หลังจากที่ ประยุทธ์ออกคำสั่งตัดอินเทอร์เน็ตผู้เสนอข่าว ที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวจนกระทบความมั่นคง ไป วันนี้ รมว. DES ให้สัมภาษณ์ระบุว่าการตีความว่าข่าวใดที่เข้าข่ายทำให้หวาดกลัวต้องดูที่เจตนา โดยดุลยพินิจเป็นของเจ้าหน้าที่กระทรวง DES กสทช. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการเสนอข่าวแม้จะเป็นความจริงแต่ถ้าเป็นการเสนอข่าวที่ไม่ครบถ้วนที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความเชื่อมั่นก็อาจเข้าข่ายดังกล่าวได้
เมื่อเช้าวันนี้ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ให้สัมภาษณ์ในรายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ว่าด้วยคำสั่งตาม พรก. ฉุกเฉินฯ โดยระบุว่าข้อ 1 ตามคำสั่งดังกล่าวจะดูจากเจตนาเป็นหลักและผลกระทบที่เกิดขึ้น ครอบคลุมทั้งสื่อมวลชนและบุคคลทั่วไปที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการสื่อข่าว แม้จะเป็นเรื่องจริง แต่ถ้าเป็นการเสนอ "ในมุมที่เป็นลบอย่างเดียว มุมบวกไม่ได้ออกมา ทำให้คนเข้าใจผิด" ก็เข้าข่ายผิดข้อดังกล่าว
ต่อข้อคำถามเรื่องการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการทำงานของรัฐบาล (call-out) นั้น รมว. ตอบว่าน่าจะเป็นการแสดงออกทางการเมือง ไม่เข้าข่ายตามคำสั่งดังกล่าว โดยยกตัวอย่างคลิปวีดิโอของดาราต่างๆ ระบุว่ายังไม่เห็นใครถูกดำเนินคดี
ภาพจาก Facebook กระทรวง DES
เมื่อถามถึงการเสนอภาพผู้ป่วยผู้เสียชีวิตที่ประสบเหตุริมถนน รมว. ตอบว่าต้องดูที่เจตนา ถ้าเจตนาบริสุทธิ์ ไม่ได้คิดที่จะ discredit ก็ไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าเป็นการ "แกล้งมาถ่ายแล้วเอามาโพสต์" ถือเป็นผิด กระนั้นจะถือว่าทำให้หวาดกลัวหรือไม่ก็ต้องดูเจตนา ไม่อาจจะตอบได้ทันที
ว่าด้วยการเสนอความเห็นทางวิชาการนั้น รมว. กล่าวว่าแม้จะเป็นความเห็นจริง แต่ถ้าเป็นความเห็นคนเดียวแล้วนำมาออกข่าว ทำให้คนไม่กล้ามาฉีด "มีข้อมูลอื่นอีกเยอะ แล้วไม่เอามาพูด" ก็ถือว่าเจตนา discredit เพื่อหวังผลทางการเมือง ควรจะให้ข้อมูลครบถ้วน
เมื่อถูกถามเรื่องดุลยพินิจในการพิจารณานั้น รมว. ตอบว่าโดยหลักการเป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่กระทรวง DES กสทช. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยก่อนหน้าก็มีการทำงานร่วมกันตามอำนาจใน พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในการปิดกั้น website อยู่แล้ว การออกคำสั่งดังกล่าวเพื่อให้สามารถใช้อำนาจของ กสทช. ทำให้กระบวนการดังกล่าวเร็วขึ้นจากเดิมที่ต้องอาศัยกระบวนการทางศาลซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาจไม่ทันการที่ข้อมูลอาจเผยแพร่อย่างกว้างขวางในไม่กี่ชั่วโมง
เมื่อถูกถามว่าเจตนาว่าจะรบกับสื่อ ประชาชน หรือใครนั้น รมว. กล่าวว่าเจตนาไม่อยากก่อปัญหากับสื่อมวลชน เพราะไม่ใช่ปัญหาหากเสนออย่างมีจริยธรรม โดยเน้นคำว่าอินเทอร์เน็ตในประกาศ "ก็คือสื่อออนไลน์ สื่อเทียม คนที่ไม่ใช่สื่อแต่ทำตัวเสมือน คนเหล่านี้เค้าไม่มีจรรยาบรรณไม่มีมาตรฐานเหมือนพี่ผู้(ประกาศ)ข่าว และก็มีเจตนาแอบแฝงทางการเมืองด้วย บางทีก็เจตนาแอบแฝงทางธุรกิจ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้คือสิ่งที่เราต้องเข้าไปกำกับดูแล"
ตอนท้ายของการสัมภาษณ์ เมื่อพิธีกรถามถึงการแถลงของ รมว. หลังการประชุมแก้ไขปัญหา Fake news ที่กล่าวว่าจะมีมาตรการทางปกครองและทางภาษีจัดการ "พวกปั่นข่าว Fake news" นั้น จะมีการตรวจสอบภาษีย้อนหลังของคนที่จะถูกดำเนินการหรือไม่นั้น รมว. กล่าวว่า platform ที่จดทะเบียนอยู่ต่างประเทศไม่ได้เสียภาษีให้ประเทศไทยอยู่แล้ว จะใช้เรื่องนี้เป็นตัวขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาทางภาษี ทั้งนี้ไม่ได้ตอบถึงการดำเนินการตรวจสอบเป็นรายบุคคลโดยชัดแจ้งแต่อย่างใด
ที่มา: รายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand (ตั้งแต่เวลา 08:19 - 08:33 น.)
Comments
lewcpe.com , @wasonliw
ปรับตามข้อเสนอครับ
เรื่อง quote ผมแยกเรื่องการนิยามสื่อออนไลน์เป็นคำพูดมาเพราะผมมองว่าน่าจะ controversial เลยยกคำพูดมาตรงๆ แทนน่ะครับ ส่วนจุดอื่นๆ ผมได้ปรับลดเปลี่ยนสำนวนตามที่ผมเห็นเหมาะสมแล้วครับ แต่ถ้าคิดว่าควรจะปรับเพิ่มเติมก็ปรับได้ตามที่เห็นสมควรได้เลยครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
โอเคครับ ผมขอปรับหัวข่าวแบบนี้โอเคไหมครับ ถ้ายืนยันน่าจะขึ้นได้เลย
lewcpe.com , @wasonliw
ดีเกินความคาดหมายครับ เชิญเลยครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ผมเจอจุดนึง "ของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์มากล่าวถึงก็ควรจะยกตัวอย่างความเห็นของ ศ.นพ.ยง" เป็นคำพูดของพิธีกร ไม่ใช่ตัวรมว. เอง ต้องขอตัดออกนะครับ
lewcpe.com , @wasonliw
ได้ครับ แค่นี้ก็ได้สาระพอแล้ว ถึงจริงๆ จะไม่เห็นด้วยสักเท่าไหร่ เพราะ รมว. ท่านเองก็ไม่ได้แย้งแถมเสริมเนื้อหาอีก
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
คำว่า "ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่" นี่แหละคือเดอะเบส
?
ಠ╭╮ಠ
อันดับสองต้องให้กับคำว่าศีลธรรมอันดีของประชาชน
รัฐมนตรีว่าการです
ฮ่าๆๆๆ เกลียดที่ดันเข้าใจ
ตอนแรกก็พิมพ์ DE เช็คไปใหม่ อ้อ DES ก็เฉยๆจนเห็น comment นี่แหละ?
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
?
เกลียดตัวเองที่เข้าใจจริงๆ ครับ
เอ๊ะ
?
แนะนำให้รัฐบาลแก้ปัญหาโดยทำทุกอย่างให้ดีขึ้นครับ อย่ามัวเสียเวลาทุบกระจกเลย กระจกมันแค่สะท้อนสิ่งที่รัฐบาลทำ ทุบกระจกไปแต่ไม่แก้ไขปัญหามันก็เละเหมือนเดิมครับ แค่ไม่ต้องกระอักกระอ่วนที่มีกระจกมาสะท้อนภาพให้เห็นชัดๆ
หรือคิดว่าหลอกตัวเองง่ายกว่าแก้ไขปัญหาหว่า
กฎหมายไทยเละเทะเพราะคำว่าดุลยพินิจนี่แหละ แค่ให้ข้อมูลว่าซิโนแวคดีพอๆ กับ mRNA นี่ก็ผิดโขแล้ว แต่ออกมาจากฝั่งรัฐบาลเช่นกัน
"การเสนอข่าวแม้จะเป็นความจริงแต่ถ้าเป็นการเสนอข่าวที่ไม่ครบถ้วน"
ถ้างั้นท่านจะพูดแค่ด้านดีไม่ได้แล้วนะ แบบนี้ตัดเนตรัฐสภาก่อนเลย
ประโยคนี้อันตราย? "ว่าด้วยการเสนอความเห็นทางวิชาการนั้น รมว. กล่าวว่าแม้จะเป็นความเห็นจริง แต่ถ้าเป็นความเห็นคนเดียวแล้วนำมาออกข่าว ทำให้คนไม่กล้ามาฉีด "มีข้อมูลอื่นอีกเยอะ แล้วไม่เอามาพูด" ก็ถือว่าเจตนา discredit เพื่อหวังผลทางการเมือง ควรจะให้ข้อมูลครบถ้วน"
งานวิจัย ผลมันอาจจะออกมาแย่ก็ได้ แต่ถ้าผ่านขั้นตอนกระบวนการวิจัย จนได้ตีพิมพ์ คนยกมาพูดก็ต้องรับฟัง ไม่ใช่การพูดแบบcherry pickingจากข้อมูลดิบลอยๆอวยอย่างเดียว อันนี้ตะหากที่น่ากลัวกว่าเพราะเกิดจากการselective ข้อมูลที่ตรงกับใจตัวเองเท่านั้น
การแย้งงานวิจัยต้องโต้ด้วยงานวิจัย เพราะผลมันอาจจะเปลี่ยนไปตามข้อมูลใหม่หลักฐานใหม่ที่เข้มแข็งกว่าได้ โดยเฉพาะกับโรคอุบัติใหม่ ความรู้ใหม่ๆเปลี่ยนแปลงเสมอ
เป็นเพราะมุมกล้อง ✔️เป็นเพราะจัดฉาก ❌
/บูด
ไม่น่าเชื่อว่าข้อกฎหมายแบบนี้จะออกมาได้ในประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น "ประชาธิปไตย" แม้จะไม่เต็มใบเท่าไรก็เถอะ
นี่มันเกาหลีเหนือชัด ๆ
That is the way things are.
ผมว่าอะไรที่ต้องใช้ดุลพินิจมาตัดสินนี่น่ากลัวมากครับ เพราะดุลพินิจถูกบิดเบือนได้เสมอ
แล้วถ้าเสนอแต่ด้านบวก ไม่เสนอด้านลบให้ครบถ้วนจนคนเข้าใจผิดล่ะ แบบนี้เอาผิดไหม?
ถ้าใช้มาตรฐานเดียวกัน... รอดูสิว่าจะมีการเอาผิดคนที่เสนอแต่มุมลบของ mRNA ไม่เสนอมุมบวกจนคนเข้าใจผิดไม่กล้าฉีด mRNA ไหม
การกำจัดเผด็จการเป็นสิทธิและหน้าที่ของประชาชน
อ่านเพิ่มเติมที่ลิงค์นี้https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=343738056970538&id=103628360981510
คำว่า บวก ลบ นี่คือขึ้นอยู่กับยืนมองจากตรงไหนของขั้วเลยไม่ใช่เหรอครับ
งั้นถ้าเราพูดถึง "ข้อดีของการไม่ฉีดวัคซีน" "ข้อดีของการไม่มี..." อันนี้ถือว่ามีความผิดมั้ยนะครับ
อุ้ย
สื่อไม่ได้มีหน้าที่นำเสนอข้อมูลสองด้าน สื่อมีหน้าที่เสนอความจริง ถ้ารัฐบาลเผด็จการมันเลว มันไม่สนใจประชาชน ละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็ต้องนำเสนอไปตามจริง ไม่จำเป็นต้องไปขุดหา(หรือสร้าง)ข้อมูลอีกด้านที่ไม่มีอยู่จริง
ถ้าตีความตามดุลพินิจ ไม่ได้มีข้อกำหนดที่ชัดเจน
ชมรัฐบาล คือมุมบวกด่ารัฐบาล คือมุมลบ
ดุลพินิจผมก็ตีความได้แบบนี้แหล่ะ
PS. ข่าวล่าสุดมีคนเอาข้อหานี้ไปฟ้องเยาวชนที่แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ที่ภูเก็ตแล้ว
ตามคำสั่งแรกสุด แม้แต่การบิดเบือนข่าวสารก็ผิดเฉพาะกับที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน?
หมายความว่า ถ้าบิดเบือนข่าวเพื่ออวยรบ.ก็ไม่เข้าข่ายผิด? เพราะไม่กระทบความมั่นคงและความสงบ :P (ส่วนศีลธรรมอันดีงามของประชาชน อันนี้ตีความกว้างเกินไม่อยากใช้เป็นบรรทัดฐาน)
หนักละ เกาหลีเหนือมาเลยแบบนี้
เสนอข่าวจริง…ยังตั้งแง่เอาผิดได้เผด็จการนี่มันเลวจริงจริง
สยามเหนือก็มา