
DeepSeek ประกาศแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์รันโมเดลปัญญาประดิษฐ์ (inference engine) หลังจากก่อนหน้านี้บริษัทใช้ vLLM รุ่นพิเศษที่แก้ไขภายในเพื่อให้บริการ มาเป็นการทำงานร่วมกับโครงการโอเพนซอร์ส
ก่อนหน้านี้ DeepSeek เปิดซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบรันปัญญาประดิษฐ์จำนวนมาก โดยซอฟต์แวร์มักเป็นการออปติไมซ์ประสิทธิภาพการรันปัญญาประดิษฐ์บนชิป NVIDIA Hopper ทาง DeepSeek ระบุว่าเคยพิจารณาว่าจะเปิดเอนจินออกมาทั้งชุด แต่พบปัญหา 3 ประการ

OpenAI เปิดตัวโมเดล GPT-4.1 เป็นชุดโมเดล LLM สามขนาดปรับปรุงความสามารถจาก GPT-4o ทำให้รองรับอินพุตถึง 1 ล้านโทเค็น และเพิ่มความสามารถด้านการเขียนโปรแกรมจนสูงกว่าโมเดล OpenAI o3-mini ที่ราคาแพงกว่ามาก
ทาง OpenAI โชว์ผลทดสอบของ GPT-4.1 ด้วยการทดสอบ SWE Bench Verified ได้คะแนนถึง 55% (เหลือ 52% ถ้านับข้อที่มีปัญหาระหว่างทดสอบ) สามารถตอบเป็น diff เพื่อการแก้ไขไฟล์ได้ค่อนข้างแม่นยำ ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการขยายอินพุตเป็น 1 ล้านโทเค็น ผลทดสอบ needle in haystack สามารถหาข้อมูลได้ทุกจุด

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) 2025 แก้ไขข้อจำกัดการต่อสู้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์แบบเดิมๆ และเพิ่มแนวทางให้ผู้ให้บริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมรับผิดชอบค่าเสียหาย หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้ทำตามมาตรฐานต่างๆ ครบถ้วนแล้ว
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญ ของกฎหมายนี้คือการก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ศปอท.) เป็นศูนย์กลางรับแจ้งอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีอำนาจในการต่อสู้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์รูปแบบต่างๆ เช่น

เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบการใช้งาน Git ทาง GitHub ได้สัมภาษณ์ไลนัส ทอร์วัลด์ส ผู้ดูแลโครงการลินุกซ์และผู้เริ่มโครงการ Git ซึ่งไลนัสได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นและระบุว่าเขาดูแลโครงการนี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
จุดเริ่มต้นของ Git นั้นเริ่มต้นช่วงปลายปี 2004 ที่ตอนนั้นลินุกซ์ยังใช้ BitKeeper ดูแลโค้ดอยู่แต่ BitKeeper ไม่ใช่โปรแกรมโอเพนซอร์สแม้จะเปิดให้โครงการโอเพนซอร์สใช้งานได้ฟรี เพราะ Larry McVoy ผู้สร้าง BitKeeper รู้จักกับไลนัสและอยากสนับสนุนโครงการโอเพนซอร์ส แต่ต่อมา Andrew Tridgell ก็ reverse engineer ตัว BitKeeper ทำให้เกิดความขัดแย้งกัน ไลนัสพยายามพูดคุยกับทั้งสองฝ่ายแต่ไม่สำเร็จ จึงต้องเขียน Git ขึ้นมา

OpenSSH ออกเวอร์ชั่น 10.0 โดยมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่กระบวนการเข้ารหัส ที่ปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้น ได้แก่

กูเกิลโอเพนซอร์สเฟรมเวิร์ค Agent Development Kit (ADK) สำหรับการพัฒนา Agent ในรูปแบบต่างๆ โดยแม้จะพัฒนาโดยกูเกิลแต่ก็รองรับโมเดลจากผู้ผลิตหลากหลาย และเชื่อมต่อเครื่องมือภายนอกผ่านโปรโตคอล MCP ได้
ความพิเศษของ ADK ต่อกูเกิลเองคือ Vertex AI รองรับโดยตรงผ่าน Vertex AI Agent Engine อย่างไรก็ดี ตัว ADK นั้นแพ็กเกจเป็นคอนเทนเนอร์ทำให้ไปรันที่ไหนก็ได้อยู่แล้ว และกูเกิลระบุว่า ADK ออปติไมซ์ให้ทำงานกับ Gemini 2.5 Pro เป็นพิเศษ

กูเกิลประกาศเพิ่มบริการ Gemini เข้า Google Distributed Cloud (GDC) ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อ Gemini และ Agentspace ไปรันในศูนย์ข้อมูลของตัวเองได้ โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือส่งข้อมูลออกนอกเน็ตเวิร์คองค์กร
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างกูเกิลและ NVIDIA โดยลูกค้าต้องใช้ DGX B200 หรือ HGX B200 สามารถติดตั้งแบบ air-gapped ไม่เชื่อมต่อกับโลกภายนอกเลย โดยได้รับอนุญาตสำหรับใช้กับข้อมูลชั้นความลับ หรือลับสุดยอดของรัฐบาลสหรัฐฯ แล้ว

ที่งาน Google Cloud Next 2025 กูเกิลเปิดตัวชิป TPU Ironwood ชิปปัญญาประดิษฐ์ของกูเกิลเองรุ่นถัดจาก TPU v5p โดยชูประเด็นการเชื่อมต่อระหว่างชิป Inter-Chip Interconnect (ICI) ที่เปิดทางให้สร้างคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ระดับเกือบหมื่นชิป
ตัวชิป TPU Ironwood เองมีพลังประมวลผล 4,614 TeraFLOPS แรงกว่า TPU v5p เกินสิบเท่าตัว (ชาร์ตข้าม Trillium ที่ดีกว่า v5e อยู่ 4.7 เท่าตัว) แต่ละชิปมาพร้อมแรม HBM ขนาด 192GB แบนวิดท์ 7.4TB/s ประสิทธิภาพต่อพลังงานดีขึ้นกว่า TPU Trillium สองเท่าตัว
ลูกค้า Google Cloud สามารถเลือกใช้ Ironwood เป็นคลัสเตอร์ได้สองขนาด คือ 256 ชิป และ 9,216 ชิป อัดเต็มไปถึง 42.5 ExaFLOPS

AWS ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการย้ายเวิร์คโหลดจากสิงคโปร์ (ap-southeast-1) หรือมาเลเซีย (ap-southeast-5) มายังประเทศไทย โดยต้องขอใช้งานเป็นกรณีไป
แนวทางการให้บริการย้ายข้อมูลฟรีรูปแบบนี้ ลูกค้าจะต้องแจ้งช่วงเวลาที่ต้องการย้ายข้อมูลล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน และแจ้งปริมาณข้อมูลที่ต้องการย้าย จากนั้นรอการอนุมัติแล้วจึงจะได้รับเครดิตสำหรับการโอนย้ายข้อมูลขาเดียว (ใช้กับการส่งข้อมูลจากไทยไปสิงคโปร์ไม่ได้)
AWS เปิดบริการในประเทศไทย ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยค่าบริการต่างๆ มักถูกกว่าในสิงคโปร์ การลดค่าย้ายข้อมูลน่าจะทำให้หลายองค์กรตัดสินใจกันได้ง่ายขึ้น

Framework ผู้ผลิตโน้ตบุ๊กแบบซ่อมง่าย ประกาศหยุดขาย Framework Laptop 13 สองรุ่น (Ultra 5 125H และ Ryzen 5 7640U) เพราะภาษีทรัมป์มีผลไปแล้วเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาษีนำเข้าโน้ตบุ๊กจากไต้หวันเพิ่มจาก 0% เป็น 10%
ไม่แน่ชัดว่ารุ่นอื่นจะได้รับผลกระทบหรือไม่ เพราะทาง Framework ก็ยังขายรุ่นข้างเคียง เช่น Ryzen 7840U ตามปกติ โดยทางบริษัทระบุว่าภาษีใหม่นี้ทำให้รุ่นล่างสุดต้องขายขาดทุน แนวทางของบริษัทตอนนี้อาจจะเลือกขายรุ่นสูงขึ้นที่มักจะกำไรดีกว่าแล้วยอมรับภาษีไว้เอง
โดนัล ทรัมป์ประกาศเพิ่มภาษีจากไต้หวันเป็น 32% โดยมีผลขั้นแรกก่อน 10% เมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี สินค้าเซมิคอนดักเตอร์นั้นได้รับยกเว้น
- Read more about Framework หยุดขายโน้ตบุ๊กบางรุ่นหลังภาษีทรัมป์มีผล
- 5 comments
- Log in or register to post comments

Tobi Lütke ซีอีโอ Shopify ออกจดหมายเวียนในบริษัท ปรับนโยบายการทำงานในอนาคต โดยระบุนโยบาย 6 ข้อ ได้แก่

ปีที่แล้วแอปเปิลออก macOS Sequoia ที่มีการอัพเดตหลายอย่าง แต่ล่าสุดก็มีผู้ใช้พบว่าแอปเปิลอัพเดตโปรแกรม rsync ไปใช้โครงการ openrsync ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ rsync โปรโตคอลเวอร์ชั่นใหม่ได้แล้วหลังไม่ยอมอัพเดตมาเกือบ 20 ปี
rsync เป็นหนึ่งในโปรแกรมยอดนิยมสำหรับการสำรองข้อมูล เพราะมันสามารถส่งข้อมูลเฉพาะ "ส่วนต่าง" ของข้อมูลได้ ทำให้ในกรณีที่แบนวิดท์จำกัด กระบวนการสำเนาข้อมูลที่มีการแก้ไขไม่เยอะมาก เช่น ไฟล์สำรองข้อมูลฐานข้อมูล (ที่อาจจะมีขนาดใหญ่แต่ที่จริงเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก) สามารถเร่งความเร็วในการสำเนาข้อมูลได้นับสิบเท่าไปจนถึงพันเท่า

ทีมวิจัย AEgIS ของ CERN รายงานถึง การตรวจจับปรากฎการณ์การชนกันของปฎิสสารกับสสาร ในกรณีนี้คือการชนกันของโปรตอน (antiproton annihilations) จากเดิมที่ใช้เซ็นเซอร์พัฒนาขึ้นเฉพาะ Timepix3 แต่มีราคาแพงและคุณภาพภาพไม่ดีนัก หันมาใช้เซ็นเซอร์กล้องโทรศัพท์มือถือ พบว่าได้คุณภาพภาพที่ดีขึ้น แถมราคาถูกลงนับพันเท่า
เซ็นเซอร์ที่ใช้ในงานนี้คือ Sony IMX219 ที่ได้รับความนิยมเป็นกล้องสำหรับ Raspberry Pi เป็นวงกว้าง ราคาโมดูลสำเร็จรูปไม่ถึงพันบาท ประกอบกัน 60 ตัวเพื่อสร้างเป็นโมดูลตรวจจับการชนกัน แต่ตัวเซ็นเซอร์ต้องถูกปรับแก้เสียใหม่ ทีมงานขูดเอาชั้นเลนส์และฟิลเตอร์ตรวจจับสีออกไป

ทีม Qwen ของ Alibaba Cloud เปิดตัวโมเดลปัญญาประดิษฐ์เพิ่มสองรุ่น คือ Qwen2.5 Omni โมเดลแบบ multimodal อ่านภาพ, ฟังเสียง, และดูวิดีโอได้ พร้อมกับสามารถตอบเป็นเสียงหรือข้อความได้ อีกโมเดลคือ QVQ-Max โมเดลคิดก่อนตอบแบบอ่านภาพได้ ทำให้สามารถอ่านเอกสารซับซ้อนสูงได้
Qwen2.5 Omni เป็นโมเดล multimodal ที่รับได้ทั้งข้อความ, เสียง, และภาพ โดยภายในมันสามารถดูภาพตามเวลา (time aligned multimodal) ทำให้เข้าใจวิดีโอได้ด้วย ขณะที่ฝั่งเอาท์พุตนั้นสามารถสร้างเสียงตอบกลับได้ ตัวสถาปัตยกรรมรองรับการ "ฟังไป ตอบไป" โดยสามารถรับอินพุตยังไม่จบแต่ตอบไปก่อนได้
Qwen2.5 Omni มีโมเดลขนาด 7B ให้ดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรี ด้วยสัญญาอนุญาตแบบ Apache 2.0

สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน ระบุว่าออราเคิลกำลังแจ้งลูกค้าถึงเหตุการณ์เซิร์ฟเวอร์ของบริษัทถูกแฮก และแฮกเกอร์ที่ใช้ชื่อบัญชี rose87168 ประกาศขายข้อมูลจากฐานข้อมูล LDAP รวม 6 ล้านรายการ โดยแหล่งข่าวระบุว่าออราเคิลแจ้งลูกค้าว่ากำลังให้ FBI และ CrowdStrike เข้ามาสอบสวนเหตุการณ์ครั้งนี้
ทาง BleepingComputer ได้รับตัวอย่างไฟล์จากแฮกเกอร์ พบว่าไฟล์ประกอบไปด้วยชื่อบัญชี, อีเมล, ชื่อจริง, และข้อมูลระบุตัวตนได้อื่นๆ รวมถึงรหัสผ่านที่แฮชไว้
แฮกเกอร์ ทิ้งหลักฐานไว้บนเซิร์ฟเวอร์เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา เป็นเครื่องยืนยันว่าเซิร์ฟเวอร์ถูกแฮกจริง

ไปรษณีย์ไทยออกมายอมรับว่าข้อมูลรั่วไหล หลังจากแฮกเกอร์ประกาศขายข้อมูลบน BreachForum เมื่อวันเสาร์ 29 มีนาคมที่ผ่านมา
ข้อมูลที่คนร้ายประกาศขาย มีทั้งหมด 19 ล้านรายการ น่าจะเป็นข้อมูลระบบ CRM โดยระบุ ชื่อ, นามสกุล, อีเมล, วันเกิด, ข้อมูลติดต่อ, สาขาที่ใช้บริการบ่อย, คะแนนสะสม, ข้อมูลการใช้บริการ
ทางไปรษณีย์ไทยระบุว่าได้ปิดช่องทางเข้าถึงข้อมูลนี้ จากนั้นแจ้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ตลอดจนดำเนินการทางด้านกฎหมายแล้ว
ที่มา - ไปรษณีย์ไทย

ธนาคารกลาง 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย, อินเดีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, และสิงคโปร์ ประกาศจัดตั้ง Nexus Global Payments (NGP) บริษัทมหาชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อสร้างระบบโอนเงินข้ามประเทศแบบทันที (instant payment system - IPS)
Nexus เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย ธนาคารเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements - BIS) มีแนวทางที่จะปรับปรุงกระบวนการเชื่อมต่อธนาคารระหว่างประเทศเข้าด้วยกันในรูปแบบที่ทันสมัย ใช้ API ของ ISO 20022 และสร้าง ecosystem ที่เปิดให้มีการโอนเงินข้ามประเทศได้สะดวก โดยคาดว่าหากระบบ Nexus เปิดใช้งานจริง กระบวนการโอนเงินทั้งระบบจะถึงปลายทางภายในเวลา 60 วินาที

หลังจาก Nintendo Switch 2 เปิดตัวเมื่อวานนี้ทางนินเทนโดก็เปิดข้อมูลการใช้งานมาเพิ่มเติม โดยมีระบบ Game-Key Card เพิ่มขึ้นมา เป็นเพียงกุญแจสำหรับดาวน์โหลดเกมเท่านั้น
ผู้ที่ซื้อ game-key ต้องดาวน์โหลดเกมก่อนเสมอ และต้องเตรียมพื้นที่ในเครื่องหรือ microSD ให้เพียงพอ นอกจากนั้นหลังจากดาวน์โหลดแล้วเครื่องต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก่อนการรันครั้งแรก แต่หลังจากนั้นก็ไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกแล้ว
ระบบกุญแจซอฟต์แวร์ที่ไม่มีซอฟต์แวร์ในตัวนั้นมีการใช้งานมานาน โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ด้านวิศวกรรมหลายตัว และตัวเกมนั้นแม้ที่ผ่านมาแผ่นหรือตลับของเกมคอนโซลจะมีตัวเกมมาให้ แต่ก็มักจะต้องการอัพเดตขนาดใหญ่อยู่ดี

ทีมวิจัยจาก UC San Diego อัพเดตรายงานทดสอบ Turing Test แบบจำกัดเวลา เพื่อทดสอบว่าปัญญาประดิษฐ์จะสามารถหลอกว่าเป็นมนุษย์ได้หรือไม่ จากเดิมที่ เคยทดสอบตั้งแต่ปี 2023 และรอบนี้พบว่า GPT-4.5 เอาชนะมนุษย์ได้อย่างชัดเจน
กระบวนการทดสอบใช้จะให้ผู้ทดสอบคุยแชตกับ AI และมนุษย์ไปพร้อมกัน โดยสามารถคุยได้เพียง 8 ข้อความและจำกัดเวลา และเมื่อจบเวลา 5 นาทีก็ต้องเลือกว่าหน้าจอไหนเป็นมนุษย์หรือ AI โดยเมื่อปี 2023 นั้น GPT-4 ทำคะแนนได้สูงสุด 41% รอบนี้พบว่า GPT-4.5 สามารถทำคะแนนได้ถึง 73% สูงกว่ามนุษย์จริงๆ อย่างมีนัยสำคัญ

Chrome 135 ประกาศรองรับ มาตรฐาน Customizable Select Element
เป็นรายแรก เปิดทางให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขตัวเลือกในแท็ก <select>
ทำให้สามารถแก้ไขตัวเลือกได้อย่างซับซ้อน เช่น การใส่ภาพในตัวเลือก หรือกำหนดสีพื้นหลังของตัวเลือกแต่ละตัว
ก่อนหน้านี้กระบวนการแก้ไขการแสดงผลแท็ก <select>
ต้องอาศัยจาวาสคริปต์เป็นหลัก การปรับปรุงมาตรฐานในรอบนี้ทำให้ใช้เพียง HTML และ CSS เท่านั้น และยังคาดเดาการแสดงผลได้ หากเปิดเว็บในเบราว์เซอร์ที่ไม่รองรับมาตรฐานใหม่

Rapidus ผู้ผลิตชิปญี่ปุ่น ประกาศเริ่มเดินสายการผลิตชิป EUV 2nm แบบทดสอบภายในเดือนเมษายนนี้ หลังจากบริษัทลงทุนพัฒนากระบวนการผลิตมาตั้งแต่ปี 2022
บริษัท Rapidus ก่อตั้งมาเพียง 2 ปีกว่า แต่ลงทุนโดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่ในญี่ปุ่น ได้แก่ Denso, Kioxia, MUFG, NEC, NTT, SoftBank, Sony, และโตโยต้า เทคโนโลยีหลักร่วมมือพัฒนากับไอบีเอ็ม

Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิลถามชุมชนว่าควรรองรับ MCP หรือไม่ หลังจาก มาตรฐาน MCP ถูกเสนอโดย Anthropic และ OpenAI ก็ประกาศรองรับแล้ว ทำให้กูเกิลเป็นผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ LLM รายใหญ่รายเดียวที่ยังไม่รองรับ
เสียงตอบรับของคนส่วนใหญ่ก็ระบุว่าต้องการให้กูเกิลรองรับ MCP กัน ซึ่งก็คาดเดาได้เพราะคนจำนวนมากไม่ต้องการพัฒนาเครื่องมือแยกสำหรับกูเกิลอีกชุด

เว็บไซต์ WIRED อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตนระบุว่าทีมงาน DOGE ที่ตอนนี้อยู่ภายใต้ Elon Musk กำลังพยายามเข้าไปย้ายโค้ดระบบประกันสังคม จากเดิมเป็น COBOL เป็นสู่ภาษายุคใหม่กว่า เช่นจาวา โดยวางแผนจะทำให้เสร็จภายในเวลาไม่ถึงปี
ตอนนี้ประชาชนสหรัฐฯ รับเงินจากระบบประกันสังคมรวม 67 ล้านคน คิดเป็นเป็นสวัสดิการปีละ 930,000 ล้านดอลลาร์ หากระบบมีปัญหาจนทำให้กระบวนการจ่ายเงินล่าช้าก็จะส่งผลกระทบกับคนจำนวนมาก กระบวนการย้ายระบบขนาดใหญ่เช่นนี้มักใช้ระยะเวลาหลายปี ที่ผ่านมาประกันสังคมสหรัฐฯ เคยพยายามย้ายโค้ดมาตั้งแต่ปี 2017 แต่จนตอนนี้ก็ยังไม่สำเร็จ

บรรษัทรับประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Federal Deposit Insurance Corporation - FDIC) ออกประกาศชี้แจงว่าสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน สามารถทำธุรกรรมคริปโตได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก FDIC ก่อน หลักจากก่อนหน้านี้เคยตีความกฎหมายว่าต้องขออนุญาตล่วงหน้ามาตั้งแต่ปี 2022
แม้ว่าจะเปิดทางให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมเกี่ยวข้องกับเงินคริปโตได้ แต่ FDIC ก็ระบุว่าสถาบันการเงินยังคงต้องจัดการความเสี่ยงให้ดีพอ
Travis Hill รักษาการประธาน FDIC ระบุว่าการกลับแนวปฎิบัติครั้งนี้จะเป็นมาตรการแรกในอีกหลายมาตรการที่จะเปิดให้ธนาคารทำธุรกรรมคริปโตและบล็อคเชนในอนาคต

แอปเปิลปล่อย Swiftly โปรแกรมจัดการการติดตั้งภาษา Swift เวอร์ชั่น 1.0 เป็นแนวทางมาตรฐานในการติดตั้งภาษา Swift นอก XCode ตัว Swiftly เป็นเครื่องมือที่พัฒนาด้วยภาษา Swift เองทั้งหมด แสดงให้เห็นความสามารถในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นภาษา Swift ได้ทั้งบนแมคและลินุกซ์ (บนวินโดวส์ยังติดตั้ง Swift ผ่าน WinGet)
โครงการใช้ไลบรารีมาตรฐานในโมดูล Foundation ของตัวภาษาเองเป็นหลัก และใช้ไลบรารี AsyncHTTPClient ร่วมกับ Swift OpenAPI Generator สำหรับการสร้างไลบรารีเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ swift.org
การซัพพอร์ตลินุกซ์มีความยากที่ไลบรารีของแต่ละดิสโทรนั้นไม่ตรงกัน และฟีเจอร์ของ Swift เองตรวจจับระบบปฎิบัติการได้แต่ยังตรวจดิสโทรไม่ได้จึงต้องใช้ Static Linux SDK ยกไลบรารีไปด้วยเลย