จากข่าว ซัมซุงเปิดตัว Eclipsa Audio ระบบเสียง 3D ที่พัฒนาร่วมกับกูเกิล ใช้ในทีวีปี 2025 ในช่วงปีใหม่ ตอนนี้เริ่มมีข้อมูลของ Eclipsa Audio ออกมาดังนี้
Mastodon ประกาศเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความเป็นเจ้าขององค์กร จากเดิมเป็นของผู้ก่อตั้ง Eugen Rochko ไปสู่องค์กรกลางที่ไม่หวังผลกำไรในยุโรป (อยู่ระหว่างการจดทะเบียนจัดตั้ง) เพื่อการันตีว่าอนาคตของ Mastodon ไม่ได้เป็นของบุคคลใดเพียงคนเดียว (Mastodon should not be owned or controlled by a single individual.)
ปัจจุบัน ความเป็นเจ้าของ Mastodon เป็นของบริษัทหวังกำไร Mastodon GmbH จดทะเบียนในเยอรมนี ที่มี Rochko เป็นเจ้าของอีกทีหนึ่ง แต่ในระยะถัดไปจะมีองค์กรใหม่ที่ไม่หวังผลกำไร มาเป็นเจ้าของ Mastodon GmbH อีกชั้นหนึ่ง (คล้ายกับโครงสร้างของ Mozilla Foundation และ Mozilla Corporation ในปัจจุบัน)
ดราม่า WordPress ประจำวันนี้ ต้องย้อนกลับไปเมื่อเดือนที่แล้วซึ่ง ศาลแคลิฟอร์เนียสั่งคุ้มครอง มีผลให้ Automattic ต้องหยุดบล็อกการเข้าถึงปลั๊กอินตามที่ WP Engine ร้องขอ จนทำให้ Matt Mullenweg ซีอีโอ Automattic และผู้ก่อตั้ง WordPress ถึงกับ ปิดรับปลั๊กอินใหม่ ระเบิดอารมณ์ใน Slack และล่าสุดประกาศ ลดเวลาทำงาน ให้ชุมชนโอเพนซอร์ส WordPress
ในตอนนั้นเอง Joost de Valk ผู้สร้างปลั๊กอิน Yoast สำหรับทำ SEO บน WordPress และเคยเป็นอดีตหัวหน้าฝ่ายสื่อสารการตลาดที่ WordPress Foundation ได้ออกมา เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา WordPress ให้เป็นโครงการใหม่มีการกำกับดูแลแบบชุมชนอย่างแท้จริง ไม่ให้เกิดการรวมศูนย์ปลั๊กอินแบบกรณีที่เกิดขึ้น ข้อเสนอนี้ได้รับการ สนับสนุนแบบเปิดเผยจาก Karim Marucchi ซีอีโอ Crowd Favorite บริษัทรับดูแลเว็บให้ลูกค้าองค์กร ให้มีการกำกับ WordPress ใหม่ที่เปิดเผยและโปร่งใสขึ้น
ดราม่าต่อเนื่องของสงครามโลก WordPress ข่าวแรกของปี 2025 คือบริษัท Automattic ประกาศ "ลดเวลาการทำงาน" ของพนักงานในการร่วมพัฒนา WordPress เวอร์ชันโอเพนซอร์สลงเหลือ 45 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (นับรวมพนักงานทุกคนในบริษัท) เท่ากับ ชั่วโมงการทำงานของคู่กรณี WP Engine ที่เคยสัญญาไว้ต่อสาธารณะ
Linux Foundation ประกาศตั้งกลุ่ม Supporters of Chromium-Based Browsersดึงหลายๆ บริษัทเข้ามาช่วยพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ตระกูล Chromium
กลุ่ม Supporters of Chromium-Based Bowsers ที่อยู่ภายใต้ Linux Foundation จะทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการร่วมพัฒนา Chromium เพิ่มเติมจากกูเกิลทำอยู่รายเดียว ตอนนี้มีสมาชิกเข้าร่วมเพิ่มอีก 3 รายคือ Meta, Microsoft, Opera และจะเปิดรับสมาชิกเพิ่มเติมอีกในอนาคต
ไมโครซอฟท์โอเพนซอร์สโมเดลปัญญาประดิษฐ์ Phi-4 ผ่าน Hugging Face แล้ว ตามที่เคยประกาศไว้ ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบ MIT
ไมโครซอฟท์ เปิดตัว Phi-4 ที่เป็นโมเดลภาษาขนาดเล็ก (Small Language Model) 14B พารามิเตอร์ เมื่อเดือนที่แล้ว โดยจำกัดให้ใช้งานผ่าน Azure AI Foundry การโอเพนซอร์สโมเดลนี้พร้อมสัญญาอนุญาตแบบ MIT ที่สามารถนำไปใช้งานต่อในเชิงพาณิชย์ได้ น่าจะเพิ่มทางเลือกให้กับพัฒนาได้
Phi-4 มีผลทดสอบที่โดดเด่น โดยเฉพาะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ หรือหัวข้อเฉพาะทาง รวมทั้งมีคะแนนที่สูงกว่าโมเดลขนาดใหญ่กว่าอย่าง Gemini Pro 1.5 ในบางหัวข้อด้วย
Fish Shell ซอฟต์แวร์ shell กลุ่มเดียวกับ Bash และ PowerShell ออกเวอร์ชั่น 4.0 Beta 1 เป็นเวอร์ชั่นแรกที่พอร์ตฟังก์ชั่นแกนกลางไปยังภาษา Rust นับเป็นความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในเวอร์ชั่นหลักครั้งนี้ ฟีเจอร์เดียวแก้ไข 126 ไฟล์ มีการ commit ใน pull request ถึง 50 รายการ รวมเวอร์ชั่น 4.0 มีการแก้ไขไฟล์ 1155 ไฟล์ เพิ่ม 110,247 บรรทัด ลบ 88,941 บรรทัด
ridiculousfish หนึ่งในนักพัฒนาหลักของ Fish เสนอแนวทางนี้เมื่อต้นปี 2023 ระบุเหตุผลว่า "ไม่มีใครชอบ C++ หรือ CMake จริงๆ หรอก" เพราะกระบวนการเซ็ตอัพยุ่งยาก การใช้ C++ ทำให้นักพัฒนาใหม่ๆ เข้าร่วมได้ยาก และ Rust ยังเปิดทางให้สามารถรันงานแบบ concurrent ได้อย่างปลอดภัยขึ้นในอนาคต
DeepSeek ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ LLM จากจีน ปล่อยโมเดล DeepSeek v3 โมเดล LLM ขนาดใหญ่มาก จำนวนพารามิเตอร์มากขึ้น 685B จากเดิมที่โมเดลเปิดใหญ่สุดคือ Llama 3.1 405B
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโมเดลนี้นัก แต่ทาง Aider โครงการซอฟต์แวร์ช่วยเขียนโปรแกรมก็โชว์ผลทดสอบพบว่า DeepSeek v3 ทำคะแนนทดสอบได้ดีมาก แซงหน้า Claude 3.5 Sonnet อละ Gemini Exp 1206 ไปได้ เป็นรองเพียง OpenAI o1 เท่านั้น ตัวโมเดลใช้สถาปัตยกรรม Mixture-of-Experts แยก expert ออก 256 ชุด และเลือกใช้ 8 ชุดในแต่ละ token
openSUSE เปิดตัวซอฟต์แวร์ GUI จัดการแพ็กเกจตัวใหม่ชื่อ YQPkg เขียนด้วย Qt เพื่อเป็นทางเลือกใหม่แทน YaST ของเดิมที่มีความซับซ้อนสูง
จุดเด่นของ YQPkg คือเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมดโดยไม่ต้องพึ่งพาส่วนประกอบใดๆ ของ YaST เลย ตัวมันขี่อยู่บน libzypp ที่ใช้จัดการแพ็กเกจแบบคอมมานด์ไลน์
สถานะของ YQPkg ยังเป็นอัลฟ่า และยังขาดฟีเจอร์หลายอย่าง เช่น การจัดการคีย์ GPG แต่ในอนาคตก็ดูมีศักยภาพ ที่จะนำมาใช้แทน YaST ซึ่งถือเป็นแอพครอบจักรวาลในโลกของ SUSE และตอนนี้โครงการ SUSE เองกำลังเขียนหลายๆ ส่วนมาแทน YaST อยู่
ทีมวิศวกรของฝ่ายวิจัย Machine Learning ของแอปเปิล เผยแพร่รายละเอียดตัวเร่งการทำ LLM Inference โดยร่วมมือกับ NVIDIA เพื่อทดสอบประสิทธิภาพบนจีพียูของ NVIDIA
เครื่องมือที่แอปเปิลพัฒนาและโอเพนซอร์สนี้ชื่อว่า Recurrent Drafter หรือย่อว่า ReDrafter เป็นโมเดลที่รวมสองอัลกอริทึมคือ Beam Search กับ Dynamic Tree Attention เพื่อเร่งความเร็วในการสร้างโทเค็นผลลัพธ์ของ LLM สูงสุดที่ระดับ 3.5 โทเค็นต่อหนึ่งขั้นตอนของโมเดลโอเพนซอร์ส
ผลการทดสอบความเร็วในการสร้างโทเค็นผลลัพธ์ด้วย TensorRT-LLM ของ NVIDIA พบว่า ReDrafter ทำงานได้เร็วกว่าวิธีดั้งเดิม 2.7 เท่า ทำให้วิธีการนี้อาจนำมาช่วยให้การสร้างผลลัพธ์ของ LLM ให้เร็วขึ้นในมุมผู้ใช้งาน และลดการใช้ทรัพยากรจีพียูลงได้ด้วย
ไมโครซอฟท์ออก MarkItDown ไลบรารีภาษาไพธอนสำหรับแปลงเอกสารในชุด Microsoft Office (.docx, .xlsx, .pttx) รวมถึงไฟล์ PDF, HTML ให้อยู่ในฟอร์แมต Markdown
เนื่องจาก MarkItDown ออกแบบมาเป็นไลบรารี วิธีการใช้งานจึงต้องเรียกผ่านการเขียนโค้ด Python สั้นๆ ตามตัวอย่าง
from markitdown import MarkItDown
markitdown = MarkItDown()
result = markitdown.convert("test.xlsx")
print(result.text_content)
เป้าหมายของ MarkItDown คือแปลงไฟล์เอกสารประเภทต่างๆ มาเป็น Markdown ฟอร์แมตเดียว เพื่อให้สะดวกกับการนำไปประมวลผลต่อในงานอื่นๆ เช่น วิเคราะห์ข้อมูลประเภทข้อความ ตัวไลบรารีเป็นโอเพนซอร์ส ใช้สัญญาอนุญาตแบบ MIT
Turso สตาร์ตอัพด้านฐานข้อมูล ผู้ดูแล โครงการ libSQL ที่เป็น fork ของ sqlite เพื่อแก้ปัญหา SQLite ไม่รับแพตช์ภายนอก ประกาศโครงการ Limbo ฐานข้อมูลใหม่เขียนด้วย Rust แต่ยังเข้ากันได้กับ SQLite
โครงการนี้เริ่มจากโครงการทดลองของ Pekka Enberg ทีมงานของ Turso โดยทดลองส่วนตัวอยู่ระยะหนึ่ง แม้ไม่ได้โปรโมทแต่กลับได้รับความสนใจ GitHub Star เกินพันและมีผู้ส่งแพตช์หลายสิบคน
ความยากของการพัฒนาคือ ชุดทดสอบ SQLite นั้นไม่เปิดให้คนภายนอก และต้องเสียค่าไลเซนส์เพื่อใช้งาน ทาง Turso เลือกใช้ Deterministic Simulation Testing (DST) เพื่อจำลองการทำงานและตรวจสอบว่าพฤติกรรมเหมือนกับ SQLite ดั้งเดิม
Seth Larson นักพัฒนาที่รับผิดชอบส่วนความปลอดภัยของโครงการ Python Software Foundation โพสต์บล็อก แสดงความกังวลต่อการรายงานปัญหาความปลอดภัยในซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส โดยพบจำนวนการแจ้งปัญหาบั๊กที่คุณภาพต่ำ เป็นสแปม เนื่องจากเป็นรายงานที่ออกมาจากปัญญาประดิษฐ์ LLM เพิ่มมากขึ้น
เขาบอกว่าการตรวจสอบยืนยันปัญหาความปลอดภัยในซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและสิ่งเหล่านี้คือต้นทุนทั้งแรงงานและเวลา หากแนวโน้มการส่งรายงานปัญหาด้วย AI LLM ไม่มีคุณภาพแบบนี้มีมากขึ้น อาจกระทบต่อคนทำงานให้รู้สึกมีภาระเพิ่มแต่ไม่เกิดประโยชน์ สามารถมองเป็นภัยคุกคามอย่างหนึ่งของชุมชนโอเพนซอร์สได้
Ollama เพิ่มฟีเจอร์การเอาท์พุตข้อมูลเป็น JSON แบบเดียวกับ LLM API ต่างๆ โดยกำหนด schema ของ JSON ได้โดยตรง และโดยรวมเอาท์พุตแน่นอนกว่า JSON mode
สำหรับไลบรารี Ollama ในภาษา Python จะสามารถกำหนด schema ได้ทั้ง Python dict และ Pydantic ซึ่งจะสามารถตรวจสอบเอาท์พุตก่อนใช้งานได้ด้วย ส่วนไลบรารีภาษา JavaScript ก็สามารถใช้ Zod ได้
ฟีเจอร์นี้สามารถใช้งานร่วมกับไลบรารี OpenAI ได้โดยตรง ทาง Ollama แนะนำว่าในพรอมพ์ควรระบุไว้เสมอว่าให้แสดงเอาท์พุตเป็น JSON
ที่มา - Ollama
- Read more about Ollama รองรับการเอาท์พุตเป็น JSON กำหนด schema ได้
- 2 comments
- Log in or register to post comments
Mozilla เปลี่ยนวิธีบีบอัดไฟล์ติดตั้ง Firefox บนลินุกซ์ จากเดิมใช้ .tar.bz2 มาเป็น .tar.xz เพื่อขนาดที่เล็กลงถึง 25%
xz เป็นซอฟต์แวร์บีบอัดที่ใช้อัลกอริทึม LZMA ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า gz หรือ bz2 ทั้งในแง่ขนาดไฟล์หลังบีบอัด และความเร็วในการคลายไฟล์ ช่วงหลังๆ ลินุกซ์ดิสโทรต่างๆ ล้วนแต่รองรับ xz หมดแล้ว ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ในการใช้งาน
Mozilla บอกว่าเลือกระหว่าง xz กับ Zstandard (.zst) ที่มีความเร็วการคลายไฟล์สูงกว่าเล็กน้อย แต่สุดท้ายเลือก xz เพราะบีบอัดได้มากกว่า ช่วยประหยัดพื้นที่และแบนด์วิดท์ รวมถึงมีดิสโทรที่รองรับมากกว่าด้วย
Andrew Ng หนึ่งในผู้บุกเบิกวงการ deep learning ออกไลบรารี aisuite ไลบรารีที่ไม่ซับซ้อนนัก สำหรับการเชื่อมต่อ LLM จากผู้ให้บริการหลากหลายเจ้า โดยโค้ดเปลี่ยนเฉพาะชื่อโมเดลเท่านั้น
ปัญหาการเชื่อมต่อ LLM จากผู้ผลิตหลายรายนั้นมีมานาน แต่ช่วงหลังๆ ปัญหาก็น้อยลงมากเนื่องจากผู้ให้บริการรายใหม่ๆ ยอมแพ้หันไปทำ API ของตัวเองให้เข้ากันได้กับ OpenAI แทน แม้แต่คู่แข่งหลักอย่างกูเกิลก็ต้องทำตามแนวทางนี้
Odoo บริษัทซอฟต์แวร์ ERP โอเพนซอร์ส ประกาศขายหุ้นเดิมให้กับกลุ่มนักลงทุน รวมเป็นเงิน 500 ล้านยูโร ซึ่งกลุ่มนักลงทุนนำโดย CapitalG ของ Alphabet และ Sequoia Capital ร่วมด้วย BlackRock, Mubadala Investment Company, HarbourVest Partners, AVP และ Alkeon
Odoo บอกว่าการขายหุ้นครั้งนี้ทำให้มูลค่ากิจการของบริษัทเพิ่มเป็น 5 พันล้านยูโร ทั้งนี้ Odoo มีสถานะเป็น ยูนิคอร์นมาตั้งแต่ปี 2021
จำนวนผู้ใช้งาน Odoo มีมากกว่า 13 ล้านราย มีลูกค้าใหม่เพิ่มเติมเฉลี่ย 7,000 รายทุกเดือน มีการเติบโตที่ระดับ 40% ต่อปี ใน 12 เดือนข้างหน้าคาดมีรายรับ 650 ล้านยูโร และน่าจะแตะ 1 พันล้านยูโรได้ในปี 2027
Ondsel บริษัทผู้พยายามปรับปรุงโปรแกรม FreeCAD เพื่อทำเป็นเวอร์ชั่นที่แข่งกับโปรแกรม CAD เชิงพาณิชย์ได้ ประกาศปิดตัวลงแล้ว หลังจากเปิดกิจการมาเมื่อต้นปี 2023 เท่านั้น
ที่ผ่านมา Ondsel ออกโปรแกรม Ondsel ES ของตัวเองมาหลายเวอร์ชั่น มีการปรับปรุงหน้าจอ UX/UI ให้ใช้งานง่ายขึ้นกว่า FreeCAD และเพิ่มฟีเจอร์เช่น SheetMetal สำหรับการขึ้นรูปโลหะแผ่น
Brad Collette นักพัฒนาหลักของ FreeCAD ที่ร่วมก่อตั้ง Ondsel ยอมรับว่าการแข่งขันในตลาด CAD/CAM นั้นทำได้ยากอยู่แล้ว และช่วงเวลาสองปีของบริษัท Ondsel ก็พยายามหาแนวทางธุรกิจไปพร้อมๆ กับการพัฒนาโปรแกรม แต่ก็หาแนวทางทำเงินไม่ได้จนเงินทุนหมดลง
โครงการ GNU Compiler Collection หรือ GCC เปิดตัว คอมไพเลอร์ภาษา Rust (gccrs) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากคอมไพเลอร์หลักของโครงการ Rust โดยตรง ( rustc )
แนวทางของ GCC ต้องการเป็นชุดคอมไพเลอร์สำหรับภาษาโปรแกรมแบบครบวงจร และสร้างคอมไพเลอร์สำหรับภาษาต่างๆ ในชุดอยู่แล้ว (เช่น gccgo) กรณีของ gccrs ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2014 ก่อน Rust ออกเวอร์ชัน 1.0 ด้วยซ้ำ แต่ถูกทอดทิ้งไประยะหนึ่ง ก่อนมีนักพัฒนารายอื่นมารับช่วงโครงการต่อในปี 2019 แล้วพัฒนาต่อเรื่อยมา
Ruby on Rails ออกเวอร์ชั่น 8.0 ชูฟีเจอร์สำคัญคือการรวมเอา Kamal 2 พรอกซี่สำหรับการ deploy โครงการอย่างรวดเร็ว ต้องการเพียง SSH key จากเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น ขณะที่ฝั่งแอปพลิเคชั่นเองมีพรอกซี่ Thruster สำหรับการบีบอัดข้อมูลและแคชในตัว ทำให้โดยรวมไม่ต้องใช้ nginx เลย
ฝั่งข้อมูลในการทำงานนั้น Rails 8 ไม่ต้องการ Redis สำหรับ PubSub, Cahce และ Queue แล้ว โดยอาศัยโครงการ Solid ที่เป็น adapter ฐานข้อมูลหันมารองรับ SQLite ทั้งหมด โดยโครงการภายในของ 37signals เองก็ใช้ SQLite บน production หลายตัว เช่น Campfire และ Writebook
การอัพเกรดยังมีฟีเจอร์เล็กๆ น้อยๆ อีกจำนวนมาก ActiveModel มีฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น ขอยกเว้นเงื่อนไขการ validate ข้อมูล, เพิ่มระบบรีเซ็ตรหัสผ่านในตัว
Microsoft Azure เปิดโครงการ Hyperlight ไลบรารีภาษา Rust สำหรับการรันฟังก์ชั่นขนาดเล็ก แต่แยกออกเป็น hypervisor ของตัวเองเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ที่แม้แอปพลิเคชั่นถูกแฮกตัวแฮกเกอร์ก็ไม่สามารถเจาะโปรเซสอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องเดียวกันได้
Hyperlight ใช้เวลาเริ่มโปรเซสประมาณ 1-2ms อยู่ตรงกลางระหว่างการรัน sandbox ปกติที่ใช้เวลาน้อยกว่า 0.03ms เท่านั้น กับการรัน VM เดิมๆ ที่ใช้เวลาอย่างน้อยๆ 120ms แนวทางการรันแอปพลิเคชั่นบนระบบ virtual machine โดยตรงเช่นนี้มีหลายคนพยายามทำมาก่อนแล้ว เช่น Firecracker ของ AWS
โครงการ Hyperlight โอเพนซอร์สแบบ Apache 2.0 และไมโครซอฟต์ยังส่งโครงการเข้า CNCF ในฐานะโครงการ Sandbox ด้วย
Fedora ออกเวอร์ชัน 41 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน ซอฟต์แวร์ใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
จากข่าว Open Source Initiative หรือ OSI ออกมาให้นิยามของ AI โอเพนซอร์สว่า ต้องมีเงื่อนไขใด บ้าง ซึ่งผลคือนิยามนั้นทำให้โมเดล AI ที่ผู้พัฒนาเผยแพร่บอกว่าเป็นโอเพนซอร์สยอดนิยมหลายตัว ไม่เข้าข่าย ซึ่ง รวมทั้ง Llama ของ Meta ด้วย
Faith Eischen โฆษกของ Meta ชี้แจงว่าบริษัทเห็นด้วยกับ OSI ที่ทำงานร่วมกันเป็นพาร์ตเนอร์มาตลอดในหลายประเด็น แต่กับนิยาม AI โอเพนซอร์สนี้บริษัทไม่เห็นด้วย เพราะยังไม่มีนิยามเดียวที่สามารถใช้ได้ สำหรับโลกของ AI ที่มีความซับซ้อนสูง และมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
Open Source Initiative (OSI) หน่วยงานผู้ให้นิยามของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ประกาศนิยามของปัญญาประดิษฐ์โอเพนซอร์ส The Open Source AI Definition – 1.0 เพื่อให้อุตสาหกรรมเข้าใจตรงกันว่าการเป็นโอเพนซอร์ส (ตาม OSI) ต้องมีเงื่อนไขใดบ้าง
แนวทางนิยามของ OSI สำหรับปัญญาประดิษฐ์นั้นไม่ต่างจากซอฟต์แวร์มากนัก แต่เพิ่มนิยามรายละเอียด แยกส่วน เช่น ข้อมูลที่ใช้ฝึกนั้นต้องให้รายละเอียดเพียงพอ แม้จะไม่ต้องแชร์ข้อมูลออกมาเสมอไป, ตัวโค้ดที่ใช้รันต้องใช้สัญญาอนุญาตที่ OSI รองรับว่าเป็นโอเพนซอร์ส, และตัวพารามิเตอร์ต้องแจกในสัญญาอนุญาตที่ OSI รับรองเช่นกัน
วงการเคอร์เนลลินุกซ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีประเด็นดราม่าว่า นักพัฒนาเคอร์เนลชาวรัสเซียถูกถอดสิทธิจากการเป็น maintainer โดย Greg Kroah-Hartman (gregkh) เบอร์สองของวงการเคอร์เนลให้เหตุผลสั้นๆ ว่าเป็นเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบหลายอย่าง (due to various compliance requirements) และนักพัฒนาเหล่านี้สามารถขอคืนสิทธิได้เมื่อส่งเอกสารตามที่เราต้องการ
เมื่อเหตุผลไม่ชัดเจน จึงมีเสียงประท้วงว่าทำไมถึงตัดสิทธินักพัฒนาเหล่านี้ตามมา ซึ่ง Linus Torvalds เจ้าเก่าก็มาตอบ (แบบดุดันเหมือนเดิม) ว่าการตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นไปแล้ว การรวมตัวประท้วงกันเยอะๆ (เขาใช้คำว่า Russian troll factories) ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแต่อย่างใด