ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 ซึ่งเป็นการรายงานไตรมาสแรกหลังการ ควบรวมบริษัท ระหว่าง True กับ dtac เมื่อวันที่ 1 มีนาคม งบการเงินรวมมีรายได้ 51,463 ล้านบาท ลดลง 6.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ขาดทุนรวม 492 ล้านบาท สาเหตุหลักจากค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่สูงขึ้น
ผลการดำเนินงานแยกตามกลุ่มธุรกิจเป็นดังนี้ ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 7 แสนรายเป็น 50.5 ล้านราย เป็นผู้ใช้งาน 5G 6.3 ล้านราย ธุรกิจออนไลน์มีสมาชิก 3.8 ล้านราย แต่รายได้ลดลงเนื่องจากถูกกดดันด้วยการแข่งขันที่สูง ธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิก จำนวนสมาชิก 1.4 ล้านราย และกลุ่มทรูดิจิทัล จำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือน MAUs ลดลงเป็น 35.8 ล้านราย เนื่องจากในไตรมาส 4 มีฐานผู้ชมสูงจากฟุตบอลโลก
บริษัทประเมินผลการดำเนินงานในปี 2566 โดยรายได้จากการให้บริการหลักทรงตัว
ที่มา: ทรู คอร์ปอเรชั่น (pdf)
Comments
PDPA สามารถเอาเราออกจากการนับจำนวนลูกค้าได้มั้ยนะครับ เช่นไม่อนุญาตให้นำข้อมูลไปประมวลผล
เจ้านี้ไม่มีให้ opt-out ตามประเภทเลยครับ เหมารวมหมด
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ไม่น่าได้นะครับ ถ้าบริการบางอย่างมันจำเป็นต้องใช้ข้อมูลพวกนี้ทาง บ. ก็สามารถเก็บได้ครับ แต่ต้องมีวิธีการปกป้องข้อมูลลูกค้าด้วย กรณีนี้อาจจะจำเป็นต้องใช้ครับเลยเอามาใช้ได้
แต่ถ้าพวกเอามาเก็บไว้เพื่อเสนอ Promotion อันนี้ควรจะเอาออกได้ครับ
ถ้าผมเข้าใจผิดท่านอื่นแนะนำได้นะครับ ผมเองก็ไม่เคลียระหว่าง PDPA / Opt-in,out และการรักษาข้อมูลลูกค้า เหมือนกัน เช่น opt-out ไม่เอาไป process แต่ยังเก็บไว้ได้หรือเปล่าหรือต้องลบเลย หรืออันที่จำเป็นเก็บในมุม บ. แต่ลูกค้าจะมองว่าจำเป็นมั๊ยนะ อย่างเคสนี้
ไม่น่าได้นะครับ
แนวคิด PDPA จะเหมือนการวิจัย ที่ข้อมูลจะชี้ระบุบุคคลไม่ได้ว่าใคร
ดังนั้น ตัวเลขผลรวม ซึ่งระบุบุคคลไม่ได้ จึงใช้ได้เสมอ
ไม่นับรวมข้อมูลไม่เจาะจงบุคคล ไม่เหมือนกฎหมายฝั่งยุโรปที่ต้องอนุญาตจริง ๆ จึงจะใช้ข้อมูลได้
ที่สงสัยเพราะว่าใช้คำว่า
ราย
ไม่ใช่เลขหมาย
หรือบัญชี
หรือคู่สัญญา
แปลว่าเขาต้องรู้ว่ามีใครบ้างหรือป่าว?