โรงงานไฟฟ้า Vogtle ในสหรัฐฯ เปิดใช้งานเตาปฎิกรณ์เตาที่ 3 นับเป็นเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้าเตาแรกในรอบ 7 ปีที่เปิดใช้งาน หลัง Watts Bar Unit 2 เปิดใช้งานเมื่อปี 2016 และเตาก่อนหน้านั้นที่เปิดใช้งานคือ Watts Bar Unit 1 ที่เปิดใช้งานเมื่อปี 1996 หรือ 27 ปีก่อนทีเดียว
Vogtle Unit 3 เป็นเตาปฎิกรณ์รุ่น Westinghouse AP1000 ที่มีขนาดเล็กกว่าเตาเดิมๆ ที่สำคัญคือมีระบบความปลอดภัยแบบ passive สามารถปิดเตาปฎิกรณ์ลงได้โดยไม่ต้องการพลังงานภายนอกมาหล่อเย็นระหว่างการปิดทำงาน
โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับความนิยมในสหรัฐฯ ในช่วงปี 1970-1990 แต่หลังจากนั้นก็แทบไม่มีการสร้างเพิ่มเติม และหลายโครงการก็หยุดชะงักไปนับสิบปี ทุกวันนี้มีเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้าในสหรัฐฯ รวม 93 เตาปฎิกรณ์ ผลิตไฟฟ้ารวม 95.88 GW
ที่มา - EIA.gov
ภาพโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ Vogtle
Comments
ฝั่งยุโรปที่ค่าพลังงานแพงจากสงครามรัสเซียเสียอีก ทำไมไม่สร้างเพิ่มกันนะ
สงสัยรอ fusion
เขากลัวมลพิษกับอุบัติเหตุเหมือนที่ญี่ปุ่น
น่าจะเอา EIA ผ่านยาก คนค้านเยอะ คนกลัวเยอะ
ทุกคนน่าจะกลัวเกิดเหตุการณ์แบบ Chernobyl อีกมั๊้ยนะครับ
ทำสงครามเมื่อไหร่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะกลายเป็นจุดอ่อน ถ้าโดนโจมตีขึ้นมาอาจส่งผลกระทบเป็นรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร
เอาจริงๆนะถ้าระดับโจมตีเมกาได้เค้าก็มีนิวเคลียกันหมดจะมาถล่มโรงไฟฟ้านิวเคลียทำไมหวังผลยาก ยิงนิวเคลียมาลงเองดีกว่าเยอะ แถมเลือกจุดที่จะระเบิดได้ด้วย แล้วโจมตีโรงไฟฟ้าก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถทำให้นิวเคลียมันเกิดฟิกชั่นจนระเบิดตูมตามได้ซะที่ไหน สารพัดจะต้องคำนวณว่าต้องโจมตียังไงให้ได้ผล ของจริงมันไม่ได้เหมือนในเกมนะไปยิงจนhpหมดแล้วระเบิดตู้มรอบๆตายหมด
เตาปฏิกรณ์ Gen ใหม่เทสด้วยการยิงมิสไซต์ใส่ตัวเตาเพื่อเทสว่ารังสีรั่วได้หรือไม่แล้วครับ เอาจริงเตาปฏิกรณ์รุ่นใหม่พังแล้วจัดการง่ายกว่าเขื่อนแตกอีกนะ ดูตอนรัสเซียระเบิดเขื่อนยูเครนได้ครับผลกระทบหนักกว่าโรงไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นอีกทั้งที่เตานั้น Gen 2 เอง
เป็นเรื่องความกลัวแล้วก็ไม่เข้าใจในโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เลยต่อต้านกัน แล้วก็ต้องไปเปิดโรงงานถ่านหินกันซึ่งควันจากการเผาใหม้ถ่านหินก็มีรังสีจากแร่ที่ผสมอยู่ในถ่านหินแถมกระจายเป็นวงกว้าง แต่คนไม่รู้สึกกลัวเท่ากับคำว่านิวเคลียร์
ผมเพิ่งกลับจากที่นี่เลยไปค้นข่าวที่นี่ดู สรุปว่าก็มีโครงการจะสร้างและ IAEA approve แล้วด้วยนะครับ https://news.err.ee/1609149196/iaea-approves-estonia-to-continue-its-nuclear-program
เคยเห็นวิดีโออธิบายกรณีประเทศเยอรมนีกับฝรั่งเศส โดยเยอรมนีไม่นิยมสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จากความกังวลต่ออุบัติการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลและความหวาดกลัวต่อนิวเคลียร์จากที่ประเทศตนเคยเป็นด่านหน้าสุดในช่วงสงครามเย็น ขณะที่ฝรั่งเศสนิยมสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เนื่องจากเคยเผชิญกับวิกฤตพลังงาน
อยากให้ไทยมีบ้าง และใช่ครับ มาสร้างหลังบ้านผมเลยก็ได้ ยอม แต่ขอใช้ไฟถูกกว่านี้หน่อยนะ - -*
ว่าแต่อันนี้เป็น Gen 4 แล้วใช่มั้ยดูจากสเปก
น่าจะยากเรื่องประชามติของคนในชุมชน...
The Dream hacker..
จริง ๆ เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียนี่ มันอยู่ที่ความเข้าใจของคนจริง ๆ เลยแหะ พอจะสร้างโรงไฟฟ้าก็จะมีคนบอกว่าเดี๋ยวเป็นเหมือนเชอโนบิล เดี๋ยวเป็นเหมือนฟุกุชิม่า ทั้งที่สองโรงนั้นเป็นโรงแบบ Gen 2
โรง Vogtle 3 อันนี้เป็น Gen 3 แล้ว ถ้ามีเหตุการอะไรมีปัญหา ตัว Reactor มันจะหยุดทำงานเอง คือมันปลอดภัยมาก ๆ แล้ว (Gen 4 ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา มีแค่จีนที่ทดสอบแล้ว)
Gen 3+ ครับ
ยาก ขนาดโรงไฟฟ้าธรรมดายังสร้างใหม่แทบไม่ได้ ให้ผลประโยชน์อะไรกับชุมชนก็ไม่น่าจะมีผล
เป็นไปได้มากสุด ไปร่วมทุนสร้างที่ประเทศเพื่อนบ้าน แล้วส่งขายให้ไทย แต่ก็กลายเป็นต้นทุนไม่น่าจะถูก แค่ได้เรื่องความเสถียรกรณีโดนปิดอ่าว หรือเพื่อนบ้านปิดหลุมเจาะแก็สกระทันหันแบบที่เคยเจอมาก่อน
ไทยเคยจะสร้างอยู่ แต่ตอนนั้นเจอเหตุการณ์สึนามิพอดี โครงการเลยพับยาวๆเลย :'(
เห็นด้วยครับ บ้านเรามี ปส. มาเกือบหกสิบปีแล้วยังไม่ได้ทำอะไรไปมากกว่าการวิจัยสักเท่าไหร่เลย
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ต้นทุนไม่ต่างกับถ่านหินมาก อย่าได้หวังค่าไฟราคาถูกครับ
เลิกบ่นค่าไฟแพงกันได้แล้ว โรงงานไฟฟ้านิวเคลียก็ไม่เอา สักวันมันก็ต้องเป็นแบบนี้แหล่ะ และ ณ เวลานี้นี้ถึงจะเริ่มทำ ก็ต้องใช้เวลาอย่างต่ำอีก 10 ปี
gen III+ ปลอดภัยมากๆแล้วครับ ถ้าได้สร้างคิดว่าค่าไฟจะลดลงและช่วยลดภาสะโลกร้อนด้วยครับ ค่อนข้างวิกฤตแล้ว
ค่าไฟจะลดจริงเหรอ ต้นทุนค่าก่อสร้างค่าดำเนินการน่าจะสูงกว่าโรงไฟฟ้าปกติเยอะเลยนะครับ
เขาไม่ได้ผลิตไฟฟ้าแค่ 3 ปี 5 ปีแล้วปิดโรงงานนิครับ พวกโรงงานฟอสซิลหรือก๊าซธรรมชาติเป็นแบบที่ผลิตไฟฟ้าได้เทียบต่อพื้นที่การตั้งโรงงานได้เยอะกว่าแต่มันเป็นแบบยิ่งใช้เวลาผ่านไปยิ่งแพงเพราะเชื้อเพลิงครับ ส่วนพวกพลังงานหมุนเวียนอื่นมันไม่มีทางผลิตไฟฟ้าได้มากพอ พวกนั้นต้องใช้พื้นที่เยอะมาก
สรุปคือ
1.พวกเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ข้อดีคือใช้พื้นที่ไม่มาก ข้อเสียคือ ใช้แล้ววัตถุดิบค่อยๆหมดไปแล้วหายากขึ้นเรื่อยๆ บวกกับ มลพิษทางอากาศแม้จะกรองฝุ่นก็เจอเรื่องปริมาณคาบอน
2. พวกพลังงานหมุนเวียน ข้อดีคือไม่ไม่เกิดคาร์บอน ข้อเสียคือใช้พื้นที่เยอะแถมเมื่อเสียมันคือขยะมีพิษ ส่วนพลังงานความร้อนใต้ดินน่าจะเสี่ยงกับพวกแมกม่าระเบิดขึ้นมา เพราะพวกนี้น่าจะสร้างใกล้ทางไหลของแมคม่าใต้ดินและเงื่อนไขนี้ทำให้มันไม่ได้สร้างได้ในทุกประเทศ
3.พลังงานปรมณู อันนี้ตอนนี้มีแต่ฟิชชั่น ถ้าไม่รั่วไหลก็พลังงานสะอาดมีแต่ไอน้ำ แถมต้นทุนวัตถุดิบต่อพลังงานที่ได้ก็ไม่แพงด้วย แต่ถ้าฟิวชั่นก็จะดีกว่านี้อีก
อยากให้ไทยสร้างบ้าง
ไทยรอราคาค่าไฟสูงปรื๊ดกว่านี้ก่อนรับรองเรียกหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แน่นอน
แค่เปลี่ยนชื่อก็ได้แล้วครับ
เช่นต้นไม้ ต้นลั่นทม ต้นไม้อัปมงคล น่ากลัว พอเปลี่ยนชื่อเป็น
ต้นลีลาวดี กลายเป็นต้นไม้สวยงาม มีกลิ่นหอม
ช่วยดับกลิ่นอับ เมืองท่องเที่ยวจังหวัดหนึ่งถึงกับเอาไปตั้งชื่อโรงแรม
เหลือจะเชื่อ