เคอร์เนลลินุกซ์มีรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว LTS เป็นระยะเวลานาน 6 ปี สำหรับงานที่ต้องการเสถียรภาพสูง ดูแลระบบต่อเป็นเวลานาน ที่ผ่านมามีเคอร์เนล LTS ทั้งหมด 6 รุ่นคือ 4.14, 4.19, 5.4, 5.10, 5.15, 6.1 รายละเอียด
แต่ล่าสุดนโยบายนี้กำลังเปลี่ยน โดยลดระยะเวลาดูแลเคอร์เนลลงจาก 6 ปีเหลือ 2 ปี ด้วยเหตุผลว่าระยะเวลา 6 ปีนั้นนานจนเกินไป คนไม่ได้ใช้งานเคอร์เนลกันนานขนาดนั้น การลดระยะเวลาดูแลยังช่วยลดภาระของ maintainer ลงได้อย่างมากด้วย
ตัวอย่างคือเคอร์เนล 4.14 ออกในปี 2017 และจะซัพพอร์ตไปจนถึงเดือนมกราคม 2024 แต่ปัจจุบันก็แทบไม่มีใครใช้ เพราะเก่ามากแล้ว หลังจากเคอร์เนล 4.14 หมดอายุ จะตั้งเคอร์เนลตัวใหม่ที่ออกในช่วงนั้นเป็น LTS แทน โดยมีระยะเวลาซัพพอร์ตเหลือแค่ 2 ปี
ที่มา - ZDNet
Comments
อาจจะเป็นเพราะ build tools, การทดสอบ พัฒนาขึ้นมาก ทำให้ช่วยตรวจสอบและป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดจากการแก้บั๊กหรือเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆได้ค่อนข้างจะครอบคลุม System admin เลยไม่ค่อยกังวลในการอัพเกรดขึ้นไปใช้ kernel version ใหม่ๆ
..: เรื่อยไป
Linux นี่ก็แทบไม่มี Breaking Change อยู่แล้วนอกจากเรื่อง Hardware Deprecation ถ้าอยากใช้งานต่อก็ควรให้เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ตามเก็บงาน หรือผู้ปล่อยดิสโทรบริหารจัดการต่อยอดแพตช์ย่อยกันเอาเอง
เอาจริงๆ Linux เคยดรามาเรื่องจะลดมาหลายครั้งแล้ว ต้องบอกว่า LTS นี่ default มันคือ 2 ปี ทุกตัว แต่ที่ขยายเป็น 6 ปีได้ต้องมีคนจ่ายเงินช่วย
สุดท้ายผู้ผลิต device เช่น google ก็คงมาช่วยหละ ไม่งั้นอุปกรณ์แอนดรอยจะอายุสั้นมาก เพราะไม่ได้รับ patchEach new longterm kernel usually starts with only a 2-year projected EOL that can be extended further if there is enough interest from the industry at large to help support it for a longer period of time
แถ่นแท้น
ผมใช้ product อยู่ตัวนึงที่ LTS 2 ปี พอ implement เสร็จก็ต้อง upgrade version + retest กันก่อนขึ้น production ดีว่าไม่เจอ issue นี่ถ้า project ยาวๆ ก็จะกลายเป็น implement ไป upgrade version ไป ลุ้นไป
ส่วน production นั้นลูกค้าก็ต้องมี plan รองรับ upgrade ทุกๆ 2 ปี
เล่าเฉยๆ ไม่ได้มีอะไร
2 ปีนี่เรียกว่าแป๊ปเดียวเลยนะครับ ออก PO เซ็นสัญญาก็เป็นเดือนแล้ว Implements ก็ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ขึ้น Production ก็ต้องรับประกันอีก
I need healing.