Tags:
Node Thumbnail

สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือแล็บท็อปที่คุณกำลังใช้อ่านโพสต์นี้อยู่ คุณคิดว่าคุณเป็นเจ้าของมันจริงๆ “มีสิทธิเต็มรูปแบบ” กับมันอยู่ใช่ไหม ถ้าผมบอกว่า คุณไม่ได้เป็นเจ้าของมัน 100% โดยที่คุณไม่รู้ตัว หรืออาจจะรู้แต่ยังไม่เดือดร้อนกับมันล่ะ

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แนวคิดในการทำธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงจนทำให้ความอิสระหรือสิทธิ์ต่างๆ ที่เรามีกับอุปกรณือิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ น้อยลงไปเรื่อยๆ จนเราถูกห้าม หรือแม้กระทั่งถูกลงโทษ เพียงแค่ต้องการบำรุงรักษาหรือซ่อมอุปกรณ์เหล่านั้น ใกล้ตัวเราที่สุดอาจจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือแล็บท็อปนี่แหละ

หลายประเทศทั่วโลกทั้งฝั่งผู้บริโภคและภาครัฐ มีความพยายามผลักดันและสู้กลับเรื่องนี้ หลายๆ ประเทศมีกฎหมาย Rights to Repair ออกมาแล้ว เช่นอังกฤษ สหรัฐ และสหภาพยุโรป

แล้วประเทศไทย ควรผลักดันเรื่องนี้เป็นประเด็นสาธารณะ จนนำไปสู่กระบวนการออกกฎหมายได้หรือยัง?

ซื้อใหม่เถอะ คุ้มกว่า

คุณพ่อใครหลายๆ คนในปัจจุบัน อาจจะยังมีพฤติกรรมแบบนี้อยู่ คือซ่อมอยู่ทุกอย่างด้วยตัวเอง ที่บ้านมีอุปกรณ์ครบครัน ไม่ต้องพึ่งช่างไม่ต้องพึ่งศูนย์ หรือสัก 10-20 ปีก่อน การเรียกช่างมาซ่อม หรือเอาอุปกรณ์เช่นโทรศัพท์มือถือ ไปซ่อมที่ร้านใกล้บ้าน ก็ดูจะเป็นเรื่องปกติ

แต่ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสบริโภคนิยม, การวางกลยุทธของบริษัทผู้ผลิตที่ทำให้อุปกรณ์ซ่อมยาก, ไปจนถึงกระบวนการผลิตที่ทำให้สินค้าหลายๆ อย่างมีราคาถูกลงมาเมื่อเทียบกับเมื่อค่าแรงในสมัยก่อน ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นไปในลักษณะ “ซื้อใหม่เหอะ คุ้มกว่า” ค่อนข้างมาก ( Perzanowski, 2020 )

Deloitte เผยแพร่ผลสำรวจผู้บริโภคราว 1,000 คนเกี่ยวกับเรื่องนี้พบว่า 40% บอกว่าเลือกที่จะซื้อของใหม่เลย หากของเก่าเสีย อีก 7% บอกว่าอาจจะซื้อของมือ 2 หรือเครื่องซ่อม (refurbished) แทน โดยคนที่เลือกที่ไม่ซ่อม 60% บอกว่าสาเหตุหลักคือ ราคาค่าซ่อมที่สูงมาก

No Description

สิ่งที่สูญเสียไป จากการเลือกทิ้งเครื่องเก่าและซื้อเครื่องใหม่ ไม่ได้มีเพียงแค่ขยะอิเล็กทรอนิคส์ โดยข้อมูลจากรายงาน Global E-waste Monitor 2024 ของ United Nations Institute for Training and Research (UNITAR) เผยว่าปี 2022 ทั่วโลกผลิตขยะอิเล็กทรอนิคส์รวมกันกว่า 6.2 หมื่นล้านตันต่อปี ส่วนของไทยอยู่ที่ 7.5 แสนตันต่อปี แต่ยังมีเรื่องของเม็ดเงินที่ควรจะประหยัดได้ โดย EU ประเมินว่าเม็ดเงินตรงนี้ในภูมิภาคที่เสียไปอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านยูโรต่อปีเลยทีเดียว

การออกแบบให้หมดอายุขัย (planned obsolescence)

จริงอยู่ที่ของทุกสิ่งมีวันหมดอายุขัย มีวันเสื่อมสภาพตามธรรมชาติของมัน ไม่ว่าจะถูกใช้งานหรือไม่ถูกใช้ แต่แนวคิดของการออกแบบให้หมดอายุขัยนี้ คือการตั้งตั้นตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้เสื่อมลงหรือใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพภายในกรอบระยะเวลาหนึ่งๆ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคที่บริษัทผู้ผลิตมี ซึ่งปลายทางคือการบีบให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นการการันตีรายได้ในระยะยาวของบริษัททางหนึ่ง

ตัวอย่างที่ชัดเจนและหลายคนอาจจะจำได้ คือเมื่อปี 2017 ที่มีการทดสอบ ก่อนแอปเปิลจะออกมายอมรับว่า มีการ ปรับประสิทธิภาพ iPhone บางรุ่นลง หากแบตเตอรี่เสื่อม จนนำไปสู่การฟ้องร้อง และซัมซุงโดนปรับ กรณีทำให้ Galaxy Note 4 ช้าลงหลังอัพเดตซอฟต์แวร์

เป็นเจ้าของแบบใด?

หนึ่งในแนวทางการออกแบบให้หมดอายุขัย ที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคตรงๆ และจับต้องได้ที่สุด คือการออกแบบการซ่อมอุปกรณ์เองนั้นมีความยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้ เช่น การใช้น็อต Pentelope ที่ดาว 5 แฉกเป็นเหมือนสัญลักษณ์ดอกซากูระของแอปเปิล ซึ่งไม่ใช่หัวน็อตที่ใช้กันแพร่หลายและหาไขควงได้ทั่วไปในช่วงปี 2009-2010 โดยแอปเปิลใช้กับทั้ง MacBook Pro, MacBook Air และ iPhone ในช่วงนั้น

No Description ภาพจาก iFixit

การกีดกันเรื่องการซ่อม แอปเปิลน่าจะมีชื่อเสียงเรื่องนี้มากที่สุดเจ้าหนึ่ง ด้วยความเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมสูงและตัวอุปกรณ์มีความแพร่หลายในการใช้งาน โดยเฉพาะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การซ่อมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์เอง หากไม่ได้ทำที่ร้านของแอปเปิลหรือพาร์ทเนอร์ (parts pairing) ก็มักจะถูกซอฟต์แวร์ล็อกการใช้งานพื้นฐานเช่น Face ID และหนึ่งในเคสที่โด่งดังที่สุดของกรณีนี้ คือ การฟ้องร้องร้านซ่อมรายเล็กๆ ในนอร์เวย์ ที่สุดท้ายศาลฎีกาตัดสินให้แอปเปิลชนะ

ตัวอย่างอีกเคสคือ John Deere บริษัทผลิตเครื่องจักรการเกษตรของสหรัฐ ที่เคยใช้วิธีแบบเดียวกัน ปิดกั้นการซ่อมโดยช่างอิสระ และคิดค่าชิ้นส่วนหรือบริการที่ค่อนข้างแพง ซึ่งกรณีของ John Deere ไม่ได้กระทบลูกค้าแค่ในแง่ราคาค่าบริการ แต่ลูกค้าที่ใช้งานเครื่องจักรเหล่านี้ส่วนใหญ่ อยู่ในพื้นที่ห่างไกล การนำเครื่องจักรออกนอกพื้นที่ไปซ่อม ย่อมเสียเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เป็นรายได้มากกว่าเดิม จนมีความพยายาม เจลเบรค เครื่องจักรของ John Deere เลยด้วยซ้ำ

ข้ออ้างที่บริษัทใหญ่เหล่านี้ใช้เพื่อแก้ต่างนโยบายแบบนี้ คือเรื่องของมาตรฐานของชิ้นส่วน มาตรฐานการซ่อมและความปลอดภัยในการใช้งานของลูกค้า แต่มันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้วิธีเหล่านี้ ไม่ว่าจะเรื่องดีไซน์ฮาร์ดแวร์, การใช้ซอฟต์แวร์ปิดกั้น, กฎหมายด้านสิทธิบัตร เป็นความพยายามใช้อำนาจของบริษัทผู้ผลิตที่มีเหนือฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ในการผูกขาดกระบวนการซ่อม เพื่อให้เม็ดเงินในกระบวนการซ่อม หรือแม้แต่การซื้อเครื่องใหม่ วนกลับไปหาผู้ผลิตแต่เพียงเจ้าเดียว (Tim Cook เคยยอมรับด้วยซ้ำว่า การเปลี่ยนแบตเตอรี่ราคาถูก จะกระทบยอดขาย iPhone ) เท่ากับว่าแม้เราจะเป็นเจ้าของ แต่อำนาจในการควบคุมเหนืออุปกรณ์เหล่านี้ ยังเป็นของบริษัทอยู่ไม่น้อย ( Perzanowski, 2021 )

Rights to Repair ทั่วโลกและไทยไปถึงไหนแล้วตอนนี้?

ด้วยแนวทางของผู้ผลิตอุปกรณ์ที่ไปในทิศทางข้างต้นค่อนข้างมาก ทำให้การเคลื่อนไหวสิทธิ์ในการซ่อม เริ่มมีมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่ ฝรั่งเศสในปี 2021 ที่ออกกฎหมายบังคับให้บริษัทที่ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์และนำมาขายในฝรั่งเศส ต้องติดป้าย “ดัชนีความง่ายในการซ่อม (Repairability Index)” ซึ่งอิงมาจากการให้คะแนนของ iFixit ก่อนที่ล่าสุดในปีนี้ จะปรับมาเป็น “ดัชนีความทนทาน (Durability Index)” ที่เพิ่มเกณฑ์เรื่องการอัพเกรด, ความทนทานในการใช้งานหรือการบำรุงรักษาเพิ่มเข้าไปด้วย เช่นเดียวกับอังกฤษที่ออกกฎหมาย Rights to Repairs มาตั้งแต่ปี 2021 โดยให้เวลาผู้ผลิต 2 ปี เตรียมการในการทำให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับซ่อม สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น

No Description ภาพจาก Ministère de la Transition écologique

ส่วนสหภาพยุโรปก็ เพิ่งผ่านกฎหมายลักษณะเดียวกันปีที่แล้ว ที่ผู้บริโภค ต้องสามารถเข้าถึงทางเลือกในการซ่อมอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ได้ง่ายและถูกขึ้น หลังหมดประกัน ขณะที่สหรัฐอเมริกา ณ ตอนนี้มีเพียงมลรัฐนิวยอร์ค, โคโลราโด (เฉพาะอุปกรณ์การเกษตร), มินนิโซตา, แคลิฟอร์เนีย, โอเรกอน, และโคโลราโด ที่มีกฎหมายลักษณะนี้ อาจแตกต่างกันไปในรายละเอียด เช่นของโอเรกอน เป็นกฎหมายแบนการทำ parts pairing (ใช้ชิ้นส่วนที่ไม่ได้มาจากผู้ผลิตโดยตรงในการซ่อม)

อาจจะด้วยกลุ่มประเทศใหญ่ๆ ที่เป็นตลาดใหญ่อย่างในยุโรป หรือสหรัฐอเมริกาเองก็เริ่มมีการออกกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคลักษณะนี้ออกมา ทำให้เราเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงจากฝั่งผู้ผลิตมากขึ้น โดยเฉพาะแอปเปิล ที่ถูกโจมตีเรื่องนี้มาตลอด ก็ออก โครงการ Self-Repair ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ที่มีกฎหมายครอบคลุม ซัมซุงออกโครงการ Self-Repair อุปกรณ์ Galaxy ในเกาหลีใต้ หรือกรณีของ John Derre ก็มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ให้ช่างภายนอกซ่อมเครื่องจักรได้ง่ายขึ้นเช่นกัน ส่วนของเอเชีย ก็คงต้องติดตามต่อไปว่าโครงการของแอปเปิลและซัมซุงจะครอบคลุมหรือไม่ แม้ไม่มีกฎหมายก็ตาม

ไทยไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้

ส่วนของไทยปัจจุบัน มีแค่ บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด 2 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขาย มาตรา 472 ถึง 474 ที่ระบุให้ผู้ขาย รับผิดชอบกรณีสินค้าที่ขายมีการชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีข้อยกเว้น กรณีที่ผู้ซื้อ เห็นว่ามีปัญหาอยู่แล้วตอนส่งมอบ และยอมรับสินค้านั้นเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ประมวลกฎหมายดังกล่าว เป็นเพียงการตีกรอบกว้างๆ ให้ผู้ขายหรือผู้ผลิตรับผิดชอบสินค้าที่มีปัญหาเท่านั้น ทำให้ในแง่การใช้งานจริง อาจจะอยู่ในรูปแบบของการรับประกัน 1-2 ปี แบบมีเงื่อนไขจ่ายเงินเพิ่มบางกรณี หรือการรับซ่อมแบบแบบเสียเงิน หลังหมดประกัน (ผู้เขียนตีความเอาเอง)

ขณะเดียวกันก็ยังมีความพยายามของ สคบ. ในการผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. .... (ยังไม่ผ่านสภาและบังคับใช้) หรือชื่อเล่นว่า Lemon Law ที่เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ข้างต้น มีขอบเขตการรับผิดชอบของผู้ขายไม่ชัดเจน หรือสิทธิของลูกค้าที่ยังคลุมเครือ โดยสาระสำคัญของ Lemon Law ปัจจุบัน เป็นการกำหนดขอบเขตของผู้ขาย และให้สิทธิเรียกร้องต่อผู้ซื้อในการเปลี่ยนสินค้า ซ่อม ขอลดราคา หรือเลิกสัญญาการซื้อขาย

No Description ภาพจาก Shutterstock

อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติในตัว Lemon Law เองก็ยังพูดถึงแค่สิทธิในการซ่อมจากผู้ขายหรือผู้ผลิตให้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ปัญหาข้างต้นที่กล่าวมาในบทความ ยังไม่ถูกแตะหรือพูดถึง เท่ากับว่า กฎหมายในลักษณะ Rights to Repair ของไทยนั้นยังไม่มีแม้แต่ร่าง

คงปฏิเสธไม่ได้ว่ากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในบ้านเรา อาจจะอ่อนเมื่อเทียบกับหลายประเทศ ทำให้การเรียกร้องกฎหมายด้านนี้ที่เข้มข้นขึ้น อาจจะมีอยู่หลายประเด็น รวมถึงไม่ได้มีการเคลื่อนไหวเรื่องนี้มากพอ (เพราะปัญหาบ้านเราเยอะ?) แต่ถึงเวลาหรือยังที่กฎหมาย Rights to Repair ควรกลายประเด็นที่ถูกพูดถึงในวงกว้างมากขึ้น และสอดแทรกไปกับกระบวนการนิติบัญญัติ ที่ทำให้ผู้บริโภคมีสิทธิมีเสียงมากขึ้น ในการจัดการอุปกรณ์ที่ตัวเองซื้อมาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ที่ผู้บริโภค ไม่จำเป็นจำต้องเสียค่าซ่อมแพงๆ หรือเสียเงินเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ อย่างไม่จำเป็น

Get latest news from Blognone

Comments

By: suriyan2538 on 8 August 2024 - 21:04 #1319043
suriyan2538's picture

ถ้าบ้านเรามีกฎหมายออกมารองรับตรงนี้ชัดเจนก็จะดีมากเลยครับ

By: mr_tawan
Contributor iPhone Android Windows
on 8 August 2024 - 21:20 #1319045
mr_tawan's picture

ถ้าบังคับให้ขายอะไหล่ แต่อะไหล่ราคาพอๆ กับซื้อเครื่องใหม่นี่ก็แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยนะผมว่า

ผมไปคุยกับ iStudio มาว่า ถ้าเปลี่ยนจอไอแพดเท่าไหร่ เค้าตีมา 16,000 ในขณะที่ของใหม่สองหมื่นกว่าหน่อย ๆ แล้วมันจะอยากซ่อมไหมนะ

หรือซื้อจอนอกศูนย์ราคา 8,500 ในขณะที่ถ้าซื้อมือสองอยู่หมื่นสองนิดหน่อย อะไรงี้

ปล. ขายแลกคืนไป iStudio/Apple ให้ได้สูงสุดสามพัน ...


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 8 August 2024 - 23:20 #1319056 Reply to:1319045
hisoft's picture

ลองไปส่องใน https://selfservicerepair.eu/ ดูบ้าง พบว่า iPad ไม่มีให้เปลี่ยนจอเอง แต่คอมกับ iPhone มี 😐

By: deaknaew on 9 August 2024 - 06:12 #1319069 Reply to:1319045

Ipad จอ แบต เขาไม่ซ่อม เปลี่ยนเครื่องใหม่อย่างเดียวแต่ดีที่เปลี่ยนแบต (แต่ได้เครื่องใหม่) ยังไม่แพงมาก

By: ata3182257 on 10 August 2024 - 01:13 #1319156 Reply to:1319045

ซื้อเอง โทษใคร

By: mr_tawan
Contributor iPhone Android Windows
on 10 August 2024 - 17:44 #1319219 Reply to:1319156
mr_tawan's picture

โง่ที่อยากใช้แอปเปิ้ลแต่ดันจน


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: big50000
Android SUSE Ubuntu
on 10 August 2024 - 23:03 #1319240 Reply to:1319219
big50000's picture

+55555555

ผมชอบการ Reply ตอบกลับพวก "ความคิดเห็นที่มองเพียงด้านเดียวแถมถากถางเก่ง" แบบนี้มาก ๆ

By: mr_tawan
Contributor iPhone Android Windows
on 11 August 2024 - 17:22 #1319265 Reply to:1319240
mr_tawan's picture

ผมแค่ complete the sentense ครับ :D


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: TeamKiller
Contributor iPhone
on 8 August 2024 - 21:50 #1319052
TeamKiller's picture

หัวน็อตนี่ไม่เข้าใจ ต้องไปซื้อแบบที่เปลี่ยนหัวได้หลายสิบๆ หัวมาเก็บไว้ที่บ้าน ใครมันช่างคิดเนี่ย แต่ละแบบมันจะข้อดียังไงถึงออกแบบให้ประหลาดๆ มาเยอะ บางเจ้าก็ดันไปเดินตามยี่ห้อดังใช้หัวแปลกๆ

By: mk-
Symbian
on 10 August 2024 - 00:50 #1319155 Reply to:1319052
mk-'s picture

เหมือนออกแบบเพื่อขายเครื่องมือ

By: TeamKiller
Contributor iPhone
on 10 August 2024 - 12:38 #1319196 Reply to:1319155
TeamKiller's picture

ทำให้ตอนนี้ผมมีชุดไขควงหลายๆ แบบเลยครับเนี่ย ถึงจะนานๆ ใช้ที

By: Alios
iPhone Android Windows
on 9 August 2024 - 01:26 #1319062

ผมมีปัญหา apple watch gen 5 แบตเสื่อม สุขภาพแบต 86% ครึ่งวันแบตหมด
เลยจะส่งซ่อมแบต สามพันกว่าบาท
แต่ซ่อมไม่ได้เพราะศูนย์แจ้งว่า สุขภาพแบตไม่ต่ำกว่า 80% ดังนั้นจะต้องเคลมเครื่องโดยเพิ่ม 17,700 บาท และ พนง แนะนำให้ซื้อเครื่องใหม่

ทุกวันนี้ใช้ยังไงก็ค้างที่ 86% มาหลายเดือนแล้ว และไม่สามารถเปลี่ยนแบตกับศูนย์ได้ มันเป็นนโยบายที่แย่มากเพื่อบีบบังคับให้ผู้ใช้งานทิ้งเครื่องเก่าและซื้อเครื่องใหม่โดยไม่จำเป็น

By: tg-thaigamer
Contributor iPhone Android Blackberry
on 9 August 2024 - 11:32 #1319100 Reply to:1319062
tg-thaigamer's picture

ผมแม่ผม้ปลี่ยนเครื่องใหม่ แบตสุขภาพดีแต่แบตหมดไวมาก หาสาเหตุไม่เจอ ทำไรไมไ่ด้ = =


มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ

By: sdc on 9 August 2024 - 07:48 #1319075

ผมมองว่าอันนี้ไม่น่าด่วนเท่า กฎหมายป้องกันการผูกขาด(จริงๆ), คุ้มครองผู้บิริโภค (ที่ไม่ใช่คุ้มครองนายทุน) มากกว่านะ

By: errin on 9 August 2024 - 08:56 #1319081

มีแต่ไม่บังคับใช้ก็คงเหมือนเดิม

By: sharot on 9 August 2024 - 12:29 #1319110

สิ่งเหล่านี้ก็กำลังเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมรถยนต์เหมือนกันเลยครับ เจอมากับตัวว่าแค่ battery หมด เรียกร้านทั่วไปมาเปลี่ยนเพื่อจะออกไปทำงาน สรุปรถไม่ยอมให้ start ต้องมี software เฉพาะทาง เข้าไปเคลียร์โค้ด คือไม่ได้มีปัญหาเรื่องจ่ายค่าซ่อมที่ศูนย์น่ะ แต่โดยส่วนตัวคิดว่า มันเกินไป

By: ZeaBiscuit
iPhone Android Ubuntu Windows
on 9 August 2024 - 14:04 #1319116
ZeaBiscuit's picture

บริษัทที่ชอบออกมาบอกว่ารักโลก แต่ทำแต่ละอย่างออกมา ไม่ได้รักโลกอย่างที่บอกเลย

เอาง่ายๆแค่เรื่องเปลี่ยนแบต Airpod, Watch นี่แบตไปไวมาก ปีกว่าๆ แต่ไม่ได้ออกแบบมาให้เปลี่ยนแบตได้ เพราะต้องการให้ซื้อใหม่

รักโลกมากกกก

By: mr_tawan
Contributor iPhone Android Windows
on 9 August 2024 - 14:59 #1319120 Reply to:1319116
mr_tawan's picture

สายชาร์จเปื่อยยุ่ยนี่นับไหมครับ?


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: ZeaBiscuit
iPhone Android Ubuntu Windows
on 10 August 2024 - 13:29 #1319202 Reply to:1319120
ZeaBiscuit's picture

อันนี้ผมยังเฉยๆนะ มันเปื่อยจริง แต่มันก็ยังใช้งานได้ แต่ถามว่าสมราคาไหม บอกเลยของจีนเส้นละร้อยกว่าบาทดีกว่าเยอะ

By: mr_tawan
Contributor iPhone Android Windows
on 11 August 2024 - 17:24 #1319266 Reply to:1319202
mr_tawan's picture

มันเชื่อมติดใส่หัวชาร์จมาเนี่ยแหละครับ คือมันจะเริ่มแตกจากตรงอแดปเตอร์ก่อนแล้วค่อย ๆ ลาม ตอนซ่อมทีปวดกะบาลมาก จะหุ้มแค่ท่อหดก็ยากเพราะติดหัวชาร์จ จะแงะหัวชาร์จออกก็ไม่ง่าย บางทีก็ต้องตัดสายออกก่อนแล้วเชื่อมกลับเข้าไปใหม่ แล้วไม่ได้บอกว่าพอเราหุ้มแล้วไอ้ส่วนที่เหลือมันจะไม่แตก

แต่เดี๋ยวนี้ดีขึ้นเพราะว่าชาร์จผ่าน type-c ได้ ไม่ต้องใช้ adpater เฉพาะก็ได้ครับ สายชาร์จพังก็แค่เดินไปซื้อสาย pd ใหม่


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: errin on 11 August 2024 - 20:44 #1319275 Reply to:1319266

เทคนิคที่ผมใช้นะครับ เอาเทปพันท่อน้ำสีขาวค่อยๆพันสักสองสามทบแล้วเอาท่อหดใส่ครับ มันจะแข็งๆหน่อยแต่ใช้ได้อีกยาวเลย

By: mr_tawan
Contributor iPhone Android Windows
on 12 August 2024 - 15:04 #1319301 Reply to:1319275
mr_tawan's picture

ผมใช้ท่อหดเล็กที่ไซส์พอดีกับสาย ผ่าครึ่ง แล้วท่อหดกาวอันใหญ่ที่ใส่ลอดเข้าไปได้ครอบอีกชั้นนึง จากนั้นใช้ฮีทกันยิงสองเส้นพร้อม ๆ กัน

ก็ใช้ได้จนถึงทุกวันนี้ครับแต่ก็ PITA พอสมควร


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: sleepyfurious
iPhone Android Ubuntu
on 9 August 2024 - 14:43 #1319118

ดีนะ อยากให้มีความสนใจที่หลากหลายสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวดีๆ ข้างนอก เพราะเราเชื่อว่ามันจะมีส่วนในการมาเป็น back pressure ในการแก้เรื่องภายในเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เข้าท่าและติด deadlock อยู่

By: itpcc
Contributor iPhone Red Hat Ubuntu
on 9 August 2024 - 16:48 #1319131
itpcc's picture

พูดเรื่องนี้กันในไทยแล้วก็ถือว่าดี

คือจริงๆ เมืองไทยก็มี พรบ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม หรือ พรบ. คุ้มครองผู้บริโภคครอบนอกเหนือจาก ปพพ. อยู่แล้ว แต่เห็นด้วยว่ากฎหมายที่ระบุเรื่องนี้จริงตังด้วยก็จะเป็นการดี คนเล็กคนน้อยจะได้มีอะไรคุ้มครองบ้าง


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: PandaBaka
iPhone Android Windows
on 10 August 2024 - 04:48 #1319160
PandaBaka's picture

ในทางกลับกัน Rights to Repair จะทำให้พวกเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกจากจีน นำเข้ามาขายไม่ได้เลยไหมนะ

By: TeamKiller
Contributor iPhone
on 10 August 2024 - 12:34 #1319194 Reply to:1319160
TeamKiller's picture

ทำไมนำเข้าไม่ได้อะครับ

By: ZeaBiscuit
iPhone Android Ubuntu Windows
on 10 August 2024 - 13:28 #1319201 Reply to:1319160
ZeaBiscuit's picture

ตรงไหนเหรอครับที่จะมีปัญหา ?

By: PandaBaka
iPhone Android Windows
on 10 August 2024 - 22:05 #1319238 Reply to:1319201
PandaBaka's picture

สินค้าราคาถูกจะไม่ผ่านมาตรฐานแกะซ่อมได้เยอะครับ พวกนี้แกะปุ๊ปพังคามือซะส่วนมาก

แต่เอาจริงต่อให้มีกฏหมาย ผลบังคับก็แค่ไม่มีตัวแทนนำเข้าถูกกมแค่นั้ัน พวกแอพ marketplace สั่งตรงจากจีนได้เหมือนเดิม

By: ash_to_ash
Android Windows
on 11 August 2024 - 14:13 #1319260 Reply to:1319238

ไม่ครับผมว่าจะเป็นเกณฑ์เดียวกับปลั๊กไฟ
แต่อันนั้นก็ขอความร่วมมือเยอะ และปัญหาจากเรื่องพวกนี้ก็เยอะ
ทางแอปเลยลบไปเยอะเหมือนกัน (ตอนนั้นผมจำได้ว่า
คนในวงการก็ดีใจโห่ร้องเยอะ จนตอนนี้พวกปลั๊กพ่วงเต้าปลั๊กจีน
ในแอพนี่แทบไม่เหลือแล้วนะ เหลือแต่พวก
หัวแปลงกับ 3 ตามนิดๆหน่อยๆ
ผมว่ายอมรับได้)

ขอแค่พาณิชย์กับ DE แข็งขันหน่อย
ออกกฎหมายให้เป็นรูปธรรม กับระเบียบในการคุม Market Place
ให้ชัดเจน จะกล้าไหมว่า ของเอาเข้ามาต้องมี มอก. ถ้าไม่มีถือว่าผิดกฎหมาย
Market Place ต้องรับผิดชอบ นับเป็นร้านเลย ถ้าคุณไม่แบนสินค้านั้นออก
ก็ปรับรายวันไปเรื่อยๆๆๆๆ

By: api on 10 August 2024 - 08:43 #1319171

ล่าสุดที่เคยโดนเกี่ยวกับการซ่อม(ไม่น่าเกี่ยวกับหัวข้อ)
ซื้ออุปกรณ์อิเลกทรอนิคชิ้นหนึ่งตกร้อยกว่าบาทใช้ๆไปเริ่มเสียเอาไปซ่อม
ค่าอะไหล่หลักสิบ แต่เจอช่างคิดค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท (ซื้อใหม่ 2-3ร้อย)

By: errin on 10 August 2024 - 10:45 #1319179 Reply to:1319171

เดือนนึงเค้าอาจจะได้ซ่อมไม่เกิน 10 เครื่องนะครับ ให้คิดเครื่องละ 100-200 นี่ก็อยู่ยากเหมือนกัน

By: GodPapa
iPhone Windows Phone Android Blackberry
on 10 August 2024 - 12:16 #1319192 Reply to:1319171
GodPapa's picture

ธรรมดาเมื่อก่อนเคยจะให้ช่างริมถนนช่วยบัคกรีสายไฟสี่จุด คิดจุดละยี่สิบรวมแปดสิบบาท

By: TeamKiller
Contributor iPhone
on 10 August 2024 - 12:37 #1319195 Reply to:1319171
TeamKiller's picture

ค่าแรงบ้านเราถูกมากนะครับ ไปเจอฝรั่งจ้างอะไรแพงไปหมด จนเขาซื้อเครื่องไม้เครื่องมือมากันเต็มบ้าน

งานทักษะแบบนี้บ้านคิดถูกจนไม่ค่อยจะมีคนทำ ก่อสร้างงี้ต่างชาติหมดคนไทยน้อย

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 10 August 2024 - 19:13 #1319224 Reply to:1319195
hisoft's picture

จริงฮะ นี่คือรับที่ต่อมา เจ้าของเก่าชี้ให้ดูว่าเคยจ้างช่างมาทำอะไรตรงไหนแล้วถึงกับช็อค คุณภาพงานห่วยกว่าช่างชุ่ยๆ ที่ไทยอีกไกลเลย แล้วคือช่างเล่นตัวได้ต้องรอคิวและราคามหาโหด (ถ้าเทียบกับไทย แต่สำหรับคนทำเองไม่ได้ก็คงไม่มีทางเลือกเท่าไหร่) ยังดีที่ห้องสมุดที่นี่ยืมอุปกรณ์ช่างได้ด้วย (แต่ไม่ได้มีชิ้นใหญ่ทำอะไรได้เวอร์วัง) เลยยังไม่มีเรื่องต้องไปดีลกับช่างเอง

By: big50000
Android SUSE Ubuntu
on 10 August 2024 - 23:11 #1319243 Reply to:1319195
big50000's picture

+

เพราะแบบนี้เอง ช่างเองบางทีก็ขายโปรฯ บวกอะไหล่บวกค่าแรงไปด้วยเลย คนนอกคำนวณแล้วรู้สึกคุ้ม แต่ช่างอาจจะมีดีลนอกกับแหล่งผลิตไว้แล้ว

By: 9rockky
Android In Love
on 10 August 2024 - 23:01 #1319239

ไอโฟนถึงจะซ่อมแพง แต่มีเคสใส 14 บาท