.82% หรือเกือบ 2 ใน 3 ของการเสิร์ชกูเกิล (รวมเดสก์ท็อปและมือถือ) จบลงที่หน้าผลลัพธ์การค้นหาในเว็บกูเกิล และไม่มีการคลิกลิงก์ใด ๆ ต่อ ซึ่ง Fishkin เรียกสถานการณ์นี้ว่า Zero-Click สาเหตุนั้นอาจมาจากหลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่มีผลก็คือตัวผลการค้นหาของกูเกิลเอง ซึ่งแสดงข้อมูลเบื้องต้นพื้นฐานไว้พอสมควรด้วยเช่นกัน จึงไม่จำเป็นต้องคลิกลิงก์ต่อ
มีข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิ หากดู Zero-Click เฉพาะบนมือถือ ตัวเลขสูงถึง 77.22%, การคลิกลิงก์โฆษณาอยู่ที่ 1.59%
อย่างไรก็ตาม กูเกิลได้เขียนบล็อกอธิบายประเด็นดังกล่าว โดยบอกว่าผลการศึกษานี้พยายามชี้นำอย่างไม่ถูกต้อง กูเกิลอธิบายสถานการณ์หลายรูปแบบที่ทำให้เกิด Zero-Click จนส่งผลให้จำนวน Zero-Click สูง อาทิ
- มีการเปลี่ยนคำค้นหาไปเรื่อย ๆ หลายครั้ง จนกว่าจะเห็นผลลัพธ์เว็บที่ตรงใจ จึงเริ่มกดลิงก์
- เป็นการค้นเพื่อต้องการข้อมูลสั้น รวดเร็ว อาทิ สภาพอากาศ ผลการแข่งขันกีฬา ซึ่งกูเกิลแสดงข้อมูลในหน้าผลการค้นหาเลย
- เป็นการค้นหาธุรกิจร้านค้า ซึ่ง Google My Business จะแสดงข้อมูลร้านนั้น รวมทั้งเบอร์โทรติดต่อ หลายคนก็ติดต่อร้านค้าจากข้อมูลนั้น และไม่มีการคลิกลิงก์
- ลิงก์นั้นเปิดไปที่แอปบนมือถือเลย โดยไม่มีการเข้าเว็บไซต์ เช่น ลิงก์คอนเทนต์บน Netflix, Instagram เป็นต้น
กูเกิลยืนยันว่ายังคงมีทราฟิกที่ถูกส่งต่อจากกูเกิลไปยังเว็บไซต์จำนวนมหาศาลทุกวัน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี และกูเกิลก็ยังปรับปรุงให้เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ 10 อันดับแรกในผลการค้นหา มีโอกาสถูกค้นพบง่ายขึ้นอีกด้วย
ที่มา: SparkToro ผ่าน Business Insider และ กูเกิล
Comments
ในแง่ผู้ใช้แล้ว มันก็ดีไม่ใช่รึ ?
เอาดีเฉพาะตอนนั้นหรือดีในระยะยาวครับ?
ไม่ใช่ทุกกรณีจะดีกับผู้ใช้เน้อ บางทีข้อมูลโชว์บนหน้าค้นหาแล้วก็จริง แต่รายละเอียดไม่ครบหรือขาด ก็ต้องคลิกเข้าไปอยู่ดีGoogle Business บางทีก็ทำมาเพื่อซ้ำซ้อนกับเว็บของบริษัทเองจริงๆ แล้วก็กึ่งๆบังคับใช้เพื่อ SEO ซึ่งแทนที่จะเน้นลิงค์เข้าบริษัทไปตรงๆ
@ fb.me/frozenology @
ผมเข้าใจว่าถ้ามันแสดงครบตั้งแต่ search ถ้าไม่ครบก็คลิกเข้าไปอ่านเพิ่มได้ น่าจะดีกับผู้ใช้นะครับแต่ไม่ดีกับเจ้าของเว็บไซต์ ส่วน my business กับเว็บไซต์ไม่ซ้ำซ้อนกันนะครับ มันเป็นข้อมูลเบื้องต้นมากกว่าครับทั้ง รูปภาพ แผนที่ เบอร์โทร ส่วนฟังก์ชันที่เกินจากนี้เช่น chat หรือเว็บไซต์ไม่ต้องใส่ก็ได้ครับ เจ้าของเว็บไซต์สามารถโยนลิงค์เข้าเว็บไซต์ของตัวเองไว้ใน my business ได้ครับ การใช้ my business ทำให้ข้อมูลของธุรกิจแสดงหน้า search และเข้าถึง user ได้ง่ายกว่าครับ ส่วนคนที่อยากรู้เพิ่มเติมก็คลิกที่เดียวกันก็เข้าไปที่เว็บไซต์ของเจ้าของธุรกิจอยู่ดีครับ
"บางทีข้อมูลโชว์บนหน้าค้นหาแล้วก็จริง แต่รายละเอียดไม่ครบหรือขาด ก็ต้องคลิกเข้าไปอยู่ดี"
อันนี้มันไม่น่าจะส่งผลเสียอะไรกับผู้ใช้นี่ครับ อย่างน้อยก็มีทางเลือก ดูข้อมูลได้ตั้งแต่หน้าเสิร์ช ถ้าไม่ครบค่อยคลิกเข้าไป ถ้าไม่อย่างนั้นก็กลายเป็นเหลือทางเลือกเดียวคือยังไงก็ต้องคลิกลิงเข้าไปเหรอครับ
ส่วน My Business มันเครื่องมือที่เอาไว้ให้ใช้อยู่แล้วแฮะ ใส่ข้อมูลบริษัทไว้ให้ครบมันก็สะดวกกว่านะครับ คนอื่นมาค้นเจอง่ายกว่าไปลอยๆอยู่เฉยๆด้วย
ดีเฉพาะกับเว็บไทยครับ เพราะมัลแวร์ฝังมาเยอะมากกก จนไม่กล้าคลิกเข้าไป
เอาไว้ตรวจตัวสะกดที่ไม่มั่นใจ -.,-
อ๊ะ เหมือนกันเลย
บางทีก็ใส่คำภาษาอังกฤษ แล้วตามด้วย แปล
บางทีก็ใช้แปลงหน่วย
เหมือนผมเลย
แฮ่ม ข้าพเจ้าด้วย 555
..: เรื่อยไป
โอยยย จริงสุด
ฮ่ะๆๆๆ เหมือนกันเลยคับ ช่วงหลังๆ หนักหน่อยเเบบไม่เปิดจอใดๆ ก็ถึงขั้นถาม Google Home เอาละครับ
เหมือนกันเลยครับ 5555
พยายามเช็คคำที่ไม่มั่นใจตลอดจะได้สามารถต่อว่าคนที่พิมพ์ นะค่ะ ได้
ถ้าเกิดพิมพ์ไม่ถูกเอง เขินแย่เลย
ส่วนตัว ใช้แบบไม่คลิกลิงก์ประมาณ 60-70% เลย แล้วถ้าหากคลิกลิงก์ ส่วนมากก็จะใช้ผ่าน Incognito mode เป็นหลัก
ส่วนตัว ค่อนข้างเห็นด้วยกับผลการสำรวจนี้นะ เพราะว่าพฤติกรรมของผู้ใช้เปลี่ยนไปเยอะแล้ว
Coder | Designer | Thinker | Blogger
จะเรียกว่าพฤติกรรมผู้ใช้เปลียนมั้ย ก็ไม่เชิงนะครับ เพราะแต่ก่อนมันก็ไม่ค่อยมีอะไรให้ใช้เท่าไหร่ พอมีให้ใช้คนก็เลยใช้
เดี๋ยวนี้ลิงก์ปลอม เพื่อ seo เยอะ ไม่กล้ากด เป็นชื่อเว็บแปลกๆ บางทีก็เว็บ .go.th บางทีก็เว็บ มหาลัย
ลิงค์ปลอมเยอะมาก โดยเฉพาะพวกอุปกรณ์ไอทีหรือพวกเว็บ Priceza ที่ขึ้นมามันทุกสิ่งที่ค้นหาจนรู้สึกว่าเว็บนี้ไม่น่าไว้ใจ
แต่หลัก ๆ ที่ใช้คือ เอาไว้แปลงหน่วย กับแปลงค่าเงิน ซึ่งไม่จำเป็นต้องคลิกเข้าไปอีก
เดี๋ยวนี้ต้องดู link ดีๆ เวปอะไรไม่รู้ก็ไม่กล้ากดหรอก อีกอย่างในเครื่องมี antivirus คอยเตือน link ที่ไม่น่าไว้ใจอยู่ด้วย ถ้ามันขึ้น ส้มๆเหลืองๆแดงๆ ก็ไม่กดแน่นอน
ถ้าเป็น duckgogo กับ bingกรอก กด search กดหน้าถัดไปสามสี่ครั้ง กดปิด เปิด Google...
ใช้ช่องค้นหาก็จริงแต่บางอันเป็นเหมือนบริการไม่ต้องคลิ๊กต่อ ที่ผมใช้บ่อยๆ ก็ แปลงหน่วย แปลงค่าเงิน เครื่องคิดเลข งีี้
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
zero click มันส่งผลไม่ดีต่อภาพลักษณ์บริษัทเหรอครับ เห็นว่ากูเกิลต้องออกมาแจง แสดงว่ามันไม่ดีต่อภาพลักษณ์บริษัทแน่ๆ อยากรู้ว่ามันไม่ดียังไงครับ
ผมว่าน่าจะเรื่อง ads นะครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
Zero click => คนไม่เข้าไปในเว็บต้นทาง => รายได้จากเว็บต้นทางลดลง
นั่นหมายความว่า Google มีส่วนสำคัญอย่างมากในการกำหนด Traffic เข้าไปในเว็บและรายได้จากการเข้าชมของเว็บนั้นๆ ซึ่งอาจส่งผลไปถึงการมีอำนาจเหนือตลาดและการผูกขาดได้ครับ
ในต่างประเทศประเด็นเรื่องอำนาจเหนือตลาดและการผูกขาดค่อนข้างเข้มงวด เพราะงั้น Google ก็เลยจำเป็นต้องออกมาพูดเพื่อแสดงเจตนาว่าไม่ได้คิดจะควบคุมตลาดหรืออะไรเลย ประมาณนั้นครับ
ปล. ที่ออสเตรเลียออกกฏเรื่องถ้าเอาข่าวมาโชว์ต้องจ่ายเงินให้สำนักข่าวส่วนหนึ่งก็เพราะต้องการจะแก้เรื่องนี้เนี่ยแหละครับ
หลังๆ พี่แกแสดงข้อมูลไรออกมาได้โดยไม่ต้องก็คลิปเข้าแล้วด้วยนี่ ดูดเขามาแสดงเองเงินก็ไม่ต้องจ่าย
ฆ่าตัวตายเห็น ๆ