พรรคก้าวไกลเปิดเอกสารพิจารณางบประมาณปี 2566 ในโครงการระบบรวบรวมและประมวลผลข่าวกรองชั้นสูง ของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) งบประมาณประมาณ 350 ล้านบาท ภาพรวมโครงการแสดงให้เห็นว่าเป็นโครงการยิงมัลแวร์เข้าไปยังโทรศัพท์มือถือเป้าหมายโดยใช้เพียงหมายเลขโทรศัพท์เท่านั้น
ความสามารถที่ป.ป.ส. ต้องการในระบบนี้ ต้องเข้าถึงข้อมูลได้หลายอย่าง ได้แก่ ข้อความในอีเมล, ข้อความ SMS, ตำแหน่งปัจจุบัน, รายชื่อในสมุดติดต่อ, ข้อความแชต, ดักฟังโทรศัพท์, ภาพในโทรศัพท์, ภาพหน้าจอ, ภาพจากกล้อง, ดังเสียงผ่านไมโครโฟน, ดึงข้อมูลแอปโซเชียลต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก, WhatsApp, Pinterest แนวทางการทำงานจะเป็นการติดตั้ง agent หรือมัลแวร์ และดึงข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการและนำไปวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อวิเคราะห์เรียบร้อยแล้วก็ถอนมัลแวร์ออกไป
ข้อมูลผู้ผลิตซอฟต์แวร์ในโครงการนี้มีการเสนอราคาเข้ามา 3 ราย โดยรายเดียวที่อยู่ในงบประมาณ 350 ล้านบาทพอดี คือ Q Cyber รุ่น Minotaur ซึ่ง Q Cyber เป็นบริษัทแม่ของ NSO Group เมื่อปี 2019 ทาง WhatsApp ฟ้องร้องทั้ง NSO Group และ Q Cyber พร้อมกัน จากการแฮกโทรศัพท์ผ่าน WhatsApp
การที่ตำรวจปราบปรามยาเสพติดมีเครื่องมือเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก ที่ผ่านมารายงานมัลแวร์และเครื่องมือของ NSO Group หลายตัวที่มีข้อมูลออกมา มักจะมีชื่อตำรวจปราบปรามยาเสพติดอยู่ด้วยเสมอๆ โดยเอกสารงบประมาณระบุว่าการใช้เครื่องมือเหล่านี้เป็นการใช้งานตามกฎหมาย พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 11/5 ซึ่งเปิดให้พนักงานป.ป.ส. สามารถเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เมื่อได้รับอนุมัติจากเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลอาญา โดยต้องเป็นการใช้งานเกี่ยวกับคดียาเสพติด ที่ผ่านมามีรายชื่อหน่วยงานอื่นๆ ในไทยที่ใช้เครื่องมือรูปแบบเดียวกัน แต่เป็นหน่วยงานอื่นๆ เช่นกองทัพบก ก็อาจจะเป็นกฎหมายอื่นๆ ที่ยังไม่มีข้อมูลออกมาว่าเป็นการใช้งานตามอำนาจกฎหมายใด
ที่มา - พรรคก้าวไกล
Comments
Loginไม่ได้ซักที
อยากรู้ว่าสมัยที่สื่อสารกันด้วยควัน ถ้ามีมัลแวร์ด้วยคงสนุกน่าดูจะส่งควันจีบสาวอีกฝั่งของภูเขา เจอเพื่อนจุดไฟปล่อยควันเข้าไปปนกับควันเราจนแปลงข้อความไม่ได้
ไม่จำเป็นต้องมีนิครับ ถ้าเห็นแล้วอ่านเป็นก็อ่านได้เลย เหมือนที่เราดักแพ็คเกจที่ไม่เข้ารหัสในปัจจุบันนี่ล่ะ เช่น SMS จะมีมัลแวร์ไปทำไม
Nso น่าจะได้ซวยว่า ข้อมูลโดนเปิดเผยเป็นสาธารณะ+ เจ้าอื่นด้วย
เรื่อง NSO Group และ มัลแวร์ Pegasus ไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ มีมาตั้งแต่ 2014 และมันทำงานมาก่อนหน้านั้นอีก
แต่เคสนี้คือ หน่วยงานรัฐบาลไทย ใช้มันเข้าถึงเครื่องของนักเคลื่อนไหวทางการเมือง และนักการเมืองฝั่งตรงข้ามรัฐบาล
พูดถึง เรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน
ไม่ว่าจะเป็น ราคาจัดซื้่อ
หน้า interface หรือ คู่มือการใช้ (อาจจะรวมถึง server) อาจจะถูกเปิดเผยต่อสาธารณะได้
ทำก็อย่าให้รู้
ถึงรู้ก็อย่าให้เห็น
ถ้าเห็นก็อย่าให้จับได้
ถ้าจับได้ก็อย่าไปรับ
ถ้ารับก็รับแค่ครึ่งเดียว
ไม่แปลกใจ
เงินทอนน่าจะเกิน 50%