ในงาน Made by Google '22 ที่กูเกิลเปิดตัว Pixel 7 และ Pixel Watch ผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด มีประเด็นน่าสนใจหลายอย่างในคีย์โน้ต ที่ผู้บริหารของกูเกิลพูดถึงคู่แข่งรายหนึ่ง ซึ่งก็หนีไม่พ้นแอปเปิล ในแง่ถ้าว่ากันที่นวัตกรรม จริง ๆ กูเกิลทำนำหน้าไปมากกว่าแล้ว
Karisa Langlo แห่ง CNET รวบรวมช่วงตอนต่าง ๆ จากในงานมาไว้ดังนี้
- หน้าจอ Always-on และ Widget ในหน้าจอล็อก: Brian Rakowski รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์บอกว่า ฟีเจอร์ต่าง ๆ เราใส่เข้ามาเป็นพื้นฐานนานแล้ว ขณะที่คนอื่นในอุตสาหกรรมก็วิ่งตามเรา
- ตรวจจับรถชน: กูเกิลเปิดตัวฟีเจอร์ตรวจจับรถชนมาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว รวมทั้งฟีเจอร์ความปลอดภัยอื่น ๆ
- Photo Unblur: แก้ไขภาพถ่ายที่เบลอได้ แม้เป็นรูปเก่าจากโทรศัพท์หรือกล้องที่ไม่เข้ากับคุณภาพกล้องของ Pixel
- RCS: บอกว่า RCS เป็นมาตรฐานยุคใหม่ของการส่งข้อความ ถูกใช้งานแล้วโดยผู้ผลิตส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรม
- สี: บอกว่า Pixel ไม่ได้เลือกสีที่ชอบแล้ว copy-paste ไปใส่ทุกผลิตภัณฑ์ แต่เลือกปรับเฉดโทนสีให้เหมาะสม
ที่มา: CNET
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
พรีเซนต์ตั้งนาน เหลือ 5 ประโยค
สรุปมาดี
Apple เขาถนัดพูดสิ่งที่มีให้ว้าวมี story แล้วคนจำ
จะไปแคร์ Apple เค้าทำไมครับมาขิงทีละฟีเจอร์ออกคีย์โน้ต Apple เขาไม่สนหรอกครับ
ถึงกับต้องรวมมาทำข่าว ไม่งั้นก็คงไม่เป็นข่าว หายไปกับสายลม
ถึงทำก่อน แต่ฟอนท์ไทยสู้ iOS ไม่ได้ ก็ไม่สนใจอ่ะ
ผมเคยใช้ Android ฟอนต์ไทย Roboto น่าเกลียดมาก ถึงจะมีวิธีเปลี่ยนฟอนต์ แต่บางฟังก์ชันของบางแอพ ก็เปลี่ยนไม่ได้อยู่ดี เมื่อไหร่จะเปลี่ยนฟอนต์หลักภาษาไทยเป็น Noto Sans/Serif ซะที
เพิ่งรู้ว่า Roboto มีภาษาไทยด้วย
ผมใช้ S22 Ultra อยู่ตอนนี้ลงฟ้อนท์ อนาคตใหม่ เอาครับ เป็นฟ้อนท์ที่ขาดไม่ได้จริงๆ
นึกว่ามีแต่ผมคนเดียวที่ทนใช้แอนดรอยด์ไม่ได้ เพราะตัวหนังสือไทยพิกลพิการ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ผิดรูปผิดร่าง น่าเกลียด ยิ่งมองยิ่งรับไม่ได้ อ่านทุกวันมันขัดใจ ทนใช้ไม่ได้จริง ๆ เช่นเดียวกับ Windows ที่ทั้ง Tahoma และ Leelawadee ทุเรศลูกตาพอกัน
จริงสุด ส่วนหนึ่งที่ชอบ iOS ก็เพราะเรื่องฟอนต์นี่แหละ
เรื่องฟ้อนมีช่วงนึงซื้อเครื่องสำรอง android 13 มาใช้ อ้าวยอมเกือบทุกแอปแล้วที่แสดงผลเป็นฟ้อนที่ซื้อมา ยกเว้น chrome กับ google เลยตัดสินใจขาย 13 PM ออกไปซื้อ S22U มาใช้ได้ราคา Powerbuy ยิ่งแฮปปี้ แฮปปี้ดี๊ด๊าอยู่ 2 อาทิตย์ แอปเครือกูเกิลเด้งกลับมาเป็นฟ้อนไทยมาตรฐานแอนดรอยด์ปกติอีกละ (Gboard, Maps, Drive, Photo,Google Play,Google TV ที่ร้ายที่สุดคือ Message) ทำอะไรไม่ได้ตอนนี้ ได้แต่ทำใจ ร้องให้หนักมาก
ผมเลยขาย S22U ที่ซื้อมาแค่ 3 วัน (มือสอง) เป็น iPhone 14 Pro แทนครับ เหตุผลหลักๆก็ฟอนต์นี่แหละ และก็ขนาดเครื่องผมถือขนาดใหญ่ไม่ค่อยไหวแล้ว
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ผมพยามสู้อยู่ด้วยการฟีดแบ็คกลับไปทุกแอปเลยขอให้แสดงผลด้วย font ที่ซื้อ ถ้ากลับไป iPhone ก็คงไปแค่ pro เหมือนกัน เพราะ max มันใหญ่(กว้าง) และหนักมาก
อย่านะ บางคนเขาก็ชอบฟ้อนต์ Droid Sans Thai ใน Android นี่เกลียดจนไม่รู้จะเกลียดยังไง ต่อให้เปลี่ยนฟ้อนต์ได้ ก็ยังโผล่มาหลอกหลอน มีวิธีสำหรับ Xiomi รอม EU ที่ Root คือเอาฟ้อนต์ Thonburi เปลี่ยนชื่อทั้งหมดทับ Roboto ไปเลย จบปึ้ง แต่ยี่ห้ออื่นทำไม่ได้นี่สิ อย่าง Samsung นี่เปลี่ยนทั้งระบบไม่ได้ ไม่กล้า Root
พูดอีกก็ถูกอีก 😂
สินค้าที่โฆษณาเกทับคู่แข่งนี่จบไม่สวยซักราย เหมือนไม่มีใครได้รับบทเรียนจากโฆษณา Get a Mac สมัยสิบปีที่แล้วเลย เอา Mac guy มาชนกับ PC guy เรียกเสียงฮือฮา เรียกกระแส แต่จนภึงตอนนี้ Mac เองก็ยังไม่สามารถชนะ Windows ได้ แต่ทั้ง Samsung, Nokia (Windows Phone), รวมถึง Pixel กลับมาแซะคู่แข่งแบบเดียวกัน หรือคิดว่าแม้จะเป็นหนังม้วนเดิมแต่อาจจบไม่เหมือนเดิม?
แต่มันดันได้พวกที่เรียกได้ว่า ปลดแอก จากวินโดวไปเยอะอยู่ เหมือนสมัย ubuntu รุ่งๆ แม้แต่ผมยังต้องลองติดตั้งทุกวันนี้ความคิดจากโฆษณานั้นยังคงวนเวียนอยู่
ในเมื่อเขาเป็นผู้เล่นใหม่มาก บางทีต้องจี้จุดอ่อนให้ผู้บริโภคเห็นแล้วปลดแอกตัวเองมาลองของใหม่ๆบ้าง
ลูกค้าก็คือ นกในกรง ของบริษัทที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้ลูกค้าหนี พวกที่มาทีหลังต้องทำลายกรงซะก่อน
ลูกค้ามีหลายกลุ่มครับ ซึ่งการโปรโมทแบบนี้เจาะกลุ่มไปยังลูกค้าที่มีสินค้าคู่แข่งใช้อยู่แล้ว ตามปกติของคนเราถ้าของเดิมที่ใช้อยู่ไม่มีปัญหาอะไร เขาไม่สนใจหรือสรรหาสินค้าใหม่ๆอยู่แล้ว เพราะงั้นโจทย์สำหรับลูกค้ากลุ่มนี้คือทำยังไงให้เขารับรู้ว่ามีมีทางเลือกอยู่นะ มันจึงเป็นการตลาดในรูปแบบเกทับแบบนี้เนี่ยแหละครับ
เชื่อไหมครับว่ามีคนที่ใช้แต่ iPhone อย่างเดียวหลายคน ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า Android มีฟีเจอร์เหล่านี้มานานแล้ว Google ฉวยโอกาส Apple ที่ทำให้ฟีเจอร์เหล่านี้เป็นที่รู้จักสำหรับคนเหล่านั้น แทรกโฆษณาของตัวเองเข้าไป ซึ่งมันต้องทำในรูปแบบนี้ (เกทับกัน) ในเวลาแบบนี้ (ตอนที่ลูกค้าเขากำลังให้ความสนใจ) เท่านั้น ถ้าโปรโมททั่วๆไปปกติลูกค้ากลุ่มนี้เขาไม่สนใจหรอกครับ และถ้าลูกค้ากลุ่มนี้ (ที่ควรจะเป็น Loyalty Customer) เริ่มใจเขวบ้าง แค่นี้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วล่ะครับ
ส่วนเรื่องแพ้ชนะ... อย่างที่บอกว่ามันแค่เจาะลูกค้ากลุ่มเดียว การจะตัดสินว่าแพ้ชนะจากแค่เรื่องนี้มันยากครับ แล้วก็... ผมก็ไม่มีข้อมูลนะ แต่โดยส่วนตัวผมเชื่อว่ามีหลายบริษัทที่ใช้การตลาดแบบนี้แล้วประสบผลสำเร็จ (คือดึงลูกค้า Loyalty Customer ของคู่แข่งบางส่วนออกมาได้) นะครับ
ทำไมเรียกจบไม่สวยเหรอครับ ปัจจุบันนี่ Mac คนก็ใช้กันเยอะแยะ ไม่ได้หายไปจากตลาดแต่อย่างใด ส่วนตัวคิดว่าในกลุ่ม Premium Notebook Mac ยอดขายดีที่สุดด้วยซ้ำ
คือโฆษณามันก็คือโฆษณาอ่ะครับ จะให้ออกมาแล้วพลิกจากเป็นผู้ตามมาเป็นเบอร์ 1 เลยคงไม่ใช่นะครับ แต่อย่างน้อยมันเพิ่มยอดขายได้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วนะครับ สำหรับโฆษณา และผมว่า Get a Mac นี่เป็นโฆษณาที่ประสบความสำเร็จตัวนึงของแอปเปิ้ลเลย เป็นที่จดจำไปอีกนาน
การจิกกัดกันมันเป็นสีสันของวงการโฆษณาเมืองนอกครับ ดูอย่าง โค๊กกับแปปซี่ Mcdonald กับ Burgerking แซะกันไปแซะกันมา ยอดขายโตทั้งคู่
มันก็พูดบลัฟกันทั้งโลก ไม่มีบริษัทไหนดีกว่ากันทั้งนั้นแหละ แถมเรื่องพวกนี้มันเป็นกันทุกวงการด้วยซ้ำ สำคัญคืออย่าไปเต้นตามมาก ดูอะไรที่มันเป็นรูปธรรมจับต้องได้สำหรับเราพอแล้ว หรือถ้าคิดว่าเต้นตามแล้วมีความสุขอันนี้ก็คงห้ามยาก
ชอบประเด็นจิกกัดอื่นๆ 555 สีสันวงการ จริงไม่จริง ลค ตัดสินใจเองได้
แต่เรื่องสุดท้าย สี อันนี้ไม่ค่อยเมกเซนเท่าไหร่ เห้อๆ
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
Get A Mac เป็นโฆษณาที่ออกมาได้ใจสาวกนะ ช่วงแรกๆ กลุ่มลูกค้าไม่มากก็ต้องทำการตลาดแบบนี้เพื่อดึงลูกค้ากลุ่ม Cult เอาไว้ให้เหนียวแน่นหน่อย
APPLE เค้าเน้น perfect lauch ถ้าไม่ดี ก็จะไม่ทำไปเลย ให้ความสำคัญกับ user experience เป็นหลัก
เรียก perfect launch ก็ไม่ได้หรอกครับ แค่มาตรฐานค่อนข้างสูงกว่าชาวบ้านเค้า