เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2564 สำนักข่าวอิศราได้รายงานข่าวการจับกุมผู้ต้องหาคดีทุจริต โดยมีการเปิดเผยว่าหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่ทางเจ้าหน้าที่ใช้ในการสะกดรอยนั้นได้มาจากการใช้งานแอปพลิเคชันของภาครัฐที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ด้านการรับมือสถานการณ์โควิด 19 เช่น หมอพร้อม ที่ใช้เพื่อนัดหมายการฉีดวัคซีน (ปัจจุบันแอปพลิเคชันหมอพร้อม ถูกถอดออกจาก Play Store แล้ว) หรือ คนละครึ่ง ที่ใช้เพื่อการจ่ายเงิน เป็นต้น
จากข่าวนี้ มีความกังวลเรื่องความน่าเชื่อถือและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากในแหล่งข่าวไม่ได้ระบุว่าต้องมีการขอหมายศาลเพื่อเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานหรือไม่ มีข้อมูลอะไรบ้างที่ถูกนำไปใช้เพื่อการสืบสวนคดี รวมถึงผู้ใช้งานแอปพลิเคชันเหล่านั้นได้รับทราบเงื่อนไขและให้ความยินยอมหรือไม่ว่าการใช้งานแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานในช่วงสถานการณ์โควิดนั้นอาจถูกสะกดรอยได้
หมายเหตุ: ปัจจุบันข่าวต้นทางมีการแก้ไขโดยตัดชื่อแอปพลิเคชันออก เนื้อหาดั้งเดิมเป็นดังภาพประกอบ
ที่มา - สำนักข่าวอิศรา , เนื้อหาข่าวก่อนแก้ไข ผ่าน Archive.org
Comments
(ไม่ทำผิดจะกลัวอะไร) ดักไว้ก่อน ฮา
มันต้องมีประโยคนี้จริงๆ ฮ่าๆๆ
จริง
Liked
จะเอามาเปิดทำไมเนี่ย
ข้อมูลไม่ปลอดภัย
ไม่แปลกใจอะไรนะ เพราะที่นี่คือประเทศไทย
นี่ยังไม่นับว่าอาจจะมีเคสที่อาจจะมีการใช้ข้อมูลพวกนี้ในการทำการอื่นแบบไม่เปิดเผยอีก
คุณภาพชีวิตคนไทย มันไม่มีมาตรฐานการคุ้มครองอะไรอยู่แล้ว
หลบหนีมีหมายจับ แล้วไปโดนดักรอวันที่มีนัดไปฉีดวัคซีนงี้
A smooth sea never made a skillful sailor.
เห็นว่ามี ม.33 ด้วยนะ ก็เป็นที่ถกเถียงกันว่าตำรวจสมควรเอาข้อมูลจาก ม.33 หรือคนละครึ่งไหม แต่ที่แน่ๆ ไม่ควรเอาจากหมอพร้อม
ข้อมูลนี้ได้มาโดยชอบด้วยกฏหมายหรือเปล่าครับ
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ลบหมอพร้อมทันที เอามาใช้แบบนี้ไหนบอกปกป้องความเป็นส่าวนตัว ตอแหลหน้าด้าน
เดี่ยวคนก็เลิกใช้แอพกันหมดพอดี
เดาว่าถ้าโดนกดดันมากๆเจ้าหน้าที่ที่เปิดเผยคงบอกว่าเข้าใจผิดไม่ได้มีการใช้ข้อมูลจากแอพใดๆทั้งสิ้น
ปกติต้องมีคำสั่งศาลก่อน แต่นี่เข้าใจว่า เอาข้อมูลมาก่อน แล้วค่อยขอย้อนหลัง?
อ่านเสร็จต้องรีบไปดูว่าเปิด permission อะไรบ้าง ดีที่ disable เอาไว้หมด
ได้เวลา BLACKBERRY กลับมาผงาด
นายสมเดช สังข์สุริยะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คิงส์ ดีเวลลอบเมนท์ จำกัด และนางสาวกัลญานิตย์ รูปงาม
2 ผู้ถูกกล่าวหาตามหมายจับของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมชอบภาค 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตฯ ในคดีการจัดซื้อรถขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แห่งหนึ่งเมื่อปี 2551 ถูกเจ้าหน้าที่สำนักสืบสวน และภารกิจพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้าจับกุมตัวได้แล้ว หลังจากหลบหนีคดีมาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี
โดยการเข้าจับกุมตัวครั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่เจ้าหน้าที่สำนักสืบสวนฯ ได้ติดตามแกะรอยข้อมูลผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 2 ราย จากฐานข้อมูลการลงทะเบียบรับความช่วยเหลือของรัฐบาล ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด"
ปกติแน่ๆที่ ตร ใช้คือ- ฐานข้อมูลประกันสังคม
รอบนี้ บอกฐานข้อมูลรับการช่วยเหลือฯ ซึ่งไม่ได้บอกชื่อ platform ว่า "หมอพร้อม"ไม่ทราบว่าเอาข่าวจากไหนครับที่ระบุว่าหมอพร้อม?
เนื้อหาต้นทางมีการแก้ไขครับ
ที่น่าสนใจ เคสนี้ใช้หมายศาลไหม
เพราะปกติมีช่องทางที่ขอผ่านศาลมีหลายเคส
- ฐานข้อมูลประกันสังคม
- social network
- ผู้ให้บริการมือถือ
- ... บลาๆ
ข่าวดีนี่ ตื่นเต้นอะไรกัน จับกุมคนทำผิดได้ คนล่ะครึ่งเวลาจะใช้ต้องแชร์ตำแหน่งคนใช้กับร้านค้าอยู่แล้ว แชร์ปุ๊บ กรุงไทยรู้ รัฐรู้
ปัญหาคือ ควรจะรู้หรือเปล่าน่ะครับ
หมายถึง ตำรวจหรือครับ? บางทีผมก็ว่าเทคโนโลยีพวกนี้ก็ปิดช่องทางสืบสวนจนเกินไป มันควรจะมีช่องทางให้เข้าถึงบ้างตามกฎหมาย ถ้าไม่มีเลยก็หนีไม่พ้นใช้กำลังภายในแบบนี้แหละ
ในสหรัฐอเมริกา ทำแบบนี้ทั้งตำรวจและรัฐโดนฟ้องคืนได้นะ ในฐานะที่นำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต และเผลอ ๆ หลักฐานตัวนั้นใช้ไม่ได้ด้วยเพราะถือว่าได้ข้อมูลมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
+1024เข้าใจว่าเอาหลักฐานนั้นมาใช้ไม่ได้ เพราะไม่ชอบด้วยกฏหมายครับ
เข้าใจว่าใส่มาใน agreement แล้วนะครับ ก่อนใช้โครงการนี้
เหมือนเคยเห็นข่าว FBI แฮก iphone เอง ถ้า จนท.มีหมายศาลไปเอาข้อมูล ก็ไม่น่าจะผิดนะเหมือนเวลาไปเอาข้อมูลจากเครีอข่ายโทรศัพท์ หรือข้อมูลการเงินจากธนาคาร
Privacy vs Security เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่จบไม่สิ้นครับว่าเทคโนโลยีควรจะไปทางไหน
ปัจจุบันกระแสจะไปทาง Privacy เสียมากกว่า เพราะหลายคนมองว่าไม่มีที่ไหนสมบูรณ์แบบ ทุกที่อาจจะมีมิจฉาชีพเอาข้อมูลเราไปใช้โดยมิชอบหรือมีคนพลาดทำข้อมูลเราหลุดได้ทั้งนั้น และปัญหาที่เกิดจาก Privacy มันยากที่จะแก้ไขด้วย (ข้อมูลหลุดไปแล้วมันย้อนกลับไม่ได้) ทำให้การเปิดช่องทางยกระดับ Security อาจกลายเป็นการเปิดช่องโหว่ใน Security แทน
ส่วนตัวผมในไทย... ในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยการคอรัปชั่น สองมาตรฐาน ความไม่รอบคอบของเจ้าหน้าที่ ฯลฯ ผมขอเลือกให้เน้นปกป้อง Privacy เราเองมากกว่าไว้ใจเจ้าหน้าที่ในเรื่อง Security ครับ
ก็ต้องไปดู Agreement นั่นแหล่ะว่าเขียนไว้ว่าไง ปรกติไม่ควรเอามาใช้กับประชาชนนะ ทฤษฎี Habit มันมีจุดน่ากลัวก็ตรงหลอกใช้สมองอัตโนมัติของคนเราที่เกิดจากความเคยชิน และอารมณ์ในการยอมรับ Agreement โดยไม่อ่าน
ผมไม่กังวลนะ มีแต่ จนท ว่างงานแล้วก้อไม่สบายเท่านั้นที่จะมาแกะรอยผม จะแกะไปทำไร แต่แกะคนดัง เมียน้อยคนดัง ผัวหลวงคนดัง ก็ เอาที่ชอบ แต่คดีนี้แกะแล้วจับคนร้ายได้ก็ดีแล้ว อย่าเอาไปแกะพยานก็แล้วกัน
ก็ถ้าไม่ใช้กระบวนการปกติ เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า เขาใช้แกะรอยเฉพาะผู้ต้องสงสัยในคดีจริงๆเท่านั้น ไม่มีการใช้เพื่อเรื่องส่วนตัว?
วันนี้คุณอาจจะคิดว่าไม่มีอะไร วันนึงคุณไปขัดขาผู้มีอำนาจหรือใครที่มีสิทธิ์เข้าถึงระบบได้โดยบังเอิญ แล้วโดนรวบรวมข้อมูลเพื่อวางยาคุณ หรือทำร้าย เช่นหาข้อมูลสถานที่ไปบ่อยๆ หรือช่องทางที่ใช้ เพื่อหาทางขโมย/hack คุณอาจจะตกใจช้าไปครับ
มีระบบตรวจสอบ การขอคำสั่งศาล ก็เป็นการเพิ่มกระบวนการตรวจสอบ ให้ลดความเสี่ยงในการละเมิดได้โดยง่ายลงครับ เราไม่รู้หรอกว่า ถ้ามันลัดขั้นตอนง่ายๆ แล้วคนที่โดนจะเป็นคนร้ายหรือคนธรรมดา?
เขาไม่ขอหรอก ลองมีหนี้ค้าง กลับมาทำงาน เข้าประกันสังคม แค่นั้นละโทรสับดังแล้วลยยยย
แอพหมอชนะนี่ โดน Google ถอดออกหรือทีมเอาออกเองครับ?
ใช้แกะรอยคนร้ายหรือผู้ต้องหานี่ หมายถึงตำรวจ หรือคนร้ายครับ ทุกวันนี้แยกไม่ออกเลยจิงๆ..
เรื่อง Privacy vs Security นี่แยกเป็นคนละเรื่องไว้ละกัน (เพราะว่าความเห็นผมก็อยู่กลางๆ) แต่สำหรับเรื่องนี้ผม Prefer Privacy
เอาจริงๆเหตุการณ์นี้ ข่าวนี้ถ้ามี Ref ก็ "มากพอจะเป็นเหตุให้" สามารถถอดแอปออกจากสโตร์ ทุกสโตร์ที่เกี่ยวข้อง ได้เลย เพราะว่ามีการใช้ข้อมูลส่วนตัว นอกเหนือจากที่ระบุว่าจะใช้
คือ App ที่มี Privacy Breach มันอยู่บนสโตรไม่ได้ล่ะน่ะ ถ้าจะเอาข่าวไปรุมแจ้ง แอพก็ต้องโดนพักการใช้งานไป และนั่นหมายรวมถึงแอพชนะต่างๆนานา รวมไปถึงแอพธนาคารกรุงไทยได้
PERMISSION > LOCATION > DENIEDก็ยังใช้แอพได้นะ
ลบแอพทันที ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ตัวเองจะเหยียบตาปลาใครเมื่อไหร่ เพราะงั้นปลอดภัยไว้ก่อน
ไม่ได้ผิดจะกลัวอะไร แต่บางทีคนไม่ผิดก็โดนทำให้ผิดได้ ไม่งั้นจะมีคำว่ายัดข้อหาไว้ทำไมให้เปลืองพจนานุกรม